task_alt

โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

ชุมชน ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-19 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงาน 2 คน ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการข้อมูล การจัดทำรายงานในระบบ คนสร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่วยงานจัดการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 พื้นที่ภาคใต้ สนับสนุนโดยสำนักสร้างสรรค์โอกาส สสส. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยมีความรู้และความเข้าใจในหัวข้อ การทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการที่รับทุน การบริหารจัดการโครงการ (การจัดการข้อมูล,การรายงานผลข้อมูล) และแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการ โดยวันแรก (17/09/2565) ช่วงเช้ามีการกล่าวต้อนรับ และหัวหน้าโครงการชี้แจงนำเสนอกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังร่วมกันระหว่างหน่วยจัดการ และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โดย นางนฤมล ฮะอุรา และได้ทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมของโครงการ การเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรม และการทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดรายกิจกรรม โดยมีพี่เลี้ยงร่วมกันการคลี่โครงการ ช่วงบ่ายมีการทำความเข้าใจเรื่อง ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ การทำความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ทางการเงิน และการจัดเก็บข้อมูลเป้าหมาย และแนวทางการนำข้อมูลไปสนับสนุนการทำงาน โดยมีพี่เลี้ยงร่วมด้วยตลอดกิจกรรม ในวันที่สอง (18/09/2565) ทำความเข้าใจระบบการรายงานกิจกรรม และรายงานการเงินผ่านระบบออนไลน์ โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ และทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการย่อย ว่าด้วยระเบียบและข้อบังคับทางการเงิน โดยทีมหน่วยจัดการ และปิดกิจกรรม โดย คุณนฤมล ฮะอุรา

 

2 0

2. ถอนเงินฝากเปิดบัญชี

วันที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ถอนเงินฝากเปิดบัญชี 500 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินฝากเปิดบัญชี 500 บาท

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานทั้ง 10 คน ได้มีความรู้ ความเข้าใจทุกสัดส่วนในตัวกิจกรรมโครงการฯ คณะทำงาน 10 คน รู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง เกิดการเปลี่ยนวิธีคิด เช่น มีความอยากปลูกผักมากขึ้น อยากมีการออม อยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการฯ อยากพัฒนาศักยภาพตนเองมากยิ่งขึ้น มีการแบ่งปันองค์ความรู้ประสบการณ์และเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจกันและกันมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนสำหรับคณะทำงาน 10 คน
  • ประธานโรงการฯแนะนำพี่เลี้ยง คุณกัลยา เอี่ยวสกุลและแนะนำตัวผู้เสนอโครงการฯและคณะทำงาน
  • ประธานโครงการชี้แจงรายละเอียด กิจกรรมในโครงการ กระบวนการจัดกิจกรรมในกิจกรรมโครงการ และแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละคน อีกทั้งยังคลี่โครงการฯ และตัวชี้วัด ผลลัพธ์ของแต่ละกิจกรรม -พี่เลี้ยงให้คำแนะนำ แนวทาง และอธิบายรายละเอียดตัวโครงการให้เข้าใจง่ายขึ้น ยกตัวอย่างแผนการดำเนินงาน แผนกการเงิน แผนการใช้ชีวิต ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวพร้อมให้พลังบวกกับคณะทำงาน 10 คน

 

10 0

4. ทำไวนิล

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายไวนิล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

สั่งทำไวนิลโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ และบันไดผลลัพธ์ของกิจกรรมทั้งหมด ให้ได้ใช้ตลอดทั้งโครงการ

 

0 0

5. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานทั้ง 10 คนได้มีเข้าใจในวัตถุประสงค์ กิจกรรมโครงการฯมากขึ้น พร้อมสามารถปฎิบัติตามแผนงาน เกิดความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่มากขึ้น มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่กังวล  เริ่มมีความกล้าแสดงออก ผ่านการตั้งคำถามกับพี่เลี้ยง มีการจดบันทึกในภารกิจงานตามบทบาทหน้าที่ตนเอง รู้จักเครื่องมือการทำงาน และ พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารการกิน เพื่อเปนแบบอย่างให้กลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี คณะทำงานได้เตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ กระดาษชาร์ท ปากกาหมึก กระดาษโพสต์อิท
เริ่มต้นด้วยการประธานโครงการฯแนะนำพี่เลี้ยงให้กับทีมคณะทำงานโครงการ 10 คน พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมโครงการฯและดำเนินการพูดคุยในวงการประชุมและแนะนำคณะทำงาน 10 คน มอบให้ทีมคณะทำงาน 10คน แนะนำตัวเอง ตามบทบาทหน้าที่ในกิจกรรมโครงการฯ พี่เลี้ยงแนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการและชวนคุยเพื่อทำการคลี่แผนงานโครงการ คลี่บันไดผลลัพธ์โครงการฯร่วมกันระหว่างแกนนำชุมชม มีการแลกเปลี่ยน ซักถามประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในการทำงานเพื่อนำสู่การปฏิบัติงานได้จริง ตามแผนกิจกรรมโครงการฯ พี่เลี้ยงชวนตั้งวงการพูดคุยก่อนเริ่มดำเนินงาน แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ทำความเข้าใจในแต่ละบทบาทหน้าที่ พี่เลี้ยงได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประเมินผลครั้งนี้เพิ่มเติมให้เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาในการปรับแผนการดำเนินงานในงวดต่อไป พร้อมชวนคณะทำงาน 10 คนวิเคราะห์ตนเองในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น ทีมแกนนำ ทีมคณะทำงาน ทีมกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการฯที่เข้าร่วม พร้อมให้มีการนำเสนอผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานที่ทำงานกัน หลายคนสะท้อน ถึงปัญหาเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกัน ประสบการณ์และความสามารถในด้านต่างๆ ยังไม่มีมากพอ มีความกังวล กับกิจกรรม โครงการฯในเรื่องความสำเร็จ ผลลัพธ์ ของโครงการที่จะได้รับ แนวทาง การแก้ไข คณะทำงานได้สะท้อนถึงประเด็นสำคัญการสื่อสารด้วยภาษามลายูถิ่นในการชวนเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงาน ประธานโครงการเป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ต้องช่วยเป็นพี่เลี้ยงเกาะติด กับคณะทำงาน 10 คน รวมถึงสร้างพลัง สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมาย ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ่ายทอดทักษะต่างๆ ให้กับทีมงานได้ในระดับหนึ่ง ประธานโครงการฯ ได้ชวนพูดคุยเพื่อคลายความกังวล และนัดจัดวงเฉพาะเพื่อนสอนงานให้กับทีมงานบางคน ที่ยังไม่เข้าใจ สุดท้ายพี่เลี้ยงสรุปการประเมินผล เพื่อเป็นการทบทวน ปรับแผนการดำเนินงานให้กับแกนนำ คณะทำงานสรุปนัดหมายการประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมายครั้งต่อไป

