directions_run

ผลิตข้าวปลอดภัยสู่นาเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ปฐมนิเทศโครงการ 20 มิ.ย. 2563 20 มิ.ย. 2563

 

เรียนรุ้การดำเนินโครงการ  การบันทึกรายงานการเงิน  ระบบการบันทึกบันชี

 

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 3  คน ,การเงิน,ผู้ดำเนินการและผู้รับผิดชอบ  ในการดำเนินโครงการ เจ้าหน้าทีการเงินมีความรู้และมีประสบการณ์ในการบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานผลคนใต้สร้างสุข

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 26 ส.ค. 2563 26 ส.ค. 2563

 

คณะทำงานของโครงการเชิญชวนผู้ทำนาประชุมชี้แจงโครงการผลิตข้าวปลอดภัยสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้มได้จำนวนผู้เข้าร่วม 20  คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ทำนาในพื้นที่บ้านโคกแย้ม ส่วนใหญ่ แต่ก็เป็นรายย่อย และรายใหญ่ในการทำนา ข้อมูลที่พบ  คนทำนาในทุ่งนาตาลกมาจากหลายพื้นที่เป็นเจ้าของแปลง เช่น จาก ต.ร่มเมือง จากตำบลท่ามิหรำ  จากตำบลท่าแค  จากตำบลนาท่อม หมู่บ้านอื่น
ขั้นตอนการประชุมกับผู้เข้าร่วม -ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการผลิตปลอดภันสู่นาอินทรีย์กับผู้เข้าร่วม -ให้ขยายผลเชิญชวนผู้ทำนาในพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมทำนาปลอดภัยโดยมีเป้าหมาย 100 ไร่ -เชิญชวนผู้ผู้ทำนาไปศึกษาดูงานจำนวน 40  คนก่อนลงมือทำนาในปีนี้เพื่อได้ปรับตัวเตรียมตัว

 

มีผู้เกษตรผู้ทำนารายย่อยและรายใหญ่ จำนวน 20 คนเข้าร่วมโครงการ และจำนวน 20 คนที่เข้าร่วมได้ชวนเพื่อนเกษตรทำนาในพื้นที่ใกล้เคียงติดกันเข้าร่วมได้จำนวน 40  คน เพื่อไปศึกษาดูงานกับพื้นที่ทุ่งชัยรอง ของวิชชาลัยรวงข้าว ตำบลพนางตุง อ.ควนขนุน จังหวัดพัทลุง

พบข้อมูล  ผู้ทำนามาจากหลายพื้นที่

 

สร้างความเข้าใจเพื่อการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ 17 ก.ย. 2563 17 ก.ย. 2563

 

คณะทำงานโครงการจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจเพื่อการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ โดยการนำเกษตรผู้ทำนาบ้านโคกแย้มหมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อมไปศึกษาษาดูงาน  ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มวิชชาลัยร่วงข้าว ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบ
ขั้นตอนการศึกษา 1. พี่เลี้ยง นายถาวร  คงศรี ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ได้ประสานทำกระบวนการให้เกษตรกรทำนาบ้านโคกแยกลงพื้นที่นาไปร่วมแลกเปลี่ยกกระบวนการทำนาปรับเปลี่ยนไปสู่นาอินทรีย์ ในพื้นที่ต้นแบบของ คุณอำมร  สุขวิน 2 โดยการนำเกษตรกรผู้ทำงานบ้านโคกแย้มลงแปลงนาไปเยี่ยมชมพื้นที่จริง แล้วพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างนายอำมร  สุขวิน กับกลุ่มทำนา  โดย พี่เลี่้ยงค่อยเสริมประเด็นให้กลุ่มผู้ทำนา 3 นำกลุ่มเกษตรทำนามาร่วมแลกเปลี่ยนกับกลุ่มและเครือข่าย ที่ทำการกลุ่ม  โดยร่วมสรุป ประเด็นกระบวนการทำนาอินทรีย์ และร่วมแลกเปลี่ยน

 

การศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำนาอินทรีย์จำนวน 60 คน ณ ทุ่งชัยรอง วิชาชาลัยรวงข้าว ต.พนางตุง โดยนายอำมร สุขวิน และเครือข่าย

ผลที่เกิดขึ้น ได้เรียนรู้กระบวนการทำนาอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ 1. การเลือกพื้นที่ปลูก 2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว 3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว 4. การเตรียมดิน 5. วิธีปลูก 6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน 7. ระบบการปลูกพืช 8. การควบคุมวัชพืช 9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช 10. การจัดการน้ำ 11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น 12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก 13. การสี(กลุ่มต้องมีโรงสี) 14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า 15. การใช้ประโยชน์จาก ข้าว เช่น แกลบ จมูกข้าว ปลายข้าว รำ อื่นๆ นำมาแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ 16. การผลิตปุ๋ย

 

กิจกรรมงานเชื่อมร้อยเครือข่าย 7 ต.ค. 2563 7 ต.ค. 2563

 

คณะทำงานโครงการผลิตข้าวปลอดภัยสู่นาข้าวอินทรีย์บ้านโคกแย้มเข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมร้อยเครือข่าย กับเพื่อนภาคีอื่น และส่วนราชการอื่น ๆ ที่ร่วมกิจกรรม การแสดงนิทรรศการ  การคืนข้อมูลการดำเนินงานของชุมชนน่าอยู่ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งกลุ่มกับภาคส่วนราชการต่างๆที่ทำงานตามประเด็น เช่น นาอินทรีย์

 

คณะทำงานจำนวน 3 คนเข้าร่วม ผลที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับรู้การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์จังหวัดพัทลุง  การส่งเสริมการสร้างพื้นที่อาหารในสวนยาง  และสิ่งที่คณะทำงานต้องกลับไปดำเนินการคือ การเชื่อมเกษตรอำเภอ  เกษตรตำบล  และพัฒนาชุมชนมาร่วมส่งเสริมการทำนาอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ชุมชนมีรายได้

 

หนุนเสริมกลุ่มนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม 19 ต.ค. 2563 19 ต.ค. 2563

