แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร จำนวน 6 ครั้ง) 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร เกิดกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (กิจกรรมที่ 2 สร้างและประสานความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงทรัพยากรความรู้งบประมาณ) 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

ส่วนที่สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม 1 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 3 จัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้เครือข่าย ทำแผนการดำเนินงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์) 19 มิ.ย. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 4 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย จำนวน 3 ครั้ง) 1 ส.ค. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน(กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์) 1 ส.ค. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 8 การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่) 1 ส.ค. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในสวนยางพารา (กิจกรรมที่ 6 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไปทั้งออนไซด์และออนไลน์ จำนวน 3 ครั้ง) 1 ธ.ค. 2565

 

 

 

 

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 7 ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกรจำนวน 20 ราย)) 1 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย 4 มิ.ย. 2565 4 มิ.ย. 2565

 

1.ปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี65 2.ปรึกษาหารือการดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อชุมพรน่าอยู่ ปี 65 3.ร่วมกันทำแผนตามบันใดผลลัพธ์และต้นไม้ปัญหาของโครงการเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร 4.นำเสนอบันไดผลลัพธ์และต้นไม้ปัญหาของโครงการเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพรให้ที่ประชุมรับทราบ

 

ปฐมนิเทสโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ ปี65 ร่วมปรึกาาหารือการดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการทั้ง 25 โครงการ ร่วมกันทำแผนตามบันไดผลลัพธืและต้นไม้เจ้าปัญหาของทั้ง 25 โครงการและนำเสนอ รับฟังการสร้างเสริมสุขภาวะของประชากรชาวชุมพรให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นได้อย่างไร

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่ 1) 12 มิ.ย. 2565 12 มิ.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ข้อที่1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความนสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีความสามารถในการขับเคลื่อนงาน 1.จัดประชุมสมาชิก เพื่อจัดตั้งคณะทำงานโครงการเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร 2.จัดประชุมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานศูนย์เกษตรกรเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สมาชิกฯ
3.จัดทำแผนงานดำเนินงานเพิ่มศักยภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ พร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่ายที่รับผิดชอบ

 

ในวันที่ 12 มิถุนายน 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ พัฒนาสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร ได้เชิญสมาชิกเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดชุมพร ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำสวนยางให้ดียิ่งขึ้นมาร่วมประชุมกันที่ บ้านเลขที่ 1 ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร เพื่อร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร โดยนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ได้ชี้ให้เห็นถึง ปัญหาของการทำสวนยางในปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้มาจากการทำสวนยางเชิงเดี่ยวไม่มีอาชีพเสริมใดๆ เป็นโอกาสที่ดีที่ได้รับงบประมาณมาจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้มาเพื่อทำกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพชาวสวนยางให้มั่นคงขึ้น จึงได้เชิญสมาชิกแกนนำในชุมชนได้มาร่วมกันเพื่อเป็นทีมงานในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร จึงมีมติในที่ประชุม จัดตั้งคณะกรรมการโครงการฯพร้อมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเบื้องต้น โดยประกอบด้วย   นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี  ประธาน   นางสาวสรัณพร เหมาะช่วย รองประธาน   นางปวันรัตน์ ชีช้าง  เลขานุการ   นางกาญจนา บุญนุ่ม  เหรัญญิก
  นายวิศุทธิ์ ติดคล้าย  ประชาสัมพันธ์
  นางวิไล พลสวัสดิ์  กรรมการ   นางจีรพร ยมสุขขี  กรรมการ   นางธัญญผล ชลสาคร  กรรมการ
  นางพรรณวดี รักษา  กรรมการ   นายสงคราม แสงอรุณ  กรรมการ   นายคำรณ สุกใส  กรรมการ   นายประสาท สิทธี  กรรมการ   นายกวี สังข์แก้ว  กรรมการ   นายฉลองชาติ ยังปักษี  ที่ปรึกษา   นายวิเวก อมตเวทย์  ที่ปรึกษา   โดยมีที่ตั้งองค์กรอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร และได้วางแผนดำเนินงานในกิจกรรมครั้งต่อไป

 

สร้างและประสานความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงทรัพยากร ความรู้งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 18 มิ.ย. 2565 18 มิ.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ข้อที่1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความนสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีความสามารถในการขับเคลื่อนงาน 1.จัดประชุมสมาชิกและคณะทำงานฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำรวจ ถอดบทเรียน เพื่อจัดทำฐานข้อมูล รวบรวม พัฒนาองค์ความรู้เครือข่ายฯ
2.จัดทำแผนการดำเนินงานประสานความร่วมมือกับเครือข่าย สื่อประชาสัมพันธ์

 

วันที่ 18 มิถุนายน 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ผู้รับผิดชอบโครงการฯและคณะทำงาน ขับเคลื่อนโครงการได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยได้รับความร่วมมือจาก นายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายธวัช อนิลบล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางปราณี จินาบุญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอละแม และนายประเสริฐพงษ์ มงคล นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอละแม นางสาวพรนลิน แสงจันทร์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอละแม ลงพื้นที่แปลงต้นแบบของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี เพื่อร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มเติมให้กับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกเครือข่ายในกิจกรรมที่จะทำการอบรมครั้งต่อไป พร้อมกับได้ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบตามปรัชญเศษฐกิจพอเพียงให้พร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้

