directions_run

ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารู
รหัสโครงการ 65-01-013
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 31 มีนาคม 2566
งบประมาณ 107,480.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเยาะ สลีมิน
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหมัด เจ๊ะหมิ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.458471,101.354156place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 42,992.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 53,740.00
3 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 10,748.00
รวมงบประมาณ 107,480.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอุบัติเหตุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอ  รามันใน 3 ปี ย้อนหลัง ปี 2562 2563 2564 พบว่าตำบลโกตาบารูมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 48,46,40 ครั้ง ตามลำดับ โดยสถิติปี 2564 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 2,210 ครั้ง เสียชีวิต 79 คน ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอรามัน 260 ครั้ง เสียชีวิต 8 คน บาดเจ็บจำนวน 363 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลโกตาบารู ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 40 ครั้ง เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บจำนวน 38 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลโกตาบารู จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ จากการสำรวจของประชาชนยังคงพบจุดเสี่ยงอันตรายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแห่งใหม่ จึงทำให้การดำเนินการกิจกรรมต่างๆต้องมีความต่อเนื่องและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่แท้จริง จากการได้งบประมาณมาช่วยในเรื่องการก่อตั้งคณะทำงานการดำเนินกิจกรรมในปีที่ผ่านมาจาก สสส ตำบลโกตาบารู ได้ดำเนินการเฝ้าระวังการป้องกันและแก้ไขจุดเสี่ยง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การให้ความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับบริบทในชุมชน จนได้รับการยอมรับจากชุมชม การให้ความร่วมมือชี้จุดเสี่ยง ให้ข้อมูลด้านพฤติกรรมเสี่ยง การช่วยกันสอดส่องดูแล การร่วมใช้กฎกติกาชุมชนได้ดี แต่อุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่พบว่ายังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานจึงต้องมีการขับเคลื่อนงานผ่านเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ และพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ ศปถ.ท้องถิ่นได้มีวิทยากร “ครู ข” ที่มีขีดความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวินัยจราจร และหลักแห่งความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนที่ปลอดภัยให้แก่ประชากรในชุมชน หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบซึ่งวิทยากร “ครู ข”จะมาจากอาสาสมัครในพื้นที่เช่น อปพร. อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำด้านจิตวิญญาณ ดังนั้นทางตำบลโกตาบารู มุ่งหวังในการจัดทำศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต จึงจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตำบลโกตาบารูโดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชน หน่วยงานต่างๆในพื้นที่โกตาบารู และพื้นที่ที่สนใจศึกษาแนวทางของตำบลโกตาบารู เพื่อส่งเสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในระดับชุมชนด้วยกัน สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชุมชนอื่นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ข้อที่ 3 ประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะอนุกรรมการฯ ที่เข้มเข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์
1.1.คณะอนุกรรมการฯศปถ.ประกอบด้วย ตัวแทนรพ.สต./ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล/ตัวแทนอปท/ตัวแทนผู้นำชุมชน 1.2.คณะอนุกรรมการมีความเข้าใจบริบทของพื้นที่ 1.3.คณะอนุกรรมการมีความรู้ RTI 1.4.มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ 1.5.มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแก้ไขปัญหาได้

ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไก ศปถ.ตำบลและเกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน ตัวชี้วัดผลลัพธ์
2.1.เกิดคณะกรรมการ ศปถ.ตำบล(ตามระเบียบที่กำหนดไว้) 2.2.คณะกรรมการทำงานตามบทบาทหน้าที่ 2.3. มีแผนการดำเนินงานในกาขับเคลื่อนความร่วมมือและการบูรณาการ 2.4.เกิดโครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนมีการประสานงานกับเครือข่าย
2.5.มีข้อมูลพื้นที่จุดเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ
2.6.เกิดศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกขับเคลื่อนงานตามแผน(หมู่บ้าน/ตำบล) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.เกิดวาระตำบล/กติกาชุมชนและการบังคับใช้กติกา 3.2.เกิดการเชื่อมประสานกับกลไกระดับตำบล 3.3.เกิดกลไกลการป้องกันการเกิดเหตุอย่างต่อเนื่องของชุมชน 3.4.มีการติดตามการดำเนินงานตามแผนและคืนข้อมูลของศปถ.ตำบลและสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ 4 พฤติกรรมเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์
4.1.จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไขและส่งต่อร้อยละ 90 4.2.พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 70 4.3.ผู้ขับขี่มีการสวมหมวกนิรภัยร้อยละ70

ผลลัพธ์ที่ 5 อุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์
5.1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 5.2 อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50 5.3 อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ50

0.00
2 เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ผลลัพธ์ที่ 5 อุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์
5.1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง  ร้อยละ 50 5.2 อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50 5.3 อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ50

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 36 -
ประชาชน 84 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมร่วมกับ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 10,000.00 0 0.00
12 เม.ย. 65 เวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการย่อยฯประจำปี2565 3 900.00 -
5 พ.ค. 65 เวทีปฐมนิเทศโคงการย่อยฯปี 2565 3 900.00 -
21 พ.ค. 65 เวทีเรียนรู้การจัดการทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบ 2 600.00 -
1 มิ.ย. 65 การจัดทำป้ายไวนิลโครงการและไวนิลเขตปลอดบุหรี่ 0 1,600.00 -
7 ต.ค. 65 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 2,000.00 -
20 ก.พ. 66 เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 2,000.00 -
24 ก.พ. 66 กิจกรรมทำรายงานโครงการ 0 2,000.00 -
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 5,400.00 0 0.00
27 มิ.ย. 65 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 36 1,080.00 -
22 ส.ค. 65 สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 (พร้อม ARE ครั้งที่ 1) 36 1,080.00 -
24 ต.ค. 65 สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 (พร้อม ARE ครั้งที่ 2) 36 1,080.00 -
26 ธ.ค. 65 สรุปข้อมูลการติดตามการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 (พร้อม ARE ครั้งที่ 3) 36 1,080.00 -
24 มี.ค. 66 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 36 1,080.00 -
3 อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 36 16,560.00 0 0.00
25 ก.ค. 65 อบรมพัฒนาพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการและคณะทำงาน 36 16,560.00 -
4 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 16,600.00 0 0.00
26 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 100 16,600.00 -
5 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 36 9,780.00 0 0.00
19 ส.ค. 65 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย 36 9,780.00 -
6 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 7,200.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 24 มี.ค. 66 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ 18 7,200.00 -
7 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 13,000.00 0 0.00
6 มี.ค. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 100 13,000.00 -
8 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,140.00 0 0.00
22 ส.ค. 65 - 28 ก.พ. 66 พัฒนาศูนย์เรียนรู้ความปลอดภัยทางถนนตำบลโกตาบารู (พัฒนาวิทยากรประจำศูนย์ ครูข) 0 13,140.00 -
9 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,000.00 0 0.00
17 มี.ค. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 0 13,000.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2565 12:10 น.