 

หนุนเสริปฏิบัติตามแผนการขยายผลการผลิตข้าวปลิดภัยสู่การทำนาข้าวอินทรีย์บ้านโคกแย้ม โดยการเสริมพลังสร้างแรงจูงใจ โดยการสร้างแปลงเรียนรู้ 50 ไร่  โดยพันธ์ข้าวได้รับการหนุนเสริมจากเทศบาลให้ชาวนา 100 ไร่  โดยโครงการหนุนเสริมปุ๋ยอินทรีย์ปุ่ยไส้เดือนสำหรับแปลงนาข้าวเพื่อการเรียนรู้ 50 ไร่ๆละ 1กระสอบๆละ 400 บาท= 20,000

 

ผู้เข้าร่วมในแปลงเรียนรู้ 50  ไร่ จำนวน 30 คน เกษตรกรทำนาลดรายจ่ายเรื่องปุ๋ย ได้ 30  คน นำร่อง ถ้าผลผลิตออกมาดี  เกษตรกรกลุ่มนี้จะรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยไส้เดือนเพื่อให้กลุ่มทำนาได้ลดรายจ่ายต้นทุนการชื้อปุ๋ยต่อไป

 

หนุนเสริมจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนและจัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าว 24 ต.ค. 2563 24 ต.ค. 2563

 

หนุนเสริมจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนและจัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวโดยใช้พื้นที่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน นายถาวร  คงนิล เป็นศูนย์การเรียนรู้ผลิตปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง และธนาคารเมล็ดพันธ์ของชุมชนในการส่งเสริมการทำนาอินทรีย์ในระยะต่อไป เนื่องจากในชุมชนไม่มีพื้นที่สาธารณะ  และที่ทำการผู้ใหญ่เป็นพื้นที่กลางของชุมชน ทุกคนเข้ามาร่วมได้

 

เกิดโรงผลิตปุ๋ยและจัดตั้งเมล็ดพันธ์ข้าว 1 แหล่ง จากการรวมกลุ่ม 30 คน โดยใช้บ้านผู้ใหญ่เป็นสถานที่กลาง ผลที่ได้หลังจากโครงการสนับสนุนปุ๋ย โรงปุ๋ยแล้วทางกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแย้มรวมตัวกันชื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก 1 เครื่องไว้ใช้สี่และคัดแยกเพื่อสร้างกระบวนการทำนาอินทรีย์ให้ครบวงจรเพื่อจะได้คำนวนต้นทุน  จุดคุ้มทุน  เพื่อใช้วิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะได้ตัดสินใจในการทำกลุ่มเพื่อให้เกิดการทำนาที่ชาวนาอยู่ได้  โดยจะผลักดันเข้าสู่แผนชุมชนขอสนับสนุนต่อไป

 

สรุปรายงานงวดที่ 1 14 พ.ย. 2563 14 พ.ย. 2563

 

ตรวจรายงานการเงินงวดที่ 1 การลงรายการเงินในการทำกิจกรรม

 

เจ้าหน้าที่การเงินและคณะทำงาน 3 คนมาร่วมเรียนรู้และดำเนินการลงรายการและปรับแก้ไขตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่การเงินและพี่เลี้ยง

 

เก็บ-วิเคราะห์ข้อมูลการทำนาในชุมชนบ้านโคกแย้ม 17 พ.ย. 2563 17 พ.ย. 2563

 

วิธีการดำเนินการ -หลังจากวันที่ 19 พย 63  คณะทำงานได้มอบหมายให้คณะทำงานเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ลงเก็บข้อมูลเกษตรกรทำนาทั้งหม่ดในชุมชนจำนวน 55  ครอบครัว -นำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อจะร่วมกันออกแบบวางแผนให้กับกลุ่มทำนาในระยะต่อไป - ผลจากการจากการร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลทำนาบ้านโคกแย้ม 1.1 สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา 1. บ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง  พื้นที่ทั้งหมู่บ้าน 1,122 ไร่ 2. เป็นพื้นที่ราบในเขตชลประทาน ทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
3. มีพื้นที่ทำนาในทุ่งตาลกรวม 1500 ไร่
4. อยู่ในเขตหมู่บ้านโคกแย้ม 980 ไร่
5. ประชากรชุมชนบ้านโคกแย้มจำนวน 220 ครัวเรือน  767คน เพศชาย 384คน เพศหญิง 383 คน
6. ประชาชนทำนา  80 ครัวเรือน
7. เทศบาลตำบลนาท่อมมีนโยบายสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวให้แก่เกษตรการทำนา  ทุกๆ 2 ปี ครั้งละ 10 ตัน ในราคา ตันละ 23,000 บาท
8. พันธุ์ข้าวที่ได้รับการส่งเสริมจะเก็บทำพันธุ์ใช้ซ้ำได้เพียงครั้งเดียว  เกษตรกรยังไม่มุ่งเน้นการเก็บเมล็ดพันธ์อย่างจริงจัง
9. เกษตรกรทำนาปกติขายข้าวเปลือกราคาต่ำที่ราคา 6000-8000บาทต่อตัน  เมื่อเทียบกับราคาเมล็ดพันธุ์จะเห็นว่าต่างกันเกือบ 4 เท่าตัว
10. การทำนาของเกษตรกรยังเป็นการทำนาที่ยังใช้สารเคมีในการทำนา ปีละ 2 ครั้ง คือ นาปรังและนาปี และการทำนาติดต่อไม่มีการพักดิน หรือบำรุงดินด้วยวิธีการ เช่น ปลูกปุ๋ยพืชสด หรือ ปลูกพืชอื่นทดแทนไม่เคยมี สืบเนื่องจากความสมบูรณ์ของน้ำชลประทานที่สามารถจัดการได้ ชุมชนบ้านโคกแย้มโดยการนำของผู้ใหญ่บ้าน แกนนำและคนทำนา ได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์พร้อมกับแกนนำชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน เกษตรตำบลนาท่อม รวมถึงเทศบาลตำบลนาท่อม เกษตรอำเภอ  พัฒนาชุมชน ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันซึ่งพบว่า 1. เกษตรกรคนทำนา ยังขาดความรู้เรื่องการจัดการพื้นที่นาให้สามารถสร้างรายได้เพิ่ม
2. การทำนายังคงทำตามความเชื่อเดิมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
3. ยังไม่มีความรู้การใช้เมล็ดพันธ์ที่ได้มีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เอง
4. การทำนายังเป็นแบบต่างคนต่างทำ หรือขาดการร่วมกลุ่ม  ยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาผลผลิต
5. ปัจจุบันสภาพแวดล้อมการทำนาเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นที่นาแปลงเล็ก ๆ ที่มีเจ้าของถือครองกระจัดกระจายเป็นที่นารายย่อยถือกรรมสิทธิ์
6. สถานการณ์ปัจจุบันการทำนาเป็นของรายใหญ่ 5-6  รายที่มีเครื่องจักรถไถ  รถเกี่ยว ที่รวบรวมนารายย่อยหรือดำเนินการเหมาเช่าทำเอง ส่วนรายย่อยเหลือไม่กี่คน 7. ดังนั้นการจัดการนาข้าว ให้เป็นนาข้าวอินทรีย์ในทุ่งตาลก  บ้านโคกแย้ม ต้องมุ่งไปที่เจ้าของนาแปลงใหญ่เป็นสำคัญ

