directions_run

โครงการเรียนรู้ทำนาข้าวปรานีตเพื่อบริโภคปลอดภัยที่ชุมชนตะโหมด

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มทำนาเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีบทเรียนการทำนาปลอดภัยจากเกษตรกรรายเก่า 2.มีเกษตรกรรายเก่าที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ไม่น้อยกว่า10คน 3.มีเกษตรกรรายใหม่มาร่วมกลุ่มทำนาปลอดภัยไม่น้อยกว่า20คน
0.00

1.มีสมาชิกร่วมโครงการทั้งหมด65รายแยกเป็นสมาชิกเก่า42รายสมาชิกรายใหม่23รายพื้นที่ทำนาปลอดภัย209ไร่แยกเป็นพื้นที่เก่า149ไร่พื้นที่ใหม่60ไร่ 2.พื้นที่มีบทเรียนการทำนาที่ปลอดภัยสามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ให้สมาชิกรุ่นใหม่โดยสมาชิกที่เป็นสมาชิกรุ่นเก่าได้ทุกคน ส่วนในสาระเฉพาะเช่นสูตรปุ๋ย สูตรสารจุลินทรีย์ มีสมาชิกรุ่นเก่าที่มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้จำนวน12คน

จากการทำนาที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการตื่นตัวตื่นรู้ของเกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ให้ความสำคัญและสนใจเข้าร่วมโครงการอีกทั้งเกษตรรายเก่าที่ทำนาโดยกระบวนการที่ปลอดภัยเกิดความเชื่อมั่นและได้เพิ่มพื้นที่การทำนาของตัวเองมากขึ้น

เกษตรกรรายเก่ามีประสบการณ์และความรู้เรื่องการทำนาจากการลงมือทำจริงจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเองและคนทำนาในชุมชนจนเกิดความตระหนักในกระบวนการทำนาที่ปลอดภัยจนส่งผลให้คนทำนาคนอื่นตื่นตัวเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากคุณภาพข้าวที่ได้มีคุภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในชุมชน ชาวนาที่เป็นสมาชิกรุ่นเก่าก็กระตือรือร้นที่จะถ่ายทอดความภาคภูมิใจในความรู้ให้กับเกษรกรรุ่นใหม่

2 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถปรับสภาพแวดล้อมการทำนาปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรรายใหม่มีความรู้เรื่องทำนาปลอดภัย 2.มีการออกแบบการทำนาร่วมกัน 3.มีมีการผลิตปุ๋ยและสารทดแทนใช้เอง 4.เกษตรกรรายเก่ามีการยกระดับการปรับปรุงดินก่อนปลูก 5.เกษตรรายเก่าสามารถยกระดับการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการเก็บรกษาพันธุ์
0.00

1.เกษตรกรรายใหม่จำนวน23คนได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้กระบวนการทำนาปลอดภัยจากเกษตรกรรุ่นเก่าทุกคนมีความรู้เพิ่มและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปทำนาของตัวเอง 2.สมาชิกทั้งเก่าและใหม่มีการออกแบบการทำนาร่วมกันอย่างมีระบบ ทั้งนี้คำนึงถึง การให้น้ำ ชนิดพันธุ์ อายุการเก็บเกี่ยว ช่วงฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง การระบาดของโรคและแมลง รวมถึงช่วงเวลาของการได้รัลผลผลิตและการเก็บเกี่ยวเป็นสำคัญ 3.มีการผลิตปุ๋ยใช้กันเองภายในกลุ่มได้ปุ๋ยทั้งหมด7,920กก. 4.การพัฒนาของสมาชิกรุ่นเก่าในการเตรียมดินก่อนปลูกมี2แบบคือการเตรียมดินโดยการพักและตากหน้าดินหรือหมักหน้าดินตามธรรมชาติและการเตรียมดินโดยการบำรุงเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วยการปลูกปอเทืองและการใช้สารจุลินทรีย์ในการปรับสภาพดินรวมถึงการให้ปุ๋ยหมักเพื่อปรับสภาพและเพิ่มแร่ธาตุในดิน

1.เกิดความตระหนักของการบริโภคข้าวปลอดภัยในชุมชนมากขึ้น 2.เกิดความนิยมในการบริโภคข้าวในชุมชนมากขึ้นาส่งผลให้ชาวนาสามารถขายข้าวในชุมชนมากขึ้นรวมถึงรายได้ของเกษรกรชาวนาเพิ่มขึ้นตามมาด้วย 3.การร่วมกันผลิตปุ๋ยใช้กันเองส่งผลให้สมาชิกใหม่เกิดการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยไปพร้อมๆกับสมาชิกรายเก่าได้ปฏิบัติเพื่อทำซ้ำในความรู้เดิมจนให้กลายเป็นความชำนาญ 3.การเตรียมดินที่ดีจะส่งผลต่ดการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของต้นข้าวให้มากขึ้นก็จะส่งผลต่อปริมาณของผลผลิต

1.สมาชิกรายใหม่ที่ร่วมโครงการทั้งหมดทำนามาโดยตลอดแต่ยังชินการการทำนาที่ต้องพึ่งพาสารเคมีเมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้จึงเกิดความเชื่อมั่นต่อผลผลิตข้าวและตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น 2.การออกแบบและวางแผนการทำนาคำนึงถึงความพร้อมของคนทำนา สภาพพื้นที่(นาลึก นาดอน)รวมถึงความสะดวกในการปักดำ 3.การผลิตปุ๋ยใช้กันเองเป็นประจำทำให้ชาวนาเกิดความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเอง และความเชื่อมั่นในกระบวนการทำนาที่ตนเองผ่านการเรียนรู้มาแล้วและสามารถยืนยันได้ว่ากระบวนการทำนาแบบนี้ม่งผลดีต่อสุขภาพคนรวมถึงส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมของชุมชนทั้งเรื่องน้ำ ดิน อากาศ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของชุมชน

3 เพื่อหนุนเสริมให้เกิดเกิดกลไกการติดตามการทำนาปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทั้งเกษตรกรรายใหม่และเกษตรกรรายเก่า
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรรายเก่ามีการติดตามต้นทุนและผลผลิต 2.มีการติดตามเกษตรกรรายใหม่ตามกติกากลุ่ม 3.มีการติดตามการปรับปรุงดินของเกษตรกรรายเก่า 4.มีการร่วมเรียนรู้กันระหว่างเกษตรกรรายเก่าและรายใหม่ไม่น้อยกว่า3ครั้ง 5.มีการสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องกับการทำนา
0.00

 

 

 

4 เพื่อให้เกิดพื้นที่นาปลอดภัยในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.มีพื้นที่นาปลอดภัยของเกษตรกรรายใหม่ตามกติกากลุ่มไม่น้อยกว่า60ไร่ 2.มีข้อมูลต้นทุนที่ลดลงและข้อมูลผลิตจากการทำนาปลอดภัยของเกษตรกรรายเก่า 3.มีบทเรียนการทำนาปลอดภัยของเกษตรกรรายใหม่ 4.มีบทเรียนการทำนาปราณีตของเกษตรกรรายเก่าที่เหมาะสมกับการทำนาแต่ละช่วงฤดูกาล
0.00

 

 

 

5 เพื่อให้มีกระบวนการยกระดับผลผลิตสู่การตลาด
ตัวชี้วัด : 1.ยกระดับการผลิตเป็นวิสาหกิจชุมชนและมีตราสินค้าชุมชนที่ได้รับการยอมรับ 2.มีข้าวปลอดภัยขายในชุมชนมากขึ้น
0.00

 

 

 

6 คนในชุมชนพัทลุงได้กินข้าวปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.มีการกระจายสินค้าโดยใช้กลไกความร่วมมือกับภาคีเพื่อจำหน่ายข้าวนอกชุมชน
0.00

 

 

 

7 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตัวชี้วัด :
0.00