directions_run

ส่งเสริมพัฒนาแหล่งอาอาหารในชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคงด้านอาหารบ้านบือแนกูยิ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีปฐมนิเทศ โครงการฟ์้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ 12 เม.ย. 2564 12 เม.ย. 2564

 

เวทีปฐมนิเทศ โครงการฟ์้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ จำนวนผู้เข้าร่วม 3 คน ได้แก่ อสม. 2 คน แม่บ้าน 1 คน วันที่ 11-12/04/2564  เวลา 09.00น. ถึง 16.00น. ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วประชุม เปิดโครงการกล่าวต้อนรับ และชี้แจงโครงการ โดย อาจารย์ สุวิทย์ หมาดอะดำ ผู้จัดการโครงการ ต่อมา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทีมพี้เลี้ยง กับชุมชนย่อยร่วมกันเสวนาการทำบันไดผลลัพธ์ แผนการดำเนินงาน รูปแบบการจัดกิจกรรม ในชุมชน การค้นหาแกนนำในการขับเดลื่อนงาน พร้อมกับนำเสนอแผนการดำเนินงาน

 

1.เวทีปฐมนิเทศ โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ จำนวนผู้เข้าร่วม 3 คน ได้แก่ อสม. 2 คน แม่บ้าน 1 คน ผลลัพธ์ 1 เกิดแผนการทำงานในชุมชน 1แผน 2.เข้าใจรูปแบบเป้าหมายการทำงานในชุมชนได้
3.สามารถวางแผนงานได้

 

กิจกรรมร่วมประชุมกับ สสส.(ทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่) 4 พ.ค. 2564 4 พ.ค. 2564

 

04/05/2021 กิจกรรมร่วมประชุมกับ สสส.(ทำป้ายโครงการและรณรงค์สถานที่ปลอดบุหรี่) กิจกรรมทำป้ายโครงการและทำป้ายบันไดผลลัพธ์

 

1.มีป้ายโครงการเพื่อทำกิจกรรมจำนวน1ป้าย 2.มีป้ายบันไดผลลัพธ์จำนวน1ป้าย

 

เวทีชี้แจงการบริหารจัดการโครงการ 5 พ.ค. 2564 5 พ.ค. 2564

 

วันที่ 05/05/2021 จัดเวทีชี้แจงการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมพัฒนาแหล่งอาหารในชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคงด้านอาหารบ้านบือแนกูยิ เวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น.
ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงโครงการเกียวกับการดำเนินงานกิจกรรมแต่ละกิจกรรม และมีการวางแผนรูปแบบกิจกรรม ชี้แจงเรื่องงบประมาณที่ได้รับให้กับกลุ่มสมาชิกได้ทราบ
จากนั้น มีพี่เลี้ยง นายรุสลาม สาระ ได้มาชี้แจงโครงการเพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั้นใจให้แก่สมาชิก

 

1.สมาชิกมีความเข้าใจโครงการส่งเสริมพัฒนาแหล่งอาหารในชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคงด้านอาหาร 2.สมาชิกเข้าร่วมเวทีชี้แจงการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมพัฒนาแหล่งอาหารในชุมชนเพื่อสร้างความมั่งคงด้านอาหารบ้านบือแนกูยิ จำนวน 45 คน 3.สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างกลุ่มอาชีพเพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหาร

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 10 พ.ค. 2564 10 พ.ค. 2564

 

10/05/2021 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เวลา 13.00 น. ถึง 15.00 น. มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน อสม. 10 คน แม่บ้าน 4 คน ผู้สูงอายุ 2คน และ ผู้ช่วย 2 คน ประชุมวางแผ่นการทำงานและการจัดกิจกรรมต่างๆในกลุ่มเป้าหมาย และการสำรวจข้อมูลในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มตกงานในช่วงโควิด กลุ่มผู้สูงอายุ โดยให้ทีมคณะทำงานเป็นผู้ลงไปสำรวจและเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มเลี้ยงไก่ กลุ่มปลูกผักและผลไม้ และ กลุ่มเลี้ยงปลา นำมาวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละกลุ่มและวางแผนการอบรมการอบรมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมในภาวะการระบาด สุขภาพ สังคม มีการกำหนดข้อตกลงชุมชนหรือกฎกติกาชุมชน

 

1.เกิดทีมคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานสร้างกลุ่มอาชีพที่สร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนจำนวน30 คน 2.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 3.มีการวางแผนการอบรมการอบรมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมในภาวะการระบาด สุขภาพ สังคมและกิจกรรมถัดไป 4.เกิดข้อตกลงในคณะทำงานจำนวน 2 ข้อ 1.ประชุมทุกวันที่ 1 ของเดือน 2. สมาชิกทุกคนต้องเลี้ยงสัตว์ปลูกเพื่อเป็นต้นแบบ

 

การอบรมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมในภาวะการระบาด สุขภาพ สังคม 15 มิ.ย. 2564 15 มิ.ย. 2564

 

15/06/2021 การอบรมทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมในภาวะการระบาด สุขภาพ สังคม เวลา 09.00น. ถึง 15.00น. กลุ่มเป้าหมาย มีผู้เข้าร่วมในการประชุม 50 คน
โดยเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ (นางสาวนูรุลซาฮาด๊ะห์ ยูนุ๊และนักศึกษาฝึกงาน) มาให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด 19 การปรับตัว การอยู่แบบวิถีใหม่ ให้ความรู้การป้องกันตนเอง โดยการ เมื่อเวลาออกจากบ้าน ให้สวมหน้ากาก อนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน 2.การเว้นระยะห่าง 3.ล้างมือบ่อยๆหรือพกแอลกอติดตัวอยู่เสมอ 4.ถ้าไม่จำเป็นให้อยู่บ้าน
จากนั้นมีทีมนักศึกษาฝึกงานและทีมคณะทำงานออกมาพูดเสริมโดยการโชว์ภาพวิธีการป้องกันและสาธิในแต่ละท่าเพื่อความเข้ามากขึ้น และันำไปบอกต่อๆกันให้คนในชุมชนได้เข้าใจ