 

0 0

6. เวทีชี้แจงโครงการ ประชาสัมพันธ์โครงการแก่คนในชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ เช่น แกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกษตร ประมง

วันที่ 21 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หน่วยงานในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายและคนในชุมชนได้เข้าใจรายละเอียดโครงการฯ อย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน กลุ่มเป้าหมาย ที่มาร่วมงาน จำนวน 50 คน -ประธานโครงการฯ แนะนำตัวคณะทำงานและหน่วยงานราชการที่เข้ามาร่วมในกิจกรรมงาน
  • ประธานโครงการฯชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในกระบวนการทำงานและเนื้อหาในกิจกรรมโครงการฯ และเปิดเวทีแลกเปลี่ยน
  • ประธานโครงการฯ เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านกระบวนการทำงาน ข้อจำกัดเงื่อนไข ของหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องเดินหน้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี เจ้าหน้าที่จากอพเภอปะนาเระ กล่าวถึง กระบวนการทำงานของสรตีชาวเลเกิดการพัฒนาไวมาก เพราะมีแกนนำที่เก่ง เป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาพื้นที่ปะนาเระ ได้ดี ตัวแทนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าวถึง อยากให้ ขยายกลุ่มเป้าหมาย เพื่อแต่ละหมู่บ้านได้ มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้านด้วยในอนาคต ตัวแทนจาก กศน.อำเภอปะนาเระ กล่าวถึง โอกาส ทสงการศึกษา ถ้าหากมีกลุ่มเป้าหมายในโครงการนี้ สนใจอยากเรียนต่อ สามารถติดต่อโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาเพื่อได้วุฒิการศึกษา และ ทักษะการการอาชีพ ตัวแทนเทศบาลปะนาเระ ได้กล่าวถึง กลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ มีความโชคดี ที่ได้มีกิจกรรมตลอดต่อเนื่อง และทำให้ปะนาเระ มีคนรู้จักมากขึ้น สาธารณะสุขปะนาเระ ได้กล่าวถึง ยินดีที่จะมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมโครงการฯ และอยากให้ทำงานด้วยกัน ในอนาคต  ตัวแทนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ ได้กล่าวถึง ขอชื่นชม ประธานกลุ่มและทีมงานสตรีชาวเลปะนาเระ ที่ขับเคลื่อนงานได้ดี ตลอดต่อเนื่อง จนทำให้ ปะนาเระ มีชื่อเสียงและเกิดกลุ่มที่ชัดเจน แต่เตือนการทำงานกลุ่มเป็นบทเรียน อยากช่วยกันทำงาน รับผิดชอบบทบาทหน้าที่ตนเอง ชุมชนสัมพันธ์จังหวัดชายแดนใต้ และชมรมประมงพื้นบ้านปะนาเระ กล่าวถึง ดีใจที่ ทุกหน่วยงาน เข้ามามีส่วนร่วม และสตรีชาวเลปะนาเระ พัฒนาได้เร็ว อยากให้มีการทำงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น
    -ประธานโครงการฯ กล่าวสรุป ทุกมิติ จากหน่วยงานที่ ร่วมแบ่งปั่นและสรุปการประชุม พร้อมปิดการประชุม

 

50 0

7. ปั๊มตรายาง

วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถปั๊มบนเอกสารต่าง ๆ ได้ และ/ด้เห็นถึงความเรียบร้อยและความถูกต้องของเอกสารต่าง ๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้จัดเตรียมปั๊มตรายางโครงการที่มีพร้อมกับรหัสโครงการ และปั๊มตรายางจ่ายเงินแล้ว เพื่อที่สามารถเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานไม่ว่าจะเป็นเอกสารการเงินต่าง ๆ