ในการปรับสภาพแวดล้อมการทำนา(ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม)เข้าร่วมโครงการ 1. ทุ่งตาลกเนื้อที่ 1500 ไร่ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านตำบลนาท่อม(หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที 4)  4 ตำบล( ตำบลท่ามิหรำ ตำบลท่าแค ตำบลร่มเมือง  ตำบลนาท่อม)  อยู่ในเขตบริการชลประทานสายหลัก สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
2. เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดของในตำบลนาท่อม ทุ่งตาลกมีกำลังการผลิตข้าวนาปีได้ที่ 800 ตันต่อปี  และสามารถผลิตข้าวนาปรังได้ที่ 900 ตันต่อปี
3. จากข้อมูลเกษตรกรทำนา  55  คนที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้การผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยบ้านโคกแย้ม จำนวน 249.5  ไร่ ทำนาปีละ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตรวมดังนี้  การผลิตข้าวนาปีได้ที่ 125 ตันต่อปี  และสามารถผลิตข้าวนาปรังได้ที่ 135 ตันต่อปี
4. เกษตรกรทำนาได้เก็บข้าวที่ปลูกไว้กินในครัวเรือน จากข้อมูล 55 ครัวเรือน เก็บข้าวไว้กินตลอดปี จำนวน 51 ครัวเรือน ทำเพื่อขาย 4  ครัวเรือน  เกษตรกรทำนาต้องชื้อข้าวกิน 6  ครัวเรือนจำนวน 185 กก/ปี 5. เกษตรกรทำนาต้นแบบ จำนวน 35 ครัวเรือน จำนวน 50 ไร่ปรับเปลี่ยนทำนาเลิกใช้สารเคมียาฉีดหญ้า  ยาคุมหญ้า ใช้อินทรีย์ปรับปรุงดิน 6. ในการทำนาของเกษตรกรต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 40 ตันต่อปี  ซึ่งในกรณีที่ชาวนาจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์เอง จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดพัทลุง ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท สำหรับเกษตรกรทำนาข้าวตำบลนาท่อมได้รับการสนับสนุนพันธุ์ข้าวจากเทศบาลตำบลนาท่อม 7. เกิดการรวมกลุ่มทำนาปรับเปลี่ยนสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม จำนวน 35  ครัวเรือน พื้นที่ 50  ไร่ ลงทุนชื้อเครื่องสีข้าขนาดเล็ก

ข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ 1. เกษตรกรกลุ่มทำนาได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเทศบาลสนับสนุนทุก 2 ปี ช้า(หลังเกษตรกรได้ลงมือทำนาไปแล้ว)ต้นทุนยังเหมือนเดิม 2. โครงการดำเนินงานช้ากว่ากำหนด กระบวนการเรียนรู้ดูงานการทำนาอินทรีย์ได้เริ่มเกิดขึ้นหลังจาก ชาวนาได้ทำการ ได้เตรียมแปลง ไถ่หว่านไปแล้ว ทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นหลังจากเตรียมแปลง

 

ผลผลิต
-จำนวนครัวเรือนเกษตรกรทำนาในบ้านโคกแย้ม จำนวน 55 ครัวเรือน  จำนวน ไร 249.5 ไร ผลลัพธ์ - จากข้อมูลเกษตรกรทำนา 55 คนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้การผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยบ้านโคกแย้ม จำนวน 249.5 ไร่ และทำนาปีละ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตรวมดังนี้ การผลิตข้าวนาปีได้ที่ 125 ตันต่อปี และสามารถผลิตข้าวนาปรังได้ที่ 135 ตันต่อปี
- เกษตรกรทำนาได้เก็บข้าวที่ปลูกไว้กินในครัวเรือน จากข้อมูล 55 ครัวเรือน เก็บข้าวไว้กินตลอดปี จำนวน 51 ครัวเรือน ทำเพื่อขาย 4 ครัวเรือน เกษตรกรทำนาต้องชื้อข้าวกิน 6 ครัวเรือนจำนวน 185 กก/ปี - สมัครเป็นเกษตรกรทำนาต้นแบบ จำนวน 35 ครัว จำนวน 50 ไร่สู่การปรับเปลี่ยนทำนาเลิกใช้สารเคมียาฉีดหญ้า ยาคุมหญ้า ใช้อินทรีย์ปรับปรุงดินแทน - ในการทำนาของเกษตรกรต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 40 ตันต่อปี ซึ่งในกรณีที่ชาวนาจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์เอง จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดพัทลุง ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท สำหรับเกษตรกรทำนาข้าวตำบลนาท่อมได้รับการสนับสนุนพันธุ์ข้าวจากเทศบาลตำบลนาท่อม - เกิดการรวมกลุ่มทำนาปรับเปลี่ยนสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม จำนวน 35 ครัว พื้นที่ 50 ไร่ ลงทุนชื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็กเพื่อลองผลิตและแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ไว้จำหน่ายในกลุ่มในระยะก่อตัว