 

จัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้เครือข่าย ทำแผนการดำเนินงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 3 19 มิ.ย. 2565 19 มิ.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ข้อที่1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความนสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีความสามารถในการขับเคลื่อนงาน 1.จัดประชุมสมาชิกและคณะทำงานฯ สำรวจ ถอดบทเรียน เพื่อจัดทำฐานข้อมูล รวบรวม พัฒนาองค์ความรู้เครือข่ายฯ
2.จัดทำแผนการดำเนินงานประสานความร่วมมือกับเครือข่าย สื่อประชาสัมพันธ์ On site , On line

 

นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี และคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนได้ทำการจัดเก็บข้อมูลของแปลงต้นแบบนำร่องโครงการฯ จำนวน 3 แปลง ได้ดังนี้ • แปลงต้นแบบของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี มีเนื้อที่การทำสวนยางพารา 13 ไร่ ในแปลงมี โรงผลิตสารชีวภัณฑ์ เพื่อการจัดการศัตรูพืช , การเลี้ยงไก่บ้านในสวนยางพารา ,ปลูกผักเหลียงในสวนยงพารา, มีการปลูกไม้ใช้สอย เช่น ไม้จำปาทอง ไม้ตะเคียน ไม้ยมหอม ,ปลูกผลไม้ในสวนยางพารา เช่น ต้นทุเรียน ต้นเงาะ,ต้นมังคุด
• แปลงต้นแบบของนายฉลองชาติ ยังปักษี มีเนื้อที่การทำสวนยางพารา 45 ไร่ ในแปลงมีไม้ใช้สอย เช่น ไม้สะเดาเทียม ไม้มะฮอกกานี , สวนสมุนไพร, สวนผลไม้ผสมผสาน,มีโรงอบพลังงานความร้อน • แปลงต้นแบบของนายวิเวก อมตเวทย์ มีพื้นที่การทำสวนยางพารา 51 ไร่ ในแปลงมีการปลูกต้นไม้ป่าสลับแถวกันต้นยางพารา ,ปลูกผลไม้สลับแถวกับต้นยางพารา ,สวนสมุนไพร, สระน้ำเลี้ยงปลา, โดยทั้งหมดนี้ได้จัดเก็บข้อมูลและนำมาทำป้ายสื่อสาร ประชาสัมพันธ์แปลงต้นแบบทั้ง 3 แปลง  เป็นแปลงเริ่มต้น และเก็บข้อมูลพื้นฐานอีก 17 แปลง

 

ทำป้ายไวนิลสื่อประชาสัมพันธ์ 19 มิ.ย. 2565 19 มิ.ย. 2565

 

ค่าจ้างทำป้ายไวนิล "เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ " ของ สสส. ขนาด 49 * 130 ซม. จำนวน 1 ป้าย ป้ายไวนิล "บันไดผลลัพธ์โครงการฯ " ขนาด 60 * 100 ซม. จำนวน 1 ป้าย ป้ายไวนิล "โมเดลสวนยางยั่งยืน" พร้อมโครงไม้ ขนาด 80*100 ซม. จำนวน 3 ป้าย

 

ได้ป้ายไวนิล "เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ " ของ สสส. ขนาด 49 * 130 ซม. จำนวน 1 ป้าย ป้ายไวนิล "บันไดผลลัพธ์โครงการฯ " ขนาด 60 * 100 ซม. จำนวน 1 ป้าย ป้ายไวนิล "โมเดลสวนยางยั่งยืน" พร้อมโครงไม้ ขนาด 80*100 ซม. จำนวน 3 ป้าย สำหรับการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร

 

พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 1) 8 ก.ค. 2565 8 ก.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร
1.จัดประชุมวางแผนแนวทางการพัฒนาแปลงต้นแบบหลักให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายฯ 2.อบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯโดยนางจุฑาทิพย์ ไชยสอน นักวิชาการเกษตรชำนาญงาน เรื่องการปลูกพืชร่วมยางให้ได้ประโยชน์ และการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง 3.ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบหลักเพื่อให้พร้อมในการเปิดศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้ของศูนย์นายวิเวก อมตเวทย์

 