 

0 0

8. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีการก่อหนี้แต่ละเดือน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และยังพบว่าการใช้จ่ายมีมากกว่ารายการรับ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น

จากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 4 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 465.27 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 10000 – 50000 ทั้งสิ้น 12 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 2695.138 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 50000 – 100000 ทั้งสิ้น 7 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 7380.95 บาทต่อครัวเรือน ครัวครัวที่มีรายได้100000ขึ้นไป ทั้งสิ้น  7ครัวเรือน โดยเฉี่ยเดือนละ 12452.38 บาทต่อครัวเรือน  โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 4267.94 บาทต่อครัวเรือน  กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 28483.33  บาทต่อครัวเรือนและรายได้จากการทำทำอาชีพเสริมเฉลี่ย 3519.23  บาทต่อครัวเรือน  และรายได้อื่นๆเฉลี่ย 333.33 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ทีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 3675.27 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 2539.44บาทต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 12959.52บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่จำเป็นเช่นเครื่องสำอางเฉลี่ย 914.58 บาทต่อครัวเรือน ตามลำดับ ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2711.57 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

 

30 0

9. พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการและวางแผนการตลาด

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการตลาด การวางแผนการตลาด และช่องทางการขยายตลาด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อการเป็นผู้ประกอบการ และการจัดการตลาด โดย น.ส.นัทรินทร์ หวัดแท่น ซึ่งมีรายละเอียดในการอบรมดังนี้ การเป็นผู้ประกอบการ มีปัจจัยดังนี้ -มุ่งมั่นถึงความสำเร็จมีการใข้หลัก output และ outcome หลัก output คือสิ่งที่ทำออกไม่เป็นผลิตผลซึ่งวัดได้เมื่อสิ้นสุดการกระทำแต่ outcome คือผลประโยชน์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ต้องทิ้งระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่งมีหัวใจหลักคือการทำบัญชี การทำบัญชีทำค่าใช้จ่ายให้คิดค่าแรงเพราะค่าแรงคือต้นทุนอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพ 1.2การมีภาวะผู้นำต้องเป็นผู้สั่งที่ดีและต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย 1.3กล้าเสี่ยงกล้าตัดสินใจ ในการลงทุนกล้า 1.4การสร้างสรรค์นวัตกรรม คือมีการคิดสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีเป็นที่ยอมรับหรือเอาสิ่งที่มีอยู่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 1.5มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ/ซื่อสัตย์/มีเหตุผล/เสียสละ/มีระเบียบ การบริหารจัดการองค์กรต้องมีหลักPDCA มีการวางแผน มีการปฏิบัติงานตามแผน มีการตรวจสอบ มีการปรับปรุงแก้ไข
  • บรรยายในหัวข้อแผนการตลาด และช่องทางการขยายตลาด โดย น.ส.นัทรินทร์ หวัดแท่น มีรายละเอียดการอบรมดังนี้ การตลาด มีการมองหาแหล่งการผลิตใหม่ๆสลับกับแหล่งเก่าเพื่อเวลาเกิดเหตุขึ้น ช่องทางจำหน่ายมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

 

30 0

10. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานทั้ง 10 คนได้ทบทวนและถอดบทเรียนของกิจกรรมที่ได้จัดให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านมา ได้เจอปัญหาต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมและได้แก้ปัญหาร่วมกันเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทวนกิจกรรมในรอบถัดไปที่จะจัดขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียน
  • แจ้งเพื่อทราบ
  • ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้
  • ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา
  • ปิดการประชุม

 

0 0

11. อบรมเสริมความรู้เรื่องหลักสุขภาพ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะในเรื่องของความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพ และหลักการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ เป็นอย่างดี และสามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อเรื่องหลักสุขภาพ โดย นางสารภี รังษีโกศัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ปะนาเระ มีรายละเอียดในการบรรยายดังนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพ และหลักการดูแลสุขภาพทั้งกายและจิตใจ ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อย่อยนั่นคือ สุขภาพจิตคืออะไร, มีความสำคัญอย่างไร, รู้ได้อย่างไรหากเรามีภาวะสุขภาพจิต, ความเครียดเป็นอย่างไร, ชนิดของความเครียด (Acute stress and Chronic stress), อาการด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความเครียด ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรมและจิตใจ, โรคที่เกิดขึ้นจากความเครียด, วิธีคลายเครียด และการดูแลสุขภาพการด้วยหลัก 3 อ 2 ส และ 1 ฟ
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

 