ผลกระทบ
  -ผลกระทบจาการศึกษาดูงาน วิชาลัยรวงข้าวในการทำนาอินทรีย์ครบวงจร ทำให้กลุ่มทำนาบ้านบ้านโคกแย้มได้นำเอารูปแบบของวิชชาลัยรวงข้าวมาทดลอง โดยการรวมตัวซื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ของสมาชิกกลุ่มทำนาต้นแบบ 35 ครัว 50 ไร่

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 19 พ.ย. 2563 19 พ.ย. 2563

 

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2
วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนผลการทำกิจกรรม  เพื่อกำหนดมอบหมายให้คณะทำงานเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ ร่วมกันออกแบบวางแผน กำหนดกติกาการทำนาในทุ่งตาลก บ้านโคกแย้ม ขั้นตอนการดำเนินการ - ผู้ใหญ่ประธานกลุ่มทำนาบ้านโคกแย้ม  สรุปผลการดำเนินกิจกรรมทำนาบ้านโคกแย้มหลังจากกลุ่ม หลังจากเกษตรผู้ทำนาได้ไปศึกษากระบวนการทำนาอินทรีย์ ณ.วิชชาลัยรวงข้าว แล้วนำมารับใช้กับทุ่งนาตาลก  บ้านโคกแย้ม  เกษตรกรจำนวน 60  คนได้ร่วมเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน การทำนานั้น ได้นำมาปรับกับชุมชน เนื่องจากกระบวนการทำนาให้พึ่งตนเองได้นั้น ชาวนาต้องรวมกลุ่มกัน และต้องมีเครื่องสีข้าวเพื่อจะได้ทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวขึ้นมาเพื่อจำหน่ายสร้างมูลค่าในรูปผลลิตภัณฑ์ตางๆ ที่เหลือจากการบริโภค นี้เป็นข้อสรุปจากการไปศึกษาดูงาน
    - คณะทำงานได้รวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ่๋ยอินทรีย์ และรวมเงินทุนกันชื้อเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก 1 เครื่องเพื่อใช้ในการสร้างกลุ่มเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ และปรับปรุงสร้างผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ในขณะนี้กลุ่่มได้ก่อตัวร่วมกันดำเนินการหลังจากดูงาน     - ทางกลุ่มหรือแกนนำคนสำคัญที่เป็นคณะทำงานได้เช็ญ เกษตรอำเภอ และพัฒนาชุมชนในการเป็นคณะทำงานฝ่านติดตามประเมินผล  ทางคณะพัฒนาชุมชนจะมีงบประมาณมาสนับสนุนการแปรรูป ส่วนเกษตรอำเภอจะสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่แต่มีเงื่อนไขต้องเป็นพื้นที่ 300  ไร  สำหรับเทศบาลนำโดยเกษตรตำบลนาท่อม ได้เข้าร่วมและได้เน้นย้ำเรื่องการให้เมล็ดพันธุ๋ข้าวทุก 2 ปี     -ประเด็นเรื่องการเก็บข้อมูล  เนื่องจากชุมชนบ้านโคกแย้มส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่ทำนา  ควรให้ลูก ๆ เด็กเยาวชน มาเก็๋บข้อมูลได้สร้างผู้นำรุ่นใหม่ไปด้วย

 

ผลผลิต   จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 20  คน ผลลัพธ์   -คณะทำงานได้รับทราบการสนับสนับสนุนการทำนาอินทรีย์หรือเกษตรแปลงใหญ่ ต้องจำนวน 300 ไร่
  -ได้คณะทำงานที่เป็นคนหนุ่มสาวในพื้นที่ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และได้เสนอกับเกษตรอำเภอให้คนหนุ่มสาวไปสมัคร ยังสมาทร์ฟาร์มเมอร์กับเกษตรอำเภอร์ด้วย เนื่องจากเด็กเยาวชนในชุมชนจะไม่ทำนา   -ส่วนเครื่องสีข้าวต้องให้เก็บเกี่ยวก่อนจึงพัฒนาแปรรูป

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากลุ่มทำนาบ้านโคกแย้ม 1 23 พ.ย. 2563 23 พ.ย. 2563

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำนาปลิดภัยสู่นาเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแย้ม ครั้งที่ 1
วิธีการขั้นตอน

คณะทำงานนาข้าวปลอดภัย 20 คน -เกษตรอำเภอ -เกษตรตำบลนาท่อม ตัวแทนเทศบาลตำบลนาท่อม -กำนันตำบลนาท่อม -คณะทำงานและกรรมการ -ประชาชนผู้ทำนา

ขั้นตอน
-ผู้ใหญ่นำเสนอผลการดำเนินงานตามแผนงานและตามบันใดผลลัพธ์ ณปัจจุบันอยู่ตรงไหน ทำกิจกรรมและตอบตัวชี้วัดโครงการอะไรบ้าง
รายละเอียดดังนี้

สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ สาเหตุของปัญหา 1. บ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง พื้นที่ทั้งหมู่บ้าน 1,122 ไร่ 2. เป็นพื้นที่ราบในเขตชลประทาน ทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
3. มีพื้นที่ทำนาในทุ่งตาลกรวม 1500 ไร่
4. อยู่ในเขตหมู่บ้านโคกแย้ม 980 ไร่
5. ประชากรชุมชนบ้านโคกแย้มจำนวน 220 ครัวเรือน 767คน เพศชาย 384คน เพศหญิง 383 คน
6. ประชาชนทำนา 80 ครัวเรือน
7. เทศบาลตำบลนาท่อมมีนโยบายสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวให้แก่เกษตรการทำนา ทุกๆ 2 ปี ครั้งละ 10 ตัน ในราคา ตันละ 23,000 บาท
8. พันธุ์ข้าวที่ได้รับการส่งเสริมจะเก็บทำพันธุ์ใช้ซ้ำได้เพียงครั้งเดียว เกษตรกรยังไม่มุ่งเน้นการเก็บเมล็ดพันธ์อย่างจริงจัง
9. เกษตรกรทำนาปกติขายข้าวเปลือกราคาต่ำที่ราคา 6000-8000บาทต่อตัน เมื่อเทียบกับราคาเมล็ดพันธุ์จะเห็นว่าต่างกันเกือบ 4 เท่าตัว
10. การทำนาของเกษตรกรยังเป็นการทำนาที่ยังใช้สารเคมีในการทำนา ปีละ 2 ครั้ง คือ นาปรังและนาปี และการทำนาติดต่อไม่มีการพักดิน หรือบำรุงดินด้วยวิธีการ เช่น ปลูกปุ๋ยพืชสด หรือ ปลูกพืชอื่นทดแทนไม่เคยมี สืบเนื่องจากความสมบูรณ์ของน้ำชลประทานที่สามารถจัดการได้ ชุมชนบ้านโคกแย้มโดยการนำของผู้ใหญ่บ้าน แกนนำและคนทำนา ได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มทำนาอินทรีย์พร้อมกับแกนนำชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน เกษตรตำบลนาท่อม รวมถึงเทศบาลตำบลนาท่อม เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันซึ่งพบว่า 1. เกษตรกรคนทำนา ยังขาดความรู้เรื่องการจัดการพื้นที่นาให้สามารถสร้างรายได้เพิ่ม
2. การทำนายังคงทำตามความเชื่อเดิมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
3. ยังไม่มีความรู้การใช้เมล็ดพันธ์ที่ได้มีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เอง
4. การทำนายังเป็นแบบต่างคนต่างทำ หรือขาดการร่วมกลุ่ม ยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาผลผลิต
5. ปัจจุบันสภาพแวดล้อมการทำนาเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นที่นาแปลงเล็ก ๆ ที่มีเจ้าของถือครองกระจัดกระจายเป็นที่นารายย่อยถือกรรมสิทธิ์
6. สถานการณ์ปัจจุบันการทำนาเป็นของรายใหญ่ 5-6 รายที่มีเครื่องจักรถไถ รถเกี่ยว ที่รวบรวมนารายย่อยหรือดำเนินการเหมาเช่าทำเอง ส่วนรายย่อยเหลือไม่กี่คน 7. ดังนั้นการจัดการนาข้าว ให้เป็นนาข้าวอินทรีย์ในทุ่งตาลก บ้านโคกแย้ม ต้องมุ่งไปที่เจ้าของนาแปลงใหญ่เป็นสำคัญ

ในการปรับสภาพแวดล้อมการทำนา(ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม)ผู้เข้าร่วมโครงการ 1. ทุ่งตาลกเนื้อที่ 1500 ไร่ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านตำบลนาท่อม(หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที 4) 4 ตำบล( ตำบลท่ามิหรำ ตำบลท่าแค ตำบลร่มเมือง ตำบลนาท่อม) อยู่ในเขตบริการชลประทานสายหลัก สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
2. เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่ที่สุดของในตำบลนาท่อม ทุ่งตาลกมีกำลังการผลิตข้าวนาปีทั้งหมดได้ที่ 800 ตันต่อปี และสามารถผลิตข้าวนาปรังได้ที่ 900 ตันต่อปี
3. จากข้อมูลเกษตรกรทำนาเฉพาะเกษตรทำนาหมู่ที่ 2 จำนวน 55 คนที่เข้าร่วมโครงการเรียนรู้การผลิตและบริโภคข้าวปลอดภัยบ้านโคกแย้ม จำนวน 249.5 ไร่ ทำนาปีละ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตรวมดังนี้ การผลิตข้าวนาปีได้ที่ 125 ตันต่อปี และสามารถผลิตข้าวนาปรังได้ที่ 135 ตันต่อปี
4. เกษตรกรทำนาได้เก็บข้าวที่ปลูกไว้กินในครัวเรือน จากข้อมูล 55 ครัวเรือน เก็บข้าวไว้กินตลอดปี จำนวน 51 ครัวเรือน ทำเพื่อขาย 4 ครัวเรือน เกษตรกรทำนาต้องชื้อข้าวกิน 6 ครัวเรือนจำนวน 185 กก/ปี 5. เกษตรกรทำนาต้นแบบ จำนวน 35 คน จำนวน 50 ไร่ปรับเปลี่ยนทำนาเลิกใช้สารเคมียาฉีดหญ้า ยาคุมหญ้า ใช้อินทรีย์ปรับปรุงดิน 6. ในการทำนาของเกษตรกรต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 40 ตันต่อปี ซึ่งในกรณีที่ชาวนาจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์เอง จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดพัทลุง ในราคากิโลกรัมละ 25 บาท ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้น 1,000,000 บาท สำหรับเกษตรกรทำนาข้าวตำบลนาท่อมได้รับการสนับสนุนพันธุ์ข้าวจากเทศบาลตำบลนาท่อม 7. เกิดการรวมกลุ่มทำนาปรับเปลี่ยนสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม จำนวน 35 คน พื้นที่ 50 ไร่ ลงทุนชื้อเครื่องสีข้าขนาดเล็ก 8.
ข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมโครงการในครั้งนี้ 1. เกษตรกรกลุ่มทำนาได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเทศบาลสนับสนุนทุก 2 ปี ช้า(หลังเกษตรกรได้ลงมือทำนาไปแล้ว)ต้นทุนยังเหมือนเดิม 2. โครงการดำเนินงานช้ากว่ากำหนด กระบวนการเรียนรู้ดูงานการทำนาอินทรีย์ได้เริ่มเกิดขึ้นหลังจาก ชาวนาได้ทำการ ได้เตรียมแปลง ไถ่หว่านไปแล้ว ทำให้กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นหลังจากเตรียมแปลง จากข้อมูลโดยสรุป
-เกษตรกรทำนาหมู่ที่ 2 บ้านโ่คกแย้ม ทำนา 2 ครั้งต่อปี และเก็บข้าวที่ทำไว้กินให้เพียงพอใน 1 ปี จากคนทำนา 55 ครอบครัว กินข้าวที่ปลูก 51 ครัว ส่วนที่เหลือจำหน่ายให้พอค้า ต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มจต่อรองราคา เกษตรกรที่ทำนาเพื่อขายข้าวอย่างเดี่ยว 4 คน