 

1.แกนนำครัวเรือนมีความเข้าใจในการใช้ชีวิตในช่วงโควิดตามมาตรการDMHTT 2.สามารถกลับไปปรับใช่ในชีวิตประจำวันแบบนิวนอร์มอลได้

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 31 ก.ค. 2564 31 ก.ค. 2564

 

วันที่ 31/07/2021 กิจกรรม ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 10 คน มีตัวแทนอสม ตัวแทนผู้นำชุมชน และ ตัวแทนผู้สูงอายุ เริ่มการประชุมหารือเรื่องการออกแบบกิจกรรม ที่จะอบรมการผลิตอาหารปลอดภัย อาชีพกลุ่มเพาะเห็ดและอาชีพเลี้ยงไก่ โดยมีการทบทวนบทบาทหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบ และได้มอบหมายให้ 1. พาตีเมาะ มูซอ จัดการเรื่องการการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม 2. สะปิน๊ะ มะเด็ง จัดการเรื่องอาหารว่างและอาหาร 3. รอซีย๊ะ ดอเลาะ จัดการเรื่อง การจัดสถานที่เรื่องโต๊ะเก้าอี้ในงาน 4. รอสีดะ ยามา จัดการเรื่องการเก็บภาพและเก็บรายละเอียดต่างๆ 5. เสรี ซุ่นบุญ จัดการเรื่อง การติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มาอบรม 6.นายอาดือนัน สาและดิง รับผิดชอบเรื่องการดูแลความเรียบร้อยของสถานที่ 7. ซารีพ๊ะ สาและดิง เป็นผู้ประสานงานและติดต่อหาวิทยากรในการอบรม ส่วนที่เหลือ ให้ไปช่วยสมทบช่วยดูงานแต่ละงาน
ได้สอบถามความคืบหน้าในแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มเพาะเห็ด(กำลังสร้างโรงเรือน) กลุ่มเลี้ยงไก่ จำนวน 7 จุด กลุ่มปลูกผักและผลไม้ จำนวน 10 คน

 

1.ทีมคณะทำงานเกิดการทบทวนบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน 2.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 3.คณะทำงานสามารถออกแบบกิจกรรมครั้งต่อไปได้

 

อบรมการผลิตอาหารปลอดภัย(อาชีพเพาะเห็ดและแปรรูป) 21 ส.ค. 2564 21 ส.ค. 2564

 

18/09/2021  อบรมการผลิตอาหารปลอดภัย(อาชีพเพาะเห็ดและแปรรูป) เวลา 09.00น. ถึง 13.00 น. มีผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งหมด 20 คน กลุ่มเป้าหมาย มีกลู่มเปราะบางจำนวน 3 คน กลุ่มผู้สุงอายุ 3 คน กลุ่มคนว่างงาน จำนวน 4 คน และทีมคณะทำงานจำนวน 10 คน
เริ่มเปิดเวทีโดยประธานโครงการอธิบายวัดถุประส่งค์การจัดกิจกรรมอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริม เพื่อให้มีงานในชุมชนในช่วงโควิด จากนั้นได้แนะนำวิทยากรที่มาจาก หน่วยงานศอบต.เจ้าหน้าที่จากศอบต.ชื่อนายมะนาเซ  มะลาเฮง มาบรรยายและสาธิวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า วัสดุอุปกรณ์ ในการทำมีดังนี         1. วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า - วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลี้อยไม้ยางพารา อาหารเสริม - แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ - ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 - คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 11/2 นิ้ว - สำลี ยางรัด - ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน - โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย             2. สูตรอาหารเพาะเห็ด - ขี้เลี้อยไม้ยางพารา 100 กก. - รำละเอียด
- ปูนขาว - ยิปซั่ม - ดีเกลือ - ความชื้น 60 - 70 เปอร์เซ็น           3.วิธีทำ 1. ผสมสูตรอาหารทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดีสวกัน 2. เพิ่มความชื้นโดยการรดนํ้าให้มีความชื้น 60 -70 เปอร์เซ็น 3. อัดถุงขนาด 6.5 x 12.5 4. อัดให้แน่นใส่คอพลาสติกจุกด้วยสำลีปิดด้วย 5. นึ่งฆ่าเชื่อด้วยหม้อนึ่ง 6. เมื่อครบตามเวลาปล่อยให้เย็นและทำการใส่เชื้อเห็ดจาสกเมล็ดข้าวฟ่าง 7. ทำการพักเชื้อประมาณ 30 วัน โดยการเก็บในโรงพักเชื้อไม่ให้โดนแสงแดด จากนั้นได้สาธิการทำเห็ดแปรรูปนำมาทำเป็นขนมหรือเห็ดเชื่อมที่สามารถสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเพาะเห็ด สร้างรายได้อีกช่องทางให้กลับกลุ่มได้

 

1.เกิดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเพาะเห็ด จำนวน 20 คน 2.เกิดกลุ่มอาชีพเพาะเห็ดจำนวน 1 กลุ่ม 3.สมาชิกมีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้าได้

 

