directions_run

การจัดการปัญหาขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์ ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม 21 ก.ค. 2563 10 ต.ค. 2564

 

ส่วนสนับสนุนเพิ่มเติมจาก สสส เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง ค่าอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

 

ได้ร่วมกิจกรรมครบ

 

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 7 ส.ค. 2563

 

 

 

 

 

กิจกรรมย่อยที่ 2 ประชุมและกำหนดกติกาขยะ 13 ส.ค. 2563

 

 

 

 

 

กำหนดกติกาขยะ ครั้งที่ 1 19 ม.ค. 2564 19 ม.ค. 2564

 

ร่วมปรึกษาหารือในการกำหนดกติกาการจัดการขยะโดยสรุปข้อมูลจากทุกภาคส่วน เพื่อยกร่างข้อตกลงการจัดการขยะ

 

ได้ข้อตกลง ในการจัดการขยะ

 

กิจกรรมที่ 3 ติดตามคืนข้อมูล 16 มี.ค. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน 30 เม.ย. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 5 การจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ 5 พ.ค. 2564

 

 

 

 

 

บัญชีธนาคาร 10 ต.ค. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 5 การจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ 5 ก.ค. 2563 10 ต.ค. 2564

 

จัดทำคลิปวิดีโอ ความยาว 3 นาที

 

ลงเผยแพร่ ใน ยูทูป ชื่อ โครงการการจัดการขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลเกาะสุกร

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 5 ก.ค. 2563 10 ต.ค. 2564

 

คืนเงินยืมทดลองจ่ายค่าเปิดบัญชี

 

คืนเงินยืมทดลองจ่ายค่าเปิดบัญชี

 

เวทีปฐมนิเทศน์คณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีอสร์ท 21 ก.ค. 2563 21 ก.ค. 2563

 

คณะทำงาน โดย นางราตรี จิตรหลัง ประธานโครงการ นายยงยุทธ ไชยมล ผู้จัดการโครงการ นางสาวพิมลรัตน์ เทศนอกและนางสาวชลนา ปากบารา ผู้ประสานงาน เข้าร่วมเวที ปฐมนิเทศน์คณะทำงานโครงการการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ณ ภูผายอดรีอสร์ท

 

ได้รับทราบข้อมูลและการดำเนินงานตามแผนงานที่ชัดเจนมากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 7 ส.ค. 2563 7 ส.ค. 2563

 

ออกหนังสือเชิญประชุมแกนนำชาวบ้าน เพื่อคัดเลือกคณะทำงาน โครงการ "การจัดการขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์" ในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00-17.00 น ห้องประชุมสภา อบต.เกาะสุกร

กำหนดการประชุม 13.00 ลงทะเบียน 14.00 นายยงยุทธ ไชยมล ผู้จัดการโครงการ กล่าวต้อนรับแกนนำชาวบ้านในการขับเคลื่อน "การจัดการขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลเกาะสุกร" 15.00 นางราตรี จิตรหลัง นายก อบต.เกาะสุกร ให้แนวทางเพื่อเสริมความตระหนักให้แกนนำชุมชน 15.30 แกนนำชาวบ้านแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 16.00 ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอโครงสร้างคณะกรรมการ โครงส้รางกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์และ โครงสร้างคณะทำงาน
16.30 ร่วมกำหนดกติกาและภารกิจของกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 17.00 ปิดการประชุม โดยนางราตรี จิตรหลัง นายก อบต.เกาะสุกร

 

ได้คณะทำงาน ดังนี้ ประธาน  นายสุทัย หลงเก็ม รองประธาน  นายภักดี ใจสมุทร เลขา  น.ส.จำปี หลงเก็ม และ น.ส.ชลนา ปากบารา เหรัญญิก  น.ส.สาลินี ไชยมล และ นางวิลาศ แวกาจิ ฝ่ายผลิต  นายแว่ง บ่นหา นายสุทัน เจะสา และนายชัยพงษ เลียดอินทร์ ฝ่ายการตลาด  นายฉลาด เทศนอก น.ส.นงเยาว์ เจะสา นายสมยศ เวลาดี และนายยงยุทธ ไชยมล กรรมการ  น.ส.สุภาพร เด็นหลี น.ส.สมฤดี จิตรหลัง นายนเรศ ไชยเทพ นายสมชาย ยงเยื้องพันธ์ นายสมนึก ไชยเทพ นายอนุมาศ เด็นหลี น.ส.ทิพย์ เจะสา นายวิฑูร ทองรักษ์ ที่ปรึกษา  นางราตรี จิตรหลัง

