directions_run

ผลิตข้าวปลอดภัยสู่นาเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกษตรกรทำนาบ้านโคกแย้ม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1. มีครัวเรือนทำนาพร้อมเข้าร่วมเรียนรู้ร้อยละ 80 เข้าร่วมโครงการมีความรู้สามารถผลิตวัตถุดิบอินทรีย์ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองได้ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการ 2. เกิดแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ครบวงจร 1 ศูนย์ 3. มีข้อมูลและกระบวนการเรียนรู้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เหมาะสมกับการทำนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 3 สายพันธุ์
0.00 55.00
  • เกษตรกรทำนา 60 ครัวเรือน เข้าร่วมโครงการเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ครบวงจร 54 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 90 มีความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง รวมตัวกันทำที่บ้านผู้ใหญ่ มีทั้งน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก โดยรวมกลุ่มกันทำ และแบ่งกันใช้
  • เกิดโรงผลิตปุ๋ยหมักจากการรวมกลุ่มของกลุ่มทำนา หลังจากไปศึกษาดูงาน วิชชาลัยรวงข้าว ตำบลพนางตุง อำเภอควนขหนุน
  • มีแปลงสาธิต จำนวน 35 แปลง จำนวน 50 ไร่ในการเข้าร่วมโครงการหลังจากไปศึกษาดูงาน -การเก็บพันธ์ข้าวพื้นเมือง 3 สายพันธ์กำลังรอเก็บเกี่ยว

 

  • เกษตรกรทำนาบ้านโคกแย้ม 60 ครัวเรือน ทำกิน และทำขาย 54 ครัว
  • ทำขายและซื้อข้าวสารกิน 6 ครัว จำนวน 185 กก/ปี
2 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนและกลไกติดตามการทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม
ตัวชี้วัด : 1. เกิดธนาคารน้ำหมักอินทรีย์และหัวเชื้อน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพอย่างน้อย1 แห่ง 2. เกิดธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์อย่างน้อย 1 แห่ง 3. เกิดมาตรฐานนาอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับ 4.เกิดกลไกติดตามหนุนเสริม
0.00 21.00

กลุ่มนาข้าวอินทรีย์ 21 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนและกลไกติดตาม ส่งผลให้เกิด 1. กลุ่มนาอินทรีย์ 2. โรงปุ๋ยแห้ง/น้ำ 3. ธนาคารเมล็ตพันธ์

 

กลุ่มนาอินทรีย์มีการออกแบบการขับเคลื่อนโดยการ เชิญ เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน เทศบาล กำนัน เข้าร่วมเป็นกลไกหนุนเสริม/ติดตามประเมินผล

3 เพื่อให้เกษตรกรทำนาบ้านโคกแย้มเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การทำนาอินทรีย์
ตัวชี้วัด : 1. เกิดแผนเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ 2. เกิดกลไกเชื่อมงานดำเนินงานขยายพื้นที่ทำนาอินทรีย์ 100 ไร่ 3. เกิดกลุ่มนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มเป็นกลไกเชื่อมต่อเครือข่ายกับอำเภอควนขนุน 2 อำเภอ 3 กลุ่ม 3 ตำบล
0.00 100.00
  • เกษตรทำนา 60 ครัวเรือนในชุมชนบ้านโคกแย้ม 249.5 ไร่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้การผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยบ้านโคกแย้ม -35 ครัวเข้าร่วมเป็นแปลงสาธิต 50 ไร่ โดยมีกลุ่มนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มเป็นกลไกขับเคลื่อนไปตามแผน

 

  • เกษตรกรทำนาบ้านโคกแย้มที่ผ่านมาประสบปัญหาการทำนาอินทรีย์ในเรื่องการจัดการวัชพืชไม่สำเร็จ ผลผลิตได้น้อยกว่านาข้าวทั้วไปถึงขาดทุนไม่คุ้มค่า
  • หลังจากได้ศึกษาเรียนรู้จาก นาอินทรีย์ ทุ่งชัยรอง วิชชาลัยรวงข้าว กลับมาผนึกกำลังโดยใช้แปลต้นแบบ 50 ไร่ รอผลการเก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ 2564
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ บ้านโคกแย้ม
ตัวชี้วัด : 1. เกิดพื้นที่ปรับเปลี่ยนสู่นาอินทรีย์พื้นที่โคกแย้ม 100 ไร่ ในปีที่1 2. ครัวเรือนบริโภคข้าวอินทรีย์อย่างน้อย 40 ครัวเรือน 3. ครัวเรือนมีรายได้จากการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์
0.00 100.00
  • สมัครใจเข้าร่วมโครงการนาปรับเปลี่ยนจากเคมีเป็นนาปลอดภัย 249.5 ไร่ เป้าหมาย 100 ไร่

  • เกษตรกรทำนา 60 ครัวเรือน

  • ทำกินและขาย จำนวน 54 ครัวเรือน เป้าหมาย 40 ครัวเรือน
  • ทำขายและชื้อข้าวสาร 6 ครัวเรือน -กำลังดำเนินการแปรรูปอย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

 

  • หลังจากศึกษาดูงาน วิชชาลัยรวงข้าว พบ ชาวนาต้องมีโรงสีข้าวถึงจะคุ้มค่าในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับข้าวที่เกษตรกรทำนาอยู่ได้
  • กลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มรวมตัวกันซื้อโรงสีขนาดเล็กเพื่อสร้างมูลค่าและค่าจากข้าวที่ผลิต โดยเชื่อมพัฒนาชุมชนและเกษตรอำเภอมาร่วมในการบันทึกเข้าแผนหน่วยงาน