อบรมการผลิดอาหารปลอดภัย(อาชีพเลี้ยงไก่บ้านและแปรรูป) 22 ส.ค. 2564 22 ส.ค. 2564

 

วันที่ 22/08/2021กิิจกรรม อบรมการผลิดอาหารปลอดภัย(อาชีพเลี้ยงไก่บ้านและแปรรูป)
เมื่อ เวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น.มีผู้เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้ทั้งหมด 20 คน ประธานได้อภิบายเกี่ยวกับกิจกรรมอบรมการเลี้ยงไก่บ้าน สำหรับคนที่ต้องการมีอาชีพหาเลี้ยงตัวเองในช่วงโรคโควิดกำลังระบาด โดยการเลี้ยงไก่บ้านเพืื่อขายและกินช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ ซึ่งเราได้เชิญวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ จากสมาชิกสภาเกษตรจังหวัดยะลา ชื่อนายอาบีดีน มนูญทวี เป็นวิทยากรในการให้ความรู้เทคนิดในการเลี้ยงไก่ และการดูแลไก่ วิทยากรได้บรรยายในการสร้างอาชีพแต่ละอาชีพ ควรมีความขยัน มีความอดทน ความมั่นเพียง และเข้มแข็งกับทุกปัญหา จึงจะพาตัวเองอยู่รอด ตั้งเป้าไว้ แล้วเดินตามเป้าที่เราวางไว้ งานถึงจะสำเร็จ วิทยากรได้ลงไปสอนเทคนิคที่เล้าไก่ ของกลุ่มอาชีพเลี้ยงไก่บ้าน จำนวน 2 จุด เพื่อสาธิตให้กับสมาชิกกลุ่มอาชีพสามารถนำไปใช้ได้ จากนั้นได้สอนและสาธิการแปรรูป(ซุ่ปไก่บ้าน) เป็นอาหารทำกินเอง หรือนำไปขายได้เป็นกำไร อีกช่องทางหนึ่ง

 

1.มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 20 คน 2.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้มีเทคนิคในการเลี้ยงไก่บ้าน จำนวน 20 คน 3.มีทักษะในการสร้างรายได้ในครัวเรือนได้

 

การจัดทำบัญชีครัวเรือน/บัญชีกลุ่มอาชีพ 29 ส.ค. 2564 29 ส.ค. 2564

 

29/08/2021 กิจกรรม การจัดทำบัญชีครัวเรือน/บัญชีกลุ่มอาชีพ ณ.บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ( นายอาดือนัน สาและดิง) กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40 คน ได้แก่ กลู่มเพาะเห็ด 15 คน กลุ่มเลี้ยงไก่ 10 คน กลุ่มเกษตร 15 คน เริ่มเวลา 09.00น. ถึง 15.00น. เริ่มทำการอบรมโดย ซารีพ๊ะ สาและดิง บอกวัดถุประสงค์ ในการอบรมในครั้งนี้เสร็จ จากนั้นได้เชิญวิทยากร ชื่อ นายอาบีดีน มนูญทวี ตำแหน่งประธานสภาเกษตร มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย การจัดทำบัญชีครัวเรือน ให้กับกลุ่มอาชีพแต่อาชีพ สอนให้รู้จักเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายในการใช้ชีวิตของแต่ละวัน สอนวิธีการแยกรายรับรายจ่าย และเงินออม ให้แต่ละครัวเรือนจักการออม และรู้จักการประหยัดการใช้จ่ายฟุ้งเฟือย สามารถรู้ว่ารับของเราเท่าไหร่ รายจ่ายเท่าไหร่ กำไรหรือติดลบในแต่ละเดือน และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อยู่แบบเดิมโดยไม่คำนึงถิงอนาคต

 

1.เกิิดกลุ่มการทำบัญชีครัวเรือนในแต่ละกลุ่ม 2.มีความรู้การจัดทำบัญชีรายรับจ่ายได้ จำนวน 30 คน

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ครั้งที่ 1 15 ก.ย. 2564 15 ก.ย. 2564

 

