directions_run

ส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้บ้านวังประจัน ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมร่วม สสส. 11 เม.ย. 2564

 

 

 

 

 

1 เวทีชี้แจงโครงการ 20 เม.ย. 2564 20 เม.ย. 2564

 

นางสาวนัฐฌา  รูบามา ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวต้อนรับผู้ข้าร่วมประชุมดังนี้ ในวันนี้ที่ได้นัดหมายพวกเรามาเพื่อมาทำความเข้าใจการดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนจาก สสส. ด้วยสถานการการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ทุกคนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก บางคนต้องหยุดงาน บางคนต้องถูกเลิจ้าง นักเรียนต้องหยุดเรียนชั่วคราว ดังนั้น ทางพี่เลี้ยง สสส.จึงได้เลือกพื้นที่ของเราเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาด้วยการ ส่งเสริมอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ     นางอามีน๊ะ  ยาสินได้ชี้แจงดังนี้ ตามที่นางสาวนัฐฌา  รูบามา ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เมื่อวันที่ ๅๅ - 12 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เราได้ไปประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง / พื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับโครงการเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวทางในการปฎิบัติงานตามวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรมในวันนี้ เราจะมีการคัดเลือกตัวแทนคณะทำงานด้วย
    นายยาวัยหนี  บินดอละ ผู็ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ได้กล่าวถีงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ว่าขอความร่วมมือให้พวกเราช่วยทำตามมาตรการที่ทาง สคบ.กำหนดด้วยเละให้เฝ้าระวัง ป้องกัน หากมีใครเดินทางเข้ามาในพื้นที่ขอให้รายงายตัวแก่ อสม. ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้มาการแพร่ระบาดในพื้นที่ ต่อไปขอให้ทางทีมงานได้ดำเนินการตามวัตถประสงค์ของโครงการ ขอบคุณครับ

 

  • เป้าหมายที่เข้าร่วมประชุม มีความเข้าใจในโครงการ กิจกรรมที่ได้รับ
  • ได้กลุ่มเป้าหมายที่ได้เรับผลกระทบฯ ที่สมัตรใจเข้าร่วม จำนวน 30  คน
  • ได้คณะทำงาน จำนวน 10  คน ดังนี้   1. นางสาวนัฐฌา  รูบามา   2. นางอามีน๊ะ  ยาสิน   3. นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน   4. นายยาวัยหนี  บินดอละ   5. นายสุกรี  บินดอละ   6. นางสาวอีฉ๊ะ  หมันเส็น   7. นางสาวซ๊ซ๊ะ  เจะหมีน   8. นายดำรงค์  สูเด็น   9. นางสาวสุทธิกานต์  แหมถิ่น   10. นางสาวชลาไล  มุหมีน

 

5. . ประชุมคณะทำงาน ( 5/1 ) 25 เม.ย. 2564 25 เม.ย. 2564

 

นางอามีน๊ะ ยาสิน / จากการที่เราได้จัดเวที่ชีัแจงโครงการและได้รับคัดเลือกเป็นคณะทำงาน เราจะต้องมาร่วมกันวางแผนในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนั้นจึงขอให้เราได้เสนอข้อคิดเห้นว่าเราจะทำกันอย่างไร
  นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน /เราต้องช่วยกันดำเนินงาน เราอาจแบ่งหน้ากันเพื่อเป็นระบบแต่ก็ต้องช่วยกันทำเพื่อให้ไดงานสำเร็จเร็รวขึ้น  ในการประชุมคณะทำงาน เราจะมีค่าตอบแทนในการประชุม จำนวน 50 บาท /คน  จำนวน 10  คน  ค่าติดตามจำนวน 50 บาท / คน จำนวน 5 คน   นางสาวนัฐฌา  รูบามา / สิ่งที่เราจะต้องกำหนด คือ การจัดิจกรรมในแต่ละครั้ง ตามที่ทางเราได้ทำปฏิทินเอาไว้แล้วนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไม่อาจรู้ได้ว่าจะรุนแรงหรือเบาบางลงในวันไหน บางครั้งเราต้องวางแผนแก้ปัญหาไปเป้นระยะๆ ในวันนี้เรามาแบ่งหน้าที่กันในเบื้องต้น คือ ต้องมีอาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล จำนวน 5 คน เพื่อจัดเก็บข้อมูลตามแบบสอบถาม ซื่งแบบสอบถามนั้นกำหนดให้นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน เป็นคนพิมพ์

 

-  มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ครบ จำนวน  10  คน -  คณะกรรมการมีข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ดังนี้ ทุกคนต้องมาร่วมประชุมทุกครั้ง  ให้ทุกคนทำตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
- ได้คณะสำรวจ ติดตาม จำนวน  5  คน  ดังนี้   1. นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน
  2. นางสาวอีฉ๊ะ  หมันเส็น   3. นางสาวซีซ๊ะ  เจะหมีน   4. นางสาวสุทธิกานต์  แหมถิ่น   5. นางสาวชลาไล  มุหมีน

 

2. การอบรมทักษะการเงิน สุขภาพ สังคม ( 2/1) 19 พ.ค. 2564 28 พ.ค. 2564

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ในการบริหาร จัดการแนวคิด การติดอาวุธทางปัญญาให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีกล่มเป้าหมาย 30 คน คณะทำงาน 10 คน รวม 40 คน วิทยากรได้สอนแนะนำการบริหารจัดการวิธีการ การด้านการด้านการเงิน โดยารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ทุกคนเสนอแนะจากประสบการณ์จริง

 

  • กลุ่มเป้าหมายที่ง 40 คน มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการทักษะด้านการเงินได้
  • กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู็ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเองได้
  • ได้แกนนำที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ จำนวน 15 คน

 

5. . ประชุมคณะทำงาน ( 5/2 ) 9 มิ.ย. 2564 25 เม.ย. 2564

 

นางสาวนัฐฌา  รูบามา / จากการที่เราได้ดำเนินโครงการมาระยะหนึ่ง ทำให้เราได้พบอุปสรรคในการดำเนินงาน คือ การแพร่ระบาดของโควิด 19  ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มนักศึกาษาทำให้เราต้องชลอกิจกรรมไปไม่ได้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ดังนั้นเราจักต้องปรับแผนในการแก้ปัญหา โดยที่กิจกรรมของเราเดินต่อไปได้ แต่ทุกคนที่ทำงานต้องปลอดภัยเซฟตัวเรา ครอบครัว และสังคม   นายสุกรี  บินดอละ / เราต้องช่วยกันทำงานด้วยการจัดระบบ คือ การลงพื้นที่ติดตาม ให้ทำตามมาตรการที่ทาง สคบ.กำหนด   นางอามีน๊ะ  ยาสิน / เราในฐานะแกนนำต้องเป็นแบบอย่างให้แก่คนในชุมชน เราต้องบูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายเพื่อประหยัดเวลา แต่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
  นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน / สำหรับการติดตามกลุ่มเป้าหมาย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย กลุ่มเป้าหมายมีการทำบัญชีครัวเรือยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการปลูกผักในครัวเรือนไว้กินเองเพื่อลดราย จ่ายและสร้างความมั่นคงทางอาหาร

 

  • จากการอบรมทักษะทางการเงินและการจดบันทึกครัวเรือน สมาชิกได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทุกคนจึงได้ลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยการปลูกผักกินเอง ทำให้ทุกคนมีแหล่งอาหารเป็นของตัวเอง
  • สมาชิกทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 30 คน
  • เกิดตัวแทนที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ จำนวน 15 คน
  • สมาชิกทุกคนมีความเครียดลดลง
  • คระทำงานมีความรู้ ความเข้าใจงานเพิ่มขึ้น สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแ่สมาชิกไ้ดทุกคน

 

3. การผลิตอาหารปลอดภัย / การประกอบอาชีพ“อบรมเชิงปฏิบัติการ กินอยู่ อย่างไร คือใส่ใจสุขภาพ” 13 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

6. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร (ุ6/1) 13 ก.ย. 2564 13 ก.ค. 2564

 

คณะทำงานได้ติดตามสมาชิกกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมการแปรรูปการทำขนม ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง สามารถเอามาประกอบอาชีพเสริมได้หรือไม่  สมาชิกบอกว่าพอใจกับกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก

 

  • คณะทำงานร่วมประชุมรับฟังปัญหา ทั้งหมด 10 คน
  • สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปต่อยอดประกอบอาชีพของตนเองได้ร้อยเปอร์เซ็น
  • สมาชิกที่สมัครใจรวมกลุ่ม จำนวน 20 คน
  • มีการตั้งกฏ กติกา ของกลุ่ม คือ ให้ลงเวลาในการมาำทำงาน แบ่งหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน มีคนทำบัญชีรับจ่าย สามารถตรวจสอบได้

 

6. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตอาหาร (ุ6/2) 14 ก.ย. 2564 14 ก.ย. 2564

 

  • นางสาวนัฐฌา รูบามาได้ประชุมคณะทำงานร่วมกับสมาชิกเพื่่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ดังนี้ ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมได้พบปัญหาคือ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ต้องปับแผนกันใหม่ โดยจัดกิจกรรมแบบลดจำนวนคนแต่เพิ่มจำนวนครั้งเพื่อให้กิจกรรมเป้นไปตามวัตถุประสงค์ ตามที่ทุกคนทราบ ทำให้กิจกรรมดำเนินต่อได้
  • นางสาแลอ๊ะ  อำมาลี สมาชิกได้ชีแจงว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทางกลุ่มได้ชลอการทำขนมไประยะ 1 เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกและครอบครัว
  • นางมัยมูน๊ะ  ละใบโดย ได้กล่าวว่า จากที่ทางเราได้เรียนรู้การทำตลาดออนไลน์นั้น ได้มีสำนักงานมาเพิ่มเติมเทคนิคการทำภาพในการออกสื่อ และได้เชิญไปร่วมอบรมในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์

-

 

  • สมาชิกเกิดการเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ จำนวน 30 เรือน
  • มีการนำความรู้ไปขยายต่อให้แก่เพื่นบ้าน
  • คระทำงานและสมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีการตกลงกันว่าจะสร้างกลุ่มเครือข่ายสุขภาพในหมู่บ้าน เอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ อสม.เป็นพี่เลี้ยง

 

เบิกเงินคืน 15 ก.ย. 2564 15 ก.ย. 2564

 

เบิกเงินคืนจากธนาคาร

 

จำนวนเงิน 500  บาท

 

7. เวทีถอดบทเรียน 25 ก.ย. 2564 25 ก.ย. 2564

 

-นางอามีน๊ะ  ยาสิน กล่าวต้อนรับทุกคนและได้ชี้แจงสถานการการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ว่าตอนนี้มีการแพร่ระบาดเป็นระยะๆ ฉนั้นในทางที่ดีขอให้ทุกคนร่วมกันฉีดวัคซีนเพื่อลดการติดเชื้อ สำหรับกิจกรรมของเราตอนนี้ได้ทำครบทุกกิจกรรมแล้ว ตอนนี้ให้ทุกคนร่วมกันสรุปผลกิจกรรมที่ผ่านมา และแนวทางพัฒนาต่อยอด นางสาวรุสนิตา  เจะหมีน ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

  • สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแบบอย่างได้ จำนว 30 คน
  • สมาชิกสามารถทำบัญชีรับจ่ายในครัวเรือนอย่างง่ายได้ จำนวน  30 คน
  • คระทำงานและสมาชิกลดรายจ่ายด้วยการปลูกผักกินเอง และขยายไปสู่ครัวเรือนใกล้เคียง ได้ 95 เปอร์เซ็น -นางสาวนัฐฌา  รูบามา ได้สรุปดังนี้ จากที่ได้ทำกิจกรรมมาเห็นว่าเราเกิดประโยชน์แก่สมาชิกและคนในหมู่บ้าน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนเราจะทำโครงการเพื่อนำไปต่อยอดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2 โครง คือ 1 โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  2  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 

ปฐมนิเทศโครงการ สสส. 11 เม.ย. 2564 12 เม.ย. 2564

 

คณะทำงานจัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อให้แกนนำได้มีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด หลักคิดวัตถุประสงค์ของโครงการ หลักการ เทคนิคที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ สามารถชี้แจงให้กับคณะทำงานได้ เช่น การจัดทำหลักฐานการเงิน การคีย์รายงานผลทางเว๊ป การวางแผนในการดำเนินให้เป็นไปตามกิจกรรมตามบันไดผลลัพธ์ที่ดำหนดไว้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มจังหวัด แนวทางแก้ปัญหาในการทำงาน

 

เกิดข้อตกลงร่วมกัน  / คณะทำงานมีความเข้าใจสามารถทำกิจกรรมได้ / คณะทำงานมีแผนในการปฏิบัติงาน

 

เปิดบัญชีธนาคาร 14 เม.ย. 2564 14 เม.ย. 2564

 

นำเงินเปิดบัญชีธนาคาร กรุงไทยสาขาโลคัส

 

500  บาท

 

พบพี่เลี้ยง 16 เม.ย. 2564 16 ก.ย. 2564

 

พบพี่เลี้ยงเพื่อปรึกษาหารือแนวมางในการจัดกิตกรรม

 

คณะทำงานสามารถทำกิจกรรมตามที่พี่เลี้ยงให้คำชี้แนะได้

 

จัดทำป้ายโครงการ 19 เม.ย. 2564 19 เม.ย. 2564

 

จัดจ้างทำป้ายโครงการตามโครงการที่ร้านจัดทำป้าย

 

จัดทำป้ายประชาสัมพันธืโครงการ จำนวน 2 ป้าย คือ ป้ายโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุน ป้ายปลอดบุหรี เพื่อเป็นการประชาสัมพันธืโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ กิจกรรมที่ได้รับ

 

พบพี่เลี้ยง 10 พ.ค. 2564 10 พ.ค. 2564

 

คระทำงานพบพี่เลี้ยงเพื่อปรึกษาหารือการสรุปและการจัดทำเอกสารการบันทึกข้อมูลของกิจกรรมที่ได้จัทำตามโครงการ

 

คณะทำวานมัความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่อได้

 

การจัดทำบัญชีครัวเรือน 19 พ.ค. 2564 19 พ.ค. 2563

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู็การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
  • ให้กลุ่มเป้าหมายจัดทำบัญชีครัวเรือน พร้อมทั้งนำข้อมูลมาให้คณะทำงานร่วมกันวิเคราะห์ นำไปใช้ในการแก้ปัญหา
  • กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 คน ทางคณะทำงานได้แบ่งกลุ่มสอนเพื่อรักษาระยะห่างและทำตามมาตรการตามที่ สคบ กำหนด เป็น 3 กลุ่มย่อย และสามารถเรียนรู้กับวิทยากรได้โดยการโทร /ซูม

 

  • กลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน สามารถบันทึกบัญชี รับ  -  จ่าย ครัวเรือนได้
  • เกืดข้อตกลงร่วมกัน โดยให้ทุกคนบันทึกบัญชีอย่างต่อเนื่อง
  • ให้ทุกคนปลูกผักกินเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

 

การอบรมทักษะการเงิน สุขภาพ สังคม ( 2/1) 28 พ.ค. 2564 28 พ.ค. 2564

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ในการบริหาร จัดการแนวคิด การติดอาวุธทางปัญญาให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีกล่มเป้าหมาย 30 คน คณะทำงาน 10  คน รวม 40 คน  วิทยากรได้สอนแนะนำการบริหารจัดการวิธีการ การด้านการด้านการเงิน โดยารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้ทุกคนเสนอแนะจากประสบการณ์จริง

 

คณะทำงานมีความรู้สามารถนำไปขยายต่อได้ จำนวน 10 คน

 

2. การอบรมทักษะการเงิน สุขภาพ สังคม ( 2/2) 16 มิ.ย. 2564 16 มิ.ย. 2564

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพ ความรู้ทางการเงิน ด้านสุขภาพ สังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะ ความรู้ สามรถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน  พร้อมทั้งการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 19 และภัยสุขภาพด้านอื่นๆ
  • สอนการทำเมส และเจล

 

  • สมาชิกมีความรู้ในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ได้แกนนำที่สามารถนำความรู้ ที่ได้รับไปถ่ายทอดได้ จำนวน 10 คน
  • สมาชิกสามารถทำเมสจากผ้า และ ทำเจลล้างมือไว้ใช้เองได้ จำนวน 30 คน
  • มีการนำเมสไปมอบให้แก่คนในชุมชน จำนวน 50 ชิ้น
  • สมาชิกมีข้อตกลงร่วมกัน คือ เมื่อออกจากบ้านให้ใส่เมสทุกครั้ง  ให้ล้างมือบ่อยๆ  ไม่ไปในที่ชุมชนถ้าม่ายจำเป็น

 

2. การอบรมทักษะการเงิน สุขภาพ สังคม ( 2/3) 29 มิ.ย. 2564 29 มิ.ย. 2564

 

นายยาวัยหนี บินดอละ / จากสถานการณ้การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตอนนี้สถานการณ์โดยทั่วไปยอดยุงคงสูง ฉนั้นให้เราตระหนักให้มาก อย่ามองข้ามุวามปลอดภัย ตอนนนี้ทางอำเภอได้กำชับให้ทุกพื้นที่เฝ้าระวังคนเดินทางเข้าออกให้มากขีน สำหรับคนที่ลำบากเดี่ยวจะจัดหาถุงยังชีพให้ - นางอีฉ๊ะ  หมันเส็น / ตอนนี้ทาง รพ.สต ให้สำรวจคนที่จะรับวังคซีน แต่คนที่ประสงยีงน้อย เพราบางคนกลัวผลข้างเคียง - นายดาหลี  กระเวนเวช / เราในฐานะแกนนำต้องไปฉีดให้ครบทุกคน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่คนอื่น - จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ทุกคนลำบาก ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ดังนั้นเราจะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกคนอยู่รอด ปลอดภัย เช่น การสร้างคลังอาหาร การแบังปัน - นางสาวสุทธิกานต์  แหมถิ่น / ตอนนี้ตลาดนัดชายแดนปิด รายได้หายไปแต่รายจ่ายยังคงต้องจ่ายทุกวัน

 

  • สมาชิกมีรายได้ลดลง จำนวน 30 เรือน
  • คณะทำงานและสมาชิกสามารถแก้ไขปัญหาให้ตัวเองได้ทุกคน
  • คณะทำงานและสมาชิกสามารถสร้างคลังอาหารด้วยการ ปลูกผัก เลี้ยงเป้ด เลียงไก่ สามารถลดรายช่ายในครัวเรือนได้  ทั้ง 40 ครัว
  • เกิดเครือข่่ายแบ่งปันหันธุ์ผัก 1 เครือข่าย
  • คณะทำงาน / สมาชิกและคนในตรอบครัวไม่มีผู้ติดเชื้อ
  • คณะทำงานฉีดวัคซีนครบทุกคน -สมาชิกมีความประสงค์รับวัคซีนเพิ่มขึ้น

 

อบรมให้ความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ( 3/1) 6 ก.ค. 2564 6 ก.ค. 2564

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ การจัดการสุขภาวะ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี สามารดูแลตนเองและคนในครอบครัวให้มีสุขภาพดี ปลอดภัย ปลอดโรค
  • สอนการแปรรูป การทำขนม เพือส่งเสริมอาชีพให้แกสมาชิก

 

  • สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ับตนเองได้
  • สมาชิกนำวัตถุดิบมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ประมาณ 700 บาท/คน/เดือน
  • เกิดการรวมกลุ่มทำขนม จำนวน 1 กลุ่ม

 

อบรมให้ความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกาตร ( 3/3) 7 ก.ค. 2564 8 ก.ค. 2564

 

  • วิทยาให้ความรู้เรื่องการทำขนม โรตีกรอบ โรตีกรอบสมุนไพร กรอบเค็ม สอนทคนิคการผสมแป้ง การนวดแป้งและวิธีการทำให้ขนมรสชาดกรอบ อร่อย

 

  • สมาชิกสามารถทำขนมโรตีกรอบ โรตีกรอบสมุนไพร กรอบเค็ม ได้ทั้ง 30 คน

 

อบรมให้ความรู้แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ( 3/4) 8 ก.ค. 2564 9 ก.ค. 2564

 

  • วิทยากรให้ความรู้การทำขนม เขี้ยวหมี สอนการผสมสัดส่วน การใช้ไฟในการทอด และวิธีการใส่น้ำตาล

 

-  สมาชิกสามารถทำขนมเขี้ยมหมีได้ ทุกคน และสามาถนำความรู้ที่ได้ีับไปถ่ายทอดให้แก่คนในหมู่บ้านได้จำนวน  30 คน

 

อบรมให้ความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ( 3/4 ) 9 ก.ค. 2564 7 ก.ค. 2564

 

เชิญวิทยากรให้ความรู้การแปรรูปการทำขนมเค้กจากกล้วยหอม และวืธีการทำรูปแบบผลิตภันฑ์ในการทำขนมเค้ก

 

สมาชิกเข้าร่วมจำนวน 30 คน มีวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน สมาชิกสามารถทำขนมได้ทุกคนและสามารถนำไปถ่ายทอดได้ จำนวน 8 คน

 

5. . ประชุมคณะทำงาน ( 5/3 ) 13 ก.ค. 2564 9 มิ.ย. 2564

 

  • นางอามีน๊ะ  ยาสิน / จากที่เราประชุมครั้งที่แล้ว ที่เรากำหนดจะจัดกิจกรรมครั้งต่อไปวันนี้เราจะเลื่อนมาจัดในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ดังนั้นเรามาแบ่งงานกันทำ เพื่อจะได้ลดการรวมกลุ่ม ในวันที่ 10 ให้คณะทำงานทุกคนช่วยกันสอนแนะสมาชิกในการนำไปใช้งานการใช้สื่อ เพราะสมาชิกของเราบางคนอาจจะใช้ไม่เป้น
  • นางสาวนัฐฌา  รูบามา / งานนี้มมอบหมายให้ นางสาวรุสนิตา เจะหมีน / นางสาวอีฉ๊ะ  หมันเส็น / นางสาวซีซีะ เจะหมีน ช่วยจัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม และให้ทำตามมาตรการที่ทาง สคบ.กำหนด
  • นายดำรงค์  สูเด็น / ในการเฝ้าระวังเราต้องมีการเฝ้าระวังในที่ชุมชนกันด้วยก้ดี

 

  • คณะทำงานมีการแบ่ง บาทหน้าที่กันทำอย่างชัดเจน
  • คณะทำงานสามารถแก้ไขปัญหาที่พบได้
  • คณะทำงานมีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อ จำนวน 8 คน
  • คณะทำงานมีการลงพื้ที่ในการติดตาม ช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ
  • คณะทำงานร่วมกันเฝ้าระวัง คัดกรองที่มัสยิดทุกๆ วันศุกร์

 

. ประชุมคณะทำงาน ( 5/4 ) 6 ส.ค. 2564 6 ส.ค. 2564

 

  • นางอามีน๊ะ ยาสินได้ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมตามโครงการว่า จากที่เราได้ดำเนินกิจกรรมมาตอนนี้ใกล้จะครบทุกกิจกรรมแล้ว จากที่เราได้ทำเรื่องอาชีพการทำขนมปัจจบันเรามีการตั้งกลุ่มขึ้นมาโดยสมาชิกมีความกระตือรื้อร้นในการทำมาก แต่ด้วยสถานการโควิดทำให้ต้องทำตามมาตรการที่ทาง คณะกรรมการควบคุมโรคกำหนด โดยทุกคนใส่หน้ากากอนามัยร้อยเปอร์เซ็นต์เว้นระยะห่าง ปัจจุบันขนมเป็นที่ต้องการของลูกค้า มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกทีรายได้เสริม
  • นายยาวัยหนี บินดอละ ไเ้กล่าวว่าตอนนี้ทางกลุ่มมีปัญหาอะไรให้ช่วยกันดูแล
  • นางสาวอีฉ๊ะ หมันเส็น ตอนนี้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี ทุกคนมีความสามัคคีกัน และได้จดทะเบีนยเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน / โอทอปเป็นที่เรียบร้อย
  • นางสาวนัฐฌา รูบามา ตอนนี้ทางหน่วยงานพัฒนาชุมชน / อบต. /กศน. ให้ความสนใจ จัดหางบประมาณมาพัฒนากลุ่มเพื่อให้กลุ่มสามารถพัฒนาขนมให้ได้คุณภาพยิ่งขี้น

 

  • กลุ่มอาชีพได้ทำการจดทะเบียนกลุ่ม เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มโอทอป
  • คณะทำงานสามารถนำความรู้ด้านสุขภาพไปถ่ายทอดได้ จำนวน  10  คน
  • คณะะกรรมการมีความรู้ ทักษะทางด้านการเงิน สามารถนำไปถ่ายทอดได้
  • คณะทำงานมีการสรุปจัดทำแผนในการนำไปต่อยอด

 

อบรมให้ความรู้ในการใช้สิ่อ/เทคโนโลยี่ ( 3.2 ) 10 ส.ค. 2564 10 ส.ค. 2564

 

  • เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในการใช้สื่อ และช่องทางการตลาด เพื่อเป้นช่องทางการขายให้มากเพื่มขึ้น
  • ให้คณะทำงานที่มีความชำนาญในการใช้สื่อ การใช้แอฟเป้นพี่เลี้ยงในการสอน
  • สอนโดยการแบ่งกลุ่ม รักษาระยะห่าง เพื่อความปลอดภัย และเพื่อให้สมาชิกได้เรียนเข้าใจง่าย

 

  • คณะทำงานสามารถสอนการใช้สื่อได้ จำนวน 8 คน
  • สมาชิกสามารถใช้สื่อได้ จำนวน 10 คน
  • กลุ่มอาชีพมีช่องทางในการขายเพื่มขึ้น

 

พบพี่เลี้ยง 13 ส.ค. 2564 16 เม.ย. 2564

 

แนวทางการดำเนินกิจกรรมเนินงาน

 

จัดทำแผนในการดำเ

 

5. . ประชุมคณะทำงาน ( 5/5 ) 29 ส.ค. 2564 6 ส.ค. 2564

 

  • นางสาวนัฐฌา  รูบามา / จากการที่เราได้จัดกิจกรรมมาแล้วจำนวน 8 กิจกรรม งบประมาณที่ใช้ไป  สี่หมื่นกว่าบาท แต่ที่เบิกมาแล้ว ประมาณหมื่นกว่าบาท สาเหตุเพราะสถานการของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้บริการของธนาคาร และมีความเสี่ยงในการไปใช้บริการ ดังนั้นเพื่อให้ิจกรรมสามารถดำเนินการได้จึงจำเป็นต้องหาเงินทุนมาสำรองจ่ายไปก่อน
  • นางอามีน๊ะ  ยาสิน / ทุกคนไม่ต้องกังวลเดี่ยวเราจะหางบมาสำรองจ่ายเอง เพียงแต่เราต้องการแจ้งให้ทุกคนได้รับรู้ เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน
  • นายยาวัยหนี  บินดอละ / เห็นด้วยในการที่เราหาเงินมาสำรองจ่ายไปก่อนเพราะช่วงนี่้พื้นที่ข้างนอกมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 .ให้เราหลีกเลี่ยงการออกไปในที่ชุมชนเอาไว้ก่อน
  • นางสาวรุสนิตา  จะหมีน / เราจะจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ประมาณวันที่ 6 กันยายน 2564  เรื่องการตลาด และช่องทางการจำหน่ายให้แก่สมาชิก จากสถานการณ์ในตอนนี้เราจะต้องแบ่งกลุ่มในการเรียนรู้ โดยให้วิทยากรที่มีความชำนาญมาสอนการใช้สื่อในการจำหน่ายสินค้าและให้คณะทำงานทุกคนร่วมเรียนรู้ หรือว่าหารใครมีความรู้สามารถสอนได้ก็ให้ช่วยกันสอน

 

  • คณะทำงานทุกคนร่วมกันแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมได้
  • คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงาน การแก้ปัญหา การวางแผน มากยิ่งขึ้น
  • เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายฯ
  • มีการวางแผนพัฒนาต่อยอดกลุ่มอาชีพให้แก่สมาชิก

 

พบพี่เลี้ยง 16 ก.ย. 2564 13 ส.ค. 2564

 

พบพี่เลี่ยงเพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

 

พี่เลี่ยงรับรู้และแนะนำให้แน้นการทำงานให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 25 ธ.ค. 2564 26 ธ.ค. 2564

 

ตัวแทนโครงการย่อยจากทุกโครงการร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ได้รับจากการทำกิจกกรมที่พื้นที่ได้รับงบประมาณว่าใครปีปัญหาอะไร อย่างไร และแก้ปัญหาอย่างไร ทำอย่างไรถึงประสบผลสำเร็จ - ชาวงเช้าให้แต่ละพื้นที่เปิดประเด็นของตนเองแล้วเล่าให้ผู้เข้าร่วมฟัง - ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มเพื่อสะท้อนปัญหาผลการดำเนินงานและแนวทางพัฒนา ตามประเด็นดังนี้ 1. บทเรียน  2. การสร้างเครือข่าย  3. กลยุทธในการทำงาน  4. หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่สนับส

 

  • ได้นำเสนอผลงานโครงการของตนอง
  • ได้ร่วมกันสังเคราะห์ วิธีการดำเนินงานและการสนับสนุนของภาคีเครือข่ายและแนวทางการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น
  • ได้นำเสนอการมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรม

 

จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ 30 ม.ค. 2565 30 ม.ค. 2565

 

จัดจ้างให้ทางร้านทำเอกสารรูปเล่มรายงาย เพื่อส่งรายงานให้ทางทีมพี่เลี้ยงผู้รับผิดชอบโครงการ

 

จัดทำเอกสารรูปเล่ม 2 ชุด

 

ประชุมคณะทำงาน 25 เม.ย. 2565 25 เม.ย. 2565

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน

 

คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งแย่งหน้าที่ในการแำงาน

 

พบพี่เลี้ยง 15 ส.ค. 2565 15 ส.ค. 2564

 

พบพี่เลี้ยงเพื่อปรึกาาหารือการดำเนินกิจกรรมในช่วงสถานการการแพร่ระบาดและการเปลี่ยแปลงวันเวลาในการดำเนินกิจกรรม

 

คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 3 คน ได้พูดคุยปรึกษาหาทางออกและสามารถแก้ไขปัญหาได้