วันที่ 8 กรกฏาคม 2565 คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร นำโดยนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ประธานคณะทำงานฯและผู้รับผิดชอบโครงการได้ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบของนายวิเวก อมตเวทย์ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 148 ม.4 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร มีพื้นที่สวนยางทั้งหมด 51 ไร่ ปลูกยางแบบผสมผสานกับไม้ป่าและผลไม้ พร้อมกันนี้ได้บูรณาการกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดย นางจุฑาทิพย์ ไชยสอน นักวิชาการเกษตรชำนาญงาน สำนักงานเกษตรอำเภอละแม มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการขับเคลื่อนโครงการให้เกิดประโยนช์กับเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร และส่งเสริมให้สมาชิกปลูกพืชเสริมในสวนยางเพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น เช่นการปลูกผักเหลียง เพื่อการแปรรูปและการจำหน่ายใบผักเหลียงสดในตลาดค้าของแบบออนไลน์ในช่องทางต่างๆ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางให้เป็นหมอนยางพารา หรือถุงมือยางแล้วยังสนับสนุนให้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกเครือข่ายทำมาตรฐาน FSC เพื่อยกระดับการทำสวนยางให้ทันการรองรับมาตรฐานสากล หลังจากนั้นวิทยากรได้ให้การอบรมการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง โดยมีวิธีการดังนี้ สิ่งที่ต้องเตรียม 1.นำต้มกล้วยมาหั่น 2. ขี้วัว 3. ไตรโคเดอร์มา 4. ตาข่าย ขนาด 3.30 เมตร ต่อ 1 คอก 5.รำละเอียด ม้วนตาข่ายทำคอกให้กลมปักไม้รอบ ชั้นที่ 1 ต้นกล้วย 3 เข่ง ชั้นที่ 2 ขี้วัว 3 เข่งใส่สลับกันไปมาให้เต็มชั้นสุดท้ายให้ใส่ไตรโคเดอร์มาผสมรำ การทำปุ๋ยคอกแบบไม่กลับกองใช้เวลาหมักเป็นเวลา 3 เดือน ต้องหมั่งรดน้ำทุกวัน จะได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและไม่มีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

อบรมการบันทึกข้อมูลโครงการแบบออนไลน์ 30 ก.ค. 2565 30 ก.ค. 2565

 

เรียนรู้เรื่องการบันทึกข้อมูลกิจกรรมในโครงการรายงานความก้าวหน้าของผลโครงการทางออนไลน์

 

เรียนรู้เรื่องการบันทึกข้อมูลกิจกรรมในโครงการรายงานความก้าวหน้าของผลโครงการทางออนไลน์

 

ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่ตำบลหงษ์เจริญอำเภอท่าแซะ 2 ส.ค. 2565 2 ส.ค. 2565

 

เดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากร

 

เดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากร

 

พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 2) 8 ส.ค. 2565 8 ส.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร 1.จัดประชุมวางแผนแนวทางการพัฒนาแปลงต้นแบบหลักให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายฯ 2.อบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯโดยนางสาวไอลดา สุขสวัสดิ์ เรื่องการแปรรูปผลส้มแขกและลูกเม่า 3.ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบหลักเพื่อให้พร้อมในการเปิดศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้ของศูนย์นายฉลองชาติ ยังปักษี

 

วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ประธานและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร ร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนฯและสมาชิกเครือข่ายบางส่วนลงพื้นที่สวนยางพาราของนายฉลองชาติ ยังปักษี ซึ่งตั้งอยู่บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่.15 ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ร่วมกันวางแผนแนวทางการพัฒนาแปลงต้นแบบ เพื่อพัฒนาแปลงต้นแบบให้พร้อมในการเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยได้มีการอบรมฝึกการแปรรูปอาหาร โดยมีนางสาวไอลดา สุขสวัสดิ์ เรื่องการแปรรูปผลส้มแขกและหมากเม่าด้วยการนำไปทำเป็นน้ำผลไม้และแยม วิทยากรได้แนะนำสรรพคุณและประโยชน์ของผลส้มแขก ผลหมากเม่า ให้กับสมาชิกเครือข่ายฯ คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯได้รู้ แล้วเริ่มอบรมจากการทำน้ำสมุนไพรผลส้มแขกและหมากเม่าเป็นอย่างแรก หลังจากนั้นได้ทำแยมจากผลส้มแขกและผลหมากเม่าหลังจากนั้นร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบให้พร้อมกับการเปิดศูนย์การเรียนรู้ได้ใช้เป็นที่ศึกษาดูงานและอบรมให้กับสมาชิกเครือข่ายฯและเกษตรกรที่สนใจต่อไป

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่2) 16 ส.ค. 2565 16 ส.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน 1.ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงาน(ครั้งที่2) เพื่อสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา 2.จัดวางแผนออกสำรวจแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอละแม เพื่อขยายแปลงต้นแบบเพิ่มเติม

 

