task_alt

โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

ชุมชน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

รหัสโครงการ 65-00-0144-0011 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2565 ถึงเดือน กันยายน 2565

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 10 คน
1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ
- เพื่อให้คณะทำงานได้รู้ถึงวัตถุประสงค์ที่จะขอโครงการนี้
2 วิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา จากสถานการณ์ปัจจุบัน
-คนอายุ 40 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และโรคหลอดเลือดสมอง
-ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
-ขาดการออม
-ไม่ได้เตรียมตัวเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย
- บ้านและบริเวณบ้านไม่ปลอดภัย
- ขาดข้อตกลงของชุมชน
3 ร่างบันไดผลลัพธ์
-กลไกลคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเข้มแข็ง ได้แก่ การสร้างทีม
-สภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ได้แก่ การมีกติกาในการดูแลสุขภาพ และคัดเลือกร้านค้าที่มีความพร้อม
-พฤติกรรมสำคัญเตรียมรองรับ 4 มิติ ได้แก่ การจัดอบรมให้ความรู้ และ จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง
-คุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ได้แก่ คัดกรองความเสี่ยง
- นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ได้แก่ ทำข้อตกลงของชุมชนพร้อมประกาศใช้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ร่างบันไดผลลัพธ์ และวิเคราะห์ต้นไม้ปัญหา ณ รพ.สต.บ้านมดตะนอย

 

0 0

2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เงินยืมทดลองเปิดบัญชี

 

0 0

3. เวทีปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวจิรารัตน์ แก้พิทักษ์ 2.นายอนุรักษ์ หวันมุสา 3.นายมะหมีด ทะเลลึก 4.นายณัธวัฒน์ ทะเลลึก 5.นางสาววันดี โปสู่ 6.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก และ 7.นางหนึ่งหทัย สกุลส่องบุญศิริ-รพ.สต.บ้านมดตะนอย โดยมีการร่วมทำ MOU และทำข้อตกลงร่วมกันโดยมี รองนายก อบต เกาะลิบง-นายอนุรัษ์ หวันมุสา และ รองปลัดอบต.-นางสาวจิรารัตน์ แก้วพิทักษ์ ได้ลงบันทึกทำข้อตกลงร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสำหรับโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลเกาะลิบง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • นำเสนอต้นไม้ปัญหาของชุมชนต่อการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  • นำเสนอบันไดผลลัพธ์
  • พิธีลงนามความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ พื้นที่จังหวัดตรัง

ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

 

3 0

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ชุมชนบ้านหาดยาว, บ้านมดตะนอย, สุไหลบาตู และคณะทำงาน

เริ่นต้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมชมวีดีโอเรื่องสั้นที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยในอนาคต
- ให้ทีมคณะทำงานพูดสะท้อนเรื่องในวีดีโอ
ตัวแทน ม.3 ผู้เข้าร่วม 1) นายมะหมีด ทะเลลึก 2) นายณัฐวัฒน์ ทะเลลึก 3) นายบุหลาด พระคง 4) นางสาระ ทะเลลึก 5) นางสาวนงนุช ติ่งเก็บ
6) บานชื่น หาผล 7) ร่อหยำ ติ่งเก็บ 8) เพ็ญผกา ทะเลลึก 9) วันดี โป่สู่ 10) นางสาว บุหลัน ติ่งเก็ม
ม.8 บ้านสุไหงปาตู ผู้เข้าร่วม 1) พัชรมัย จิม้ง 2) วิภาดา หวังดี 3) รอแม๊ะอะ บูเบี้ยว 4) ธัญลักษ์ เม่งจิ
ม.6 บ้านห่ดยาว ผู้เข้าร่วม 1) สมทรง จันทร์แดง 2) นาถยา หาดเด็น 3) อรดี หะหวา 4) สุนารี เพ็ชร์สวัสดิ์
จะบุหลัน พูดเรื่องการออม เราไม่จำเป็นต้องออมเงินอย่างเดียว ถ้าเรามีทองหรือมีวัวก็ถือว่าเป็นการออม
ตัวแทน ม. 8 จะยอร่า พูดว่า พอดูวีดีโอแล้ว อยากทำการออม เดิมเขามีทุนอยู่แล้ว คือ ต้นยางพารา และ อยากออมเป็นเงินเสริมไปด้วย ตัวแทน ม.6 จะย๊ะ พูดว่า ทำให้เรารู้ว่า ระยะเวลาก่อนที่จะถึงวัยผู้สูงอายุต้องมีการวางแผนในการใช้ชีวิต
ผู้ใหญ่ พูดว่า 2 เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ คือ กระดานเศรษฐกิจเราจะต้องมีข้อมูลให้พร้อม และ สุขภาพสำคัญคนในชุมชนต้องออกกำลังกาย
ตัวแทนผู้สูงอายุ นายบุหลาด พระคง สะท้อนให้ทีมฟังว่า จากเดิมเคยเป็นผู้ป่วยติดเตียงมา 2 ปี คิดมาตลอดว่าทำให้เป็นภาระของลูกหลาน
และลำบากในการใช้ชีวิตปัจจุบันมาก จำทำให้อยากลุกขึ้นมาสู้โดยมีกำลังใจจากลูกและญาติๆที่มาเยี่ยม ทำให้แกสามารถเดินไปไหนมาไหนด้วยตัวเองได้
หมอหนึ่งหทัย ส่องสกุลบุญศิริ พูดเรื่องการค้นหากลุ่มเป้าหมาย ชุดข้อมูล 4 มิติ
- นำข้อมูลลงแอปพลิเคชั่น
- บทเรียนของการทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ร่างกำหนดการประชุมย่อยระดับพื้นที่ ร่วมกับทีมโหนดเฟลกชิพตรัง
  • ให้ดูวีดีโอเรื่องสั้นที่จะเป็นสูงวัยในอนาคต
  • ค้นหากลุ่มเป้าหมายชุดข้อมูล 4 มิติ

ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านมดตะนอย

 

0 0

5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่1 (อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวละม้าย พระคง 2.นายบุญโชค หวังดี 3.นางหย๊ะ หมาดตุด และ 4.นายมะหมีด ทะเลลึก

  • คณะทำงานมีความเข้าใจแนวคิดสังคมสูงวัย คือ สังคมที่มีประชากร 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับการเข้าสู่สังคมสูงวัย ระดับสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ และ สังคมสูงวัยระดับสุดยอด
  • เห็นด้วยกับการจัดตั้งรำวงผู้สูงอายุ (เรียกว่า รำวง 3 ส สุขภาพ สนุก สามัคคี) และการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ให้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ให้มีอาสาสมัครมานำทำกิจกรรม
    ส่งเสริมผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมเป็นของตัวเอง และให้จัดตั้งอาสาสมัครชุมชนเยี่ยมผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบสังคมสูงวัย : การเตรียมรองรับสังคมสูงวัยใน 4 มิติ

  • การทำความเข้าใจความหมายของสูงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
  • การหารือการจัดตั้งรำวงผู้สูงอายุ

ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ม.อ.ตรัง

 

3 0

6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ประกอบด้วย ตัวแทน อ.ส.ม. และคณะทำงาน

  • ผู้เข้าร่วมประชุมทราบความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการทำโครงการเตรียมรองรับสูงวัย
  • หาทีมว่าจะเอากี่คนเป็นคณะทำงาน และ จะเอาในกลุ่มไหน
    ประธาน อสม ม.6 ได้เสนอว่า ให้เอาผู้นำ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทน อสม ทั้ง 3 หมู่บ้าน ทุกคนเห็นด้วย และตกลงจะช่วยการหาทีม เพื่อทำโครงการนี้
  • ตัวแทน อสม.8 โซน โซนละ 2 คน 16 คน
  • อบต 3 หมู่ 3 คน
  • ผู้นำศาสนา 3 คน
  • ผู้ใหญ่บ้าน 3 หมู่ 3 คน
  • ตัวแทน ผู้สูงอายุ 3 หมู่ 3 คน
  • ตัวแทน เจ้าหน้าที่ อบต 5 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อจัดหาทีมที่จะมาเป็นคณะกรรมการในการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต.เกาะลิบง ณ ท่าเรือบ้านหาดยาว

 

0 0

7. ให้ความรู้ระดับครัวเรือนเรื่องการปรับ สภาพบ้านให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 คน
- ช่างอบต.1 นายบัญชา คงแก้ว
- ช่าง ม.3 2 คน นายลีเซ็น ช้างน้ำ กับ นายประทีป แหลมเกาะ
- ช่างม.8 2 คน นายบุญโชค หวังดี และ นาย เสฎฐวุฒิ หมาดทิ้ง และผู้ใหญ่บ้าน ม.3 นายณัฐวัตน์ ทะเลลึก
เป้าหมายในการอบรมครั้งนี้ คือ ให้ช่างที่มีอยู่ในชุมชนมีมุมมองด้านความปลอดภัย สามารถเป็นที่ปรึกษาของชุมชนในการจัดสถานที่ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • อบรมช่างชุมชน ที่วัดไร่พรุ ห้วยยอด โดยมีวิทยากร อบรมคือ อาจารย์ตรีชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสภาพแวดลอม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำคณะทำงาน และช่างในชุมชน
  • อบรมเชิงปฎิบัติการช่างท้องถิ่นและบุคลากรด้านสวัสดิการสังคมในการปรับสภาพแวดล้อมบ้านพักอาศัยและอาคาร

ณ อาคารโรงเลี้ยงเก่า วัดไร่พรุ

 

0 0

8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่2 (ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการย่อยในการใช้โปรแกรม canva และรายงานกิจกรรมและบันทึกรายงานการเงินในระบบ www.happynetwork.org)

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1.นางสาววันดี โปสู่ 2.นางสาวเพ็ญผกา ทะเลลึก 3.นางสาวปู่เตะ หาดเด็น และนางสาวนงคราญ ติ่งเก็บ

  • มีอาจารย์สอนการใช้โปรแกรม Canva เพื่อเป็นการนำเสนองานและประชาสัมพันธ์งานที่ทำให้มีใจความสำคัญและน่าอ่าน ได้ลองหัดใช้โปรแกรมและลองเขียนเรื่องในโครงการ 1 เรื่อง
  • แกนนำคณะทำงานโครงการฯสามารถใช้โปรแกรม canva ในการสรุปกิจกรรมที่ใส่ภาพและข้อความ
  • แกนนำคณะทำงานโครงการสามารถเข้าสู่ระบบรายงาน www.Happynetwork.org พร้อมกัน และได้หัดลองคีย์งานเข้าไป 1 เรื่อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมการใช้โปรแกรม Canva เพื่อสรุปกิจกรรมที่มีการดำเนินการที่ประกอบด้วยภาพและข้อความ และใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การทำงาน รวมถึงการบันทึกงานใน www.Happynetwork.org ทั้งรายงานกิจกรรมและรายงานการเงิน ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 39 8                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 120,000.00 19,084.00                  
คุณภาพกิจกรรม 32                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ต.ค. 2565 )
  2. อบรมให้ความรู้ ( 1 ต.ค. 2565 - 6 ส.ค. 2566 )
  3. สำรวจ จัดเก็บ ฐานข้อมูล เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ๔ มิต ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  4. จัดทำกติกาชุมชนในการดูแลสุขภาพเพื่อ รักษาสุขภาพให้ปลอดโรคปลอดภัย สูงวัย แข็งแรง ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  5. ค้นหาบุคคลต้นแบบ ร้านค้าต้นแบบ ใน การสร้างสุขภาพ ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  6. ส่งเสริมการจัดกิจกรรม กลุ่ม ส่งเสริมการออม ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  7. ติดตามเยี่ยมเสริมพลัง กลุ่มติดเตียง โดยการมีส่วนร่วม ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  8. จัดทำบัญชี ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  9. การประสานงานและจัดทำรายงานโครงการ ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  10. จัดทำป้ายปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ก.ค. 2566 )
  11. จัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินโครงการ ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ต.ค. 2566 )
  12. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่1 ( 1 ต.ค. 2565 - 31 ต.ค. 2565 )
  13. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 ( 1 พ.ย. 2565 - 30 พ.ย. 2565 )
  14. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 ( 1 พ.ย. 2565 - 1 ก.ค. 2566 )
  15. เวทีสะท้อนผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)ระดับจังหวัด ครั้งที่ 2 ( 1 พ.ย. 2565 - 31 มี.ค. 2566 )
  16. เวทีแลกเปลี่ยนรู้กับ สสส. ( 1 พ.ย. 2565 - 31 มี.ค. 2566 )
  17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 ( 1 ธ.ค. 2565 - 31 ธ.ค. 2565 )
  18. ลงพื้นที่เยี่ยมประเมิณบ้านผู้สูงอายุ ( 25 ธ.ค. 2565 )
  19. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 ( 1 ม.ค. 2566 - 31 ม.ค. 2566 )

(................................)
นายมะหมีด ทะเลลึก
ผู้รับผิดชอบโครงการ