15/09/2021 โครงการส่งเสริมพัฒนาแหล่งอาหารในชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร        เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่ 1 เวลา 13.00 น. ถึง 15.00 น. มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 10คน ในการประชุมประเมิน ARE ครั้งนี้ เพื่อลดการรวมตัวจึงลดปริมานคนในการประเมินลดการเสี่ยงและการระบาดโควิด 19   การสำรวจแหล่งอาหาร จำพวกแป้ง , ผัก , โปรตีน จำพวกแป้ง มีทั้งหมด 3 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 ของนายฮาเซ็ง สาและ มีพื่นที่จำนวน 3 ไร่ จุดที่ 2 ของรอกีเยาะ มูซอ มีพื่นที่จำนวน 1 ไร่ จุดที่ 3 ของรอซีย๊ะ ดอเลาะ มีพื่นที่จำนวน 1 ไร่ รวมเป็น 5 ไร่ ในกลุ่มนี้ ผู้รับผิดชอบดูแล นายฮาเซ็ง สาและ     กลุ่มพืชผัก มีทั้งหมด 5 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 ซาลมา สะราวอ มีพื้นที่จำนวน 5 ไร่ จุดที่ 2 พาตีเมาะ มูซอ มีพื้นที่จำนวน 1/2 ไร่ จุดที่ 3 ไอนี  ดอเฮะ  มีพื้นที่จำนวน 1/2 ไร่ จุดที่ 4 สะปิน๊ะ มะเด็ง มีพื้นที่จำนวน 1/2 ไร่ จุดที่ 5 พาอีซ๊ะ อาเด็ง มีพื้นที่จำนวน 1 ไร่ รวมทั้งหมด 7 ไร่ ครึ่ง ผู้รับผิดชอบดูแล น.ส.สะปิน๊ะ มะเด็ง     แหล่งโปรตีนมีทั้งหมด 5 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 นายดอเลาะ ยามา 2 ตัว จุดที่ 2 มารีนา สาและดิง 6 ตัว จุดที่ 3 สาธนา สะการี  4 ตัว จุดที่ 4 มายือน๊ะ สาและดิง 5 ตัว จุดที่ 5 แสนซีย๊ะ สะการี 2 ตัว รวมทั้งหมด 24 ตัว ผู้รับผิดชอบดูแล น.ส.มารีนา สาและดิง   กลุ่มเลี่ยงไก่มีทั้งหมด 7 จุด ได้แก่
จุดที่ 1 สะปิน๊ะ  มะเด็ง เลี้ยงไก่จำนวน 20 ตัว จุดที่ 2 รอซีย๊ะ ดอเลาะ เลี้ยงไก่จำนวน 20 ตัว จุดที่ 3 พาตีเมาะ มูซอ  เลี้ยงไก่จำนวน 25 ตัว จุดที่ 4 มะยาเต็ง หะแวกาจิ เลี้ยงไก่จำนวน 40 ตัว จุดที่ 5 จักรพงศ์  สาและดิง เลี้ยงไก่จำนวน 10 ตัว จุดที่ 6 ไซนะ สะราวอ  เลี้ยงไก่จำนวน 25 ตัว จุดที่ 7 รอสีดะ ยามา  เลี้ยงไก่จำนวน 15 ตัว รวมไก่ทั้งหมด 135 ตัว ผู้รับผิดชอบดูแล นางรอสีดะ  ยามา มีการวางแผนในอนาคตจะต่อยอดจากเดิมมี 7 จุด จะเพิ่ม ให้เป็น 20 จุด วางแผนการการตลาด และวางแผนการการแปรรูปเป็นอาหารต่างๆ วางแผนการมีกลุ่มรับซื้อไก้บ้านในชุมชนต่อไป

 

1.คณะทำงานมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนในการทำงาน 2.มีแผนในการทำงานในแต่ละกิจกรรมม 3.เกิดแผนการตลาดในกลุ่มต่างๆ 4.มีกลุ่ม กลุ่มอาชีพเลี้ยงไก่/กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด/กลุ่มอาชีพปลูกผักและผลไม้ 5.มีข้อมูลกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร/แหล่งผลิต/สมาชิกกลุ่ม/การทำบัญชี 6.มีมาตรการป้องกันโควิด19

 

เวทีการวิเคราะห์ระบบอาหารทั้งระบบในชุมชนและทำข้อตกลงกำหนดพื้นที่แหล่งผลิตอาหาร 20 ก.ย. 2564 20 ก.ย. 2564

 

วันที่่ 20/9/64 เวลา 09.00น. ถึง 15.00น. เวทีการวิเคราะห์ระบบอาหารทั้งระบบในชุมชนและทำข้อตกลงกำหนดพื้นที่แหล่งผลิตอาหาร ผู้เข้าร่วม ได้แก่ อสม. 10 คน กลุ่มแม่เลี้ยงเดียว 5 คน ผู้สูงอายุ 3 คน กลุ่มคนว่างงาน 3 คน และประชาชน 19 คน รวมเป็น 40 คน
จาก ทีมคณะทำงานได้ไปสำรวจข้อมูลการลงไปสำรวจ ในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ได้แก่ กลุ่มเปราะบาง กลุ่มแม่เลี้ยงเดียว กลุ่มคนได้รับผลกระทบจากโควิด กลุ่มคนยากไร้ กลุ่มคนตกงาน กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งได้ทำเวทีวิเคราะห์ปัญหา จากการทำแบบเฟอมร์ เป็นเอกสารสำรวจ นำมาวิเคราะห์ข้อมูล ข้อ 1. ได้รับผลกระทบจากประกาศจังหวัด ถูกเลิกจ้าง จำนวน 2 คน  รายได้ลดลงขายของได้น้อย จำนวน 27 คน  ธุรกิจถูกปิด จำนวน 1 คน ไม่ประกอบอาชีพตามปกติ จำนวน 8 คน ภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพสูงขึ้น จำนวน 18 คน อื่นๆจำนวน 4 คน จากการลงขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเราไม่ไม่ทิ้งกัน จำนวน 24 คน จำนวนรายได้ต่อคนต่อเดือนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ จำนวน 28 คน ของกลุ่มเป้าหมาย ด้านหนี้สิน มีหนี้สิน จำนวน 26 คน หนี้ธนาคารจำนวน 6 คน  หนี้เพื่อนบ้านจำนวน 6 คน และอื่นๆ จำนวน 18 คน  ด้านการออมทรัพย์ ในยามฉุกเฉิน มีการออมจำนวน 7 คน ไม่มีการออมจำนวน 33 คน ที่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 7 คน ไม่เป็นสมาชิกออมทรัพย์ จำนวน 25 คน จากการสำรวจ และวิเคราะห์ที่ได้รวบรวมเอกสารที่มาจากผู้ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด

 

1.เกิดกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน 2.เกิดการรวมกลุ่มของเป้าหมายจำนวน 30 คน 3.เกิดแหล่งอาหารในชุมชน จำนวน 10 จุด 4.เกิดข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ขาย

 

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 25 ธ.ค. 2564 25 ธ.ค. 2564

 

