task_alt

โครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยการมีส่วนร่วมในตำบลท่าพญา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ โครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยการมีส่วนร่วมในตำบลท่าพญา

ชุมชน ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

รหัสโครงการ 63001740020 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม 2563 ถึง 10 ตุลาคม 2564

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน เมษายน 2564 ถึงเดือน ตุลาคม 2564

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 2.2 เวทีวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ

วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีการประชุมคณะทำงานหรือผู้แทนทั้ง 20 ท่าน มีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จำนวน 412 ชุด แยกเป็น 4 หมู่บ้านโดยเฉลี่ยหมู่บ้านละ 100 ชุด ข้อมูลโดยสรุปข้อมูลการเตรียมความพร้อมทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.ความพร้อมด้านสุขภาพ ระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.15 2.ความพร้อมด้านสังคม ระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.01 3.ความพร้อมด้านสภาพแวดล้อม  ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.95 4.การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ ระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ย 2.58 คณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลแล้วเห็นควรดำเนินการโครงการเพื่อแก้ไข้ปัญหาด้านต่างๆที่มีค่าเฉลี่ยตำก่อนดังนี้ 1.ด้านสุขภาพ 1.1 การการส่งเสริมการออกกำลังกาย 1.2 ส่งเสริมการรับประทานอาหารลดหวาน มัน เค็ม 2.ด้านสังคม   2.1 ให้มีชมรมผู้สูงอายุ มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกาย และจิต   2.2ส่งเสริมความรู้เรื่องสิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ 3.ด้านสภาพแวดล้อม   3.1 สภาพห้องน้ำมีราวจับมีโถนั่งราบ   3.2 สถานที่ราชการ วัด หรือ ศาสนสถาน มีราวจับ มีทางลาดเอียง 4.ด้านเศรษฐกิจ   4.1 มีการออมในรูปแบบต้นไม้ ดิน สัตว์   4.2 มีเงินเก็บในรูปเงินออมที่เตรียมไว้ในวัยสูงอายุ   4.3 ได้รับการส่งเสริมอาชีพจากหน่วยงานต่างๆ
โดยเห็นว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชมรมผู้สูงอายุ และองค์กรอื่นๆ กองทุนสปสช. บูรณาการร่วมกันเพื่อดำเนินกิจกรรม ในเบื้องต้น เทศบาลตำบลท่าพญา กำหนดแผนและเทศบัญญัติ กำหนดโครงการกิจกรรมที่ส่งเสริมแล้วทั้ง 3 ด้าน เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุที่จะให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้เตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ ในรายวิชาต่างๆให้ครอบคลุม การอบรมอาชีพ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลสังคมสูงวัยตำบลท่าพญา เชิญคณะทำงาน จัดเตรัมข้อมูลเพื่อให้คณะทำงานวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล

 

20 0

2. กิจกรรมที่ 5.1 จัดกระบวนการเรียนรู้การปรับภาพบ้านที่อยู่ดีปลอดภัยตำบลท่าพญา

วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้การปรับสภาพบ้านที่อยู่ดีปลอดภัยตำบลท่าพญา โดยกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.กิจกรรมให้ความรู้ หัวข้อบ้านที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย โดยนายศุภชัย  อินทร์สังข์ ผู้อำนวยการกองช่าง และหัวข้อ การปรับสภาพแวดล้อมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่สาธารณะ 2. กิจกรรมสำรวจพื้นที่เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมพื้นที่สาธารณะ(วัดท่าพญา)เพื่อรองรับสังคมสูงวัย การบรรยายหัวข้อแรกโดย ผู้อำนวยการกองช่าง โดยวิทยากรได้รับข้อมูลในการให้ความรู้จากกรมกิจการผู็สูงอายุโดยสรุป ดังนี้
การออกแบบบ้านเพื่อผู้สูงอายุ
        ควรออกแบบให้มีทางลาดไว้ขึ้น – ลง แทนบันได เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ซึ่งความกว้างของทางลาดต้องกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซ็นติเมตร มีอัตราความลาดชันไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น ถ้าพื้นสูง 1 เมตร ทางลาดต้องยาว 12 เมตร และควรติดตั้งราวจับที่มีความสูง 80-90 เซนติเมตร เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับผู้สูงอายุในการขึ้นลง         ควรเลือกประตูที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร เว้นพื้นที่ส่วนที่บานประตูจะต้องเปิดออกไปให้มีความกว้างเพียงพอ เพื่อการเข้า-ออกที่สะดวก ไม่ควรมีธรณีประตู กันการสะดุดล้ม และต้องมีระยะของมือจับสูงจากพื้น 100 เซนติเมตร หลีกเลี่ยงการใช้ลูกบิด โดยใช้การโยกแทน ในกรณีที่มีผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็น ควรออกแบบให้หน้าต่างจากพื้นประมาณไม่เกิน 75 – 100 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้สูงอายุนั่งชมวิวภายนอกได้ คำแนะนำ : ประตูที่ดีสำหรับคนทุกวัยควรเป็นประตูบานเลื่อน เพราะออกแรงในการเปิดน้อยกว่า แถมยังประหยัดพื้นที่ใช้สอย ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่มีผิวสัมผัสไม่ลื่น และไม่มีลายมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเวียนหัว และตาลาย เช่น กระเบื้องดินเผาปูพื้น ในส่วนการใช้สอยที่ต่างกันควรใช้สีที่ตัดกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจน เช่น พื้น ผนัง พื้นต่างระดับ รวมถึงบัวเชิงผนัง เลี่ยงการปูพรม เพราะกักเก็บฝุ่น และยังเป็นอุปสรรคต่อล้อของรถเข็น นอกจากนี้ยังอาจจะเกิดการสะดุดได้         เป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจะสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ ควรจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีพื้นที่ว่างให้เพียงพอที่จะสะดวกต่อการให้รถเข็นผ่าน ในกรณีที่มีผู้สูงอายุต้องนั่งรถเข็น ภายใต้บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสบาย เน้นให้แสงสว่างเข้าถึง และอากาศมีถ่ายเท         ในจุดที่ใช้ประกอบอาหาร ควรมีการเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย เอื้อให้ทุกคนสามารถทำอาหารร่วมกันได้ โต๊ะอาหาร หรือเคาน์เตอร์ครัว ควรออกแบบให้ข้างใต้เปิดโล่ง มีความสูงจากพื้นประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร และความลึกไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร         สำหรับห้องนอนของผู้สูงอายุ ควรออกแบบให้มีห้องน้ำในตัว หรือหากไม่มีก็ควรอยู่ใกล้กับห้องน้ำมากที่สุด เตียงควรมีความสูงจากพื้นประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร มีไฟที่หัวเตียง เพื่อความสะดวกต่อการเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืน และพื้นที่ว่างทั้ง 3 ด้าน รอบ ๆ เตียง ต้องมีความกว้างแต่ละด้านไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร โต๊ะเครื่องแป้งต้องมีที่โล่งด้านล่างสูง 60 ซม. และตู้เสื้อผ้าไม่ควรสูงจนเกินไป         เป็นจุดที่สำคัญที่สุด ที่เราควรใสใจ เพราะอุบัติเหตุในบ้านมักเกิดในห้องน้ำ เราจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เริ่มจากประตูทางเข้าควรเป็นบานเลื่อน และภายในห้องน้ำควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2 ตารางเมตร โถสุขภัณฑ์ต้องเป็นแบบนั่งราบ มีความสูงจากพื้นประมาณ 40-50 เซนติเมตร และมีราวจับเหล็กอยู่ข้าง ๆ อ่างล้างหน้าควรมีรูปแบบเว้า และกระจกควรมีความสูงที่พอดีกับความสูงของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ก๊อกน้ำก็ควรเป็นแบบคันโยก เพราะใช้แรงในการเปิดน้อยกว่า         จัดสวนเล็ก ๆ ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือมีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ เป็นกิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำเพื่อคลายเหงา และสร้างบรรยากาศที่สดชื่นให้กับบ้าน วัสดุที่ใช้ตกแต่งสวนควรเป็นสีโทนร้อน เช่น อิฐแดง อิฐมอญโบราณ อิฐปูพื้น ลีกเลี่ยงวัสดุสีอ่อน เช่น สีฟ้า สีเทา สีเหลือง เพราะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาพร่ามัว นอกจากการออกแบบบ้านที่เหมาะกับผู้สูงอายุแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน เพราะฉะนั้นอย่าลืมหมั่นเติมความรัก ความอบอุ่นให้แก่ผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ทุกคนในครอบครัวก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแล้ว       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตรีชาติ เลาแก้วหนู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความรู้การปรับสภาพแวดล้อมรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่สาธารณะ โดยอ.ตรีชาติ แนะนำรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน นอกบ้าน ห้องน้ำสาธารณะ ราวจับชนิดต่างๆในหลากหลายระดับราคาแหล่งหาวัสดุต่างๆ พร้อมทั้งลงพื้นที่วัดท่าพญาสำรวจออกแบบร่วมกับนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ บริเวณ ห้องน้ำ หน้าอาคารบำเพ็ญกุศลศพ ราวจับทางขึ้นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และออกแบบห้องน้ำศุนย์การศึกษาพิเศษบริเวณสำนักงานเทศบาลเก่าพร้อมแนะนำวิธิการปรับสภาพแวดล้อม โดยที่ประชุมเห็นด้วยให้ปรับปรุงห้องน้ำวัดเป็นสถานที่แรก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรม/สำรวจพื้นที่ เชิญคณะทำงานและวิทยากรเข้าร่วมอบรมให้ความรู้และสำรวจออกแบบพื้นที่

 

20 0

3. กิจกรรมที่ 1.4 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนสูงวัย (ครั้งที่4)

วันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เป็นการประชุมที่ห่างจากการประชุมครั้งที่ 3 เนื่องจากโครงการหยุดสาเหตุมาจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และสถานการณ์โควิด 19 ในพื้นที่การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยคณะทำงาน พี่เลี้ยง จำนวน 20 คน สาระสำคัญในการประชุมดังนี้ 1.ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการที่ผ่านมา คือ ขาดการประชุมและดำเนินโครงการตามแผนงานด้วยสาเหตุความพร้อมของพื้นที่ สถาณการโรคระบาดทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนด 2.ผลการดำเนินงานตามแผนงาน มีการดูรายละเอียดของของงานที่ทำไปแล้ว และที่ยังไม่ดำเนินการโดยดำเนินไปแล้วคือการประชุมคณะทำงานแล้ว 3 ครั้ง ๆนี้เป็นครั้งที่ 4 การประชุมอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ส่วนกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ จะดำเนินการเท่าที่ทำได้ในกรอบระยะเวลาที่เหลือ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย และการป้องกันโรค โควิด 19 โดยพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะเช่นการประชุมผ่านระบบZOOM และกำหนดการปรับสภาพบ้าน หมู่บ้านละ 1 หลัง เป็นการปรับสภาพแวดล้อมวัดท่าพญาแทน โดยจะเชิญวิทยากรและคณะทำงานมาร่วมประชุมในวันที่ 7 มิถุนายน 2564และได้ดำเนินการเรียนร้อยแล้วโยกำหนดปรับสภาพแวดล้อมให้แล้วเร็จภายในเดือนกันยายน 2564

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กำหนดวัน เวลา สถานที่จัดประชุมร่วมกับพี่เลี่ยงและฝ่ายเลขานุการ 2.ออกหนังสือเชิญประชุม 3.ดำเนินการประชุม

 

20 0

4. กิจกรรมที่ 5.2 ปรับจุดเสี้ยงบ้านและพื้นที่สาธารณะในชุมชนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

วันที่ 15 กันยายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำสาธารณะดังนี้ 1.ปรับทางลาดทางเข้าห้องน้ำให้ไม่มีรอยต่อสามารถขึ้นลงสะดวกไม่สะดุด 2.เพิ่มราวจับสแตนเลสบริเวณทางเข้าห้องน้ำ 3.ปรับโถส้วมจากแบบนั่งยองเป็นนั่งราบพร้อมติดตั้งสายฉีด จำนวน 6 ห้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ปรับสภาพแวดล้อมห้องน้ำวัดท่าพญา เพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัยและคนทุกประเภท

 

10 0

5. กิจกรรมที่ 6 เวทีสรุปบทเรียนโครงการ

วันที่ 28 กันยายน 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการความก้าวหน้า ของโครงการกิจกรรมสิ่งที่ทำได้ตามแผนงานและสิ่งที่ทำไม่ได้ปัญหาอุปสรรคและผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการในรอบปี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการ

 

50 0

6. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 10 ตุลาคม 2564 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินผู้จัดโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินผู้จัดโครงการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 28 12                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 117,000.00 51,660.00                  
คุณภาพกิจกรรม 48                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายนิรัตน์ รัตนสุรการย์
ผู้รับผิดชอบโครงการ