 

กิจกรรมย่อยที่ 2 ประชุมและกำหนดกติกาขยะ ครั้งที่ 1 13 ส.ค. 2563 19 ม.ค. 2564

 

จัดเวที กำหนดกติกาการจัดการขยะ โดยจัดแบ่งกลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มผู้ประกอบการที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร เรือ รถสามล้อพ่วงนำเที่ยว 2.กลุ่มอาชีพประมง แพปลา ครัวเรือน หน่วยงาน ได้แก่ อบต รพสต โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและฝ่ายท้องที่

 

ได้ข้อตกร่วม กติการจัดการขยะ ดังนี้

  1. ไม่รับขยะเปียก!!!! ขยะอินทรีย์ สิ่งปฏิกูล ให้กำจัดเอง โดยใช้ถังตัดก้นที่ทาง อบต เคยแจกให้ หรือจะมีวิธีการฝังกลบแล้วแต่ครัวเรือน
  2. รับขยะทั่วไป ได้แก่ ขวดพลาสติก กระดาษ กล่องลัง ถุงพลาสติก เป็นต้น วันจันทร์ พุธ ศุกร์ !!!!
  3. ขยะประเภท ขวดแก้ว และขยะอันตราย จัดเก็บทุกวันที่ 1 และ 16
  4. เวลา เริ่มจัดเก็บ 08.00 เป้นต้นไป เริ่มจากหมู่ที่ 4 หมู่ 1 หมู่ 3 และหมู่ 2 ตามลำดับของพื้นที่ตำบล
  5. ห้ามนำขยะมาวาง หลังจากรถขยะจัดเก็บผ่านไปแล้ว โดยเด็ดขาด

 

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 30 พ.ย. 2563 30 พ.ค. 2564

 

จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

 

ได้รายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 15 ธ.ค. 2563 15 ธ.ค. 2563

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน

 

ได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ 15 ธ.ค. 2563 20 เม.ย. 2564

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

 

ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

 

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน 1 ก.พ. 2564 8 มิ.ย. 2564

 

วาระที่ ๑  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ “โครงการการจัดการขยะสู่ปุ๋ยอินทรีย์ตำบลเกาะสุกร” รายละเอียดโครงการ 1.การวิเคราะห์สถานการณ์ “เกาะสุกร” เป็นตำบลซึ่งมี 4 หมู่บ้าน อยู่ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง มีประชากรบนเกาะจำนวน  638  ครัวเรือน  การจัดการขยะบนเกาะ มีเตาเผาขยะ โดยอบต.จัดรถเก็บขยะ  เก็บวันละ 1 ครั้ง  พบว่า เตาเผาขยะเสีย ทำให้เกิดปัญหาขยะตกค้าง  อบต.หยุดเก็บขยะประมาณ 20 วัน ทำให้ประชาชนไม่พอใจ และต่อว่า และเมื่อเตาผาได้รับการซ่อมและกลับมาใช้งานได้ปกติ ปัญหาขยะล้นเตาเผา โดยเฉพาะขยะเปียก ขยะอินทรีย์ ตารางปริมาณขยะ และ ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ตำบลเกาะสุกร ขยะ ปี60 ปี 61 ปี 62 ปี 63 ปี 64 ปริมาณขยะ ต่อวัน 3 ตัน 3 ตัน 2 ตัน ใช้ถังหมักรักษ์เกาะ 2 ตัน
ใช้ถังหมักรักษ์เกาะ 170 กิโล จัดตั้งสถานีขยะ ค่าใช้จ่าย—ค่าเชื้อเพลิง 360,000 360,000 240,000 240,000 40,000 ค่าจ้างพนักงาน 400,000 400,000 400,000 400,000 400,000 ค่าไฟฟ้า 12,000 12,000 7,200 7,200 4,000 รวมค่าใช้จ่าย 772,000 772,000 647,200 647,200 444,000