วันที่ 25/12/2564 เวลา 08 .00 น. -ถึง 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี้เลี้ยง 09.00 - 09.30 น.  เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์
                          หมาดอะดำผู้จัดการโครงการ 09.30 น. - 10.30  โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ  15 นาที และแลกเปลี่ยน 5
                          นาที 10.30 น. - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 น.  - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ  15 นาที และแลกเปลี่ยน 5
                            นาที 12.00 น. -  13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 น. -  15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ  15 นาที และแลกเปลี่ยน 5
                              นาที 15.30 น. -  16.30 น.  กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ " หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความ
                            รอบรู้เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร " พร้อมนำ
                            เสนอ 16.30 น. - 18.00น.  พักตามอัธยาศัย 18.00น.  -  19.00น. รับประทานเย็นร่วมกัน 19.00น.  -  21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ  หากชุมชนอื่นๆ จะทำโครงการเกี่ยว
                            กับการสร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและ
                            ขั้นตอนอย่างไร พร้อมนำเสนอ วันที่ 25/12/2564 เวลา 08 .30 น. ถึง - 16.00 น กิจกรรมวันของวันที่ 2 08. 30น.  -  09.00น.  กิจกรรมสันทนาการ / สร้างสัมพันธ์ 09.00น.  -  10.00น.  กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ " ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่
                              สำเร็จ และสิ่งที่ได้เรียนรู้(บทเรียน)" พร้อมนำเสนอ 10.00น.  -  10.15น.  พักรับประทานอาหารว่าง 10.15น.  -  12.00น.    การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้าน
                              กิจกรรม 12.00น  -  13.00น.  พักประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ 13.00น.  -  14.30น.  การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการ
                            เงิน 14.30น.  -  14.45น.  พักรับประทานอาหารว่าง 14.45น.  -  15.30น.  ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงิน
                            โครงการย่อย 15.30น.  -  16.00น.  สรุปเวทีและปิดการประชุม  โดยนายสุวิทย์ หมาดอะดำ  หัวหน้าหน่วยจัดการ
                            ชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้

 

มีผู้เข้าร่วม เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการจำนวน5คน ผลัพธ์ที่ได้ 1.ได้สังเคราะห์เคล็ดลับและกลยุทร ต้องคุยให้เข้าใจ ด้วยการคลี้ ประชุมแบบไม่เป็นทางการ เชิญกลุ่มเป้าหมาย แบ่งโซนดูแล สภาผู้นำ เอาผู้ได้รับผลกระทบมาเป็นแกนนำ ด้านบัญชี ใช้เคล็ดลับ ด้วยการสร้างวินัย สร้างแรงจุงใจ ทำเป็นกลุ่มเพื่อตัวอย่าง
2.ได้บทเรียนและข้อเรียนรู้ เพิ่มแหล่งอาหาร/ แผนที่่/วิธีการ/เพิ่มชนิด/วิธีการปลูกหลากหลาย 3.ได้ภาคี หน่วยงาน ศอบต.สนับสนุนเรื่องปุ๋ยหมัก อบต. สันบสนุนเรื่องการต่อยอดกลุ่มอาชีพ เกษตรจังหวัดช่วยในเรื่องเตาพลังงานแสงอาทิตย์ ด้านสร้างความยั้งยืน อนาคต จะสร้างแหล่งรับซื้อผลิตในชุมชนเพื่อเป็นการต่อยอดเป็นการคลับเคลื่อนงานต่อเนื่อง 4.มีความรู้รู้การทำหลักฐานด้านการเงิน รูปแบบและวิธีการข้อมูลกาทำใบเสร็จให้ถูกต้อง และบางสิ่งที่เราได้ผิดเราสามารถแก่ได้ถูกต้อง

 

อบรมการผลิตอาหารปลอดภัย (อาชีพเลี้ยงปลาและแปรรูป) 6 ม.ค. 2565 6 ม.ค. 2565

 

