directions_run

สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนปาดังเบซาร์เตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมปฐมนิเทศ โครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVIO-19 เพื่อการสร้างเสริมสุภาวะจังหวัดภาคใต้ 11 เม.ย. 2564 12 เม.ย. 2564

 

  • มีตัวแทนจากจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 15 พื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศครั้งนี้
  • ทางทีมกลางได้แนะนำภาพรวมของโครงการทั้งหมด
  • มีการชี้แจงการลงบันทึกกิจกรรมลงในระบบออนไลน์อย่างละเอียดและให้แต่ละพื้นที่ได้ทดลองทำจริงเพื่อคาวมเข้าในการใช้ระบบออนไลน์
  • มีการสอนการเขียนรายงานการเงินและการเก็บเอกสารหลักฐานด้านการเงินเพื่อให้ถูกต้องตามที่ สสส.กำหนด

 

  • เข้าใจรายละเอียดโครงการที่ต้องกลับไปดำเนินการในพื้นที่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง
  • เข้าใจการบันทึกการรายงานในระบบออนไลน์โดยสามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือหรือโน๊ตบุ๊ค
  • เข้าใจการเก็บหลักฐานการเงิน มีอะไรบ้างที่ต้องเก็บหลังจากจากทำกิจกรรมทุกครั้ง ว่าอย่างไร

 

กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน 2 พ.ค. 2564 2 พ.ค. 2564

 

  • เรียนเชิญชาวบ้านภาคส่วนต่างๆ มาเข้าร่วมรับฟัง ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ การจัดทำโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารเมือปาดังเบซาร์  โดยมีหน่วยงานต่างๆ  อาทิ  อสม.  คณะกรรมการชุมชนทั้ง 10 ชุมชนเมือง  คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์  แกนนำเยาวชนหน่วยงานทางราชการของเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์  ร่วมถึงภาคประชาชน  ซึ้งมีการเข้าร่วมประชุมทั้งหมด  40  ท่าน  ร่วมกับคณะทำงาน 15 ท่าน

  • ชักชวน ทาบทามคณะทำงาน 15 คน

 

  • มีชาวบ้านภาคส่วนต่างๆ มาเข้าร่วมรับฟัง ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ การจัดทำโครงการความมั่นคงทางด้านอาหารเมือปาดังเบซาร์ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ อสม. คณะกรรมการชุมชนทั้ง 10 ชุมชนเมือง คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ แกนนำเยาวชนหน่วยงานทางราชการของเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ ร่วมถึงภาคประชาชน ซึ้งมีการเข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 ท่าน ร่วมกับคณะทำงาน 15 ท่าน

  • ชาวบ้านให้ความร่วมมือและสนใจที่จะดำเนิน เข้าร่วมใน โครงการ และร่วมระดมความคิดเฆ้นเกี่ยวกับการให้ข้อมูลของแต่ละครัวเรือน ว่าได้ทำ ได้ปลูก ได้เลี้ยง อะไรบ้าง

  • ได้คณะกรรมการทำงาน 15 คน ดังนี้

  1. ภาสกร เกื้อสุข ( สท.)
  2. อรรถพล วิชิตพงษ์ ( รองนายกฯ)
  3. วิมลรัตน์ ศรีพันธนากร ( ประธาน อสม.)
  4. บังอร แซ่ลี่ ( อสม.)
  5. เนาวรัตน์ ปัญญาศิริ ( อสม)
  6. หนับเสาะ หยีหวังกอง ( อสม.)
  7. เด๊ะเหล๊าะ แสงสว่าง ( ประธานชุมชน )
  8. มาลีหยาม ไบบาว ( อสม.)
  9. อัจฉรา จงบูรณสิทธิ์ (อสม.)
  10. นิดานุช หมานระโต๊ะ ( ภาคประชาชน)
  11. หวันย้า หมานระโต๊ะ ( อสม.)
  12. มนัส บูละ ( เยาวชน )
  13. ณัฐศินันท์ หะยีลายเต๊ะ ( กรรมการชุมชน)
  14. สาลินี วิชิตพงษ์ ( กรรมการชุมชน)
  15. ชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา ( กรรมการชุมชน )

 

กิจกรรมที่ 3 จัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และข้อมูลแหล่งอาหารเส้นทางอาหารของชุมชน ข้อมูลสถานที่หน่วยงาน ทุน ศักยภาพของชุมชน 8 มิ.ย. 2564 24 ส.ค. 2564

 

  • คณะทำงาน 15 คน ร่วมกันวางแผนการทำงานเพื่อลงพื้นที่จดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ความเดือดร้อนของแต่ละครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด กลุ่มเปราะบาง แหล่งอาหารจำนวน 200 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละพื้นที่
  • แบ่งทีมงานลงตามเขตรับผิดของตัวเอง
  • มีการสำรวจครัวเรือนในพื้นที่ว่าแต่ละบ้านมีการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ประเภทไหนบ้าง
  • มีการสำรวจแหล่งผลิตอาหารและเส้นทางอาหารของชุมชน

 

ผลจากการลงสำรวจพื้นที่ โดยใช้แบบสำรวจที่ได้ออกแบบไว้แล้วข้างต้น จากการสำรวจ 200 ครัวเรือน ได้ชนิดพืชที่นิยมปลูกในชุมชน ได้แก่ พริก มะเขือพวง เสาวรส กรีนโอ๊ต ผักสลัดต่าง ๆ แตงกวา ไม้ไผ่

จากการสำรวจข้อมูลมีการสัมภาษณ์โดยแบ่งเป็น ชาย 54 คน หญิง 146 คน
ในจำนวน 200 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ไม่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จำนวน 27 ครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 4 เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤต 10 มิ.ย. 2564 30 ส.ค. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน 15 คน และผู้สนใจเข้าร่วมโครงการความมั่นคงทางอาหารเมืองปาดังเบซาร์จำนวน 15 คน/ครัวเรือน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เสนอข้อมูลแหล่งอาหาร เส้นทางแหล่งอาหารแต่ละครัวเรือน พร้อมเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความต้องการในการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัว ชนิดใดบ้าง
  • ร่วมชี้แจ้งรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมโครงการนี้อย่างชัดเจนอีกครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบเกี่ยวพื้นที่ของตัวเองว่ามีแหล่งผลิตอาหารที่ไหนบ้าง
  • ร่วมออกแบบร่างแผนที่แหล่งอาหารที่มีอยู่ในเมืองปาดังเบซาร์

 

  • มีผู้เข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลในครั้งนี้ จำนวน 30 คน มีคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในครั้งนี้
  • มีการนำเสนอข้อมูลที่ทีมงานไปลงเก็บแบบสอบถาม 200 ครัวเรือนให้ผู้เข้าร่วมรับรู้รับทราบ
  • ชี้แจงพืชที่นิยมปลูกในชุมชน ได้แก่ พริก มะเขือพวง เสาวรส กรีนโอ๊ต ผักสลัดต่าง ๆ แตงกวา ไม้ไผ่
    จากการสำรวจข้อมูลมีการสัมภาษณ์โดยแบ่งเป็น ชาย 54 คน หญิง 146 คน
    ในจำนวน 200 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่ไม่มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จำนวน 27 ครัวเรือน
  • มีการกางแผนที่เขตชุมชนปาดังเบซาร์ และร่วมชี้จุดแหล่งผลิตอาหารในแผนที่ตามที่ได้มรการไปสำรวจ

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 2 14 มิ.ย. 2564 14 มิ.ย. 2564

 

  1. ประชุมคณะทำงานทั้งหมด 15 คน
  2. ร่วมชี้แจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดในการทำงาน การดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการ
  3. ร่วมเสนอรูปแบบ การทำแผนที่แหล่งอาหาร แบบฟอร์มในการเก็บฐานข้อมูลฃองกลุ่มเปราะบาง ร้านค้าสวัสดิการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ในเมืองปาดังเบซาร์ทั้งหมด

 

  • ได้คณะกรรมการทำงาน 15 คน ดังนี้
  1. ภาสกร เกื้อสุข ( สท.)
  2. อรรถพล วิชิตพงษ์ ( รองนายกฯ)
  3. วิมลรัตน์ ศรีพันธนากร ( ประธาน อสม.)
  4. บังอร แซ่ลี่ ( อสม.)
  5. เนาวรัตน์ ปัญญาศิริ ( อสม)
  6. หนับเสาะ หยีหวังกอง ( อสม.)
  7. เด๊ะเหล๊าะ แสงสว่าง ( ประธานชุมชน )
  8. มาลีหยาม ไบบาว ( อสม.)
  9. อัจฉรา จงบูรณสิทธิ์ (อสม.)
  10. นิดานุช หมานระโต๊ะ ( ภาคประชาชน)
  11. หวันย้า หมานระโต๊ะ ( อสม.)
  12. มนัส บูละ ( เยาวชน )
  13. ณัฐศินันท์ หะยีลายเต๊ะ ( กรรมการชุมชน)
  14. สาลินี วิชิตพงษ์ ( กรรมการชุมชน)
  15. ชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา ( กรรมการชุมชน )
  • คณะทำงานมีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน โดยมอบหมายให้ อัจฉรา จงบูรณสิทธิ์ เป็นแกนหลักในการจัดกเก็บข้อมูล
  • มีการบูรณาการแผนการทำงานร่วมกันของโครงการที่มีในพื้นที่
  • ได้แบบฟอร์มในการจัดเก็บฐานข้อมูล ของกลุ่มเปราะบาง ร้านค้าสวัสดิการ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ในพื้นที่ปาดังเบซาร์ทั้งหมด
  • มีการจัดตั้งไลน์กลุ่ม ชื่อ "ทีมความมั่นคงทางอาหารปาเังเบซาร์" เพื่อใช้ในการสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารในการทำงานโครงการ

 

กิจกรรมที่ 5 เวทีจัดทำแผนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์วิกฤตทั้งในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่นพร้อมแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน 8 ก.ค. 2564 10 ก.ย. 2564

 

  • เชิญทีมงานและกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกับเทศบาลเมืองปาดังฯ โดยมีรองนายกเทศบาลเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องข้อมูลกลุ่มเปราะบางในพื้นที่
  • ประชุมคณะทำงาน 15 คน พร้อมชาวบ้านผู้ร่วมโครงการ 15 คน/ครัวเรือน เข้าร่วมจัดทำ วางแผนงาน ในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเกี่ยวกับปัญหาโควิด 19 ที่ระบาดหนักในพื้นที่เมืองปาดังเบซาร์ พร้อมติดตามข้อมูล ความคืบหน้าของผู้เข้าร่วมโครงการ
  • มีการวางแผนร่วมกันในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางระหว่างที่มงานและเทศบาลปาดังฯ
  • มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในพื้นที่และระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดอีกครั้ง
  • มีการระบุตำแหน่งบ้านของกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง

 

  • ได้แบบแผน ในการเข้าช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ได้ถูกต้องกับปัญหาที่เจอและความต้องการของกลุมเปราะบางที่ตรงจุด โดยมีแผนร่วมกันระหว่างเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ อสม. และชุมชน โดยมีแผนการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ดังนี้
  • แผนการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและคนในชุมชน โดยเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ คือ ชี้เป้าชี้จุดและนำผลผลิตจากเครือข่ายคนผักสวนเมืองและจากการเลี้ยงไก่ จะหักผลผลิตที่ได้ทั้งหมด 20% นำไปแบ่งปันช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง
  • จากการพูดคุยวางแผนร่วมกับเทศบาลได้ข้อมูลเบื้องต้น คนพิการ 48 คน ผู้ป่วยติดเตียง 12 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 31 คน
  • ได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับเทศบาลที่จะช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางบางส่วนที่ต้องการช่วยเหลือเร่งด่วน ประมาณ 20 คน
  • แผนการทำงานของ อสม. ลงลติดตามกลุ่มเปราะที่ในอยู่เขตรับผิดชอบของตัวและคอยประสานแจ้งข้อมูลข่าวสารและรับผิดชอบการนำผลผลิตที่ได้ในแต่ละรอบไปแจกจ่ายให้กับกลุ่มเปราะบางในเขตพื้นที่ของตัวเอง

 

เวทีรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการ ผ่านทาง zoom 18 ก.ย. 2564 18 ก.ย. 2564

 

เวทีรายงานตวามก้าวหน้า โดยประชุมผ่านระบบซูม

 

ได้คณะกรรมการทำงาน 3 คน ดังนี้

  1. ภาสกร เกื้อสุข ( สท.)
  2. ณัฐศินันท์ หะยีลาเต๊ะ ( อสม. / กรรมการชุมชน)
  3. ชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา ( กรรมการชุมชน)

ติดตามกิจกรรมที่แจกไก่ไข่ให้กับสมาชิกในชุมชน รวมทั้งนัดหมายออกพื้นที่เยี่ยมเยียนสมาชิก เพื่อฟังปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ผ่านไปได้ด้วยดี

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 4 5 ต.ค. 2564 5 ต.ค. 2564

 

  • คณะทำงาน 15 คน ร่วมกันวางแผนการทำงานเพื่อลงพื้นโดยแบ่งเป็นเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละพื้นที่
  • แบ่งทีมงานลงตามเขตรับผิดของตัวเอง
  • แจ้งสมาฃิกที่เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกให้เข้าประฃุมอบรมการให้ความรู้ในเรื่้องการเพาะปลูกและเลี้ยงไก่ไข่ตามวันและเวลาที่กำหนด
  • เตรียมสถานที่ในการจัดอบรม
  • เตรียมความพร้อมและแบ่งหน้าที่ตามที่ทีมมอบหมาย.

 

มีคณะทำงานเข้าประชุม 15 คน โดยคณะทำงานมีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน เฃ่น - ฝ่ายจัดหาไก่ไข่ มอบให้ นางณัฐศินันท์ หะยีลาเต๊ะ เป็นผู้รับผิดฃอบ - ฝ่ายจัดหาพันธุ์พืชสำหรับแจกนั้น มอบหมายให้ นส.อัจฉรา จงบูรณสิทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบ - ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ มอบให็ นายภาสกร เกื้อสุข เป็นผู้รับผิดชอบ - ฝ่ายจัดเตรียมอาหารและวิทยากร มอบให้ นส.ชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา เป็นผู้รับผิดชอบ

 

กิจกรรมที่ 6 ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับคนในชุมชน (ฟาร์มไก้ไข่เพื่อชุมชนและสวนผักคนเมือง) 9 ต.ค. 2564 9 ต.ค. 2564

 

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เข้าร่วมอบรมการเลี้ยงไก่ไข่ โดยมีวิทยากรให้ความรู้ขั้นตอนการเลี้ยงไก่ไข่ ตามกำหนดการที่วางไว้

  • 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.30 น. กล่าวต้อนรับจากผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าความเป็นมาและเป้าหมายของกิจกรรมครั้งนี้
  • 10.00 น. บรรยายให้ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่
  • 12.00 น. พักเที่ยง
  • 13.30 น. บรรยายให้ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ ต่อ
  • 15.30 น. สรุปปิดการอบรม การเลี้ยงไก่ไข่

 

ผู้เข้่าร่วมการอบรมครั้งนี้ จะมีเกษตรกรบ้างบางส่วน กลุมแม่บ้าน กลุมผู้ศูงอายุ และตัวเแทนจากปอเนาะมาร่วมเข้าอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเลร้ยงไก่ไข่ และสามารถนำความรู้ในการเข่้่าอบรมครั้งนี้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้หลังการเข้าการอบรมปรับความรู้ความเข้าใจการเลี้ยงไก่ไข่ด้วยวิธีที่ถูกต้องเสร็จแล้ว มีการแจกพันธุ์ไก่ไข่ ไก่สาวพร้อมออกไข่ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมด้วย

 

กิจกรรม 6.2 ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการสร้างพื้นที่กลางในการผลิตอาหารสำหรับคนในชุมชน (สวนผักคนเมือง) 23 ต.ค. 2564 23 ต.ค. 2564

 

  • นัดประชุมพร้อมกันที่เทศบาลเมืองปาดังเบซาร์เพื่อร่วมเรียนรู้การปลูกผักแบบสวนผักคนเมืองกับทางมูลนิธิชุมชนสงขลา ผ่านระบบซูม
  • แลกเปลี่ยนการปลูกผักในพื้นที่ปาดังเบซาร์

 

  • ผู้เข้าร่วมประชุม 1.ณัฐศินันท์ หะยีลาเต๊ะ 2.นส.ชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา 3.นายมนัส บูละ 4.นส.อัจฉรา จงบูรณสิทธิ์ 5.นางสาลิณี วิชิตพงษ์ 6.นส.เนาวรัตน์ ปัญญาณี 7.นางวิมลรัตน์ ศรีพัทยากร 8.นางมาลีหยาม ใบบาว 9.นายฉ่ำแอ และตี 10.นางกอหน้ะ บัวนาค 11.นางอุบลรัตน์ จันทร์ศิริ 12.นส.มัตติกา โส๊ะบอ 13.นส.หนูร้อย จันทะโร 14.นางรอฝีหย้ะ เส๊ะเส็น 15.นส.นิดานุช หมานระโต๊ะ 16.นส.สุวิณี รัตนแสง 17.นางติมาเหรียม หลีบู๊ 18.นางอมีน้ะ แวววรรณ 19.นางไหว ปากอ่อน 20.นายอานพ มะหมัด

 

กิจกรรมที่ 7 การอบรมการทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกรายรับรายจ่าย และวิเคราะห์สภาพการเงินของครัวเรือน 21 พ.ย. 2564 18 ต.ค. 2564

 

อบรมการทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกรายรับรายจ่าย และวิเคราะห์สภาพการเงินของครัวเรือน ให้กับคณะทำงานและผู้เข้าร่วมโครงการ

 

อบรมการทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกรายรับรายจ่าย และวิเคราะห์สภาพการเงินของครัวเรือน ให้กับคณะทำงานและผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้คณะทำงาน 2 คน และกลุ่มเป้าหมาย 30 คน รวมจำนวน 32 คน มีความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบง่าย โดยการบันทึกรายรับ - รายจ่าย

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 5 7 ธ.ค. 2564 7 ธ.ค. 2564

 

ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการจัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

 

ประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน เพื่อวางแผน ออกแบบ กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการสรา้งความั่นคงทางอาหารให้คนปาดังเบซาร์เตรียมรับมือวิกฤติ โดยจะสรุปบทเรียนเพื่่อนำเข้าสู่เวทีปิดโครงการ ได้สรุปดังนี้

  • เลือกใช้สถานที่เป็ศูนย์ประชุม OTOP ซึ่งมีพื้นที่กว้าง สามารถวางมาตรการป้องกันโควิดได้ โดย อสม.
  • ผู้นำเสนอข้อมูลในเวที โดย นายภาสกร เกื้อสุข ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • สรุปการใช้จ่ายงบประมาณ โดย นางสาวชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา
  • เปิดเวทีให้แลกเปลี่ยนการทำงานตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา

 

กิจกรรมเวที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 25 ธ.ค. 2564 25 ธ.ค. 2564

 

  1. สรุปโครงการ และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเครื่องมือที่ใช้หนุนเสริมในการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่
  3. เพื่อกำหนดแผนการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการย่อย และหน่วยจัดการ 1.ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยโครงการละ 2 คน 15 โครงการ รวม 30 คน 2.หน่วยจัดการและพี่เลี้ยงจังหวัด รวม 7 คน

กำหนดการ วันที่ 25 ธันวาคม 64 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน กิจกรรมสันทนาการ โดย ทีมพี่เลี้ยง 09.00 - 09.30 น. เปิดกิจกรรมกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกระบวนการของเวที โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ ผู้จัดการโครงการฯ 09.30 - 10.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 10.30 – 10.45 พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.15 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 15 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ 13.30 - 15.30 น. โครงการย่อยนำเสนอผลลัพธ์โครงการ โครงละ 20 นาที และแลกเปลี่ยน 5 นาที 15.30 – 16.30 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆต้องการสร้างความรอบรู้เรื่องสุขภาพ และการเงิน จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ 16.30 – 18.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย 18.00 – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน 19.00 – 21.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ หากชุมชนอื่นๆจะทำโครงการเกี่ยวกับการสร้างอาชีพและรายได้/การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จะมีรูปแบบและขั้นตอนอย่างไร” พร้อมนำเสนอ

วันที่ 26 ธันวาคม 64 08.30 - 09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ /สร้างสัมพันธ์ 09.00 - 10.00 น. กระบวนการสังเคราะห์กลุ่มย่อย ในหัวข้อ “ปัจจัยความสำเร็จ / ความไม่สำเร็จ และสิ่งที่ได้เรียนรู้(บทเรียน) ” พร้อมนำเสนอ 10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.15 –12.00 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านกิจกรรม 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ปฏิบัติศาสนกิจ 13.00 – 14.30 น. การใช้ระบบติดตามโครงการ เพื่อปิดโครงการย่อยในระบบออนไลน์ ด้านการเงิน
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 – 15.30 น. ตรวจสอบความเรียบร้อยของระบบติดตามโครงการออนไลน์และการเงินโครงการย่อย 15.30 น.-16.00 น. สรุปเวทีและปิดการประชุม โดย นายสุวิทย์ หมาดอะดำ หัวหน้าหน่วยจัดการชุมชนน่าอยู่ชายแดนใต้

 

  • พื้นที่ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา หลังจากที่มีการดำเนินโครงการตลอด 10 เดือนที่ผ่านมา ได้ผลผลิตและมีการเลี้ยงไก่เพิ่มแหล่งผลิตอาหารอย่างน้อย 1 แห่ง โรงเรียนปอเนาะ
  • ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ปาดังเบซาร์ให้ความสนใจปลู้ผักสวนครัวกินเองหรือเลี้ยงสัตว์เพิ่มประมาณ ปลูกผัก 40 ครัวเรือน และเลี้ยงไก่ไข่ 12 ครัวเรือน
  • มีกลุ่มเป้าหมาย 30 คน ที่สามารถผลิตอาหารได้อย่างสม่ำเสมอ
  • มีการปลูกผักจำนวน 10 ครัวเรือน
  • มีการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 20 ครัวเรือน
  • มีร้านค้า 20 ร้าน ที่สนใจให้ความร่วมมือ

 

กิจกรรมที่ 8 เวทีถอทบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างความมั่งคงทางอาหาร 21 ม.ค. 2565 8 ธ.ค. 2564

 

จัดเวทีสรุปและถอดบทเรียนโครงการ โดยมีกิจกรรม คือ

  • ผู้นำเสนอข้อมูลในเวที โดย นายภาสกร เกื้อสุข ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • สรุปการใช้จ่ายงบประมาณ โดย นางสาวชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา
  • เปิดเวทีให้แลกเปลี่ยนการทำงานตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา

 

นำเสนอข้อมูลในเวที โดย นายภาสกร เกื้อสุข ผู้รับผิดชอบโครงการ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดการปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง ทำให้ลดความเสี่ยงสัมผัสกับผู้อื่น ลดความเสี่ยงต่อการการโรคระบาดได้

  • ทำให้ได้ทานผักสวนครัวที่ปลูกเองและปลอดสารพิษ
  • ทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
  • ทำให้เกิดการแบ่งปัน ความมีน้ำใจเกิดขึ้นในชุมชนก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
  • ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ได้ทานอาหารที่ปลอดสารเคมี
  • ทำให้ในคนชุมชนมีแหล่งอาหารที่ดี

สรุปการใช้จ่ายงบประมาณ โดย นางสาวชดาภรณ์ ดิษฐ์โสภา

  • ยังมีงบประมาณ คงเหลือในการเข้าร่วมประชุมกับทีมพี่เลี้ยงปลายเดือนนี้

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานโครงการ

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงานครั้งที่ 1 12 พ.ค. 2564 12 พ.ค. 2564

 

เรียกคณะทำงานทั้ง 15 คน เข้าร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้า

  • ประชุมชี้แจงการดำเนินงานหลังจากที่ได้รับมอบหมายแล้ว
  • ผลการดำเนินงานตามปฏิทินกิจกรรม
  • มาตรการในการเฝ้าระวังโรคระบาดในการทำกิจกรรม
  • มีการล้างมือ
  • มีการใส่หน้ากากอนามัย
  • การเว้นระยะห่าง

 

  • หัวหน้าโครงการได้ทบทวนชี้แจงโครงการความมั่นคงทางอาหาร
  • แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน มีบทบาทอะไรบ้าง
  1. แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 5 เขต
  2. แบ่งกลุ่มทีมทำงานแต่ละเขต จำนวน 3คนต่อเขต
  3. มาตรการในการเฝ้าระวังโรคระบาดในการทำกิจกรรม   - มีการล้างมือ (มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด)   - มีการใส่หน้ากากอนามัย (มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด)   - การเว้นระยะห่าง(มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด)

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 3 20 ส.ค. 2564 20 ส.ค. 2564

 

จัดประชุมคณะทำงานจำนวน 15 คน เพื่อวางแผนการทำงาน 2 เรื่อง คือ

  1. กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล
  2. กิจกรรมเวทีคืนข้อมูลชุมชน

 

คณะทำงานได้ ประชุมวางแผนการทำงาน ดังนี้

  1. กิจกรรมจัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด และข้อมูลแหล่งอาหารเส้นทางอาหารของชุมชน ข้อมูลสถานที่หน่วยงาน ทุน ศักยภาพของชุมชน มอบหมายให้ นางสาวอัฉรา จงบูรณสิทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยหาทีมงานเพิ่ม ออกแบบสอบถามบูรณาการร่วมกับงานเดิมที่ทำได้เลย
  2. กิจกรรมเวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤติ ให้นำข้อมูลที่เก็บมาได้ มาสรุป โดยทีม เยาวชน และจัดทำข้อมูลคืนในเวที