directions_run

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านโหล๊ะจันกระ

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.ได้ 2.มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า30รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ2ไร่ 3.มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม
0.00 0.00

1.มีกรรมการที่เป็นกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่จำนวน7คนมาเป็นกรรมการดำเนินโครงการและมีกรรมการจากสกย.มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินโครงการด้วยจำนวน3คน 2.มีสมาชิกสวนยางแปลงใหญ่เข้าร่วมโครงการจำนวน25คนและมีพื้นที่ของสมาชิกร่วมโครงการจำนวน82ไร่แบ่งเป็นยางที่ยังไม่เปิดกรีดจำนวน12ไร่/ยางที่เปิดกรีดแล้วจำนวน60ไร่ 3.กติกาหรือข้อตกลงของกลุ่มยึดระเบียบของกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่เป็นกติกาหลักของกลุ่มฯ

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเจตนาการทำโครงการสร้างพืชร่วมยางโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทั้งการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเวทีเรียนรู้และการเรียนรู้จากพื้นที่ที่เกิดผลจากการทำมาแล้วทำให้กลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ

1.กรรมการที่ร่วมรับผิดชอบโครงการเป็นกรรมการที่เกิดจากกลไกของกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่เดิมและกรรมส่วนหนึ่งเป็นกรรมการของสกย.อยู่ด้วยจึงสามารถทำงานร่วมกับสกย.และกยท.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.มีข้อจำกัดเรื่องการรับสมัครเกษตรกรร่วมโครงการ ด้วยเหตุผลเงื่อนไขที่กำหนดจากระเบียบของกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ที่ระบุผู้ร่วมโครงการต้องมาจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เท่านั้นส่งผลให้เกษตรกรรายอื่นที่สนใจขาดโอกานสในการเข้าร่วมโครงการ ทั้งนั้ทางกรรมการที่รับผิดชอบโครงการก็หาทางออกเพื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสกย.ที่สนใจโครงการได้มีฮกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆและให้การหนุนเสริมตามความเหมาะสม

2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกพืชร่วมยาง 2.มีแผนการปลูกพืชร่วมยางรายแปลงที่เหมาะสมกับอายุยางและสภาพพื้นที่สวนยาง 3.มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ย/สารทดแทนสารเคมีและนำไปใช้ในแปลง 4.มีแปลงต้นแบบของสมาชิกในพื้นที่โครงการ
0.00

1.มีเกษตรกรที่เข้าร่วมการเรียนรู้จำนวน32คนมีคนที่เข้าใจและมีความรู้ในการดำเนินการได้จำนวน25คน 2.สมาขิกร่วมโครงการสามารถวางแผนการปลูกและออกแบบแปลงรายแปลงของสมาชิกได้ โดยการวางแผนและการออกแบบแปลงคำนึงถึงสภาพพื้นที่เป็นหลักและออกแบบการปลูกตามความต้องการในเรื่องความต้องการในการบริโภคในครัวเรือนและชุมชนเป็นตัวกำหนด ออกแบบการปลูกพืชออกเป็น3ระดับพืชคือพืชที่อยู่ชั้นล่างหรือพืชที่มีอายุที่ให้ผลผลิตในระยะสั้นภายใน12เดือน พืชที่ให้ผลในระยะกลางรับผลผลิตภายใน3ปี พืชที่ให้ผลิตผลิตหลังจาก3ปี 3.มีแปลงของสมาชิกที่สามารถเป็นต้นแบบให้สมาชิกที่ร่วมโครงการได้เรียนรู้จำนวน4แปลง

การดำเนินการโครงการสามารถเคลื่อนได้ต่อเนื่องเพราะในพื้นที่มีพื้นที่ที่ได้มีการดำเนินการและเห็นผลก่อนแล้วจึงเป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรรายใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะดำเนินการ อีกทั้งมีโครงการหนุนเสริมจาก กยท.ในการสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาพันธุ์พืชมาปลูกในแปลง

1.การออกแบบและวางแผนการปลูกสมาชิกร่วมโครงการเน้นพืชที่ปลูกที่สามารถให้ผลผลิตในระยะสั้น เน้นพืชที่สามารถนำมาเป็นอาหารในครัวเรือนได้ ส่วนมากจะเป็นพืชที่เป็นพันธุกรรมที่มีอยู่ดั้งเดิมในชุมชนและคนในชุมชนนิยมนำมาเป็นอาหาร 2.แปลงที่เป็นแปลงต้นแบบทั้ง4แปลง มี3แปลงที่เป็นแปลงที่ดำเนินการมาก่อนโครงการจะสนับสนุนมีจำนวน1แปลงที่เป็นแปลงที่เริ่มใหม่จากการเข้าเรียนรู้กับโครงการ

3 เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1.มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มตามแผนและกติกาไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า3ครั้ง 3.มีบทเรียนการปลูกพืชร่วมยางจากพื้นที่ดำเนินการโครงการ
0.00

 

 

 

4 เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.มีการปลูกพืชอาหารในพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า5ชนิด 2.มีพื้นที่ร่วมโครงการที่มีการปลูกพืชอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า60ไร่ 3.มีการลดปริมาณการใช้สารเคมีในสวนยางพาราที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ30
0.00

 

 

 

5 เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้นและรายจ่ายในครัวเรือนลดลง
ตัวชี้วัด : 1.สมาชิกสามารถมีรายได้จากสวนยางพาราเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า1,000บาทต่อเดือน 2.รายจ่ายในครัวเรือนของสมาชิกลดลง 3.เกิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าพืชอาหารปลอดภัยในชุมชนอย่างน้อย 1จุด 4.มีการประสานความร่วมมือในการรับซื้อ จำหน่ายผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยกับหน่วยงานภาคราชการไม่น้อยกว่า 1หน่วยงาน
0.00

 

 

 

6 เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.มีผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยจากสวนยางพารามาจำหน่ายในชุมชน
0.00

 

 

 

7 เพื่อให้มีการบริหารจัดการโครงการที่ดีและโปร่งใส
ตัวชี้วัด : 1.มีการร่วมประชุมกับหน่วยจัดการไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการจัดทำรายการรับ/จ่ายเงินที่ตรวจสอบได้ 3.มีการรายงานผลการดำเนินงานที่เป็นเอกสารตามที่สสส.กำหนด
0.00