วันที่ 6/1/65 อบรมการผลิตอาหารปลอดภัย(อาชีพเลี้ยงปลาและแปรรูป) ณ.บ้านเลขที่ 58/4 หมู่ที่ 3 เวลา 08.30 น. - 09.00 น.  ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรม   09.00 น. - 10.00 น.  เปิดเวทีการอบรมกลุ่มอาชีพเลี้ยงปลาและแปรรูป โดย ซารีพ๊ะ สา
          และดิง ได้อธิบายวัตถุประสงค์ของการอบรมในครั้งนี้   10.00 น. - 11.30 น.  พักรับประทานอาหารว่าง   10.15 น. - 12.00 น.  วิทยากรผู้มาให้ความรู้จากประธานสภาเกษตรจังหวัด โดยนายอาบี
          ดีน มณูทวีเป็นผู้มาให้ความรู้ในการอบรมการเลี้ยงปลา   12.00 น. - 13.30 น.  พักรับประทานอาหารเที่ยง   13.30 น. - 14.30 น.  กระบวนการสาธิตและแปรรูปของปลาแต่ละชนิดที่สามารถนำมาแปรรูปประเป็นอาหารแต่ละอย่างได้   14.30 น. - 14.45 น.  พักรับประทานอาหารว่าง   14.45 น. - 15.30 น.  สอนเทคนิคการเลี้ยงปลาในกระชัง/บ่อนํ้า และอุปกรณ์ในการเลี้ยง
          ปลา และสรุปการอบรมอาชีพเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลา มี 3 รูปแบบ 1.บ่อดิน 2. บ่อซีเมนท์ 3.บ่อในกระชัง 1.การเลี้ยงปลาในบ่อผ้าพลาสติก หมายถึง การเลี้ยงปลาในบ่อที่ปูรองด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกักขังน้ำไม่ให้รั่วซึมสู่ดิน บ่อลักษณะนี้จะมีขนาดเล็ก และตื้นตามข้อจำกัดของขนาดผ้าพลาสติกที่ใช้ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ นิยมเลี้ยงปลาประเภทเดียวกันกับปลาที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์สำเร็จรูปที่ซื้อตามท้องตลาด 2.การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ หมายถึง การเลี้ยงปลาในบ่อที่ก่อด้วยซีเมนต์สำเร็จรูป ทั้งชนิดที่ก่อขึ้นเอง และชนิดที่ซื้อตามท้องตลาด สำหรับชนิดบ่อซีเมนต์ที่ซื้อตามท้องตลาดจะใช้เลี้ยงปลาเพียงไม่กี่ประเภทเท่านั้น เนื่องจากบ่อมีขนาดเล็ก ปริมาณน้ำ และออกซิเจนน้อย ปลาที่เหมาะสม เช่น ปลาดุกหรือปลาหมอ 3.การเลี้ยงปลาในกระชัง หมายถึง การเลี้ยงปลาในภาชนะที่สามารถขังได้ ตั้งแต่ระยะเป็นลูกปลาไปจนถึงมีขนาดใหญ่ โดยกระชังที่ใช้ต้องมีลักษณะที่นํ้าสามารถไหลเวียนผ่านด้านนอกได้ ขั้นตอนการเลี้ยงปลา (บ่อดิน) การเลือกสถานที่ 1. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง รวมถึงพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเข้าถึง 2. ควรเลือกสถานที่ที่มีปริมาณน้ำพอใช้ได้ตลอดทั้งปี เช่น มีบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ และควรเป็นสถานที่ที่น้ำไม่ท่วมถึง โดยเฉพาะในฤดูฝน และไม่ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 3. ควรเลือกสถานที่ที่เป็นดินดินเหนียว ซึ่งจะอุ้มน้ำได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของน้ำออกบ่อ 4. ควรเลือกสถานที่ใกล้แหล่งพันธุ์ปลา และการคมนาคมเข้าถึงสะดวก 5. ควรเลือกสถานที่ที่อยู่ใกล้ตลาดหรือชุมชน เพื่อความสะดวก และมีความรวดเร็วสำหรับการส่งปลาจำหน่าย การสร้างบ่อเลี้ยง/การเตรียมบ่อ 1. ออกแบบ และวางผังบ่อ โดยควรออกแบบสำหรับการเพิ่มหรือขยายบ่อในอนาคต 2. ขุดบ่อ และยกคันบ่อ โดยให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดบริเวณโดยรอบในรอบปีที่มีน้ำท่วมสูง ซึ่งต้องให้เผื่อสูงไว้เกินประมาณ 30 เซนติเมตร 3. สร้างประตูระบายน้ำ บริเวณจุดต่ำสุดของคันบ่อ โดยประกอบด้วยตะแกรงตาถี่ที่ทำจากไม้ไผ่หรือเหล็ก 4. บ่อปลาที่ขุด ควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพื้นด้านล่างควรลาดเทไปด้านใดด้านหนึ่งในทิศทางการไหลของน้ำ 5. เมื่อขุดบ่อเสร็จให้โรยปูนขาวให้ทั่วก้นบ่อ ขอบบ่อ และตากทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงจะปล่อยน้ำเข้า อีกประมาณ 7 วันต่อมาจึงถ่ายน้ำออกเพื่อรับน้ำใหม่ หากน้ำไม่เพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่ายออก 6. หว่านโรยมูลสัตว์ เพื่อให้เกิดอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืช และไรน้ำ สำหรับระยะที่ปล่อยปลาขนาดเล็ก 7. พื้นที่คันบ่อโดยรอบ ควรปลูกต้นไม้ไว้เป็นร่มเงาแก่ปลา ทั้งการเตรียม และปล่อยพันธุ์ปลา
การเตรียมพันธุ์ปลา สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ชนิดปลา อัตราการเลี้ยงที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง 1. ชนิดปลาที่จะเลี้ยง ควรพิจารณาที่ความเข้าใจ และความชำนาญของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ รวมถึง การตลาด และราคาปลา 2. อัตราการปล่อยที่เหมาะสมกับบ่อเลี้ยง พิจารณาระดับการเลี้ยงแบบเข้มข้นน้อย ปานกลาง และสูงซึ่งต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น คุณภาพน้ำ อาหาร การจัดการ และเงินทุน 3. ลักษณะการกินอาหารปลา – ประเภทกินพืช หมายถึงปลาที่กินพืชเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ปลาไน ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาจีน ปลาประเภทนี้ชอบกินรำข้าว ปลายข้าว เศษพืชผัก หญ้า และเศษอาหารในครัวเรือน นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งปลากินพืชออกย่อยเป็นปลากินตะไคร่น้ำ สาหร่ายหรือพืชสีเขียว ในน้ำ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาสลิด ปลาจีน เป็นต้น – ประเภทกินเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ปลาบู่ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาประเภทนี้ชอบกินเศษปลาบดผสมกับรำเป็นอาหาร รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็ก – ประเภทกินได้ทั้งพืช และเนื้อ หมายถึง ปลาที่กินทั้งพืช และเนื้อเป็นอาหารหลัก ได้แก่ ปลาสวาย ปลายี่สกนี้ ควรเลือกปลูกไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งด้านสมุนไพร ผลไม้ เครื่องเทศ รวมถึงการให้เนื้อไม้

 