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นายอดิศักดื ยมสุขขี ในฐานะประธานและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร ได้เรียกคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมประชุม เพื่อเพิ่มศักยภาพของคณะกรรมการที่รับผิดชอบในแต่ละด้านให้มีความพร้อมและความสามารถที่จะขับเคลื่อนโครงการให้เดินหน้าต่อไปยังเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยมีพี่เลี้ยงของโครงการคุณหนึ่งฤทัย ได้มาให้ความรู้ในการจัดทำกิจกรรมของโครงการและการร่วมกันวางแผนการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกแปลงต้นแบบเพิ่มเติมในพื้นที่เพื่อที่จะได้ขยายเครือข่ายการทำสวนยางอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น จากการประชุมสมาชิกได้เสนอแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 4 แปลง ได้แก่
1) แปลงของนายกวี สังข์แก้ว ปลูกยางพาราในพื้นที่ 22 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ ตะเคียนทอง มะฮอกกานี ยางนา ปลูกไว้บริเวณกลางร่องแถวต้นยางพารา ซึ่งมีความร่มรื่น และสวยงาม เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบด้านวนเกษตรเป็นแหล่งความรู้เพื่อใช้ในพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิกเครือข่ายต่อไป 2) แปลงของนายสุชาติ แสงอรุณ ปลูกยางพาราในพื้นที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร จากการสำรวจแปลงพบว่าในสวนปลูกยางพาราระยะ 10 * 4 เมตรในกลางร่องแถวได้ปลูกมังคุดไว้ทุกแถว ซึ่งนายสุชาติ แสงอรุณ มีรายได้จากการจำหน่ายมังคุดปีละประมาณ 50,000 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว จึงเหมาะสำหรับการเป็นแปลงต้นแบบด้านการปลูกไม้ผลร่วมยาง 3) แปลงของนายคำรณ สุกใส ปลูกยางพาราในพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร โดยการทำสวนยางร่วมกับการปลูกผักเหลียง ทำให้มีรายได้จากการปลูกผักเหลียงเดือนละมากกว่า 2,000บาท เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบเพื่อขยายผลองค์ความรู้ในการปลูกผักเหลียงร่วมกับการทำสวนยางพารา 4) แปลงของนายประสาท สิทธี ปลูกยางพาราในพื้นที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.7 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกต้นไม้ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่ ตะเคียนทอง มะฮอกกานี สักทอง กระถิ่นเทพา ปลูกไว้บริเวณกลางร่องแถวต้นยางพารา เหมาะสำหรับเป็นแปลงต้นแบบด้านวนเกษตรเพื่อใช้ในพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิกเครือข่ายฯต่อไป และได้วางแผนการออกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแปลงต้นแบบเพิ่มเติมต่อไป

 

หักเงินสำรองเปิดบัญชี 17 ส.ค. 2565

 

 

 

 

 

จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 1 20 ส.ค. 2565 20 ส.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน 1. เพื่อเปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายวิเวก อมตเวทย์
2. อบรมเรื่องการผลิตสารชีวภัณฑ์โดย นายถิรวุฒิ หนูเสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอละแม

 

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ประธานและผู้รับผิดชอบโครงการฯร่วมกับ คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกเครือข่ายเปิดศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายวิเวก อมตเวทย์ ณ บ้านเลขที่ 148 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จ. ชุมพร โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรอำเภอละแม นำโดยนายถิรวุฒิ หนูเสน นักวิชาการส่งเสริมเกษตร พร้อมคณะฯ  มาให้การฝึกอบรมสมาชิกเครือข่ายในพื้นที่ ต.ทุ่งคาวัด เรื่องการผลิตสารชีวภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ที่นำมาใช้จัดการโรคที่เกิดจากเชื้อราอย่างได้ผล เช่นโรครากเน่า ใบร่วงในยางพารา ฯลฯ เชื้อราบิวเวอเรีย ที่นำไปใช้จัดการหนอน เพลีย และเชื้อราเมธาไรเซี่ยม ที่นำไปใช้จัดการกับ แมลงปีกแข็งทุกชนิด เพื่อช่วยลดการใช้สารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกษตรกรผู้ใช้สารชีวภัณฑ์นี้มีสุขภาพดีขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยขึ้น หลังจากนั้นคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิกเครือข่ายฯ ร่วมกันเปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนในศึกษาดูงานและอบรมให้กับสมาชิกเครือข่าย พร้อมเกษตรกรทั่วไปที่สนใจ

 

การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่ 25 ส.ค. 2565 25 ส.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน 1.รายการผลการดำเนินโครงการเบื้องต้นให้สมาชิกเครือข่ายรับทราบ 2.สรุปผลการดำเนินโครงการในกิจกรรมที่ทำไปแล้วทั้งในพื้นที่ 3.เชิญนางปราณี จินาบุญ ผอ.กลุ่มงานประสาน และสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน รักษา ราชการแทนพัฒนาการอำเภอละแมร่วมแสดงความคิดเห็น

 

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ประธานและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร และสมาชิกเครือข่าย ร่วมกันจัดทำ ARE กันในพื้นที่ ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จ.ชุมพร และได้เชิญ นางปราณี จินาบุญ ผอ.กลุ่มงานประสาน และสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน รักษา ราชการแทนพัฒนาการอำเภอละแมร่วมแสดงความคิดเห็น โดยนางปราณี จินาบุญ ได้กล่าวว่าการจะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นมาได้ก็มาจากการรวบรวมผลผลิตในพื้นที่ให้ได้ เมื่อรวมผลผลิตได้แล้ว ก็นำมาแปรรูปเป็นอาหาร เพื่อจำหน่ายในตลาดชุมชน หรือจำหน่ายในตลาดออนไลน์ โดยผ่านการพัฒนาความรู้จากวิทยากรหรือนักวิชาการที่ทาง ดังนั้นทางสำนักงานพัฒนาชุมชนมีความยินดีในการหาวิทยากรเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรในประเด็นต่างๆที่คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายมีความสนใจ เสนอไปยังสำนักงานพัฒนาชุมชนเพื่อร่วมพัฒนาไปด้วยกัน หลังจากนั้นนายอดิศักดิ์ ยามสุขขี ได้กล่าวเรื่องการทำโครงการโดยยึดหลักของบันไดผลลัพธ์และต้นไม้เจ้าปัญหาเพื่อให้มีการพัฒนาเครือข่ายต่อไป

 

พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 3) 7 ก.ย. 2565 7 ก.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร
1.จัดประชุมวางแผนแนวทางการพัฒนาแปลงต้นแบบหลักให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของเครือข่ายฯ 2.อบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอละแมเรื่องการใช้ปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ในกานรจัดการศัตรูพืช 3.ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบหลักเพื่อให้พร้อมในการเปิดศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้ของศูนย์นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี(สวนยางยั่งยืนด้านการทำสารชีวภัณฑ์)

 

วันที่ 7 กันยายน 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ และสมาชิกเครือข่ายฯ ร่วมประชุมเพื่อพัฒนาแปลงต้นแบบของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ให้เป็นศูนย์เรียนรู้หลักให้กับเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร โดยบูรณาการร่วมกันกับสำนักงานเกษตรอำเภอละแม โดย นายถิระวุฒิ หนูเสน นักวิชาการชำนาญงาน มาให้ความรู้กับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกเครือข่ายฯที่มาร่วมกิจกรรมพัฒนาแปลงต้นแบบ ในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมี อย่างถูกวิธี เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี ลดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม และใช้ปุ๋ยเคมีให้ตรงกับความต้องการของต้นยางพาราอย่างแท้จริง และสอนเการทำสารจับใบใช้เองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารจับใบและนำมาใช้ร่วมกับสารชีวภัณฑ์โดยสารจับใบนี้จะมีประสิทธิภาพที่ไม่ทำให้ปากใบปิดจนทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ลดการใช้สารเคมีทำให้สิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยขึ้นและคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิกเครือข่ายฯ ร่วมกันพัฒนาแปลงต้นแบบให้พร้อมในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ศึกษาดูงานและอบรมต่อไป

 

ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร 9 ก.ย. 2565 9 ก.ย. 2565

 

ส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร

 

ส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร

 

จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 2 23 ก.ย. 2565 23 ก.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน 1 เปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี(ด้านการทำสารชีวภัณฑ์) 2 อบรม เรื่องการวิเคราะห์ใบยาง โดยนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร 3 อบรม เรื่องโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โดยนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร

 

วันที่ 23 กันยายน 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี พร้อมทั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ ร่วมกันจัดกิจกรรม จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ที่สวนยางพาราของนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 ม. 1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร โดยการจัดตั้งและถ่ายทอดความรู้ของศูนย์เรียนรู้หลัก โดยได้รับเกียรติจาก นายเฉลิม พวงแก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย สาขาเมืองชุมพรและนายสมศักดิ์ ปุณมณี นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพรมาร่วมการเปิดศูนย์เรียนรู้การทำสวนยางยั่งยืน และในครั้งนี้ นายสมศักดิ์ ปุณมณี ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรมการตรวจวิเคราะห์หาความผิดปกติของต้นยางพาราโดยการวิเคราะห์จากใบยางพารา สมาชิกเครือข่ายที่เข้าร่วมการเปิดศูนย์ได้เรียนรู้การวิเคราะห์แล้วลองหาใบยางในสวนนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี มาวิเคราะห์ดูด้วยตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ต้นยางพาราในแปลงยางพาราของตนเอง หลังจากนั้นนายสมศักดิ์ ปุณมณี ได้ให้ความรู้เรื่องโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ลักษณะอาการของโรคใบร่วงชนิดใหม่มีรอยช้ำค่อนข้างกลมบริเวณใต้ใบ ผิวใบด้านบนมีสีเหลือง ต่อมาเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวจะมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ใบร่วงในสุดโดยโรคใบร่วงนี้เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อรา ซึ่งเชื้อราที่ทำให้ใบร่วงสามารถกระจายได้โดยลมและฝน ยังสามารถไปยังพืชที่ปลูกร่วมยางได้อีกด้วย ในการควบคุมโรคใบร่วงชนิดนี้มี 2 วิธีในการควบคุม 1.ใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคที่สะสมอยู่ในดิน เช่น เชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดสด) 1 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม และรำ 4 กิโลกรัม ผสมเข้าด้วยกัน โดยหว่านให้ทั่วแปลงหรือ ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ผสม น้ำ 100 ลิตร โดยฉีดให้ทั่วแปลง 2. ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อราตามคำแนะนำของการยางแห่งประเทศไทยและกรมวิชาการเกษตร

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่3) 12 ต.ค. 2565 12 ต.ค. 2565

 

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน
1.ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงาน(ครั้งที่3) เพื่อสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา 2.วางแผนออกสำรวจแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอละแม เพื่อขยายแปลงต้นแบบเพิ่มเติม

 

วันที่ 12 ตุลาคม 2565 นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการฯและประธานคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อสรุปผลข้อมูลการดำเนินงานในครั้งที่ผ่านมาโดยได้มีการลงพื้นที่สำรวจแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 2 แปลง ซึ่งประกอบไปด้วย
1) แปลงของนางพรรณวดี รักษา ปลูกยางพาราในพื้นที่ 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.ลสวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกไม้ผลประเภท มังคุด ลองกอง ร่วมในสวนยางพารา โดยนางพรรณวดดี รักษาได้ให้ข้อมูลว่าในแต่ละปีจะมีผลผลิตของมังคุดและลองกอง ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้นอกเหนือจากการทำสวนยางพาราเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท ซึ่งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯได้ลงมติให้เป็นแปลงต้นแบบเพิ่มเติมเพื่อใช้องค์ความรู้ในการทำสวนยางร่วมกับไม้ผลให้แก่สมาชิกต่อ 2) แปลงของนางธัญญาผล ชลสาคร ปลูกยางพาราในพื้นที่ 10 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ในสวนยางพาราได้ปลูกผักเหลียงไว้กลางร่องแถวยาง และมีโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง โดยนางธัญญาผล ชลสาครได้ให้ข้อมูลว่ามีรายได้เพิ่มจากผักเหลียง ประมาณเดือนละ 1,000 บาท และรายได้จากโรงเพาะเห็ดดฟางประมาณเดือนละ 5,000 บาท คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯจึงได้เห็นถึงความเหมาะสมในการเป็นแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืน เพื่อนำองค์ความรู้ในด้านการปลูกพืชร่วมยางไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกเครือข่ายฯต่อไป และได้วางแผนการออกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแปลงต้นแบบให้ครบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป

 

การติดตามและประเมินผลลัพธ์ Node Flagship Chomphon# 2 31 ต.ค. 2565 31 ต.ค. 2565

 

โครงการชุมชน/กลุ่มเครือข่ายชุมพร ร่วมทำแผนปฎิบัติการติดตามประเมินผลลัพธ์โครงการ Node Flagship Chumphon # 2 1. แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ต่างๆของจังหวัดชุมพร 2. แลกเปลี่ยนเรื่องความก้าวหน้าและปัญหาในการทำโครงการทั้ง 25 โครงการ

 

คุณทวีวัตร เครือสาย นายกสมาคมประชาสังคมชุมพรได้พูดถึงเรื่องการสร้างสุขภาวะที่ดีในจังหวัดชุมพรพร้อมเชิญผู้รับผิดชอบโครงการ 3 ท่าน ขึ้นบนเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละพื้นที่ หลังจากนั้นพี่เลี้ยงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้รับผิดชอบและคณะทำงานโครงการร่วมสรุปกิจกรรมของทั้ง 25 โครงการที่ได้ทำกิจกรรมผ่านไปแล้วนั้น ส่วนของโครงการสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพรได้ดำเนินการ คือ สมาชิกเครือข่ายฯได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการรเครือข่ายฯขึ้นมาดำเนินงานและคณะทำงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมให้มีศักยภาพในการดำเนินการทำให้เกิดกลไกความร่วมมือกันของสมาชิกเครือข่ายในพื้นที่เกิดการพัฒนาแปลงต้นแบบและขยายผลองค์ความรู้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืน จำนวน 3 ศูนย์และสามารถคัดเลือกแปลงต้นแบบเพิ่มเติมในพื้นที่ได้อีก 6 แปลง ทั้งนี้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร ยังบูรณาการความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดชุมพร ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร , การยางแห่งประเทศไทย สาขาเมืองชุมพร และสาขาท่าแซะ , สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อขยายผลองค์ความรู้ให้กับคณะทำงานขับเคลื่อนฯและสมาชิกเครือข่ายฯ

 

ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ 1 พ.ย. 2565 1 พ.ย. 2565

 

ส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ

 

ส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ

 

จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 3 7 พ.ย. 2565 7 พ.ย. 2565

 

วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน 1.เพื่อเปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายฉลองชาติ ยังปักษี
2.อบรมเรื่องการผลิตสารชีวภัณฑ์โดย นางสาวบุบผา สมาธิ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ

 

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกเครือข่ายร่วมกันเปิดศูนย์เรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนของนายเฉลิม ยังปักษี ณ บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่15 ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ นำโดยนางสาวบุบผา สมาธิ นักวิชาการส่งเสริมเกษตร พร้อมคณะฯ มาให้การฝึกอบรมสมาชิกเครือข่ายในพื้นที่เรื่องการผลิตสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมธาไรเซี่ยม ลดการใช้สารเคมีทำให้สิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยขึ้นและคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิกเครือข่ายฯ ร่วมกันเปิดศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายสวนยางยั่งยืนในศึกษาดูงานและอบรมให้กับสมาชิกเครือข่าย พร้อมเกษตรกรทั่วไปที่สนใจต่อไป

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1(ครั้งที่ 4) 10 พ.ย. 2565 10 พ.ย. 2565

 

  1. ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯร่วมด้วยภาคีเครือข่ายฯสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมาและกำหนดวันในการจัดกิจกรรมที่ 6 จำนวน 3 ครั้ง
  2. เพื่อวางแผนออกสำรวจแปลงต้นแบบการทำสวนยางอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอละแม

 

