directions_run

โครงการการจัดการขยะอินทรีย์ในเทศบาลตำบลหารเทา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
การปฐมนิเทศผู้รับทุนภายใต้การสนับสนุน Node Flagship พัทลุง 9 พ.ค. 2565 9 พ.ค. 2565

 

-หน่วยNFS พัทลุงชี้แจงการรับทุนและขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ/ชี้แจงเงื่อนไขการรับทุนจากหน่วยNFS พัทลุง/ชี้แจงรายละเอียดเอกสารด้านการเงิน/การรายงานหน้า WEB/มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม120 คน ณ.ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง อ.เมืองพัทลุง

 

คณะทำงานโครงการการจัดการขยะโรงเรียนจัดการขยะตำบลหารเทาเข้าร่วมประชุม จำนวน 3 คน 1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ของหน่วยจัดNFS จังหวัดพัทลุง 2.เรียนรู้การการเงินการบัญชี การเตรียมหลักฐานการเงิน
3.เรียนรู้การรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านระบบออนไลน์
ได้เรียนรู้การออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด และได้ลงนามสัญญาโครงการ

 

ประชุมครั้งที่1เรื่องแต่งตั้งคณะทำงาน 10 พ.ค. 2565 10 พ.ค. 2565

 

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 มีการประชุม แต่งตั้งคณะทำงานมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/สารวัตรกำนัน/แพทย์ตำบล/แกนนำประชาชนตัวแทนจากเทศบาล/ตัวแทน รพ.สต. หัวข้อการประชุมคือ ชี้แจง ออกแบบ วางแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนจัดการขยะอินทรีย์ตำบลหารเทาให้ภาคีรับทราบ

 

จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/สารวัตรกำนัน/แพทย์ตำบล/แกนนำประชาชนตัวแทนจากเทศบาล/ตัวแทน รพ.สต. เกิดคณะทำงานจำนวน 20 คน เกิดแผนการดำเนินงานในครั้งถัดไป

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 10 พ.ค. 2565 10 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่การเงิน ได้สำรองเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารขอรับเงินสนับสนุนจาก สสส.

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ทำการเปิดบัญชีธนาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้เบิกจ่ายเงินสำรองค่าเปิดบัญชีธนาคารคืนเป็นที่เรียบร้อย

 

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน 16 พ.ค. 2565 16 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 1 จัดวางแผนการดำเนินงานต้นแบบครู ก

 

จากการประชุมร่วมกันของ ครู ก เจ้าหน้าที่เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยคณะทำงาน ที่ร่วมกันให้ความรู้เรื่องขยะ ทำให้ครู ก เข้าจัดแผนการปฏิบัติงานมากขึ้น ทำให้สามารถหาแนวทางรณรงค์การคัดแยกขยะ การจัดการขยะ ภายในตำบลมากขึ้น เนื่องจาก มีผู้จัดเก็บขยะมาให้ความรู้เรื่องเส้นทางขยะภายในตำบลอีกด้วย พร้อมทั้งพี่เลี้ยงโครงการที่ได้ช่วยชี้แนะ ทีมดำเนินงานให้ปรับปรุงแผนงานให้ตรงตามเป้าหมายยิ่งขึ้น

 

การประชุมแกนนำขับเคลื่อนทางความคิดระดับตำบลครู ก 25 พ.ค. 2565 25 พ.ค. 2565

 

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ ต้นแบบครู ก ในการจัดการขยะตำบลหารเทา ให้ทราบถึงที่มาที่ไปในเส้นทางขยะ ขยะสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง

 

ต้นแบบครู ก ทั้ง 5 ท่าน มีความรู้ความเข้าในในเนื้อหารการจัดการขยะอย่างเป็นขั้นตอน สามารถนำความรู้ไปต่อยอดให้แก่ผู้อื่นได้

 

กิจกรรมที่5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมู่5และหมู่ 9 24 มิ.ย. 2565 24 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 อบรมต้นแบบครู ก หมู่ที่5และหมู่ที่ 9 จัดเตรียมอุปกรณ์ และแจ้งกำหนดการ รวมทั้งรายละเอียดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบ

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่ 5และ9 จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ณ.สวนพี่จำเริญ หมู่ที่ 5 ได้รับความรูู้ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลกพร้อมตัวเร่งช่วยย่อยสลาย ที่เป็นชุดต้นแบบคนละ 1 ชุด หลังจากการเข้าร่วม กลุ่มเป้าหมายได้นำถังรักษ์โลกไปใช้ในครัวเรือน

 

กิจกรรมที่5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมุ่ 6และหมู่11 27 มิ.ย. 2565 27 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 อบรมต้นแบบครู ก หมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 11 ให้ความรู้เรื่องขยะมีกี่ผระเภท การคัดแยกขยะ เส้นทางขยะ และการทำถังรักษ์โลก

 

กิจกรรมกลุ่มอบรมให้ความรู้ ณ.สวนเกษตรของพี่วิชิต สุมามาน ซึ่งได้ให้ความรู้กลุ่มต้นแบบ ครู ก และคณะทำงาน มีการจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลก ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดเพื่ออบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน โดยประมาณ

 

กิจกรรมที่5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมู่ที่2และ 3 28 มิ.ย. 2565 28 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 3 คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นางเพียงจันทร์ สุมามาลย์ ให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 3 จำนวน 5 คน

 

ณ ศาลาหมู่บ้าน หมู่ 3 บ้านม่วงทวน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่ 2และหมู่ 3 จำนวน 10 คน ได้รับความรู้จากวิทยากร นายวิชิต สุมามาน มีการจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้รับความรูู้ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลกพร้อมตัวเร่งช่วยย่อยสลาย ที่เป็นชุดต้นแบบคนละ 1 ชุด หลังจากการเข้าร่วม กลุ่มเป้าหมายได้นำถังรักษ์โลกไปใช้ในครัวเรือน ผลตอบรับในการเข้าร่วมกิจกรรมมีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากกว่า20 คน

 

กิจกรรมที่ 5ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมู่7 29 มิ.ย. 2565 29 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ เส้นทางขยะมอบสิ่งประดิษฐ์ถังหมักรักษ์โลกแก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมายพร้อมสาธิต การติดตั้งโดยวิทยากร นายณรงค์ แก้วสองเมือง

 

ณ.ศาลาหมู่ 7 โดยวิทยากร นายณรงค์ แก้งสองเมือง มี่การจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ พร้อมได้รับมอบ ถังรักษ์โลก เพื่อนำไปติดตั้ง มีผู้เข้าร่ววมกิจกรรมทั้งสิ้น 15 คนโดยประมาณ

 

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู กหมู่ที่8 30 มิ.ย. 2565 30 มิ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นายธนวัฒน์ พรมเมศ ให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 8 จำนวน 5 คน

 

ณ.หมู่ 8 วิทยากร นายธนวัฒน์ พรมเมศ มีการจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่8 ทั้งสิ้นจำนวน 10 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรูู้ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลกพร้อมตัวเร่งช่วยย่อยสลาย ที่เป็นชุดต้นแบบคนละ 1 ชุด หลังจากการเข้าร่วม กลุ่มเป้าหมายได้นำถังรักษ์โลกไปใช้ในครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 5 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมู่ที่4 1 ก.ค. 2565 1 ก.ค. 2565

 

กิจกรรมสที่ 5 คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นายสมุทร จันทร์งาม ต้นแบบครู ก ให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 4 จำนวน 5 คน

 

ณ.ศูนย์การเรียนรู้พลังงาน หมู่ที่ 4 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่4 ทั้งสิ้น จำนวน 10 คน โดยวิทยากร มีการจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรูู้ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลกพร้อมตัวเร่งช่วยย่อยสลาย ที่เป็นชุดต้นแบบคนละ 1 ชุด หลังจากการเข้าร่วม กลุ่มเป้าหมายได้นำถังรักษ์โลกไปใช้ในครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้การคัดแยกขยะ/สิ่งประดิษฐ์แก่ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย/อบรมต้นแบบครู ก หมู่ที่ 1 30 ก.ค. 2565 30 ก.ค. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นางโสภารัตน์ แสงมณี ให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 1 จำนวน 5 คน

 

ณ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน สวนลูกปัด หมู่ที่ 1 โดยวิทยากรให้ความรู้การจัดหลักสูตรการให้ความรู้ 3 หลักสูตร คือ ขยะมีแบ่งเป็นกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะอินทรีย์โดยการใช้ถังรักษ์โลก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมู่8 จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรูู้ในการจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลกพร้อมตัวเร่งช่วยย่อยสลาย ที่เป็นชุดต้นแบบคนละ 1 ชุด หลังจากการเข้าร่วม กลุ่มเป้าหมายได้นำถังรักษ์โลกไปใช้ในครัวเรือน

 

กิจกรรม ถนนสะอาด 27 ส.ค. 2565 27 ส.ค. 2565

 

กิจกรรมที่ 8 ตัดหญ้า เก็บขยะริมถนน กวาดถนน บริเวณถนนในพื้นที่หมู่ 1 บ้านคอกช้าง

 

สมาชิกกลุ่มต่างๆ เช่่น อสม. อพม. น้องๆ To Be Number one พร้อมด้วยจิตอาสา เข้าร่วมกิจกรรม ถนนสะอาด บริเวณถนนหมู่ที่1 หารเทา-ควนหมี ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร อย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน

 

โรงเรียนการจัดการขยะ 1 ก.ย. 2565

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/อบรมต้นแบบ ครู ก หมู่ที่10 9 ต.ค. 2565 2 ก.ค. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นายณรงค์ แก้วสองเมือง ต้นแบบครู กให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 10 จำนวน 5 คน

 

ณ.ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารน้ำใต้ดิน นายณรงค์ แก้วสองเมือง พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 12 คน คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมด้วยปราชญ์ชุมชน นายณรงค์ แก้วสองเมือง ต้นแบบครู ก ให้ความรู้ ขยะมีกี่ประเภท การคัดแยกขยะ การจัดการขยะโดยใช้ถักหมักรักษ์โลกแก่กลุ่มเป้าหมายหมู่ที่ 10 จำนวน 5 คน ได้รับความรู้ว่ามีขยะกี่ประเภท อะไรบ้าง เส้นทางขยะที่สามารถตอบได้ว่าขยะมาจากไหนเอาไปทำอะไรได้บ้าง

 

กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะกรรมการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE 2 ) 1 พ.ย. 2565 12 เม.ย. 2566

 

ARE (การวิเคระห์และประเมินผลโครงการ)ครั้งที่ 1 คณะทำงาน 20 นำเสนอข้อมูลการทำกิจกรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังทำกิจกรรม แก่ทีมพี่เลี้ยง ณ.ศูนย์การเรียนรู้โหนดหมู่พอเพียง ผลผลิต คณะทำงาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการขยะ การคัดแยกขยะเบื้องต้น การแปรรูปขยะ และการจัด

 

มีการให้ข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย 55 คนทั้ง 11 หมู่ ทำให้เกิดต้นแบบครู ก โดยการอบรม 3 หลักสูตร 1.ขยะมีกี่ประเภท 2.การคัดแยกขยะ 3.การจัดการขยะอินทรีย์ พี่เลี้ยงวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับคณะทำงาน ให้ทีมคณะทำงานเพิ่มข้อมูลปริมาณขยะแบบเปรียบเทียบให้ชัดเจน (ใช้งบประมาณจาก สปสช.เทศบาลตำบลหารเทา) จากการทำกิจกรรมโครงการ ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 310 คน มีแกนนำคณะทำงาน55 คน มีครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะ 110 ครัวเรือน โดยเกิดโรงเรียนการจัดการขะ 4 โรงเรียน คือ 1.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานสวนลูกปัด,2.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรเกื้อกูลกันตินันท์ (วัวหลุม) 3.ศูนย์การจัดการวิสาหกิจฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ 4.ศูนย์การเรียนรู้ปุ๋ยมีชีวิต/ธนาคาน้ำนายณรงค์ แก้วสองเมือง เกิดครูขยะในตำบล 7คน (นางโสภารัตน์ แสงมณี,นายสมุทร จันทร์งาม,นายกันตินันท์ กิมาคม,นายณรงค์ แก้วสองเมือง,นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล,นายจำเริญ ขุนชำนาญ ,นายธนวัฒน์ พรมเมศ) มีหลักสูตรการจัดการขยะ 3 หลักสูตร คือ 1.การคัดแยกขยะ 2.การแปรรูปขยะ(ดินปลูกด้วยถังรักษ์โลก) 3.การประยุกต์ใช้ขยะ(น้ำหมัก) สามารถบ่งบอกเส้นทางขยะในชุมชนได้ มีธรรมนุญร่วมกันของคนในชุมชน คือ ไม่มีถังขยะและปฏิเสธการเก็บขยะถ้าทิ้งขยะอินทรีย์ ตลอดการจัดทำโครงการสามารถลดขยะได้ถึง 13.29 ตันต่อเดือน

 

การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ะและพัฒนา(ARE) โครงการภายใต้การสนับสนุนจาก หน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง 10 พ.ย. 2565 10 พ.ย. 2565

 

ARE รวม การติดตามผลลัพธ์การทำโครงการในพื้นที่ 10 พื้นที่เป้าหมาย ระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์ กระบวนการ ผลลัพธ์ ปัญหา และรายงงานผล เพื่อให้บรรลุเป้าตามบันไดผลลัพธ์

 

ตำบลหารเทามีผลลัพธ์เป็นไปตามบันไดผลลัพธ์ 12 ขั้นตอน ตามที่กำหนด ดังนี้ 1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 110 คน 2.มีแกนนำคณะทำงาน 20 คน 3.ครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะ จำนวน 20 คน 4.เกิดโรงเรียนขยะตำบล 4 แห่ง 5.มีครูขยะตำบล 8 คน 6.มีหลักสูตรการจัดการขยะ 3 หลักสูตร 1.ขยะแบ่งเป็นกี่ประเภท 2.การคัดแยกขยะ 3.การจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้ถังรักษ์โลก/น้ำหมักชีวภาพ/ปุ๋ยพืชสด/เกษตรเกื้อกูล 7.ข้อมูลแผนที่ขยะตำบล คือ มีจุดทิ้งขยะอันตรายทั้ง 11 หมู่บ้าน/มีข้อมูลปริมาณขยะ/มีการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย 8.กลไกการติดตามประเมินผลในชุมชน
9.กติกาชุมชนในการจัดการขยะ 1.เทศบาลตำบลหารเทาปฏิเสธการรับขยะอินทรีย์ 2.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเบื้องต้น
10.ครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ 110 ครัวเรือน 11.ปริมาณขยะที่ลดลง เดิม มีขยะ 70.02 ตัน/เดือน ปัจจุบัน 57 ตัน/เดือน เฉลี่ย ลดลง 13 ตัน/เดือน 12.รายชื่อภาคีร่วมดำเนินการ 1.ทต.หารเทา 2. ปกครองท้องที่ 3.คณะขับเคลื่อนฯ 4.สาธารณสุข รพ.สต 5.ปราชญ์ชุมชน

 

เรียนรู้การจัดการขยะผ่านโรงเรียนการจัดการขยะต้นแบบ 25 พ.ย. 2565 25 พ.ย. 2565

 

กิจกรรมที่ 5 ภาคีเครือข่าย สสส.ตำบลหารเทา ร่วมด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชุมชน ผอ. และคุณครูโรงเรียนบ้านควนนกหว้าร่วมทำกิจกรรม โรงเรียนการจัดการขยะ ณ.โรงเรียนบ้านควนนกหว้า หมู่ 10 ตำบลหารเทา ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะในระดับโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักษ์โลกโดยเริ่มต้นที่ตัวเรา โดยมีการสาธิตการทำดินปลูกต้นไม้โดยใช้ขยะอินทรีย์

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเด็กนักเรียนประถม 5-6 จำนวน 40 โดยประมาร ให้ความสนใจกับรูปแบบกิจกรรมที่นำเสนอมากเนื่องจากมีการทดลองทำถังหมักจิ๋วสำหรับเด็กทดลองใช้ ผอ.โรงเรียนบ้านควนนกหว้าเสนอแนวคิดเพื่อต่อยอดกิจกรรมที่เรานำเสนอโดยนำส่วนหนึ่งไปเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา และมีการขยายกลุ่มเป้าหมายต่อไปในอนาคต

 

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้ันที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม 8 ธ.ค. 2565 8 ธ.ค. 2565

 

จัดกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการขยะด้วยไส้เดือน ณ เทศบาลตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 45 คน

 

ผู้เข้าร่วมกิิจกรรมได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างไส้เดือนสายพันธุ์พิเศษกับไส้เดือนปกติที่อยู่ในดิน ฉี่ไส้เดือน ซึ่งไส้เดือนสายพันธุ์พิเศษสามารถกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการขยาพันธ์ของไส้เดือนชนิดนี้จำเป็นต้องได้รับการเพาะพันธ์โดยเฉพาะซึ่งต้องอาศัยผู่เชี่ยวชาญ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และได้รับความรู้การกำจัดขยะอินทรีย์ อีกทั้งขยะประเภท แพมเพิร์สที่สามารถกำจัดอินทรีย์สารที่อยู่ในแพมเพิร์สได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กิจกรรมที่ 9 คืนข้อมูลให้กับชุมชน 17 ธ.ค. 2565 17 ธ.ค. 2565

 

การวิเคราะห์และประผลโครงการโดยแยกรายประเด็น 13 ประเด็นโดยวิทยากร เพื่อคืนข้อมูลสูชุมชน

 

จากการทำกิจกรรมโครงการ ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 310 คน มีแกนนำคณะทำงาน55 คน มีครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะ 110 ครัวเรือน โดยเกิดโรงเรียนการจัดการขะ 4 โรงเรียน คือ 1.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานสวนลูกปัด,2.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรเกื้อกูลกันตินันท์ (วัวหลุม) 3.ศูนย์การจัดการวิสาหกิจฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ 4.ศูนย์การเรียนรู้ปุ๋ยมีชีวิต/ธนาคาน้ำนายณรงค์ แก้วสองเมือง เกิดครูขยะในตำบล 7คน (นางโสภารัตน์ แสงมณี,นายสมุทร จันทร์งาม,นายกันตินันท์ กิมาคม,นายณรงค์ แก้วสองเมือง,นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล,นายจำเริญ ขุนชำนาญ ,นายธนวัฒน์ พรมเมศ) มีหลักสูตรการจัดการขยะ 3 หลักสูตร คือ 1.การคัดแยกขยะ 2.การแปรรูปขยะ(ดินปลูกด้วยถังรักษ์โลก) 3.การประยุกต์ใช้ขยะ(น้ำหมัก) สามารถบ่งบอกเส้นทางขยะในชุมชนได้ มีธรรมนุญร่วมกันของคนในชุมชน คือ ไม่มีถังขยะและปฏิเสธการเก็บขยะถ้าทิ้งขยะอินทรีย์ ตลอดการจัดทำโครงการสามารถลดขยะได้ถึง 13.29 ตันต่อเดือน

 

กิจกรรมที่ 4 ปรเะชุมคณะกรรมการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE 1 ) 18 เม.ย. 2566 18 เม.ย. 2566

 

คณะทำงานแจ้งผลการดำเนินโครงการ และวิเคราะห์ผลข้อมูลร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ โดยการแจกแจงรายละเอียดตามตัวชี้วัด 12 ข้อ คือ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ,จำนวนแกนนำคณะทำงาน,จำนวนครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะ,โรงเรียนขยะตำบลมีกี่แห่งที่ไหนบ้าง,จำนวนครูขยะตำบลมีใครบ้าง,จำนวนหลักสูตรการจัดการขยะ,มีแผนที่ขยะชุมชน,กลไกติดตามประเมินผลในชุมชน,มีกติกาการจัดการขยะ,จำนวนครัวเรือนคัดแยกขยะ,ปริมาณขยะที่ลดลง(กก.ต่อเดือน),ภาคีร่วมการดำเนินงานมีใครบ้าง

 

คณะทำงานแจ้งผลการดำเนินโครงการ และวิเคราะห์ผลข้อมูลร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ โดยคณะทำงานมีการเสนอแนวทางอื่นๆ ในการจัดการขยะอินทรีย์ที่มีปริมาณมากๆ โดยการแจกแจงรายละเอียดตามตัวชี้วัด 12 ข้อ คือ
1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 110 คน 2.จำนวนแกนนำคณะทำงาน 20 คน, 3.จำนวนครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะอย่างน้อย 80 คน , 4.โรงเรียนขยะตำบลมีกี่แห่งที่ไหนบ้าง มี 4 แห่งคือ 1.สวนลูกปัด ม.1 2.สวนกันตินันต์ม.9,3.สวนหลวงเสม ม.10 และ 4.วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ด ม.10, 5.จำนวนครูขยะตำบลมีใครบ้าง 5 คน คือ 1.นางโสภารัตน์ แสงมณี,2.นายณรงค์ แก้วสองเมือง ,3.นายกันตินันต์ กิมาคมม,4.นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล 5.นายจำเริญ ขุนชำนาญ , 6.จำนวนหลักสูตรการจัดการขยะ มี 3 หลักสูตร คือ การคัดแยกขยะ การแปรรูปขยะอินทรีย์ และสุดท้ายการนำขยะอินทรีย์ที่แปรรูปไปใช้ประโยชน์, 7.มีแผนที่ขยะชุมชน เช่น ขยะจากงานบุญ มีแนวทางแก้ปํญหาคือ แจ้งให้ผู้จัดงานทำการคัดแยกขยะ ส่วนขยะอินทรีย์ที่เป็นเศษอาหารให้ทางผู้จัดงานหาผู้รับผิดชอบให้เป็นอาหารสัตว์หรือนำไปฝังในพื้นที่ที่จัดไว้ 8.กลไกติดตามประเมินผลในชุมชน มีผู้ลงติดตามผลระดับหมู่บ้าน 4 คน คือ สุชาดา สังข์สุวรรณ,สุมิตา สาเส็ม,นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล,นางอำมร แสงสุวรรณ และ อสม.ประจำหมู่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน 9.กติกาการจัดการขยะ ทุกครัวเรือนต้องมีการคัดแยกขยะ รถเก็บขยะจะมาเก็บขยะที่อยูในถุงอย่างเรียบร้อยเท่านั้น และรถขยะ ปฏิเสธการรับขยะอินทรีย์ 10.จำนวนครัวเรือนคัดแยกขยะ มี จำนวน 110 ครัวเรือน 11.ปริมาณขยะ ลดลงไป 13.29 ตัน จากเดิม 65 ตัน คงเหลือ 52 ตัน โดยประมาณ 12.ภาคีร่วมการดำเนินงาน ประกอบด้วย ปกครองท้องที่,ปกครองท้องถิ่น,โรงเรียน,รพ.สต รวมทั้ง อสม.,วัด,

 

ค่าจัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ 6 มิ.ย. 2566 6 มิ.ย. 2566

 

จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย

 

ได้ป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่จำนว 2 ป้าย ปิดไว้สถานที่ประชุม

 

ค่าบริการอินเตอร์เน็ต 10 ก.ค. 2566 10 ก.ค. 2566

 

คณะทำงานโครงการสามารถจัดทำรายงานในระบบออนไลน์ได้

 

คณะทำงานสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้

 

การประเมินผลเพื่อการพัฒนา (ARE) ร่วมกับหน่วยจัดการ Node ฯพัทลุง ครั้งที่ 2 12 ก.ค. 2566 16 มี.ค. 2566

 

การวิเคราะห์ผลลัพธ์ 13 ประเด็น

 

จากการทำกิจกรรมโครงการ ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีผู้เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 310 คน มีแกนนำคณะทำงาน55 คน มีครัวเรือนที่มีแผนการจัดการขยะ 110 ครัวเรือน โดยเกิดโรงเรียนการจัดการขะ 4 โรงเรียน คือ 1.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานสวนลูกปัด,2.ศูนย์การเรียนรู้เกษตรเกื้อกูลกันตินันท์ (วัวหลุม) 3.ศูนย์การจัดการวิสาหกิจฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ 4.ศูนย์การเรียนรู้ปุ๋ยมีชีวิต/ธนาคาน้ำนายณรงค์ แก้วสองเมือง เกิดครูขยะในตำบล 7คน (นางโสภารัตน์ แสงมณี,นายสมุทร จันทร์งาม,นายกันตินันท์ กิมาคม,นายณรงค์ แก้วสองเมือง,นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล,นายจำเริญ ขุนชำนาญ ,นายธนวัฒน์ พรมเมศ) มีหลักสูตรการจัดการขยะ 3 หลักสูตร คือ 1.การคัดแยกขยะ 2.การแปรรูปขยะ(ดินปลูกด้วยถังรักษ์โลก) 3.การประยุกต์ใช้ขยะ(น้ำหมัก) สามารถบ่งบอกเส้นทางขยะในชุมชนได้ มีธรรมนุญร่วมกันของคนในชุมชน คือ ไม่มีถังขยะและปฏิเสธการเก็บขยะถ้าทิ้งขยะอินทรีย์ ตลอดการจัดทำโครงการสามารถลดขยะได้ถึง 13.29 ตันต่อเดือน

 

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด "งานสมัชชา คนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2" 15 ส.ค. 2566 15 ส.ค. 2566

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ มอบหมายให้คณะทำงานโครงการจำนวน 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยจัดการฯจัด

 

คณะทำงานโครงการได้ร่วมกิจกรรมและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับหน่วยงาน องค์การที่เกี่ยวข้อง

 

หนองน้ำสะอาด 31 ส.ค. 2565 31 ส.ค. 2565

 

คณะขับเคลื่อนภาคีเครือข่าย สสส.ตำบลหารเทา ร่วมด้วยผู้ใหญ่บ้านและ อสม. ปราชญ์ชุมชน และผู้มีจิตอาสา ร่วมกิจกรรมหนองน้ำสะอาด ณ.บริเวณหนองคล้า หมู่ที่1 ตำบลหารเทา เพื่อขุดลอกหนองน้ำ ปลูกต้นไม้และเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะ

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้การตอบรับในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี หลังจากมีกราอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะ มีการปลูกต้นไม้บริเวณรอบหนองคล้าจำนวน 100 ต้น เนื่องจากหนองน้ำมีผักกะเฉดปกคลุมบริเวณหนองน้ำอย่างหนาแน่น ไม่สามารถใช้แรงคนในการขุดลอกทั้งหมดได้ จึงใช้เครื่องจักรในการขุดลอก ส่วนผู้เข้าร่วมบางส่วนก็ช่วยกันปลูกต้นไม้บริเวณโดยรอบ บางส่วนก็ช่วยกันขนเศษผักกะเฉดไปแปรรูปเป็นปุ๋ย