1.เกิดกลุ่มอาชีพเลี้ยงปลา จำนวน 2 กลุ่ม 2.เกิดความเข้าใจเทคการเลี้ยงปลาและแปรรูปปลาสามารถนำไปขายได้

 

เวทีทำแผนเชื่่อมโยงเครือข่ายผลิตอาหารกับผุ้บริโภค 12 ม.ค. 2565 12 ม.ค. 2565

 

วันที่ 12/1/65 เวลา 09.00น. ถึง 15.00น. จัด เวทีทำแผนเชื่่อมโยงเครือข่ายผลิตอาหารกับผุ้บริโภค ผู้เข้าร่วมทั้งหมด จำนวน 75 คน ได้แก่ กลู้ผู้ผลิตจำนวน 30 คน กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 30 คน และ ทีมคณะทำงานจำนวน 15 คน
เริ่มด้วยการเปิดเวทีชี้แจงวัตถุประสงค์ ในการจัดเวทีครั้งนี้ โดย ซารีพ๊ะ สาและดิง ได้ชี้แจงให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจว่าทำไหม ต้องจัดเวทีนี้ขึ้น ซึ่งหลักๆ เพื่อต้องการหาแนวทางช่องทางการตลาด หาจุดที่จะรับซื้อขาย หาแหล่งที่เหมาะกับการทำธุรกิจ ในชุมชน ที่สามารถสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ จากนั้นได้เชิญวิทยากรประจำตำบล ชื่อนายสมาน มาซิดง มาให้ความรู้เรื่องการวางแผ่นการตลาด การออกแบการตลาด และขายจากภายนอกที่สามารถนำส่งของขายได้
วิทยากร บอกความหมายของผู้ผลิต ผู้ผลิตหมายถึง สิ่งของหรือวัสดุต่างๆที่เราปลูกหรือ เราทำขึ้นเพื่อให้เกิด หน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรให้เป็นสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ และความหมายของผู้บริโภคหมายถึง เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่น ครัวเรือน ที่เป็นผู้ใช้สินค้า หรือ บริการคนสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในระบบสังคม มโนทัศน์ผู้บริโภคอาจมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับบริบท กระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับผลิผลิตภัณฑ์เพื่อหาแนวทางร่วมกันสิ่งต้องคำนึง 1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ 2. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 3. สายผลิตภัณฑ์ สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ - แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร จะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไร ประโยชน์ของสามารถทำอะไรได้บ้าง ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เรา เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่ อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใดราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมกับของที่เรากำหนด หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ในการกำหนด ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้       1.ตั้งราคาตามตลาด หรือตั้งราคาตามความพอใจ           1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตก ต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่นคือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน           1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ เป็นการตั้งราคาตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสินค้า สินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ       2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่าและการยอมรับในราคาของลูกค้าหรือราคามาตรฐาน เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง       3. การตั้งราคาเท่ากันหมด คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่อง หมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด หรือราคาแตกต่างกัน ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้       4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง       5. การขยับซื้อสูงขึ้น เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้น จึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า เพื่อให้คนซื้อสิ้นที่รองลงมา
วิทยากร ได้บอกแหล่งการตลาด ที่จังหวัด จะเปิดให้ชุมชนเปิดขาย ทุกๆวันจันทร์ กับวันศุุกร์ ของแต่ละสัปดาห์ ตลาตนัดศาลากลางจังหวัด เป็นนโยบายส่งเสริมการขายผลิต

 

1.เกิดแหล่งรับซื้อขายในชุมชน จำนวน 4 จุด 2.เกิดการสร้างผลิตกับผู้บริโภคร่วมกััน 3.สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ครั้งที่ 2 14 ม.ค. 2565 14 ม.ค. 2565

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่ 2 เวลา 09.00น. ถึง 15.00น. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ได้แก่ ทีมคณะทำงานจำนวน 15 คน ผู้ผลิต จำนวน 20 คน ผู้นำจำนวน 2 คน ผู้สูงอายุจำนวน 3 คน กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการและเปิดประเด็นการสร้างกลุ่มอาชีพและการให้ความรู้สำหรับกลุ่มอาชีพ โดยซารีพ๊ะ สาและดิง ได้อภิบายวัตถุประส่งค์ของการทำเวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครั้งที่ 2 โดยสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาที่เราทำกิจกรรม ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ที่ยังต้องแก้ไขมีอะไรบ้าง ที่ต้องพัฒนาในเรื่องใดบ้าง สรูปผลลัพท์ที่เกิดหลังจากกิจกรรม มีกลุ่มอาชีพในชุมชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มเพาะเห็ด จากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ให้ทีมคณะทำงานลงติดตาม เฉลี่ยรายได้ต่อเดือน
4,200 บาท กลุ่มเลี้ยงไก่ เฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 3,000 บาท กลุ่มกลุ่มปลูกพืชผักผลไม้ รายได้เฉลี่ย 3 เดือนครั้ง 3,600 บาท รวมรายได้ของแต่ละกลุ่ม ต่อเดือนได้ 10,800 บาท และมีการขยายพื้นที่ต่ออีก 5 จุด จากเดิม 10 จุด เป็นการต่อยอดของการซื้อขาย สิ่งทีต้องพัมนาต่อ คือ ทีมคณะทำงานขาดความรู้เรื่องทักษะการพูดหรือการแสดงออกยังไม่กล้าที่จะพูด การเริ่มต้นการพูด หรือซักถาม ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนจบตรงไหน ที่ต้องแก้ไขต่อ

 