30 0

12. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และคงามเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพและการเงิน และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมทดสอบกิจกรรมในการอบรมครั้งนี้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์อย่างมากในการอบรมที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยดำเนินรายการและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการโดย คุณนฤมล สะอุระ พร้อมเริ่มการอบรบเรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพ และการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมความเสี่ยงจากอาชีพ การทำงาน และอื่นๆ จากนั้นต่อด้วยการอบรมเรื่องด้านการเงิน โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ ความรู้ด้านการเงินคือความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่นการจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม 4 รู้สู่ความมั่งคั่ง -รู้หา -รู้ใช้ -รู้เก็บ -รู้ต่อยอด ทำไมเราต้องวางแผนการเงิน -ให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น      -มีเงินเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉิน -มีเงินออมหรือเงินลงทุนที่อาจสร้างรายได้ในอนาคต -อายุยืนยาว ครอบครัวเล็กลง  ขั้นตอนสำคัญของการวางแผนการเงินครัวเรือน -รู้สถานการณ์ของตัวเอง ด้วยการสำรวจรายรับและรายจ่าย ที่จำเป็นของตนเอง รู้ว่าแตละวันแต่ละเดือนจะมีรายรับจากไหนบ้าง -กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยแยกเป็นหมวดๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมากที่สุดไว้ลำดับแรกๆๆ -ทำแผนการใช้เงินกำหนดเพดานขั้นสูงไว้ เพื่อใช้สำหรับควบคุมค่าใช้จ่าย -ใช้เงินตามแผนที่วางไว้ -ประเมินการใช้เงินเป็นระยะ และหาโอกาส ในการเพิ่มเงินออมให้มากขึ้น จากการลดรายจ่าย หรือการเกิดรายได้ใหม่

 

2 0

13. อบรมเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารเงินและทักษะในการคิดคำนวณรายรับรายจ่ายในแต่ละวัน เกิดการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนในกลุ่มเป้าหมาย 30 คน รู้จักความพอเพียงในตนเองมากขึ้น เริ่มต้นการมีวินัยในการบริหารการเงินด้านรายรับรายจ่ายในครัวเรือน ลดการใช้จ่ายฟุ้มเฟื่อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 คณะทีมงานในกิจกรรมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ จุดลงทะเบียนและอื่นๆตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการเข้าอบรม จำนวน 30 คน ประธานโครงการฯ น.ส อาอิชะฮ์ ตีมุง กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมอบรมเรื่องเสริมความรู้เรื่องการบริหารการเงิน และแนะนำวิยากรพร้อมมอบกิจกกรมอบรมฯให้กับวิทยากร
    วิยากรเริ่มแนะนำตัวเองและเริ่มการบรรยายในหัวข้อเรื่องการบริหารการเงิน โดย นางสาวซอฟียะห์ รายิกัน ซึ่งบรรยายในเรื่องบัญชีต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง บัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน วิธีการลงบัญชีรับ-จ่ายด้านรับเงินและด้านจ่ายเงิน วิธีการคำนวณยอดคงเหลือวันนี้และรวมเดือน และได้มีการฝึกคำนวณรายรับ-รายจ่ายแต่ละวัน จากนั้นบรรยายในเรื่องของประโยชน์ของการจัดทำบัญชี 1. เป็นบันทึกช่วยจำ 2. รู้รายรับ รายจ่าย 3. มีเงินออม รู้เงินออม 4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น 5. ช่วยวางแผนในการออมรายรับ-รายจ่าย 6. ช่วยวางแผนอนาคต 7. ฝึกรายวิชาต่างๆ 8. เป็นบันทึกสุขภาพ , บัญชี 3 มิติ รู้ตนเอง รู้สภาพแวดล้อม รู้อนาคตสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
สรุป = ความมีวินัย มีเงินเออม โดยใช้เครื่องมือ คือ การจัดทำบัญชี ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนพร้อมมอบหมายให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฎิบัติการจดบัญทึกบัญชีครัวเรือน การประเมินรายรับ รายจ่าย ของครอบครัว กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความสนใจในการจัดทำจดบันทึกบัญชีครัวเรือน เกิดการซักถามในประเด็นที่กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าใจ เช่น จดบันทึกแล้วเกิดรายจ่ายมากกว่ารายรับ ผิดตรงไหน หาที่มาที่ไปของการเงินตนเองไม่เจอ วิทยากรได้ทำการคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น จนเข้าใจพร้อมได้แจกสมุดบันทึกครัวให้กลับไปฝึกทำการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ประธานโครงการฯมอบหมายคณะทำงาน 10คน ทำหน้าที่ในการติดตามและสอนเพิ่มเติมให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เข้าใจ จับคู่บัดดี้ เพื่อทำความเข้าใจและปฎิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ วิทยากรสรุปการบรรยาย ประธานโครงการสรุป/ ปิด

 

30 0

14. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้พัฒนาศักยภาพของตนเองเพิ่มขึ้นและเข้าใจ มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้ตอบโจทย์กับสิ่งที่วางและทำไว้ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม
  • แจ้งเพื่อทราบ จากการที่ได้จัดกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่าทางคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คนได้มีความรู้ด้านทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมและเกิดความเข้าใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น อาทิเช่นได้รู้จักการออม รายรับรายจ่ายในแต่ละวัน ฯลฯ อีกทั้งได้ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะจัดขึ้นต่อ ๆ ไป
  • ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา และกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้
  • ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ทางคณะทำงานได้พบเจอปัญหาที่ได้เจอขณะจัดกิจกรรม แต่ทางคณะทำงานสามารถแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ดีและได้ผ่านพ้นไปด้วยดี
  • ปิดการประชุม

 

0 0

15. การอบรมอาชีพการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีทักษะในการแปรรูปสัตว์น้ำได้อย่างดี และยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถลดรายจ่ายเพื่อรายได้เข้าในครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ลงทะเบียนเข้าอบรม
  • แนะนำตัววิทยากร โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง
  • บรรยายในหัวข้อเรื่องการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล โดยการแปรรูปมีทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ ปลาหวานโรยงา ผงโรยข้าว และน้ำพริกเสริมแคลเซียม ซึ่งได้มีการบรรยายในกระบวนการผลิต/การแปรรูปของแต่ละผลิตภัณฑ์และได้พูดถึงประโยชน์ของปลาหนึ่งตัว สามารถนำมาแปรรูปได้ทั้งตัว เนื้อปลานำมาแปรรูปเป็นปลาหวานโรยงา ก้างปลานำมาแปรรูปเป็นผงโรยข้าว และหัวปลานำมาแปรรูปเป็นน้ำพริกเสริมแคลเซียม และได้มีภาคปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในกระบวนการผลิต
  • สรุป/ปิดกิจกรรม

 

30 0

16. จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออม

วันที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา เพื่อให้สมาชิกได้มีการออมรายบุคคลในครัวเรือน และมีการเกิดกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มอาชีพของตนเองและคนในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย30คน ตั้งความหวัง อยากให้กลุ่มมีความสำเร็จ ช่วยกันทำงาน ช่วยกันดูแล เพื่ออนาคตปะนาเระ สมาชิก 30 คน เริ่มเปลี่ยนวิธีคิดจากเดิม ที่ไม่เปิดใจ ยอมรับการออม เนื่องจาก พื้นที่เคยมีประวัติที่ค่อยดี แต่ปัจจุบัน เห็นถึง ศักยภาพผู้นำสตรี สมาชิกยินดี ที่จะเริ่มต้นใหม่ ช่วยกันพลักดันให้เกิดความสำเร็จ ในมิติ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเป็นเสาหลักอีกหนึ่งทางของครอบครัว เป็นที่พึ่ง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 6 ม.ค 2566 ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ชมรมประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ คณะทีมงานฝ่ายลงทะเบียนเริ่มเชิญชวนผู้เข้าร่วมในกิจกิจกรรมโครงการทั้ง 30 คน ทำการลงทะเบียน หน้าห้อง กล่าวต้อนรับ โดย น.ส.อาอิชะฮ์ ตีมุง หัวหน้ารับผิดชอบโครงการฯ ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการฯ การจัดตั้งกลุ่มฯเพื่อการออม เพื่อสร้างพลังอนาคตตนเอง เริ่มด้วย อาชีพเสริมและการออม ประธานโครงฯแนะนำวิทยากร จากพัฒนาชุมชนอำเภอปะนาเระ เพื่อมาให้ความรู้ด้านการจัดตั้งกลุ่ม ความสำคัญการออม เป้าหมายอนาคต เพื่อใันที่คนปะนาเระ อยากให้เกิด และมอบ่วทีให้วิทยากรดำเนินการอบรมเรื่องการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการออมและแผนกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ โดยวิทยากร น.ส.ซุไรดา เจะแว เจ้าหน้าที่พัฒนากรอำเภอปะนาเระ ได้ทำความเข้าใจและกล่าวถึงการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อพัฒนาคน 2.เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ 3.เพื่อพัฒนาสังคม ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มคือการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะเกิดขึ้น ได้แก่ มีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ มีปทัสถานร่วมกัน แต่ละคนมีบทบาทที่ชัดเจน มีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก แสวงหาเป้าหมายร่วมกัน มีความรอบรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน และปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม
และการบริหารกลุ่มอาชีพให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลัก 5ก ดังนี้ ก ที่ 1 : กลุ่ม/สมาชิก, ก ที่ 2 : กรรมการ, ก ที่ 3 : กฏ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม, ก ที่ 4 : กองทุน และ ก ที่ 5 : กิจกรรม อีกทั้งปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ มีปัจจัดสำคัญ คือ 1. ด้านผู้นำ 2. ด้านสมาชิก 3. ด้านวัตถุประสงค์ของกลุ่ม 4. ด้านบริหารการจัดการกลุ่ม 5. ด้านการสื่อสารภายในกลุ่ม 6. ด้านผลผลิต ผลงานของกลุ่ม 7. ด้านเงินทุนในกลุ่มฯ วิทยากร ให้ผู้เข้าร่วมได้เริ่มปรึกษาหารือเรื่องการจัดตั้งกลุ่ม จึงเลือกที่จะจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นมา และได้จัดตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า “ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสตรีชาวเลปะนาเระ” ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี 94130 โดยจัดทำโครงสร้างคณะกรรมการประกอบด้วย
คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการเงินกู้ 1.อาอิชะฮ์ ตีมุง ประธาน 1.รอซีด๊ะ สะอุ 2.รอซีดะห์ สะอุ 2.อภิรีนี มะสาแม 3.อภิรีนี มะสาแม 3.โรฮานี ยูโซ๊ะ 4.ยาวียะห์ สุหลง 5.โรฮานี ยูโซ๊ะ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการส่งเสริมการออมฯ 1.นูนิสรีน อาแว บัญชี/เหรัญญิก 1.พนิดา ดาราโอะ รองประธาน 2.ฟาตีมะห์ เบ็ญนิซอ 2.สารีปะห์ สาฮะ 3.พนิดา ดาราโอะ 3.ปายียะฮ์ เปาะมะ โดยมี การสมัครสมาชิกดังนี้
1.มีค่าสมัคร 30 บาท 2.ทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไปนำเงินไปฝากธนาคาร และ การพันสภาพ ดังนี้ -ตาย -ลาออก และได้รับอนุมัติ -วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน วิทยากร เปิดการแลกเปลี่ยน พร้อมเติมพลังกำลังใจให้กลุ่มสตรี ให้มีความสามัคคี ทำงานอย่างจริงจัง หน่วยงานรัฐจะอยู่เบื้องหลังการสนับสนุน ต่อไป สุดท้าย ประธานโครงการฯ กล่าวขอบคุณวิทยากร ขอบคุณทีมงาน ขอบคุณผู้เข้าร่วม สรุป/ปิด การอบรม

 

30 0

17. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 4)

วันที่ 7 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานมีการรับรู้และนำมาปรับปรุง แก้ไข และได้เพิ่มศักยภาพของตนเองอีกด้วย มีพลังขับเคลื่อนงานเพื่อชุมชนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 7/1/66 คณะทำงาน 10 คน ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ประธานโครงการฯชวดดุอาร์เพื่อเติมพลังทีมงานในการทำงานเพื่อสังคม เริ่มต้นด้วยการชี้แจงวัตถุประสงค์กิจกรรมที่ผ่านมาและหัวใจหลักการประชุมประจำเดือนพร้อมเริ่มเข้าวาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ เช็คอินบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 10คน ติดขัดเรื่องใด ชอบเรื่องใด แนวทางแก้ไขของแต่คนแบบไหน คณะทำงานได้ตอบในประเด็นต่างๆอย่างมีความสุข วาระที่ 2 แผนการพัฒนาตามแผนงานที่วางไว้ เริ่มต้นด้วยการทบทวนจากการที่ได้จัดกิจกรรมที่ผ่านมาพบว่าคณะทำงานมีการพัฒนาด้านการทำงานเป็นทีมเพิ่มมากขึ้น มีความเข้าใจในตัวกิจกรรมที่ได้จัด และได้เกิดการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นระหว่างคนในชุมชนและคณะทำงาน อีกทั้งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและการใช้ชีวิตและทวนกิจกรรมกำลังจะจัดในเดือนนี้พร้อมถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา ได้เพิ่มศักยภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น วาระที่ 3 อื่นๆ ขอบคุณทีมงานที่เติมพลังด้วยกัน ประธานโครการฯสุป/ปิดการประชุม

 

0 0

18. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานในกิจกรรมโครงการฯมีความเข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้นและสามารถสะท้อนความคิดเห็นและประมวลผลของการดำเนินงานข้อดีข้อเสียของงาน เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดแผนพัฒนาชุมชนตามแผนที่วางไว้ สามารถให้คุณค่าของงานและตัวเองฐานะคนทำงานเพื่อสังคม บทบาทความเป็นคณะทำงานโครงการฯ มีความสามารถในการประสานงานคนในชุมชนมากขึ้น มีทักษะการจดบันทึกรายรับรายจ่ายในครัวเรือน เกิดการปลูกพืชผักในครัวเรือน เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่มสตรีชาวเลกับสตรีในชุมชน ได้รับองค์ความรู้ประสบการณ์จากพี่เลี้ยงในด้าน การบริหารครอบครัว การจัดการรายรับรายจ่าย การจัดการเรื่องสุขภาพและได้รับองค์ความรู้จากวิทยาการที่มาบรรยายให้ความรู้ในกิจกรรมอบรมของโครงการฯด้าน พัฒนาศักยภาพตนเอง การตลาด ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน ด้านการแปรรูปสัตว์น้ำตามฤดูกาล คณะทำงาน 10 คนมีบัญชีครัวเรือนทุกคนพร้อมจดบันทึกรายรับรายจ่ายทุกวัน ได้พลังบวกซึ่งกันและกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 19/1/66 ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี พี่เลี้ยงช่วยถอดบทเรียนกระบวนการทำงานในรอบที่ผ่านมาและร่วมวิเคราะห์กิจกรรมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้ คลี่ประเด็นต่างๆให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยวิธีการ ซักถาม แลกเปลี่ยน เปิดพื้นที่กลางแสดงความคิดเห็น คณะทำงาน 10 คนร่วมกับตอบคำถามพี่เลี้ยง แสดงความคิดเห็น พี่เลี้ยงชวนประเมินติดตามผลการดำเนินงานในกิจกรรมโครงการฯและเสริมพลังพร้อมวางแผนงานในกิจกรรมโครงการต่อไป โดย ให้คณะทำงาน จดบันทึก สิ่งที่ได้จากกิจกรรมโครงการฯที่ผ่านมา ชุมชนได้อะไรอย่างไร สะท้อนปัญหาตามบริบทพื้นที่ คณะทำงาน พูดคุย ประเด็น สิ่งที่ได้จาก กิจกรรมโครงการ คือ การได้พัฒนาศักยภาพตนเอง มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ไม่กังวลในการพูดที่สาธารณะมากกว่าเดิม ได้มีทักษะต่างๆเช่น การจัดสถานที่ การประสานงานคนในชุมชน การฟัง การจด การเล่าเรื่อง ได้องค์ความรู้จากวิทยากร ที่มาให้ความรู้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้าน การกิน เช่น กินหวาน ชาเย็น ลดจำนวนการซื้อน้อยลง เพิ่มการออกกำลังกาย การปลูกพืชผักที่กินในครอบครัว มีการจดบันทึกรายรับรายใจในครัวเรือน และกำลังจะมีการออมเงิน เพื่อจัดการหนี้สิน ปัญหาอุปสรรคในดำเนินกิจกรรมแผนงาน คือ การที่มีเวลาไม่ตรงกัน ศักยภาพด้านต่างๆยังมีไม่สมบูรณ์แบบ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มรสุมเข้ามาบ่อย จึงทำให้ขาดรายได้ แนวทางแก้ไขร่วมกัน คณะทำงานได้ แสดงความคิดเห็นร่วมกัน คือ การได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่อยๆ จะทำให้มีความสามารถด้านต่างๆมากขึ้น การเสียสละเวลาตรงนี้คุ้มค่า การได้มาเจอกัน พูดคุย ทำให้เกิดความเข้าในเนื้องานมากขึ้น เกิดการรุ้จักใช้เงินมากขึ้นหลังจาก จดบันทึกรายจ่ายในครัวเรือน ข้อเสนอแนะจาก คณะทำงาน อยากให้มีการสอน อบรมให้ความรู้ จากส่วนกลาง ด้านต่างๆ อยากไปศึกษาดูงานในพื้นที่อื่นๆ ต่างจังหวัด จากนั้น พี่เลี้ยง สะท้อนกลับด้านผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น พร้อมเติมพลังให้กับคณะทำงาน 10 คน ประธานโครงการ สรุป การพูดคุยแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ พร้อมปิดการประชุม

 

0 0

19. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้มีฐานข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 คน กลุ่มเป้าหมาย 30คนได้รู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองพร้อมได้ปรับการใช้จ่ายในครัวเรือนให้ดีมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าการก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากรายจ่ายมีมากกว่ารายรับเกิดจากพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ้มเฟื่อย หลงสินค้าออนไลน์ กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์และสถานการณ์มรสุมที่เข้ามาไม่เป็นตามกาลเวลาเหมือนในรอบปีที่ผ่านมา มีความต่างจากการลงสำรวจในครั้งที่ 1 เนื่องด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะไม่ได้รับรายได้ดีเท่าที่ควร เช่น ช่วงมรสุมไม่สามารถออกเลได้ การคำนวณรายรับรายจ่ายที่อาจคิดตามใจชอบ การไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 27/1/66 เวลา 09.30น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมประชุมกระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ประธานโครงการฯเปิดการพูดคุยด้วยการสวดดูอาร์ และชวนคุยในประเด็นฐานข้อมูลตนเอง คณะทำงาน10คน ชวนคุยเพื่อทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และได้จัดการจัดเก็บเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติมโดยครั้งที่ 2 มีการสรุปจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้ 5000 – 10000 ทั้งสิ้น 2 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 458.33 บาทต่อครัการวเรือน รายได้ 10000 – 50000 ทั้งสิ้น 7 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 2879.76 บาทต่อครัวเรือน รายได้ 50000 – 100000 ทั้งสิ้น 6 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยเดือนละ 5830.55 บาทต่อครัวเรือน ครัวครัวที่มีรายได้100000ขึ้นไป ทั้งสิ้น 15 ครัวเรือน โดยเฉี่ยเดือนละ 13861.11 บาทต่อครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำงานหลักเฉลี่ย 7405.45 บาทต่อครัวเรือน กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจเฉลี่ย 45332.66 บาทต่อครัวเรือนและรายได้จากการทำทำอาชีพเสริมเฉลี่ย 1314.21บาทต่อครัวเรือน และรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 156.66 บาทต่อครัวเรือน และรายได้ที่ไม่เกิดจากการทำงาน เช่น รายได้จากเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือบุคคลอื่นที่นอกครัวเรือนเฉลี่ย 2810 บาทต่อครัวเรือน
ครัวเรือนเป้าหมาย 30 ครัวเรือน ทีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยเดือนละ 61157.33 บาทต่อครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 6690.22บาทต่อครัวเรือน ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2319.64 บาทต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่จำเป็นเช่นเครื่องสำอางเฉลี่ย 1488.23 บาทต่อครัวเรือน ตามลำดับ ครัวเรือนเป้าหมายเกือบครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 2822.68 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

 