มีข้อเสนอจากเกษตรอำเภอ ให้รวมตัวกันจำนวนอย่างน้อยเกษตรกรทำนา 30 ราย 300 ไร่ทางเกษตรจะสนับสนุนเกษตรทำนาแปลงใหญ่

 

ผลลิต -คณะทำงานจำนวน 21 คนที่รวมทั้งภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วม เช่น เกษตรอำเภอ โดยนางวันวิสา สุขปาน เทศบาลตำบลนาท่อม พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง โดยกฤติยา ชูแสง กำนันอนุชา เฉลาชัย และสมาชิกกลุ่มทำนา ผลลัพธ์ - การดำเนินโครงการอยู่ในบันใดที่ 2 และบันใดสุดท้าย มีจำนวนเกษตรกรทำนาต้นแบบ 35 คน ทำนาจำนวน 50 ไร่ มีผู้ทำนา 55 ครัวเรือน ทำไว้เพื่อกิน 51 ครัวเรือนที่เหลือกินขายเป็นรายได้ทั้ง 55 ครัวเรือน

 

ค่าจัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ฯ 30 พ.ย. 2563

 

 

 

 

 

เรียนรู้กระบวนทำนาอินทรีย์ 20 ราย 5 ธ.ค. 2563 5 ธ.ค. 2563

 

จากการศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำนาอินทรีย์จำนวน 60  คน ณ ทุ่งชัยรอง  วิชาชาลัยรวงข้าว ต.พนางตุง โดยนายอำมร  สุขวิน และเครือข่าย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563  ได้เรียนรู้กระบวนการทำนาอินทรีย์  การผลิตข้าวอินทรีย์มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไปจะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอนการผลิต ดังนี้ 1. การเลือกพื้นที่ปลูก  2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว  3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว  4. การเตรียมดิน  5. วิธีปลูก  6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน  7. ระบบการปลูกพืช 8. การควบคุมวัชพืช  9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช  10. การจัดการน้ำ  11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น  12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก  13. การสี(กลุ่มต้องมีโรงสี)  14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า 15. การใช้ประโยชน์จาก ข้าว เช่น แกลบ จมูกข้าว ปลายข้าว  รำ อื่นๆ นำมาแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์  16. การผลิตปุ๋ย

ผลจากการเรียนรู้ การทำนาของชาวนาหมู่ที่ 2 เห็นความแตกต่างกัน เรื่องการบริหารจัดการน้ำ กระบวนการทำนา ตำบลนาท่อมมีระบบน้ำชลประทานดีมาก แต่ขาดการบริหารจัดการ ต่างคนต่างทำ ทำให้การบริหารน้ำเข้าน้ำออกไม่ได้  ต่างคนทำทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการใช้น้ำควบคุมหญ้าทำให้ได้ผลผลิตจำนวนน้อยกว่าคนที่ทำนาในระบบปกติ

 

ผลผลิต (Output)  มีชาวนาและผู้เข้าร่วมจำนวน 20 คน จากคนต้น ผลลัพธ์ (Outcome) ชาวนาเกิดความตระหนักเห็นเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังการจดการน้ำ  คือ ถ้าเหมืองมีการจ้ดการน้ำได้ดี ทุ่งตาลกมีศักยสามารถมาณถทำนา

 

แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการทำนานาอินทรีย์และแบ่งบทบาทหน้าที่ 6 ธ.ค. 2563 6 ธ.ค. 2563

 

แนวคิดในการตั้งคณะทำงานเป็นกลไก ปรับปรุง พัฒนา ขยายผลการทำนาปลอดภัย สู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม คือ     1.คัดเลือกบุคคลที่มีบทบาทในการผลักดันให้เกิดการขยายพื้นที่การทำนาอินทรีย์ในพื้นที่บ้านโคกแย้มดังนี้ -นายกพีรพงค์ บาลทิพย์ เป็นที่ปรึกษาบทบาทพี่เลี้ยงส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งเป็นนโยบายของตำบลด้านการเกษตรอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อม -กำนันอนุชา เฉลาชัยเป็นประธาน บทบาทเชื่อมคน เชื่อมงานทั้งภายในภายนอก
-ผู้ใหญ่บ้านม.2 นายถาวร  คงนิล เป็นรองประธานในการขับเคลื่อนกลุ่มนาเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ และเป็นคนต้นแบบในการทำนาปลอดภัยมาเป็นเวลาหลายปี
-เกษตรทำนารายใหญ่ 3-5  คนมีบทบาทผู้เข้าร่วมกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่การทำนาอินทรีย์ -เกษตรอำเภอที่ดูตำบลนาท่อม นางวันวิสา  ชูปาน ดูแลงานส่งเสริมการกลุ่มทำนาอินทรีย์บทบาทเป็นผู้ประเมิน -พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง นางกฤติยา  ชูแสง ส่งเสริมสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มรายได้ บทบาทเป็นผู้ประเมิน -ศนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี่การเกษตรตำบลนาท่อม บทบาทกลไกเชื่อมกับนโยบายท้องถิ่นเช่นการสนับสนุเมล็ดพันธุ์ข้าวทุก 2 ปี คณะทำงานเป็นกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม โดยมีการแบ่งบทบาทหน้าที่

 

ผลผลิต (Output) มีผู้เข้าร่วม 30  คน เป็นคณะทำงานทีเป็นกลไก จำนวน 21  คน ที่มาจาก 4 ภาคส่วน ผลลัพธ์ (Outcome) คณะทำงานนาปลอดภัยสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้มประกอบด้วย 4 ภาคส่วน แบ่งบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อน เรียนรู้ พัฒนา ต่อยอด และขยายพื้นที่ทำนา โดยมีเป้าหมาย ในการทำนาเพื่อบริโภคและเหลือบริโภคไว้ขาย

 

ประชุมคณะทำงานครั้ง 3 17 ธ.ค. 2563 17 ธ.ค. 2563

 

ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม เพื่อทบทวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปใช้ในการปรับปรุงการทำนาปลอดภัยสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแยก้ม โดยมี ผู้ใหญ่ ถาวร  คงนิลเป็นประธาน

สรุปเรื่องที่ประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนมีดังนี้ 1.ทบทวนเกษตรกรทำนาบ้านโคกแย้ม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร หลังจากได้ไปเรียนรู้  ดูงาน จากตำบลพนางตุงที่เราต้้งเป้าหมายให้มีครัวเรือนทำนาอย่างน้อย 50 คนสมัครใจเข้าร่วมเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจรโดยการทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและผลกระทบที่เกิดจากผลิตและบริโภค
  2. ผู้ที่สมัครใจร่วมโครงการสามารถออกแบบและสร้างแผนการปลูกข้าวปลอดภัยได้อย่างน้อย 100 ไร่ และในเบื้องต้นคนที่เข้าร่วม จำนวน 55 ครอบครัว และจำนวน 249.5 ไร่   3. คณะทำงานมีความเห็นร่วมกันว่าการทำนาบ้านโคกแย้ม ส่วนใหญ่เป็นนาขนาดเล็ก 3-5  ไร่ ยังมีคนที่ทำนาโดยการรวมนารายเล็กและดำเนินการแทน และมีเครื่องจักร รถไถ รถเก็บ ปุ๋ย เมล็ดพันธ์  คณะทำงานต้องไปชวนมาร่วมทำนาปลอดภัยด้วย จะทำให้ทุ่งนาตาลก บ้านโคกแย้มเป็นทุ่งนาที่ไม่ใช้สารเคมีต่อไป     4. คณะทำงานขับเคลื่อนพบปัญหา เรื่องระบบน้ำที่จัดการไม่ได้ คือ น้ำเข้า กับน้ำออก  และเรื่องกติกาของคนทำนา เนื่องจาก เป็นทุ่งนาบ้านโคกแย้ม เป็นนาแปลงเล็กของรายเล็กๆ คนทำนาก็อยู่ในต่อเพื่อนที่ เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ การบริหารจัดการน้ำก็ไม่สะดวก ทำให้เกษตรทำนายังต้องใช้ยาคุมหญ้าอยู่  แต่แปลงไหนที่ควบน้ำ หรือจัดการน้ำได้ก็ไม่มีปัญหา  และเหมืองน้ำที่สูงกว่าไม่สามารถทดน้ำได้ เรื่องนี้นำเสนอให้ทางหน่วยงานชลประทานและทางเทศบาลช่วยในช่วงเดือนเมษาปี 2565 ซึ่งทางเทศบาลได้นำเข้าแผนไว้แล้ว

 

ผลผลิต (Output) จำนวนผู้เข้าร่วม 20  คน
ผลลัพธ์ (Outcome)การดำเนินงานการทำนาปลอดภัยสู่นาอินทรีย์บ้านโคกแย้มคณะทำงานมีการประสานผู้ทำนารายใหญ่ จำนวน 5 รายตามข้อเสนอให้เข้าร่วมในการทำนาปลอดภัยบ้านโคกแย้ม และปัญหาการมีหญ้าของชาวนาที่ต้องการทำนาปลอดภัย ได้ข้อสรุปร่วมกันคือ ต้องมีระบบน้ำที่มีการจัดการได้ เนื่องจากน้ำที่ใช้ในการทำนาในขนะนี้มีปัญหาท้องเหมืองสูงกว่าน้ำคลองชลประทานทำให้การทดน้ำลำบาก วิธีการแก้ไขได้เสนอเข้าแผนหมู่บ้านโดยคำแนะนำและประสานของพี่เลี่้ยงช่วยนำเข้าสู่การแก้ไขเร่งด่วน ผลที่ได้ ทางเทศบาลตำบลนาท่อมเข้าแผนจะมาดำเนินการหลังเก็บเกี่ยวนาปี

 

วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบวางแผนขยายพื้นที่ทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม 2 ม.ค. 2564 2 ม.ค. 2564

 

ประชุมเก็บข้อมูลการทำนาบ้านโคกแย้มโดยมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ ใช้แบบการเก็บข้อมูลเกษตรทำนาแปลงใหญ่(รายละเอียดตามแนบ)
1.  เก็บข้อมูลย้อนหลังการทำนาในทุ่งตาลก ด้านต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่ รายได้ต่อไร่ การรวมกลุ่ม 2.  ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ต้นทุน ผลผลิต และกำไร

 

ผลผลิต (Output) จำนวนผู้ร่วมวิเคราะห์ 30  คน
ผลลัพธ์ (Outcome)มีฐานข้อมูลการทำนาบ้านโคกแย้ม  ทำให้เกษตรทำนาทราบ ต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่ รายได้ต่อไร่ การรวมกลุ่ม  (เอกสารแนบผลการวิเคราะห์)

 

พัฒนาศักยภาพกลุ่มนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม (จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ พัฒนาผิตภัณฑ์) 16 ม.ค. 2564 19 พ.ค. 2564

 

ประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเครือข่ายครอบครัวคนนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม รายละเอียดกิจกรรม
1. ร่วมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ  พัฒนาผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 1ผลิตภัณฑ์และออกแบบงาน 2. เตรียมกิจกรรมใช้ในงานรณรงค์เชื่อมร้อยเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุงในงานประจำปี คือ   งานลาซังทุ่งตาลกประจำปีครั้งที่1...และร่วมกับงานตลาดนัดของดีนาท่อม จัดที่บ้านโคกแย้ม ปีนี้เกิดปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ทำให้กิจกรรมที่จัดเตรียมวันนี้ใช้ในงานปิดและคืนข้อมูล 3. การรวมเครือคนทำเกษตรอินทรีย์ ทำนา ปลูกผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ผู้ทำเกษตรอินทรีย์จากหลายเครือข่ายอินทรีย์ภายในและภายนอกชุมชน ปีนี้ ปรับเป็นรวมคนในตำบลนาท่อม เพราะติด พรก.โรคระบาดทำให้การรวมคนมีข้อจำกัด 4. จัดให้มีวงเสวนาการในหัวข้อการเชื่อมร้อยเครือข่ายกันอย่างไรให้ยังยืน  นำกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมการกิจ  การละเล่น  พิธีกรรม และการเสวนา เพื่อให้มีดำเนินการต่อเนื่องทุกปีผูกโยงกับการท่องเที่ยวชุมชน

 

ผลผลิต (Output) แกนคนทำงาน กลุ่มนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม จำนวน 30  คน ผลลัพธ์ (Outcome)
-  เกิดวิสาหกิจชุมชนนาอินอินทรีย์บ้านโคกแย้ม มีผลิตภัณฑ์  ข้าวกล้อง ข้าวขาวพื้นบ้านทั่วไป  อัดฟางข้าว  เมล็ดพันธ์พื้นถิ่น  โรงสีข้าวขนาดเล็ก ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง น้ำ ข้าวอาหารสัตว์ - กิจกรรมและผลิตภัณฑ์คนรับผิดชอบในการต่อยอด ขยายผล โดยมีพัฒนาชุมชน  เกษตรอำเภอ  เทศบาลร่วมให้การสนับสนุน

 

ประชุมคณะทำงานครั้ง 4 20 ม.ค. 2564 20 ม.ค. 2564

 

ประชุมคณะทำงานนาอินทรีย์บ้านโคกแย้มร่วมกับประชาชน นายถาวร  คงนิล ผู้ใหญ่บ้าน ได้ชี้แจงกลุ่มทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม - จากการได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานโครงการนาปลอดภัยสู่นาอินทรีย์ ของบ้านโคกแย้ม หมู่ที่ 2  การดำเนินมีปัญหาอุปสรรค์เรื่องโรคระบาดโควิด 19  ทำให้หมู่บ้านได้รับผลกระทบในการดำเนินโครงการ คือ การรวมคน ทำกิจกรรมจำนวนมากไม่ได้่  แต่กิจกรรมอื่นสามารถดำเนินการได้ปกติ เพราะชุมชนเราเป็นเกษตร อาชีพทำนา  ดังนั้นการประชุมเป็นการชี้แจงให้เห็นว่าการดำเนินงานเป็นไปตามแผนถึงแม้การรวมคนเราไม่สามารถทำได้ก็ตาม
        ผู้ใหญ่ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบ ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นดังนี้ 1.  การทำนาปลอดภัยในครั้งนี้มีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องช่วยเหลือหลายภาคส่วน เช่น
      -เทศบาลนอกจากช่วยเรื่องเมล็ดพันธ์แล้ว ยังตั้งงบประมาณขุดลอดเหมืองในทุ่งนาบ้านโคกแย้มในช่วงโควิด 19 เพื่อให้ชุมชนได้มีงานทำ มีรายได้ และเหมืองได้รื้อให้กับชาวนาได้ใช้ประโยชน์  ส่วนที่ยังมีปัญหาอยู่ ได้เสนอเข้าแผนเพื่อดำเนินการให้ในช่วงที่เก็บเกี่ยวนาปีแล้ว ประมาณเดือนมีนาคม  เดือนเมษายน 2565
        -เกษตรอำเภอได้สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อการสนับสนุนการทำเกษตรแปลงใหญ่         -พัฒนาชุมชนต้องการช่วยสนับสนุนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการทำนา         -ส่วนพี่เลี้ยงการขับเคลื่อนนาปลอดภัยสู่นาอินทรีย์  เสนอและผักดันให้เกิดการทำนาครบวงจร สร้างกระบวนการทำนาอินทรีย์(ปลอดภัย)ครบวงจร สร้างกระบวนการเรียนรู้ข้อมูลเพื่อเพิมมูลค่าคนทำนาบ้านโคกแย้ม โดยการเสนอให้รวมกลุ่ม ทำโรงสี โดยชุมชนเริ่มรวมกลุ่มชื้อโรงสีขนาดเล็กนำร่องก่อนในการสีกินเองก่อน แล้วค่อยสีแปรรูป         -ผู้ใหญ่มีแหล่งเรียนรู้โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย แห้งและน้ำ เพื่อบริการพี่น้องประชาชนในชุมชน         -เกิดแหล่งเรียนรู้โคกหนองนา ในชุมชนบ้านโคกแย้มหมู่ที่ 2

 

ผลผลิต (Output)     จำนวนผู้เข้าร่วม 30 คนเป็นแกนนำคนทำงานที่รับผิดชอบผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ผลลัพธ์ (Outcome)
      ชุมชนบ้านโคกแย้มได้มีความรู้ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา สมาชิกทำนา 55 ครอบครัว จำนวน 249.5 ไร มีโรงปุ๋ยอินทรีย์  มีโคกหนองนา  มีโรงสีขนาดเล็ก  เกิดกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่ 2 เชื่อมร้อยเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง 6 ส.ค. 2564 6 ส.ค. 2564

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ผลผลิต

 

ค่าทำนิทรรศการกิจกรรมคืนข้อมูล 6 ส.ค. 2564 4 ก.ย. 2564

 

คืนข้อมูลการดำเนินงานการทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน ผลลัพธ์

 

สรุป คืนข้อมูลการทำนาอินทรีย์บ้านโคกแย้ม 4 ก.ย. 2564

 

 

 

 

 

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ไม่เกิน 1,000 บาท 30 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

ค่าสรุปรายงาน

 

ผลลิต

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 30 ก.ย. 2564 30 ก.ย. 2564

 

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

ผู้รับทุนโครงการได้รับเงินยืมทดรองจ่ายคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร