directions_run

โครงการการจัดการน้ำเสียครัวเรือนชุมชนบ้านหนองบ่อ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ปฐมนิเทศโครงการ 9 พ.ค. 2565 9 พ.ค. 2565

 

เวทีการปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ จัด ณ เทศบาลเมือง จังหวัดพัทลุง
    เสณี จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน หน่วยจัด Nfsการ จังหวัดพัทลุง ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงานการพื้นที่รับทุน นำไปบริหารจัดการโครงการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการร่วมมือขอ ภาคี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้เกิดเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด พัทลุง
  การบริหารจัดการการเงินโครงการ โดย คุณไพฑรูณ์ ทองสม ผู้จัดการหน่วยNfsจังหวัดพัทลุง เรียนรู้เอกสารการเงินและการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานการเงินที่ใช้ในการประกอบการเบิกจ่าย การเบิกจ่ายตามกิจกรรม การเบิกจ่ายต้องมีสมุดลงการเบิกจ่ายทุกครั้ง เงินสดในมือมีไว้ไม่เกิด 5000 บาท เอกสารการเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน 1.ใบลงทะเบียน 2. ใบสำคัญรับเงิน ในการกรณีเป็นบิลเงินสด ใบเสร็จ ให้ลงนามจ่าย สสส.
  ในช่วงบ่าย เรียนรู้การรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ โดย คุณอรุณ ศรีสุวรรณ คณะทำงานNFES/พี่เลี้ยง แนะนำการเข้าสู่ระบบ เครือข่ายคนสร้างสุข สมัครสมาชิก เลือกโครงการในความรับผิดชอบ ลงรายละเอียดโครงการ ประกอบไปด้วย สถานการณ์ วัตถุประสงค์ / เป้าหมายโครงการ การดำเนินงาน/กิจกรรม ผลคาดว่าที่ได้รับ แนะนำการบันทึกงานกิจกรรม มีส่วนประกอบหลัก การเขียนรายงานในกิจกรรมที่ปฎิบัติ ผลที่เกิดขึ้นจริง/ผลผลิต/ผลลัพธ์ /ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม และการลงรายงานการใช้เงิน มีประเภทการจ่ายตามหมวด ค่าตอบ ค่าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าวสัดุ ค่าสาธารณูปโภค อื่นๆ     การออกแบบเก็บข้อมูลตอบตัวชี้วัด ดำเนินการโดย น.ส.เบจวรรณ เพ็งหนู โดยให้ความรู้การจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ตอบวัตถุ การข้อแบบการเก็บข้อมูลตอบตัวชี้วัดเป็นส่วนสำคัญที่จะได้มาซึ่งข้อมูล ในเชิงเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินโครงการ โดยการนำผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์มาออกแบบเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย ใช้ข้อมูลอะไรตอบตับชี้วัด เก็บข้อมูลจากใคร/อะไร ใช้เครื่องมือใดเก็บข้อมูล ใครเก็บข้อมูล/วิเคราะห์ เก็บข้อมูลเมื่อไร แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นเรียนรู้การปฎิบัติการออกแบบเก็บข้อมูลตัวชีวัด มีพี่เลี้ยงรับผิดชอบกระบวนการแลกเปลี่ยนรู้การร่วมกัน เสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้ ลงนามสัญญาผู้รับทุนร่วมกับหน่วยจัดการ NFS

 

1.  คณะทำงานโครงการการจัดการน้ำเสียชุมชนบ้านหนองบ่อ  จำนวน 2 คน
2.  ได้รู้และเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ของหน่วยจัดNFE จังหวัดพัทลุง
3.  ได้ความรู้ในการบริหารจัดการโครงการ  การแบ่งบทบาทหน้าที่ ให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ 4.  ได้มีความรู้การเงินการบัญชี การเตรียมหลักฐานการเงิน
5.  ได้เรียนรู้และสามารถลงระบบการรายงานความก้าวหน้าโครงการผ่านระบบออนไลน์ได้ แต่ยังขาดความชำนาญต้องกับไปทบทวน
6.  ได้มีรู้และความเข้าใจการออกแบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัด และได้ลงนามสัญญาโครงการเป็นที่เรียบร้อย

 

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 10 พ.ค. 2565 10 พ.ค. 2565

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ได้สำรองเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชี จำนวน 100 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย จาก สสส.

 

ทางโครงการย่อย ได้ทำการเปิดบัญชีโครงการเรียบร้อยแล้ว และได้เบิกจ่ายเงินสำรองจ่ายคืน จำนวน 100 บาทเรียบร้อยแล้ว

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 12 มิ.ย. 2565 12 มิ.ย. 2565

 

ประชุมเตรียมคณะทำงาน หัวหน้าโครงการชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ พี่เลี้ยงแนะนำโครงการ Nod flagship พัทลุง เชื่อมโยงตอบโจทย์ยุทธศาสตร์จังหวัด และประสานความร่วมมือกับภาคคียุทธศาสตร์ คือ เทศบาลเมืองพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงานและพี่เลี้ยงร่วม ชี้แจง วัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ ร่วมกันกำหนดวางแผนการทำกิจกรรมตาม บันไดผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับทุน แบ่งเป็นงวดการดำเนินงานแผนกิจกรรม 3 งวด เงินงวดที่1ได้มีการโอนเข้าบัญชีโครงการเป็นที่เรียบร้อย ทางชุมชนต้องดำเนินการกิจกรรมมีระยะดำเนิน เป็นเวลา 3 เดือน คณะทำงานได้มีการวางแนวทางกิจกรรม ร่วมกัน 1 .ให้ดำเนินกิจกรรมการจัดเก็บข้อมูล 2. ประชุมคณะทำงานกลไกขับเคลื่อน 3. สร้างความเข้าใจครัวเรือนจัดการน้ำเสีย การเก็บข้อมูลสถานณ์น้ำเสียในชุมชนได้มีการออกแบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดไว้แล้วสามารถดำเนินการได้ทันทีและจะมีการ สรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยทีมคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อน โครงการที่มาจาก ตัวแทนครัวเรือน อสม. เจ้าหน้าที่เทศบาล จำนวน 15 คน และนำข้อมูลประชุมสร้างความเข้าครัวเรือนการจัดการน้ำเสียชุมชน และคณะทำงานแบ่งบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินโครงการและการดำเนินกิจกรรม พี่เลี้ยงแนะนำการจัดเรียบเตรียมหลักการเบิกจ่าย ให้เบิกจ่ายตามกิจกรรม และต้องมีการทำการบันทึกการเบิกจ่ายทุกครั้ง

 

  1. เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ที่มีความตั้งใจอาสาเข้าร่วมดำเนินการให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการน้ำเสียและมีการจัดการน้ำเสียในระดับครัวเรือนและชุมชน  2.ได้วางแนวทางการดำเนินโครงการ เกิดแผนงานการดำเนินกิจกรรม

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 13 ส.ค. 2565 14 ส.ค. 2565

 

  1. คณะทำงานเล่าสถานการณ์การเก็บข้อมูล  โดยคณะทำงานได้มีการนัดลงเก็บข้อมูลพร้อมกันโดยใช้รถซาเล้งเพื่อรณรงค์และทำให้เกิดความสนใจของคนในชุมชน  แลกการลงพื้นที่สำรวจในชุมชน และปัญหาอุปสรรคลงชุมชนเก็บข้อมูล
  2. ช่วยตรวจสอบแบบสอบถามมีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่  แบบสอบถามชุดไหนไม่สมบูรณ์ให้ทีมงานกลับไปเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน
  3. ได้ร่วมกันนัดวันในการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมารวบรวมเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และนำไปใช้ในการวางแผนงานการสื่อสารชุมชนต่อไป
  4. แจ้งการประสานความร่วมมือกับภาคี เทศบาลเมืองพัทลุง

 

  1. คณะทำงานได้ข้อมูลสถานการณ์การจัดการน้ำเสียชุมชนจำนวน 108  ชุด  ข้อมูลแบบสอบถามที่สมบุรณ์จำนวน 70 ชุด  ในส่วนที่ไม่สมบูรณ์คณะทำงานที่รับผิดชอบแต่ละคน  ลงพื้นที่/โทรขอข้อมูลเพิ่มเติม  ให้เวลา 5 วัน  นำข้อมูลมาส่งที่หัวหน้าคณะทำงานเก็บข้อมูลเพื่อจะได้ทบทวนความถูกต้อง
  2. ได้กำหนดวันจัดวงสรุปผลข้อมูลในวันที่ 20กันยายน  2565  เวลา 10.00- 14.30 น. ที่ทำการชุมชนบ้านหนองบ่อ
  3. คณะทำงาน่ร่วมกันทำร่วม  ร่วมคิด ในการดำเนินงานและหาแนวทางในการแก้ปัญหา ได้แผนปฏิบัติการในการแก้ปัญหา 1.เก็บข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน  2.จัดเวทีทำความเข้าใจโครงการ วันที่    กันยายน  2565
  4. ได้มีการสรุปการใช้จ่ายเงินที่มีการเบิกจ่ายตามแผนงานให้คณะทำงาน  และกำหนดการใช้จ่ายเงินในเดือนถัดไป

 

เวทีให้ความรู้การจัดการน้ำเสียโดยชุมชน(ทสจ.สมทบ) 22 ส.ค. 2565 22 ส.ค. 2565

 

จัดกิจกรรม ณ ชุมชนบ้านวังเนียง กิจกรรมมีดังนี้ 1.วิทยากรบรรยายให้ความรู้หัวข้อองค์ความรู้การจัดการน้ำเสียชุมชน 2.ระบบการบำบัดน้ำเสียชุมชนเบื้องต้น 3.การฝึกปฏิบัติการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น การอบรมครั้งนี้ ชุมชนได้เข้าร่วม 10 ชุมชน จัดโดยเทศบาลเมืองพัทลุง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ ชุมชนบ้านดอนรุน จะนำองค์ความรุ้มาถ่ายทอดในการจัดการน้ำเสียต่อไป เจ้าหน้าที่เป็นวิทยากรได้แก่ นางสาวจุฑารัตน์ ณ นคร ฝ่ายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพัทลุง

 

ได้มีความรู้ผลกระทบน้ำเสียที่ออกมาจากแต่ละครัวเรือน
มีความรู้และสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำได้ และสามารถน้ำความรู้ไปใช้ในการเฝ้าระวัง ได้มีแผนงานร่วมกันจัดเวทีให้ความรู้การจัดการน้ำเสียชุมชนด้วย บ่อดักไขมัน เลี้ยงไส้เดือนดิน ธนาคารน้ำใต้ดินของแต่ละชุมชนจัดตั้งทีมตรวจสอบคุณภาพน้ำ และลงพื้นทีวัดเป็นระยะ นำข้อมูลคุณภาพน้ำไปใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ

 

2. เก็บข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน 9 ก.ย. 2565 9 ก.ย. 2565

 

1.  คณะทำงานเก็บข้อมูลน้ำเสียของชุมชน จำนวน  10 คน ได้คุยทำความเข้าใจและวางแผนการเก็บข้อมูล แหล่งที่มาของน้ำเสีย มีผลกระทบอย่างไร ในครัวเรือนมีระบบการบำบัดน้ำเสีย/การจัดการแล้วหรือไม่อย่างไร ครัวเรือนมีแนวทางการและความร่วมมือในการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละครัวเรือนเอง  และชุมชนได้อย่างไร 2. แบ่งเขตรับผิดชอบในการลงเก็บข้อมูลทางคณะทำงานได้แบ่งตามพื้นที่ใกล้เคียงบ้านแต่ละคน รับผิดชอบ  โดยกำหนดระยะเวลา  1  เดือนตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2565- 10 กันยายน 2565
3. กำหนดนัดรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาสรุปและวิเคราะห์ผลเพื่อใช้ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนให้คนในชุมชนตระหนักความสำคัญของสถานการณ์

 

  1. เกิดคณะทำงานจัดทำข้อมูลจำนวน  10 คนที่มีความรู้ความเข้าใจในแบบเก็บข้อมูลน้ำเสีย
  2. ได้วางแผนการเก็บข้อมูลและมีระยะเวลาที่ชัดเจน  ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2565- 9 กันยายน 2565  กำหนดจำนวนชุดลงพื้นที่เก็บข้อมูล จำนวน 150 ชุด
  3. มีแผนการลงเก็บข้อมูลร่วมกัน 1 วัน ในวันที่  15 สิงหาคม  เพื่อรณรงค์สื่อสารสร้างความเข้าใจคนในชุมชนโครงการจัดการน้ำเสียฯของชุมชนบ้านหนองบ่อ

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. 14 ก.ย. 2565 14 ก.ย. 2565

 

ตัวแทนคณะทำงานจำนวน 2  คนไปจัดทำป้าย เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. ตามที่กำหนด
ได้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการให้พื้นที่จัดกิจกรรมเป็นเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. พร้อมทั้งมีการประกาศใช้ ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.  ได้ติดที่ทำการชุมชน

 

  1. ได้มีพื้นที่เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.แสดงให้เห้นชัดเจน มีกติการได้รับการยอมรับและปฏิบัติตาม
  2. คนมีความรู้และตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และลดรายจ่าย

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 29 ต.ค. 2565 29 ต.ค. 2565

 

-

 

 

 

เว่ทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยฯ 10 พ.ย. 2565 10 พ.ย. 2565

 

กลุ่มสัมพันธ์และนำเสนอวีดีทัศน์พื้นที่เด่น  แบ่งกลุ่ม ทบทวนผลลัพธ์รายประเด็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคียุทธศาสตร์
กลุ่มที่ 1 ประเด็นน้ำเสีย  ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  เทศบาลเมืองพัทลุง    กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการขยะ  ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  ท้องถิ่นจังหวัด  อบจ.                      กลุ่มที่ 3 ประเด็นนาปลอดภัย  ภาคียุทธศาสตร์  เกษตรจังหวัดพัทลุง  พัฒนาที่ดิน  ศูนย์วิจัยข้าว      กลุ่มที่ 4 ประเด็นพืชร่วมยาง  ภาคียุทธศาสตร์  เกษตรจังหวัดพัทลุง  กยท. พัทลุง  สปก. พัฒนาที่ดิน  เกษตรและสหกรณ์ฯ    กลุ่มที่ 5 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง  ภาคียุทธศาสตร์  ทสจ.พัทลุง  ม.ทักษิณ  ประมงจังหวัดพัทลุง  ทช5  หน่วยเรือตรวจ  อบจ.พัทลุง  ช่วงบ่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการในประเด็น    - การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์                      - การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน    - การเชื่อมโยงการทำงานกับภาค๊  -การจัดการด้านการเงิน  สรุปผลการประชุม

 

ได้ความรู้บทเรียน่การจัดการน้ำเสียชุมชน  ได้เห็นผลลัพธุ์ความเปลี่ยนแปลงของแต่ละพื้นที่
ได้มีความมั่นใจและมีภาคีความร่วมมือหนุนเสริมเพื่อให้งานทำได้ดียิ่งขึ้นที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้

 

8.ปฏิบัติการตามแผนแก้ไขน้ำเสีย(แผนทำเอง/แผนทำร่วม/ทำขอ) ภาคีสมทบ 26 พ.ย. 2565 26 พ.ย. 2565

 

นำแผนของแต่ละครัวเรือนจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย
คณะทำงานจำนวน 5 คน เป็นผู้รับผิดชอบในการทำร่วมกับครัวเรือนในการให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ครัวเรือนได้มีการดูแลและปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ  ทำถังดักไขมัน  เลี้ยงไส้เดือน และธนาคารน้ำใต้ดิน

 

ครัวเรือนมีการปรับเปลี่ยนทำระบบบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน สามารถลดน้ำเสีย เกิดความรู้และสามารถดูแลการจัดการน้ำเสีย  และสามารถดูแลได้

 

4. การศึกษาดูงานของแกนนำครัวเรือนและกลไก 4 ธ.ค. 2565 4 ธ.ค. 2565

 

วิทยากร  ต้อนรับและแนะนำสมาชิกในชุมชนบ้านส้มตรีดออก ผู้รับผิดชอบโครงการ คุยที่มาของกิจกรรม ความคาดหวังในการศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียชุมชน วิทยากรให้ความรู้ความสำคัญของการจัดการน้ำเสียโดยชุมชน  การบริหารจัดการและกลไกการทำงานที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความรู้การจัดทำข้อมูลน้ำเสียชุมชนและการดูแลบำบัดในครัวเรือน การใช้ประโยชน์จากน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว และการกำจัดไขมัน  สาธิตขั้นตอนการทำ ถังดักไขมันอย่างง่าย  เลี้ยงไส้เดือน และการนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์
วิทยากรให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงพื้นที่ฐานเรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบการจัดการน้ำเสีย  บ่อดักไขมัน  ธนาคารน้ำใต้ดิน  และเลี้ยงไส้เดือน

 

คณะทำงานและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วม มีความรู้ มีความสำคัญ ตระหนักถึงความสำคัญการจัดการน้ำเสีย ได้เครือข่ายเป็นที่ปรึกษา ช่างชุมชนจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย ติดใจชอบการเลี้ยงใส้เดือน และวางแผนนำความรู้มาใช้ในการเลี้ยงไส้เดือน

ถังดักไขมันชอบ และวางแผนทำต่อ  ได้ความรู้ในการดูแลก

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 17 ธ.ค. 2565 17 ธ.ค. 2565

 

-

 

-

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 7 ม.ค. 2566 15 ก.ค. 2566

 

-

 

-

 

5. ประชุมกลไกขับเคลื่อนการจัดการน้ำเสียชุมชน 15 ม.ค. 2566 15 ม.ค. 2566

 

  1. กลไกจัดการ ตัวแทนกลุ่มครัวเรือน พี่เลี้ยง ร่วมแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมา
  2. วิเคราะห์ความก้าวหน้า ปรับแผน
  3. พิจารณาคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ
  4. สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรม ผลลัพธ์ เป็นอย่างไร

 

  1. กลไกคณะทำงาน ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและร่วมกำหนดแนวทางการทำงาน มีแผนปฏิบัติการในสนับสนุนปฏิบัตการทำระบบบำบัดน้ำเสียในระดับครัวเรือน บ่อดับไขมัน ธนาคารน้ำใต้ดิน น้ำหมักบำบัดน้ำเสีย เลี้ยงใส้เดือน  แบ่งทีมติดตามในแต่ละครัวเรือน
  2. ได้กรอบในการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ เป็นตัวอย่างในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน มีระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมและมีการใช้ประโยชน์จากน้ำที่ผ่านระบบบำบัด ปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือนลดลง ลดรายจ่ายค่าน้ำ  หรือจากการเลี้ยงไส้เดือนที่สามารถจัดการขยะอินทรีย์สาเหตุที่ทำให้ท่อตัน หรือกองขยะหมักหมมเกิดเป็นน้ำเสีย เป็นการจัดการต้นทางลดจดเสี่ยงในครัวเรือนชุมชน นำขี้เดือนที่ได้ปลูกผักปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน

 

6.วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของรัวเรือนและชุมชนเป้าหมาย 25 ม.ค. 2566 15 ธ.ค. 2565

 

1.1 วิเคราะห์ข้อมูลน้ำเสียของครัวเรือนและชุมชน  นำข้อมูลจากการจัดเก็บสถานการณ์ของน้ำเสียในครัวเรือนและชุมชน ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชุมชน  นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผนในการขับเคลื่อนการทำงาน

 

ได้ข้อมูลและแผนการจัดการน้ำเสียครัวเรือน ที่คณะทำงานและครัวเรือนนำไปใช้ในการทำระบบบำนัดน้ำเสียชุมชนและการใช้ประโยชน์

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 5 ก.พ. 2566 5 ก.พ. 2566

 

ไม่ได้ดำเนินการ

 

-

 

7. จัดทำแผนผังน้ำชุมชน 20 ก.พ. 2566 20 ก.พ. 2566

 

กิจกรรมการจัดทำแผงทางเดินของน้ำชุมชน ได้ดำเนินการ โดยมีคณะทำงานและกลไกขับเคลื่อนภาคี ได้นำข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียและผลกระทบที่ผ่านการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในเวทีสร้างความใจของชุมชน มาดำเนินการ วาดแผนผัง ตามข้อมูลจากการเดินทางของการใช้น้ำในครัวเรือน และสถานที่ประกอบการ ที่เป็นต้นทางผลิตน้ำสู่ ลำคลอง เน้น จุดที่ เป็น ปัญหา ที่จะดำเนินการ และวางแนวทางการจัดการ ให้เป็นระบบ ของครัวเรือนให้มีการจัดการก่อนปล่อยทิ้ง และ มีการวางแนวทางการสร้างระบบ ธนาคารน้ำใต้ดินของชุมชนที่มีจุดรวมของการปล่อยน้ำเสียชุมชนตามแผนผังทางเดินของน้ำ ในส่วนของครัวเรือนที่มีระบบจัดการน้ำเสียชุมชนเป็นระบบ ถังดัดไขมันอย่างง่าย โดยการแยกขยะการปล่อยน้ำให้ผ่านระบบถังไขมัน แล้วนำเศษอาหารไปเลี้ยงไส้เดือน หรือนำไปลงสู้ถังรักษาโลก ตามแผน

 

คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำเสียและระบบบำบัด ได้ผังน้ำชุมชน

 

3. เวทีสร้างความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย 15 มี.ค. 2566 24 ก.ย. 2565

 

1.  ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และการทำงานโครงการจัดการน้ำเสียฯของชุมชนบ้านหนองบ่อ 2. จัดเวทีบอกเล่าการเรียนรู้เรื่องสถานการณ์น้ำเสียชุมชนผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรม  วิทยากรให้ความรู้และแลกเปลี่ยน ความสำคัญของการใช้ข้อมูล  ข้อมูลสถานการณ์น้ำเสียชุมชน  การใช้ข้อมูลในการวางแผนงานแก้ปัญหา
2. สร้างกลไก ขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วม ที่มี ท้องที่ ผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง  ให้ครอบคลุมการจัดการน้ำเสียชุมชน 3.  ร่วมกันกำหนดกติการการจัดการน้ำเสียของชุมชน

 

  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแทนครัวเรือน จำนวน 30 ครัวเรือน มีความรู้ความเข้าใจการจัดการน้ำเสีย วิธีการคัดแยกขยะ และการจัดการน้ำเสียที่ถูกต้อง และมีความตั้งใจร่วมในการแก้ปัญหาน้ำเสีย ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประหยัดน้ำ บำบัดน้ำเสียและนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์ และจัดการขยะที่เป็นเหตุที่ก่อนให้เกิดน้ำเสียไม่ว่าจะเป็นการอุดตันทางน้ำ น้ำไหลได้ไม่ดี หรือน้ำอุดตัดทำให้น้ำเน่าเสีย
    2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตระหนักถึงปัญหาจากการที่วิทยากรได้นำเสนอข้อมูลการเก็บแบบสอบถามมาวิเคราะห์ร่วมกัน
  2. ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมมีความพร้อมในการร่วมดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและจัดการจุดเสี่ยงเป็นพื้นที่ร่วม
  3. ได้แนวแนวทางความร่วมมือในการจัดการน้ำเสียรวมระหว่างชุมชน  สสส. เทศบาลเมืองพัทลุง และ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชมชน แก้ปัญหาน้ำเสีย การจัดการขยะ เพิ่มพื้นที่สีเขียว มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภค

 

ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 1 15 มี.ค. 2566 15 มี.ค. 2566

 

ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
พี่เลี้ยงทำความเข้าใจกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

 

-คณะทำงาน่่  สมาชิกในชุมชนและภาคีความร่วมมือ  เทศบาลเมืองพัทลุง เห็นข้อมูลและผลการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินงานโครงการ ปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญในการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน  แม้นเป็นเรื่องใหม่ ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างในขั้นตอน รูปแบบการจัดการน้ำเสีย  แต่ตระหนักความสำคัญของปัญหาพร้อมจะเรียน่รู้
- เกิดกลไกคณะทำงานที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีการประชุม 2 เดือนครั้ง

 

10. ปฏิบัติการการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนต้นแบบ 15 เม.ย. 2566 15 เม.ย. 2566

 

คณะทำงาน  ประสานครัวเรือนในการกำหนดปฏิทินการลงพื้นที่ทำระบบบำบัดน้ำเสียของแต่ละครัวเรือน
คณะทำงาน 3 คน  ทีมช่างชุมชน  และครัวเรือนต้นแบบ ร่วมกันออกแบบและติดตั้งบ่อดักไขมัน
แบ่งกลุ่มมาเลี้ยงใส้เดือน และแบ่งกันดูแล

 

1.ได้มีครัวเรือนมีการจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 2. ครัวเรือนมีความรู้และสามารถดูแล บ่อดักไขมัน

 

จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 30 เม.ย. 2566 31 ส.ค. 2566

 

สรุปผลการดำเนินงานลงระบบออนไลน์  รายงานความก้าวหน้าการทำงานในแต่ละระยะ  และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

 

รายงานกิจกรรมความก้าวหน้าสามารถจัดทำเอกสารหลักฐานการเงิน และการรายงานกิจกรรมความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ได้เป็นที่เรียนร้อย  พร้อมส่งตรวจสอบความถูกต้อง

 

5.ประชุมกลไกเพื่อ ติดตามผลโครงการ AREครั้งที่ 2 18 พ.ค. 2566 18 พ.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงานติดตามงาน ผลลัพธ์1. กลไกจัดการ ตัวแทนกลุ่มครัวเรือน พี่เลี้ยง ร่วมประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์ โดยมีบันไดผลลัพธ์เป็นเครื่องมือผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดใต้บันใด 2. วิเคราะห์ความก้าวหน้า ปรับแผนการดำเนินงาน ถ้าทำไม่ได้ตามแผนจะมีการปรับอย่างไรให้เป็นไปตามแผนเดิม 3. สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน ก่อนนำเสนอกับหน่วยจัดการ

 

  1. คณะทำงานมีความร่วมมือขับเคลื่อนงาน ทีมทำงานหลัก 6 คนประธานชุมชนและแกนนำอสม. ติดตามและให้คำแนะทำครัวเรือนทำระบบบำปัดน้ำเสีย ประสานวิทยากรส้มตรีดออกเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ในการติดตั้งระบบบำบัดตามได้กำหนดไว้ เจ้าหน้าที่เทศบาลเป็นที่ปรึกษา และร่วมเสริมในการปฏิบัติการ
  2. ครัวเรือนปรับเปลี่ยนมามีระบบจัดการน้ำเสียในครัวเรือน การจัดทำระบบบำบัด และนำน้ำมาใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ
  3. มีภาคีความร่วมมือในการสนับสนุนการเรียนรู้และปฏิบัติการในการจัดการน้ำเสียครัวเรือน เทศบาลเมืองพัทลุง สนับสนุนบุคลากร ประสานโครงการจัดการน้ำเสียที่ถูกหลักสุขาภิบาล สมทบกระบวนการเรียนรู้เพิ่มและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย และอุปกรณ์ เครื่องจักรกลในการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน  กศน. สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติการการจัดการเลี้ยงใส้เดือน
  4. คนในชุมชนร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการพร้อมเรียนรู้การจัดการน้ำเสียในครัวเรือน แต่เนื่องจากเป็นชุดความรู้ใหม่ของชุมชน แต่การกระจายความรู้เพิ่มยังทำได้น้อย

 

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ร่วมกับหน่วยจัดการ (ARE) 12 ก.ค. 2566 12 ก.ค. 2566

 

ผู้จัดการโครงการ  โครงการหน่วยจัดการพื้นที่ ได้ชี้แจงรายละเอียด วัตถุประสงค์ สืบเนื่องจากการบริหารจัดโครงการได้ดำเนินงานมาถึงช่วงระยะ ที่ต้องติดตามผลลัพธ์ นำมาแลกเปลี่ยนแปลง ของแต่ละประเด็น โดย จะมีการแบ่งกลุ่มตารมรายประเด็น เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนในประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชนของแต่ละชุมชนที่ได้มีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ในแต่ละชุมชน  โดยมีตารางผลลัพธุ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์ของประเด็น  ผู้ช่วยแลกเปลี่ยผลลัพธ์ เป็นทีมพี่เลี้ยงช่วยเติมเต็มข้อมูล  กลุ่มประเด็นการจัดการน้ำเสียชุมชน มี ทั้ง 8 พื้นที่ พื้นที่ ชุมชนบ้านควนปรง ชุมชนบ้านท่ามิหรำ ชุมชนบ้านท่ามิหรำเก่า ชุมชนบ้านดอนรุณ ชุมชนบ้านนอกม่วงหวาน ชุมชนวัดนิโรธาราม  ชุมชนบ้านนอกบ่อ  เสร็จกลุ่มย่อยมีการรวมสรุปผลของแต่ละประเด็น พร้อมแลกเปลี่ยน

 

1.ได้ความรู้บทเรียน่ประเด็นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีทีมงานเป็นสำคัญที่ดำเนินงานให้เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนและมีต้นแบบในประเด็นต่าง ๆ อาหารปลอดภัยในการเพิ่มพื้นที่นาและมีข้าวสารไว้กินเองพร้อมแบ่งบัน  การจัดการขยะ  การจัดการน้ำเสียชุมชน่มีการจัดการก่อนปล่อยสูาสาธารณะ 2.มีผลลัพธ์จากการดำเนินงานการจัดการน้ำเสียชุมชน  ที่สำเร็จตามที่ตั้งไว้  และปัญหาอุปสรรค์ มีรายละเอียดดังนี้คือ   2.1 เกิดการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคม
              2.1.1 มีกติกาชจัดการน้ำเสียในชุมชนที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ
                    -  การบำบัดน้ำเสียการปล่อยลงคู คลอง การจัดการคัดแยกเศษอาหารการก่อนทิ้ง ไม่ทิ้งขยะลงสู่ คู คลอ
              2.1.2.กลไกการติดตามในชุมชน เป็นคนกลไกที่ติดตามการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน
              2.1.3 เกิดเป็นช่างชุมชนในการจัดทำถังดักไขมันอย่างง่าย ช่วยเหลือซ่อมบำรุง  ถ้าแบบมีปัญหาสามารถปรับปรุงแบบถังดักไขมันได้
3. แผนการจัดการน้ำเสีย - มีแผนงานที่ชุมชนสามารถเองได้ การทำถังดักไขมันอย่างง่าย การกำจัดเศษอาหารแบบถังรักษ์โลก หรือแบบนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ 4. ปริมาณการใช้ประโยชน์จากน้ำเสีย โดยส่วนมาก นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแบบถังดักไขมันอย่างง่าย ไปรดน้ำผัก ต้นไม้ นำเศษอาหารที่ผ่านการดักจับไขมันมาเสี้ยงสัตว์ น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วเติมจุลินทรีย์ แล้วนำไปบำบัดน้ำเสีย
5. ภาคีร่วมการดำเนินงาน
          - เทศบาลเมืองพัทลุง สมทบงบประมาณ และมีทีม กองสาธารณสข และกองช่าง มาเป็นกลไกขับเคลื่อน
          - สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง สมทบงบประมาณ และเป็นวิยาการอบรม สทม. และการอบรมการตรวจวัดค่าน้ำ
6. ได้เพื่อนเครือข่ายแลกเปลี่่ยนความรู้หรือช่วยเหลือกันและกันในการดำเนินงานสร้างสุขภาพดี

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 29 ก.ค. 2566 29 ก.ค. 2566

 

ไม่ได้จัดกิจกรรม

 

-

 

12.สรุปผลถอดบทเรียนโครงการ 12 ส.ค. 2566 12 ส.ค. 2566

 

สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดการน้ำเสีย ข้อมูลการจัดการน้ำเสียชุมชน  กระบวนการ วิธีการ นำไปสู่ผลการเปลี่ยนแปลง เกิดผลอย่างไร  กิจกรรมสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลง ปัญหา อุปสรรค การพัฒนาต่อยอด ต่อเนื่องและยั่งยืน  โดยคณะทำงานกลไกขับเคลื่อนโครงการ  ภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

เกิดแกนนำ 11 คน เกิดบ่อครัวเรือนทำบ่อดักไขมันอย่างง่าย จำนวน 11 ครัว ครัวเรือนสามารถรักษา เกิดธนาคารน้ำใต้ดินที่เป็นส่วนกลางทำร่วมกับเทศบาล 1 จุด การเลี้ยงไส้เดือน 16 ครัวเรือน เกิดการประสานทำแผนชุมชนร่วมกับเทศบาลในการทำธนาคารน้ำใต้ดินในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังและทำนำร่อง และชุมชนเกิดกติกา คือ การคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากการคัดแยก เช่น ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ปลูกผักในครัวเรือน ทำถังรักษ์โลกษ์กับเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ น้ำแกง จำนวน 76 ครัวเรือน    เกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการน้ำเสียในชุมชนแบบมีส่วนร่วมและใช้เป็นปหล่งศึกษาดูงานจ่ากพื้นที่ภายนอกได้    เกิดครอบครัวต้นแบบ จำนวน 3 ครอบครัวเป็นต้อนแบบ