0 0

20. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 5)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงาน 10 คน เกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น มีทักษะการประสานงานคนในชุมชนมากขึ้น พร้อมรู้จักตนเอง ประเมินตนเองเพื่อการการพัฒนาในด้านการทำงานในชุมชน เช่น การเตรียมงาน การประสานงาน การจัดสถานที่ประชุม การเตรียมอาหาร การประชาสัมพันธ์งาน คณะทำงานมีพลังบวกมากขึ้น เกิดการแบ่งปันน้ำใจซึ่งกันและกัน เกิดคณะทำงานที่เข้มแข็ง จำนวน 10 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 4/2/66 เวลา 09.00น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เริ่มด้วยคณะทำงานเตรียมสถานที่การประชุม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เตรียมการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ประธานโครงการฯเริ่มด้วยการสวดดุอาร์พร้อมชวนพูดคุยวัตถุประสงค์การประชุมและชวนทบทวนที่มาในกิจกรรมโครงการฯและเหลียวหน้าแลหลังการจัดกิจกรรมโครงการฯที่ผ่านมา พบว่าคณะทำงานเริ่มมีการพัฒนาบทบาทหน้าที่การทำงานตนเองและมีความสามารถในการทำงานกับชุมชนมีความเข้าใจด้านการทำงานเป็นทีมเพิ่มขึ้น และได้ขี้แจงในเรื่องของเอกสารงาน เอกสารการเงิน เพื่อให้คณะทำงานได้เข้าใจในแต่ละส่วนของงาน พร้อมมอบหมายหน้าที่การที่ทำงานตามความเหมาะสมในความสามารถของทีมงาน ประธานโครงการฯชวนทบทวนกิจกรรมส่วนที่เหลือพร้อมประเมินกลุ่มเป้าหมายมีติดขัดอะไรบ้าง มีความเข้าใจในกิจกรรมโครงการฯและให้ความร่วมมือมากขึ้นหรือไม่อย่างไรและส่งผลดีทำให้มีพลังและกำลังใจมากขึ้นหรือไม่ พร้อมชวนคณะทำงานร่วมกันรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ในที่ได้รับมอบหมาย วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯ ร่วมกำหนดวันเตรียมงานเพื่อจะจัดกิจกรรมตามแผนโครงการฯในเกิจกรรมอะไรบ้าง และสิ่งที่ต้องตามประเมินความเสี่ยง และศักยภาพชุมชนในเรื่องใด คณะทำงาน 10 คนช่วยกันสะท้อน ในด้านบวก คณะทำงาน10 คน กลุ่มเป้าหมายและชุมชน มีศักยภาพในระดับหนึ่ง ความพร้อมคณะทีมงาน ด้านพื้นที่กลางผู้นำชุมชนเริ่มให้ความสนใจในกิจกรรมโครงการฯ สามารถสร้างการยอมรับเกิดการมีส่วนร่วม ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ปัญหาอุปสรรค์ที่มีในเรื่องการบริหารจัดการเวลของคณะทำงาน มีเวลาว่างไม่ตรงกัน ศักยภาพในด้านต่างๆของคณะทำงานอย่างไม่เต็มที่ ขาดทักษะด้านเทคโนโลยี ขาดทักษะความกล้าแสดงออกในพูดภาษาไทย แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค์ ประธานโครงการฯ ให้โพสต์อิทเพื่อให้คณะทำงาน เขียนข้อดี ข้อเสีย แนวทางแก้ไข พร้อมอ่านให้เพื่อนๆฟัง จนทำให้คณะทำงานเริ่มมีความมั่นใจ กล้าพูดมากขึ้นพูดสิ่งที่อยากสะท้อนเพื่อเกิดการพัฒนาต่อตนเอง ชุมชน ประธานโครงการฯชวนถอดบทเรียนการทำงานของแต่ละคนในห้วงเวลาที่ผ่านมา พร้อมปรับบทบาทหน้าที่ ให้เหมาะสม ตามความเหมาะสม ประธานโครงการฯสรุปและปิดการประชุม

 

0 0

21. พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หัวหน้าและทีมงานโครงการฯกิดความเข้าใจในการงานลงระบบงานมากขึ้น เกิดการปรับแก้ตัวเอกสาร เกิดการเพิ่มข้อมูลในระบบให้มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าโครงการฯมาพบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจการเงินและรายงานในระบบพร้อมปรับแก้ รายงานกิจกรรมโครงการฯเพิ่มเติมข้อมูลในแต่ตัวกิจกรรมกรรม ให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น มีข้อมูลตามกิจกรรมที่สมบูรณ์มากขึ้น เริ่มด้วยตรวจเช็คเอกสาร ตามตัวกิจกรรมโครงการฯขาดเอกสารหลักฐานตัวไหนบ้าง เพื่อกลับไปเตรียมส่งให้พี่เลี้ยง ตรวจเช็ครายงานในระบบ ให้ตรงตามแผนงานกินโครงการฯ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 21                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 49,915.00                  
คุณภาพกิจกรรม 84                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6) ( 4 มี.ค. 2566 )
  2. การสร้างเครือข่าย เพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (มหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูป/เวทีเสวนา) ( 10 มี.ค. 2566 )
  3. สร้างเครือข่าย ( 10 มี.ค. 2566 )
  4. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7) ( 17 มี.ค. 2566 )
  5. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1) ( 29 มี.ค. 2566 )
  6. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8) ( 7 เม.ย. 2566 )
  7. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 2) ( 28 เม.ย. 2566 )
  8. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 3) ( 5 พ.ค. 2566 )
  9. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9) ( 6 พ.ค. 2566 )
  10. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 3) ( 19 พ.ค. 2566 )
  11. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10) ( 19 พ.ค. 2566 )
  12. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 4) ( 26 พ.ค. 2566 )
  13. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 11) ( 2 มิ.ย. 2566 )
  14. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 5) ( 9 มิ.ย. 2566 )
  15. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( 11 มิ.ย. 2566 )
  16. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 6) ( 15 มิ.ย. 2566 )
  17. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 12) ( 19 มิ.ย. 2566 )
  18. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 3 ( 21 มิ.ย. 2566 )

(................................)
นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