1.สามารถประเมินสถานการณ์ในชุมชนได้ 2.มีการคืนข้อมูลเกี่ยวกับการปั่นผลรายได้ของผู้ผลิต 3.เกิดการเรียนรู้สิ่งข้อผิดพลาดนำมาเปลี่ยนแปลงได้

 

เวทีถอดบทเรียน 17 ม.ค. 2565 17 ม.ค. 2565

 

วันที่ 17/01/65 เวลา 09.00น. ถึง 15.00น. เวทีถอดบทเรียน ณ.รพ.สต.ตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้แก่ คณะทำงาน 15 คน กลุ่มผู้ผลิต 10 คน กลุ่มผู้บริโภค 15 คน 09.00น. - 10.30น. เปิดเวทีโดย นางซารีพ๊ะ สาและดิง กล่าวสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา 10.30น. - 10.45น. พักรับประทานอาหารว่าง 1.45น. - 12.00น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 12.00น. - 13.30.น. พักรับประทานอาหารเที่ยงและทำภารกิจส่วนตัว 13.30. - 14.30น.  ถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมาและอานาคต 14.30น. - 14.15น.  พักรับประทานอาหารว่าง 14.45น. - 15.00น.  เวทีสรุปกิจกรรมของการถอดบทเรียน 09.00น. - 10.30น. เปิดเวทีโดย นางซารีพ๊ะ สาและดิง กล่าวสรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาจากกิจกรรมที่ผ่าน กิจกรรมที่ไปแล้ว ผลลัพธ์ จากทำกิจกรรมสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังจัดกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มอาชีพ กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มเลี้ยงไก่บ้าน กลุ่มเกษตร
กลุ่มเพาะเห็ด หลังจากจัดกิจกรรม การรวมกลุ่มสร้างโรงเพาะเห็ดขึ้น การวางแผ่นการตลาด เกิดสามัคคีในการช่วยกันคิดออกแบบโรงเรือนเพาะเห็ด โดยการ เก็บตังเพื่อหุ้นกันเป็นทุนเพื่อซื้อเชื่อเห็ด จากการก่อตัว ซึ่งในกลุ่มอาชีพ กลุ่มเป้าหมาย เอาจากกลุ่มเปาะบาง แม่เลี้ยงเดียว ผู้สูงอายุ ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด คนตกงานในช่วงโควิด ทำให้สามารถสร้างรายได้เข้ามาในกลุ่มได้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า มีรายได้เข้ามา เดือนละ 4,200 บาทต่อเดือน สรุป 3 เดือน อยู่ที่ประมาณ 12,600 บาท ส่วนกลุ่มเลี้ยงไก่บ้าน เลี้ยงเป็นรายคน คนหนึ่งอยู่ 3,000 บาทต่อเดือน และมีการขยายต่อ คนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ช่วงกำลังดำเนินการต่อไป ส่วนกลุ่มเกษตร ก็จะแบ่งเป็น จำพวกแป้้งรายได้ ก็ได้ 3 ครั้ง รายได้ที่ได้อยู่ที่ประมาณ 3,600 บาท ต่อคน ต่อเดือน สรุปทั้ง 3 กลุ่มอาชีพ ต่อเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 7,200 บาท ของทั้งหมด มีจุดรับซื้อในชุมชนจำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 ที่บูเกะตียะ จุดที่ 2. หน้ามัสยิด จุดที่ 3.ที่หัวสะพาน จุดที่ 4. สะพาน 3 เป็นแหล่งรับซื้อในชุมชน และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อาชีพการเลี้ยงปลาที่กำลังดำเนินการที่ยังติดตามต่อไปเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป และการพัฒนาทะษะการพูดยังต้องพัฒนาต่อ ต้องหาวิทยากรสอนเทคนิคการต่อหน้าคนมากๆ การเริ่มต้นและคำลงท้าย ขาดในส่วนของการพัฒนาคน แหล่งอาหารในชุมชน มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเพาะเห็ด 1 โรงเรือน จำนวนสมาชิก 15 คน 2.กลุ่มเลี้ยงไก่ จำนวน 10 จุด เพิ่ม 8 จุด เป็น 18 จุด จำนวนไก่ทั้งหมด 520 ตัว 3. กลุ่มเลี้ยงปลา จำนวน 5  คน 4 กระชัง 1 บ่อดิน  4. กลุ่มเกษตร(ผสมผสาน) จำนวน 12 คน  5. กลุ่มเลี้ยงแพะจำนวน 8 คน  แพะรวมกัน 8คน เป็น 55 ตัว

 

1.คนในชุมชน จำนวน 40 คน สามารถแก้ไขภาวะวิกฎติ 2. สามารถสะท้อนปัญหาการผลิตเล่าสู่กันฟังได้ 3.เกิดกลุ่มอาชีพเพิ่มจากเดิม 3 กลุ่ม เพิ่ม 2 กลุ่ม  รวมเป็น 5 กลุ่ม 4.สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนได้ 5.มีแผนที่แหล่งผลิตอาหารในชุมชน 6.มีแหล่งรับซื้อจำนวน 4 จุดในชุมชน

 

ค่าทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 31 ม.ค. 2565 31 ม.ค. 2565

 

การทำรายงานฉบับสมบูรณ์ วันที่ 30/1/65 ถึง 31/1/65 ณ.รพ.สต.ตะโละหะลอ กลุ่มเป้าหมาย 3 คน ได้แก่ ฝ่ายการเงิน 1 คน ฝ่ายเลขา 1 คน  หัวหน้าโครงการ 1 คน

 

1.เกิดทีมคณะทำงานสามารถทำรายงานได้ 2.มีเอกสารรายงานฉบับสมบูรณ์