-ปี 2562 อบต.จึงของบประมาณ จาก ทสจ. ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ และจัดการขยะอินทรีย์ ขยะเปียก โดยใช้ ถังหมักรักษ์เกาะ ซึ่งเป็นถังพลาสติก เปิดท้ายและนำไปฝั่งในดินบริเวณที่เป็นแปลงผัก เพื่อให้ครัวเรือนนำเศษอาหาร หรือขยะอินทรีย์  ปรากฏว่า ได้รับความร่วมมือจากชุมชน 600 ครัวเรือน คิดเป็น  80 เปอร์เซ็นต์ และได้สนับสนุนให้ครัวเรือนคัดแยกขยะ โดยมีเอกชนบนเกาะรับซื้อ แต่ช่วงปลายปี 2563 ราคาไม่ดี เอกชนหยุดการรับซื้อ เนื่องจากแบกรับต้นทุนการขนส่งไม่ไหว ทำให้ขยะกลับมาล้นเกาะอีกครั้ง และในฤดูมรสุมคลื่นจะพัดพาขยะโอเซี่ยนมาทุกปี -ในแต่ละปี อบต.จะต้องใช้งบประมาณ 772,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ทั้งค่าน้ำมัน ค่าจ้างคนงาน ค่าซ่อมบำรุง ฯลฯ -ปี 2563 อบต.ได้เก็บข้อมูลขยะบนเกาะพบว่า เป็นขยะทั่วไป 18,605 กิโลกรัม ขยะอินทรีย์ 55,605 กิโลกรัม และอบต. ได้ของบประมาณจาก สสส. เพื่อจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เชิญตัวแทนชุมชนทุกกลุ่มอาชีพ กลุ่มอายุ ระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา ขยะล้นเกาะ และ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ

วาระที่ ๒  เรื่องการติดตาม สถานีขยะ
พบว่า (ภาพ ดูจาก power point) 1.ป้ายสถานีถูกทำลาย 2.สถานีเดิม ๆไม่มีการคัดแยกขยะ
3.นำขยะไปทิ้งที่เตาเผา โดยไม่ได้รับอนุญาต 4.บทบาทของนายสถานี
วาระที่ ๓ เรื่องสรุปปัญหาระหว่างชุมชนและทีมคณะทำงาน 1.ประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะของทีมอบต.เกาะสุกร 2.ความร่วมมือในการจัดทำโครงการสถานีขยะ 3.ความเข้าใจในการจัดทำโครงการสถานีขยะ 4.การประชาสัมพันธ์โครงการของคณะทำงาน 5.ชุมชนขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ วาระที่ ๔  เรื่องแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 1.ปัญหาขยะสาธารณะของแต่ละหมู่บ้าน 2.รณรงค์การคัดแยกขยะ

 

โดยชุมชนมีข้อตกลงร่วมกันดังนี้ 1.ให้ชุมชนคัดแยกขยะ ไม่รับขยะเปียก/ขยะอินทรีย์/สิ่งปฏิกูล 2.จัดเก็บขยะทั่วไปทุกๆวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์โดยรถเก็บขยะจาก อบต.เกาะสุกร
3.ขยะประเภท ขวดแก้ว ขยะอันตราย จัดเก็บทุกๆวันที่ 1 และ วันที่ 16
4.รถขยะจะเริ่มจัดเก็บ เวลา 08.00 เป็นต้นไป เริ่มจากหมู่ที่ 4,1,3,2 ตามลำดับของพื้นที่ 5.เมื่อรถขยะจัดเก็บผ่านไปแล้ว ห้ามนำขยะมาวางยังสถานีขยะโดยเด็ดขาด
6.มีทีมติดตามผลการดำเนินงาน
7.มีการคัดเลือกยกย่อง “ครัวเรือนคัดแยก”
8.มีการประกวดหมู่บ้านสะอาด สถานีดีเด่น และบ้านน่าอยู่
9.หากไม่มีการคัดแยกและทิ้งขยะในพื้นที่สาธารณะ ถ่ายรูปเป็นพยานหลักฐาน มีการพุดคุย ตักเตือน หากยังไม่ทำ ตามข้อตกลง มีบทลงโทษตามพรบ. กระทรวงสาธารณะสุขต่อไป
10.รณรงค์เน้นย้ำการคัดแยก ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องขยะ

หลังจากมีการประกาศข้อตกลง อบต. ได้มีการดำเนินการดังนี้ 1.จัดตั้งสถานีขยะโดยแบ่งตามครัวเรือน ร้านค้า ร้านอาหาร รีสอร์ท/โฮมสเตย์และหน่วยงาน ทั้งตำบล จำนวน 4 หมู่บ้าน ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกาะสุกร
2.มีนายสถานีขยะดูแลแต่ละสถานี เน้นย้ำในการคัดแยก
บทบาทนายสถานี
• ประชุมเพื่อกำหนดกติกาการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลเกาะสุกร • เป็นคณะกรรรมการ การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมพื้นที่ตำบลเกาะสุกร • ดูแลความเรียบร้อยของสมาชิกในสถานี • ว่ากล่าวตักเตือน รายงานพฤติกรรม การคัดแยกขยะของสมาชิกแก่คณะทำงานทราบ

3.ติดตั้งป้ายสถานีขยะ ก็จัดเก็บขยะโดยไม่ให้มีขยะตกค้าง และหากพบว่า ชุมชนใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง เจ้าหน้าที่จะบันทึกภาพ และส่งในกลุ่มไลน์ของตำบล เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ และไม่เก็บขยะดังกล่าวจนกว่าชุมชนจะมีการแก้ไข ปรากฏว่า ขยะในชุมชนลดปริมาณลง ปัญหาขยะล้นที่เตาเผา ไม่มี และเจ้าหน้าที่มีเวลานำขยะที่ล้นก่อนหน้า ทยอยเผา

 

กิจกรรมย่อยที่ 2 ประชุมและกำหนดกติกาขยะ ครั้งที่ 2 23 ก.พ. 2564 23 ก.พ. 2564

 

อบรมการทำปุ๋ย จากขยะอินทรีย์ เน้นเปลือกปู จากกลุ่มอาชีพประมง

 

ได้ปุ๋ยอินทรีย์

 

กิจกรรมที่ 3 ติดตามคืนข้อมูล ครั้งที่ 1 16 มี.ค. 2564 16 มี.ค. 2564

 

ติดตามการจัดการขยะอินทรีย์ และคืนข้อมูลในชุมชน สถานีขยะ
ครัวเรือนที่มีการคัดแยก

 

นายสถานี ติดตามครัวเรือน ร้านค้า ในการคัดแยก กลุ่มปุ๋ยได้ปุ๋ยอินทรีย์นำใช้ในครัวเรือน

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกระดับจังหวัด ประเด็นการจัดการขยะ ครั้งที่ 1/2564 18 มี.ค. 2564 18 มี.ค. 2564

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกระดับจังหวัด ประเด็นการจัดการขยะ ครั้งที่ 1/2564 โดยนายยงยุทธ ไชยมล ผู้จัดการโครงการ เข้าร่วมการประชุม

 

ได้แลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้

 

เวทีถอดบทเรียนประเด็นการจัดการขยะเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ 7 เม.ย. 2564 7 เม.ย. 2564

 

เวทีถอดบทเรียนประเด็นการจัดการขยะเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

 

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 1 1 ส.ค. 2564 1 ส.ค. 2564

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 1

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 1

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 2 8 ส.ค. 2564 8 ส.ค. 2564

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 2

 

NF ตรัง พัฒนาศักยภาพ ถอดบทเรียนขยะ ครั้งที่ 2

 

จัดนิทรรศการและถอดบทเรียนขับเคลื่อนโครงการ 28 ก.ย. 2564 28 ก.ย. 2564

 

จัดนิทรรศการและถอดบทเรียนขับเคลื่อนโครงการ

 

นิทรรศการและถอดบทเรียนขับเคลื่อนโครงการ

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 10 ต.ค. 2564 9 ต.ค. 2564

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน ครั้งที่ 2

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน ครั้งที่ 2