  1. ได้สรุปผลข้อมูลการดำเนินงานในครั้งที่ผ่านมา และกำหนดวันในการทำกิจกรรมที่ 6  จำนวน 3 ครั้ง  ดังนี้  ครั้งที่ 1 การจัดการผลผลิต การแปรรูป สินค้า และ บรรจุภัณฑ์ จัดกิจกรรมในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2  การจัดการมาตรฐานแปลงเกษตร และมาตรฐานสินค้า จัดกิจกรรมในวันที่  21  มีนาคม พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 3 การยกระดับเป็นผู้ประกอบการชุมชน และเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ จัดทำกิจกรรมในวันที่ 22  มีนาคม พ.ศ. 2566
  2. ได้รับสมาชิกแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 2 แปลง ได้แก่
    •  แปลงของนายวิชิต แตงเลี่ยน การทำสวนยางร่วมกับผักเหลียง ทำโคกหนองนา •  แปลงของนายจำนงค์ แก้วอ่อน การทำสวนยางร่วมกับผักเหลียง
  3. ได้วางแผนการออกสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานแปลงต้นแบบเพิ่มเติม
  4. ได้วางแผนการดำเนินการทำกิจกรรมครั้งต่ออีกด้วยสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างสมาชิกและคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่1 (ครั้งที่ 5) 12 ธ.ค. 2565 12 ธ.ค. 2565

 

  1. ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ  เพื่อสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา
  2. จัดการวางแผนการและกำหนดวันจัดทำกิจกรรมที่ 7  จำนวน 2 ครั้ง

 

  1. ได้สรุปผลข้อมูลการดำเนินงานในครั้งที่ผ่านมา
  2. ได้รับสมาชิกแปลงต้นแบบเพิ่มเติม จำนวน 2 แปลง ได้แก่
    •  แปลงของนายอนันต์  สิทธิฤทธิ์  การทำสวนยางร่วมกับผักเหลียง การเลี้ยงปลา •  แปลงของนางยินดี พันธ์เลิศ  การทำสวนยางร่วมกับการปลูกผักสวนครัวและผักเหลียง
  3. ได้วางแผนการดำเนินการทำกิจกรรมที่ 7  จำนวน 2 ครั้ง  ดังนี้ ครั้งที่ 1  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างความเข้าใจและการจัดการตลาด 4 ช่องทาง(ชุมชน,ออนไลน์,อีเว้นท์,พรีออเดอร์) วันที่  23 มีนาคม  พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  การเขียนแผนธุรกิจ และเขถึงแหล่งทุน วันที่  24  มีนาคม พ.ศ. 2566

 

จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 1) 19 มี.ค. 2566 19 มี.ค. 2566

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้การจัดการผลผลิต  การแปรรูป สินค้าเพื่อการบริโภค  โดยมีวิทยากร  นางวราลักษณ์  สุขศรี  อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร เป็นผู้ฝึกอบรมเรื่องการแปรรูปเนื้อหมู โดยการทำแหนมหมู  และไส้กรอกอีสาน 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปได้เรียนรู้ การนำผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปมาตกแต่ง และเพิ่มมูลค่าโดยการใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง)และเกษตรทั่วไป ได้เพิ่มเติมการเรียนรู้ในเรื่องการจัดการผลผลิต การแปรรูป สินค้า และบรรจุภัณฑ์ 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง)และเกษตรทั่วไปได้เรียนรู้การแปรรูปอาหาร เพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดชุมชน ก่อให้เกิดรายได้เสริม นอกเหนือจากรายได้หลักในการทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว

 

การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่ 20 มี.ค. 2566 20 มี.ค. 2566

 

1.รายงานผลการดำเนินงาน ตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการให้สมาชิกทราบทั้งกิจกรรมที่ทำแล้วและกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป 2.รายงานผลการดำเนินการตามโครงการให้ นาย ณรงค์ เพชรพิศาล เกษตรอำเภอละแม ได้รับทราบถึงที่มาของโครงการ
3.นายณรงค์  เพชรพิศาลได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมที่จะดำเนินการครั้งต่อไป

 

วันที่ 20 มีนาคม  พ.ศ.2565  นายอดิศักดิ์  ยมสุขขี ประธานและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร และสมาชิกเครือข่าย ร่วมกันจัดทำ ARE กันในพื้นที่ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอละแม  จ.ชุมพร โดยมีนายณรงค์  เพชรพิศาล เกษตรอำเภอละแม เป็นประธานในงาน โดยนายอดิศักดิ์ ยมสุขขี ได้รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมของเครือข่ายสวนยางยั่งยืนให้นายณรงค์  เพชรพิศาล  ทราบและได้ของอนุญาติในการใช้สถานที่ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปตามแผนงานโครงการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนยางให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกและพัฒนาไปสูผู้ประกอบการชุมชนได้  ทั้งนี้นายณรงค์  เพชรพิศาล  ได้ให้ความรู้แก่คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯและสมาชิกในการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพและทางสำนักงานเกษตรอำเภอละแมยินดีที่จะให้สมาชิกเครือข่ายฯและเกษตรกรทั่วไปจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนต่อไป  โดยให้โอวาทให้มีประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรมต่อไป

 

จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 2) 21 มี.ค. 2566 21 มี.ค. 2566

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้การปลูกพืชระบบ GAP  และเรียนรู้ประโยชน์จากการทำ ระบบ  GAP พืช
2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปเรียนรู้การจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐาน FSC
3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปเรียนรู้การวิเคราะห์ดินจากชุดตรวจสอบคุณภาพดินเพื่อให้พร้อมสำหรับการเตรียมแปลงเกษตร โดย นางสาวภัคจิรา  อับดลร่าหีม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอละแม ให้เกียรติเป็นวิทยากร

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ในเรื่องการเตรียมพื้นที่ การเตรียมพันธ์พืช การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การขนส่ง การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต้องตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้จัดการผลผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดภัยเป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้า รักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความยั่งยืน 3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้ทราบถึงกระบวนการการจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐาน FSC  เช่น การจัดการ 4.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้ฝึกปฏิบัติการการตรวจวิเคราะห์ดิน ตามแบบชุดวิเคราะห์ดิน ตรวจสอบค่า N P K กรดด่างเพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

 

จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 3) 22 มี.ค. 2566 22 มี.ค. 2566

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้วิธีการในการพัฒนาตนเองและเครือข่ายให้เป็นผู้ประกอบการชุมชน และเรียนรู้มาตรฐาน GMP  และ  อย.
2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ 3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน โดยนางจุฑาทิพย์  ไชยสอน  นักวิชาการการเกษตรชำนาญงาน สำนักงานเกษตรอำเภอละแม เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้และเข้าใจการผลิตสินค้าประเภทอาหารให้ปลอดภัย เพื่อขอรับรองมาตรฐาน GMP เพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มุ่งเน้นความปลอดภัยและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้และเข้าใจการผลิตสินค้าประเภทอาหารให้ปลอดภัย เพื่อขอรับรองมาตรฐาน อย. โดยมีมาตรฐานการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย เพื่อยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการชุมชนและพัฒนาสู่ความยั่งยืนทางด้านรายได้เสริมในการยื่นจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน

 

ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกร กิจกรรมที่ 7(ครั้งที่ 1) 23 มี.ค. 2566 23 มี.ค. 2566

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไป เรียนรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการหลังการขาย
2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปเรียนรู้ด้านการตลาดสินค้าเกษตรทั้ง 4  ช่องทาง (ชุมชน ,ออนไลน์ , อีเว้นท์ , พรีออเดอร์ ) โดย นางสาวจารินี  วังสว่าง และนายถิรวุฒิ  หนูเสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอละแม ให้เกียรติเป็นวิทยากร

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ในเรื่องการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และบริการหลังการขาย 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจในการจัดการตลาดแบบออนไลน์ โดยการสร้างเพจ หรือหน้าร้านทางช่องทางออนไลน์ เช่น FACEBOOK , TikToK เป็นต้น 3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจในการจัดการตลาดชุมชน เช่น ตลาดนัด , ตลาดหน้า ธกส. , ตลาดหน้าศูนย์ราชการ เป็นต้น 4.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจในการจัดการตลาดในรูปแบบอีเว้นท์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการออกบูธ แสดงสินค้าทำให้เกิดรายได้และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 5.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ทำความเข้าใจในการจัดการตลาดรูปแบบพรีออเดอร์  โดยการขายแบบรับออเดอร์ไว้ก่อนค่อยผลิตสินค้าส่งภายหลัง

 

ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกร กิจกรรมที่ 7(ครั้งที่ 2) 24 มี.ค. 2566 24 มี.ค. 2566

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปฝึกอบรมการทำแผนธุรกิจ
2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชาวสวนยาง) และเกษตรกรทั่วไปอบรมและทำความเข้าใจช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุนที่จะมาสนับสนุนการทำธุรกิจ โดย  นางสาวจารินี  วังสว่าง และ  นายถิรวุฒิ  หนูเสน  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอละแม ให้เกียรติเป็นวิทยากร

 

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้ในเรื่องการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายได้โดยการวางแผนการตลาด การวางแผนการเงิน และการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ 2.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้เรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจ เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้ของความสำเร็จ สำหรับการลงทุน เพื่อขอกู้สินเชื่อเพื่อการประกอบการธุรกิจ 3.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ สมาชิก และเกษตรทั่วไป ได้รู้จักการลำดับความสำคัญของการทำธุรกิจว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

 

จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่ 6) 25 มี.ค. 2566 25 มี.ค. 2566

 

  1. ประชุมสมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ และคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯสรุปผลกิจกรรมที่ได้ทำร่วมกัน
  2. รวบร่วมผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเพื่อนำไปแสดงในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day)เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่
  3. กำหนดวันในการรับมอบเกียรติบัตรของผู้ผ่านการฝึกอบรมในกิจกรรมที่ 6 และกิจกรรมที่ 7

 

  1. ได้สรุปผลการทำกิจกรรมที่ 6 และ  กิจกรรมที่ 7  ร่วมกัน
  2. ได้รวบร่วมผลผลิตภัณฑ์ของสมาชิกเพื่อนำไปแสดงสินค้าในวันงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day)เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ เพื่อเปิดตลาดในอำเภอละแม 3.  กำหนดวันในการรับมอบเกียรติบัตรของผู้ผ่านการฝึกอบรมในกิจกรรมที่ 6 และกิจกรรมที่ 7
    ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2566 โดยรับมอบจากนายสุนทร  จอมเมือง นายอำเภอละแม ในวันงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field Day)เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่

 

หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 30 มี.ค. 2566 30 มี.ค. 2566

 

ยืมเงินหัวหน้าโครงการเพื่อเปืดบัญชี

 

ทำการคืนเงินหัวหน้าโครงการจำนวน 500 บาทที่สำรองเปิดบัญชี

 

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและทำเอกสารการเงินโครงการ 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและทำเอกสารการเงินโครงการ

 

ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและทำเอกสารการเงินโครงการ