task_alt

โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

ชุมชน ม.5 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 65-10018-19 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2566 ถึงเดือน สิงหาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6)

วันที่ 4 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะทำงาน 10 คน ได้รับทักษะด้านการทำงาน บทบาทหน้าที่ตามความเหมาะสม คณะทำงานมีความสุขในการเรียนรู้ สะท้อนการทำงานในกิจกรรมโครงการฯได้รับองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่หลายหลาย ได้มีศักยภาพการทำงานกับสตรีในชุมชน ได้มีความรู้จักอย่างลึกซึ่ง เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างคณะทำงาน สมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ผลลัพธ์=คณะทำงานมีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อสังคม เกิดความสามัคคีในคณะทำงาน เกิดทักษะกระบวนการทำงานในด้านต่างๆ สามารถต่อยอดการทำงานในกิจกรรมในอนาคต สามารถสร้างพลังสตรีฯในชุมชน เกิดการแบ่งปั่นระหว่างกัน เกิดการยอมรับกับหน่วยงานในพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 04/03/2023 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น ณ.ห้องประชุมปลากระโทง ชมรมประมงพื้นบ้าน คณะทำงานมาเจอตามนัดหมาย เริ่มจัดการภารกิจตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เช่น ฝ่ายติดไวนิล ฝ่ายลงทะเบียน ฝ่ายอาหาร ฝ่ายจดบันทึกการพูดคุย เริ่มต้นด้วย ประธานโครงการฯ กล่าวสวดดูอาร์ และเปิดประเด็นการพูดคุยประเด็นต่างๆ วาระที่ 1 การแจ้งเพื่อทราบในทุกเรื่องราว แผนชีวิต ข้อจำกัด เงื่อนไข ร่วมไปถึ่งการรับฟังสะท้อนจากสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ในขณะเดียวกันประธานโครงการฯเปิดพื้นที่กลางให้เกิดการพัฒนาศักยภาพคณะทีมงานทุกรูปแบบ คณะทำงานสะท้อน เรื่องทั่วไป พร้อมบอกเล่าแผนชีวิต เพื่อการจัดกิจกรรมรอบถัดไปไม่กระทบต่อการช่วยดำเนินกิจกรรมงาน วาระที่ 2 ตามด้วยการวางแผนงาน กิจกรรมสำคัญในโครงการครั้งนี้ คือ กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ วันที่ 10 มีนาคม 2566 คุยแผนงานพร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่คณะทีมงาน เช่น ประธานโครงการ รับหน้าที่ ประสานงานหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน ประสานการขออนุเคราะห์ของรางวัลเพื่อจับฉลากให้รางวัลกับกลุ่มสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯ ประสานสถานที่กับเทศบาลตำบลปะนาเระ ประสานวิทยากรร่วมเสวนา จัดการส่งหนังสือหน่วยงานต่างๆ กำหนดประเด็นการเสวนา  ประสานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จากหมู่บ้าน ตำบลอื่นๆ รวมถึงประสานเครือข่ายเพื่อร่วมกิจกรรมสร้างพลังบวก กำหนดจัดเตรียมสถานที่ จุดต่างๆ พร้อมวางทีมงานตามจุดต่างๆตามศักยภาพของทีมงาน มอบหมาย บทบาทหน้าที่ ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน ฝ่ายอาหารว่าง อาหารเที่ยง ฝ่ายดูแลบูทของเครือข่ายที่มาโชว์ผลิตภัณฑ์ ฝ่ายสถานที่/เวที ฝ่ายรับของรางวัล ฝ่ายจัดทำหนังสือเชิญ วาระที่ 3 วาระอื่นๆ คณะทำงานมีข้อกังวล ข้องห่วงใย ในด้านศักยภาพตามบทบาทหน้าที่ ประธานโครงการฯ ได้จัดกระบวนการ ฝึกทักษะให้คณะทีมงาน ตามบทบาทหน้าที่สร้างความมั่นใจในศักยภาพของแต่ละคน คณะทำงาน รับทราบพร้อมปฎิบัติ

 

0 0

2. การสร้างเครือข่าย เพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน (มหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูป/เวทีเสวนา)

วันที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต= จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้เกิดการทำงานแบบบุรนาการกับทุกฝ่าย เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างพี่น้องประชาชนในพื้นที่และคณะทำงานกิจกรรมโครงการรวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ สามารถเชื่อมโยงขยายเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลและตำบลใกล้เคียง กิจกรรมจัดเวทีเสวนาทำให้เกิดผลการสะท้อนจากหน่วยงานภาครัฐที่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำงาน ประเมินการทำงานในอนาคต เกิดการยอมรับในภารกิจงานของหน่วยงานราชการมากยิ่งขึ้น เกิดแนวทางการทำงานเชิงการพัฒนาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีชาวเลปะนาเระ ทำให้คณะทำงานในโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ รู้จักกับองค์กรเครือข่ายและหน่วยงานราชการในพื้นที่โอกาสเพื่อเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม เติมพลังบวกให้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี ผลลัพธ์= คณะทำงานกิจกรรมโครงการได้เกิดการทำงานเป็นทีมมากยิ่งขึ้น ทำให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและเกิดการทำงานแบบบูรณาการที่ดียิ่งขึ้น เกิดองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอื่นๆ ทำให้คนปะนาเระมีรอยยิ้ม สร้างสุขผ่านกิจกรรมได้ในระดับที่ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 10/03/2566 เวลา 09.00 - 17.30 น.
        เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 คณะทีมงานโครงการส่งเสริมอาชีพครูแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมมหกรรม การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด งานแสดงสินค้าชุมชน ตามการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ดังนี้ ฝ่ายต้อนรับ ฝ่ายลงทะเบียนฝ่ายจัดสถานที่ฝ่ายอาหารและฝ่ายกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ 80 คนกลุ่มเป้าหมายจากโครงการ 30 คนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายแม่บ้านประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปะนาเระอีก 20 คน เวลา 09:00 น กลุ่มเป้าหมายเริ่มทยอยลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเวลา 09:15 น -09.30น.หัวหน้าโครงการฯนางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกล่าวรายงานกิจกรรมโครงการฯ พร้อมกล่าววัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการดังดังนี้
1 กิจกรรมโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงินสุขภาพและสังคมแก่คนในชุมชนที่เป็นแม่บ้านประมง
2 เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กลุ่มแม่บ้านประมง  เปิดพิธีโดยนายสนั่น สนธิเมือง 3.สร้างพลังเครือข่ายภายในระดับ ตำบล อำเภอปะนาเระ ที่เข้มแข็งและได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง เชิญท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวเปิดพิธีอย่างเป็นทางการ
เวลา 09.30น.-09.50น.หัวหน้าโครงการฯแนะนำคณะทำงานในกิจกรรมโครงการที่มาทำหน้าที่วันนี้จำนวน 9 คน ดังนี้ 1.อาอิชะฮ์ ตีมุง หัวหน้าโครงการ ฝ่ายดำเนินการบนเวที่ พิธีกร/ดำเนินการวิทยากรเสวานา 2.พานิดา ดาราโอะ ฝ่ายลงทะเบียน 3.รอซีด๊ะ สะอุ ฝ่ายต้อนรับ 4.นูรียะห์ มะสาแม ฝ่ายลงทะเบียน 5.นูนิสริน อาแว ฝ่ายการเงิน 6.สารีปะห์ สาฮะ ฝ่ายดูแลบูท แสดงสินค้า 7.อภิริณี มะสาแม ฝ่ายกองอำนวยความสะดวก 8.ฟาตีมะห์ เบ็ญนิซอ ฝ่ายจัดดูแลสถานที่ 9.โรฮานี ยูโซ๊ะ ฝ่ายดูแลเรื่องอาหาร เวลา 09.40 น.-10.00น. เริ่มกิจกรรมใจแลกใจ กิจกรรมประจำปีของกลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ คือ การจับฉลากของขวัญจากสมาชิกร่วมโครงการฯ โดยให้สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทุกคนนำของขวัญของตัวเองซื้อของที่ตัวเองชอบเพื่อมอบให้เพื่อนร่วมงาน และมีการขออนุเคราะห์ของรางวัลจาก หน่วยงานราชการในพื้นที่ ภาคเอกชน เพื่อสมทบเป็นของขวัญชิงโชคแก่สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 30คน รวมถึงเชิญเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่วมออกบูทแสดงสิ้นค้า ได้แก่ กลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ กลุ่มแปรรูปข้าวท่านํ้า กลุ่มปลาส้ม กลุ่มการท่องเที่ยวปะนาเระ เวลา10.00น.-12.00น. เริ่มกิจกรรมเสวานาแลกเปลี่ยนความรู้ ประเด็นหัวข้อ บทบาทสตรีกับสุขภาวะชุมชน ดำเนินรายการโดยนางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ผู้ร่วมเสวนา โดย 1. นางสาวสุไรดา เจะแว เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำภอปะนาเระ 2.นาย อุสมัน ลา ตัวแทนจาก KPS (ครอบครัวรอยยิ้ม ชุมชนเป็นสุข) 3.นางสารภี รังษีโกศัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 4.นางสมหญิง ยศวิปาน รองประธานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลคลองวาฬ 5.นางฟารีดา ปันจอร์ อาจารย์นักวิจัย สถาบันความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มอ.ปัตตานี วิทยากรได้เวลาในช่วงแรกเพื่อแนะนำตัว แนะนำองค์กร คนละ 10 นาที หลังจากนั้นวิทยากรดำเนินรายการชวนคุย ด้วยประเด็นในองกรค์กรแต่ละท่านทำงาน เห็นความสำคัญต่อบทบาทสตรีในชุมชนอย่างไร? ล้วนให้คำตอบที่แตกต่างตามรูปแบบของแต่ละองค์กร ความเห็นสรุป ทุกท่านตอบเสียงเดียวกัน ว่าบทบาทสตรีมีความสำคัญและจำเป็นต้องมีในทุกมิติภารกิจงาน ผู้ดำเนินรายการชวนคุยต่อถึงบทบาทในองค์กรท่านที่สามารถพัฒนาบทบาทสตรีรวมถึงการจัดการสุขภาวะชุมชน เวลาคนละ 15 นาท ผู้ดำเนินรายการสรุปประเด็น ประสบการณ์วิทยากรที่แตกต่างรวมถึงบริบทพื้นที่ต่างกัน พอที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ประสบการณ์และพลังบวก สรุปสุดท้ายให้วิทยากรได้เติมพลังบวกฝากทิ้งท้าย และแนะนำช่องทางการพัฒนาต่อยอดในอนาคต สรุปจบการเสวนา ช่วงเช้า พักรับประทานอาหาร/ละหมาด เริ่มช่วงบ่ายเวลา 13.00น.-15.30น. กิจกรรมใจแลกใจ (แลกของขวัญ จับฉลาก) เริ่มกิกรรมเสวนา ประเด็นหัวข้อ แผนพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน ดำเนินรายการโดย นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง ผู้เสวนาโดย 1.นายฮาซัน ดอเลาะ นายกเทศบาลตำบลปะนาเระ 2.นายสุไลมาน ดาราโอะ ประธานบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยชุมชน 3.รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม อาจารย์คณะวิทยาวิทยาศสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี 4.นายอานัส ยุนุ๊ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สนง.กทท.จังหวัดปัตตานี 5นายอำพล ธานีครุฑ นายกสมาคมการท่องเที่ยวดดยชุมชนภาคใต้ 6.นายดนยา สะแลแม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวซัมปลีมอ สรุปการเสวนา เวลา 15.30น.17.30น. กิจกรรมใจแลกใจ(แลกของขวัญ ชิงโชค) สรุปปิด

 

80 0

3. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7)

วันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต= คณะทีมงาน 10 คนมีความเข้มแข็ง เกิดความสามัคคี แก้ไขอุปสรรค์ได้ดี นำบทเรียนความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนที่ดี รู้จักคิดบวกเติมพลังบวกให้กัน คณะทำงานแสดงความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถนำสู่ศักยภาพที่ดีต่อไป รู้จักเครือข่ายมากขึ้น ดีใจกับรางวัลที่ได้รับทำให้สร้างคุณค่าความเป็นกลุ่มสตรีฯ ผลลัพธ์=คณะทีมงาน 10 คน สามารถรับผิดชอบภารกิจงานในบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมั่นใจ สามารถตัดสินใจในกิจกรรมบางเรื่องได้ มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี การผ่านอุปสรรค์อย่างมั่นใจ เกิดความสามัคคีภายในคณะทำงานมากขึ้น ช่วยเหลือทุกมิติการทำงานได้ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที 17/03/2566 เวลา 09.00 - 13.00 น คณะทำงาน 10 คน เตรียมความพร้อมเพื่อรับการสะท้อนประเมิน ในกิจกรรมที่ผ่านมา กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค์ จากเวทีที่ผ่านมา กิจกรรมมหกรรมสตรีฯ โดยใช้กระบวนการสะท้อนผ่านกระดาษโพสอิท เพื่อให้เกิดการระบายความในใจและมองเห็นการพัฒนาในตัวเอง ผลสรุปจากการสะท้อน ทุกคนทำหน้าที่ได้ดีที่สุดแล้ว ข้อบกพร่องบางจุดเกิดจากการสื่อสารของคนที่นอกเหนือคณะทำงานแต่จะเข้ามามีบทบาท ด้วยความเกรงใจของคณะทำงานจึงยอมปล่อยให้เกิดขึ้น เช่น การประสานงาน มีคนอยากจะทำหน้าทีและได้กระทำล่วงหน้า การจัดการจุดลงทะเบียนมีคนอาสานั่งแทนจึงทำให้ต้องตามหลังในการจัดการใบลงทะเบียนให้สมบูรณ์แบบ จุดอาหารไม่ตามกติกาในบางคน เช่น ไม่เอาคูปองมาแลก เอาเผื่อคนอื่นกลุ่มคนเครือข่ายภายนอก ที่มาจากคนอาสาประสาน ทำให้ความพร้อมเพรียงกันไม่ตามแผนที่กำหนดไว้ ประธานโครงการฯกำหนดแผนงานกิจกรรมถัดไป และมอบหมายภารกิจงานตามบทบาทหน้าต่อไป

 

0 0

4. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 1)

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต= กลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีความเข้าใจมากขึ้นในด้านการจดบันทึก รายรับรายจ่ายและได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ได้มีทกษะการรู้จักประเมินตน รายรับ รายจ่าย หนี้สินในครอบครัว มีการวางแผนอนาคตมากขึ้น มีความหวังชีวิตใหม่ มีสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนทุกคนและมีการสำรวจติดตามจากคณะทำงานโครงการฯ คณะทำงานโครงการฯเกิดความใกล้ชิดกับสมชิกกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะถ่านทอดความรู้ สามารถเป็นพี่เลี้ยง ได้พัฒนาศักยภาพ จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์=เกิดความรัก ความสามัคคีสตรีฯในชุมชน รู้จักความเป็นอยู่แต่ละคนมากยิ่งขึ้น จากการลงพื้นที่พบปะคณะทำงานค้นพบว่าสมาชิกกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่ามีทักษะในการจัดทำบันทึกบัญชีครัวเรือนได้ดีกว่าเดิม มีเสียงความหวังอนาคตที่ดีในครอบครัว เห็นแนวทางเพื่อการทำงานรักถิ่นบ้านเกิดต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 28/4/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน สมาชิกกลุ่มเป้าหมายมาตามนัดหมายพร้อมนำสมุดบันทึกครัวเรือนเพื่อมาตรวจสอบวิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือนพร้อมประเมินตนเอง ถึงความท้าทายในการจดบันทึก มีปัญหาในด้านใด ประธานโครงการได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้หมายโดยการใช้ กระดาษโพสอิท สะท้อนสิ่งที่ได้จากการทำบัญชีครัวเรือนและสะท้อนความยากในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน ผลลัพจากการจัดกิจกรรมครั้งที่ 1 สมาชิกกลุ่มเป้าหมาย เริ่มค้นหาตนเองในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน รายรับรายจ่ายในครัวเรือน หลายคนเจอปัญหารายจ่ายมากกว่ารายรับ บางคมีความไม่เข้าใจทักษะการบันทึกบัญชีครัวเรือน ประธานโครงการจัดทีมงานที่เป็นคณะทำงาน เป็นพี่เลี้ยง พี่สอนน้อง จับคู่บัดดี้ทำความเข้าใจ สอนการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนในแบบท่ง่ายต่อการจดจำ เช่น ทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย ให้รีบจดบันทึก เพื่อกันตัวเองลืม และคำนึกทุกๆค่าใช้จ่าย จดทุกอย่างที่เป็นรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นในครัวเรือน สรุปสุดท้ายสร้างความตระหนักในเรื่องการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนและบริหารจัดการเวลามาทำงานร่วมกันด้านกลุ่มอาชีพ สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนเกิดความเข้มแข็งด้วยมือสตรีต่อไป

 

0 0

5. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8)

วันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะกรรมการโครงการ มีสามารถในการเป็นพี่เลี้ยงสอนทักษะการบันทึกบัญชีครัวเรือน ทักษะการประสานงานให้เกิดความตระหนักกับกิจกรรมโครงการฯ ประธานโครงการฯมีทักษะในการฝึกสามชิกคณะกรรมการให้เกิดทักษะการทำงานทุกมิติ รวมไปถึงการเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อให้พลังการพัฒนาที่ระเบิดจากข้างใน จึงทำให้คณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯยินดีที่ร่วมกิจกรรม มีความสุขในการได้มีบทบาทหน้าที่รับชอบพัฒนาศักยภาพตนเองมากขึ้น ผลลัพธ์=เกิดการทำงานเป็นทีม เกิดความสามัคคีสตรีในชุมชน เกิดรักถิ่นบ้านเกิดพร้อมเปิดใจสู่การพัฒนาและการมีส่วนร่วมในทุกๆด้าน สามารถนำทักษะต่างๆใช้ในกิจกรรมงานอื่นๆรวมถึงนำไปใช้กับคนในครอบครัวต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 09.00น.-13.00น. ณ.ห้องประชุมปลากระโทง คณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ประธานโครงการฯอ่านสวดดูอาร์ และพูดคุยวาระต่างๆ วาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ คณะทีมงาน แจ้งเรื่องราว ปัญหาและการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านตัวเอง มีข้อสังเกตในการบริหารจัดการเรื่องราวของผู้นำชุมชน บอกเล่าเรื่องสุขภาพกาย ใจและทางการเงินในการเลี้ยงลูกหลาน โอกาสของตัวเองจากการได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการฯ ได้ถูกยอมรับในความเป็นคนทำงานจิตอาสามีการให้เกียติรจากคนในชุมชน ขอบคุณโอกาสที่ได้รับมาและยินดีกับบทบาทหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ วาระที่ 2 แผนงานกิจกรรมถัดไป การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน ประธานโครงการฯเปิดพื้นที่กลาง ให้สามชิกเสนอแนะ กระบวนการจัดการในกิจกรรม หัวใจหลักทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสุข สนุกกับการร่วมกิจกรรมโครงการฯและทางทีมงานได้งานไปด้วย มีการเสนอชวนสมาชิกในกิจกรรมโครงการฯรวมที่ที่เดียว จัดนํ้าเย็นให้ พร้อม แบ่งหน้าที่พี่เลี้ยงเพื่อตรวจติดตาม ผลการทำบัญชีครัวเรือน และช่วยสมาชิกที่ยังจัดการตนเองได้ไม่ดีพอ เพื่อให้เขาได้เห็นภาพพร้อมตัวอย่าง คณะทำงานเห็นชอบรอบถัดไปชวนและพร้อมสื่อสารเชิญชวนเพื่อนสมาชิก

 

0 0

6. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 2)

วันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่า ………………..

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 28/4/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน ……………

 

0 0

7. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9)

วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะทำงาน 10 คน มีความเป็นทีมเวิร์คมีความเข้มแข็งมีความสามัคคีและมีทักษะในการจัดทำเอกสารรวมเป็นเด็กมีทักษะในการซักถามข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความชอบงานด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์=สตรีปะนาเระมีที่พึ่งแห่งการแบ่งปั่นและสร้างรอยยิ้มให้กับสมาชิก มีความสามัคคีมากยิ่งขึ้นพัฒนาศักยภาพอย่างตลอดต่อเนื่องและเกิดการทำงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง เกิดกลุ่มออมทรัพย์เกิดการบริหารจัดการพร้อมที่จะเรียนรู้และนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น -13:00 คณะทำงานกิจกรรมโครงการ 10 คนเตรียมความพร้อมเพื่อทำความเข้าใจในภารกิจงานรวมไปถึงการวางแผนงานและถอดบทเรียนทุกๆกิจกรรม ประธานโครงการฯได้ชวนคณะกรรมการโครงการฯทำการ swot ขบวนการทำงานในรอบที่ผ่านมาทุกกิจกรรมได้สะท้อนถึงในเรื่องของจุดเด่นจุดอ่อนของการและอุปสรรคซึ่งให้คณะกรรมการทั้ง 10 คนได้แสดงความคิดเห็นเท่าที่ตัวเองประสบมาจากการได้ร่วมกิจกรรมจากการได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ผลสรุปจากการทำสม็อคจุดเด่นที่ทางคณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯได้นำเสนอคือเกิดการทำงานแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้นระหว่างคณะกรรมการกิจกรรมโครงการฯและหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่สำคัญเกิดกระบวนการทำงานกับคนในชุมชนที่เป็นอันหนึ่งเดียวกันได้ในระดับหนึ่งและได้ทราบทีมเวิร์คทีมคณะกรรมการทำงานด้วยความตรงไปตรงมาด้วยการสร้างความสุขสร้างรอยยิ้มให้กับทีมงานและพัฒนาศักยภาพตนเองภายในตัว การรับบทบาทหน้าที่ทุกๆบทบาททำให้ตัวเองมีโอกาสได้แสดงความสามารถและได้มีโอกาสเรียนรู้ทุกกระบวนการทำงานและได้รู้จักเพื่อนมากยิ่งขึ้น จุดอ่อนของคณะกรรมการทั้ง 10 ท่านคือการสื่อสารกับคนภายนอกที่ยังมีความมั่นใจน้อยมากขาดความกล้าในการที่จะพูดคุยในประเด็นที่ตัวเองทำขาดทักษะการเก็บข้อมูลกับทักษะการสังเกตและวิเคราะห์โอกาสเงื่อนไข ขาดโอกาสการหาประสบการณ์จากภายนอก โอกาสทางคณะกรรมการโครงการได้สะท้อนในเรื่องของโอกาสทำให้สมาชิกคณะกรรมการในกิจกรรมของการรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมในกิจกรรมของการครั้งนี้ได้มีความรู้จักระหว่างคนในชุมชนมากขึ้นและสามารถที่จะได้รู้จักกับคนภายนอกมากยิ่งขึ้นรวมไปถึงรู้จักหน่วยงานราชการตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปและที่สำคัญโอกาสที่จะสร้างภูมิคุ้มกันการมีองค์ความรู้ในตัวรวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพและนำไปใช้ในกิจกรรมภารกิจอื่นที่ตนเองรับผิดชอบ โอกาสที่สำคัญคือการต่อยอดกิจกรรมเข้าสู่การออมทรัพย์ในชุมชนการมีธนาคารสถาบันการเงินภายในชุมชนเองและเกิดการบริหารจัดการโดยคนในชุมชนโดยเฉพาะการสร้างความเข้มแข็งให้กับทีมสตรีในชุมชนตำบลปะนาเระ อุปสรรคช่องทางโอกาสที่อาจจะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างมากมายรวมไปถึงภาษาในการสื่อสารและความกล้าหาญของคณะทำงานโครงการฯยังเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในบางเรื่องบางอย่างทำให้ระบบการแก้ไขปัญหาเพื่อนำสู่ความสำเร็จยังต้องเป็นภาระของผู้นำประธานโครงการฯอย่างตลอดต่อเนื่องและด้วยความที่พื้นที่ปะนาเระเป็นเป็นที่ปิดโอกาสเชิงการพัฒนาค่อนข้างจะยากนอกจากหน่วยงานองค์กรข้างนอกจะต้องเข้ามาหาและทำความสะอาดที่ดีมากยิ่งขึ้น กระบวนการการการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการองค์การใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมและใช้ทักษะการสื่อสารผ่านโพสอิทผ่านเครื่องมือต่างๆโดยประธานโครงการฯ

 

0 0

8. สำรวจข้อมูลครัวเรือนแม่บ้านประมงพื้นบ้าน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้เก็บข้อมูล……………

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 19/5/66 เวลา 09.30น.-12.30น. ณ.ห้องประชุมประชุมกระโทง ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ประธานโครงการฯเปิดการพูดคุยด้วยการสวดดูอาร์ และชวนคุยในประเด็นฐานข้อมูลตนเอง คณะทำงาน10คน ชวนคุยเพื่อทำการสำรวจข้อมูลครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 30 คน ในด้านเศรษฐกิจชุมชน รายรับ รายจ่าย หนีสิ้น และได้จัดการจัดเก็บเพื่อให้เกิดข้อมูลเพิ่มเติมโดยครั้งที่ 2 มีการสรุปจากการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 30 ครัวเรือน พบว่า………..

 

0 0

9. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10)

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะทำงานได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง พร้อมปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทได้เป็นอย่างดีรวมไปถึงสามารถรณรงค์ให้สมาชิกในกลุ่มเป้าหมายได้ร่วมทำกิจกรรมอย่างตลอดต่อเนื่องและได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนอื่นๆรวมไปถึงรู้จักในวิธีการทักษะกระบวนการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ผลลัพธ์=คณะทำงานชุดนี้มีความสามารถและได้รับการพัฒนาศักยภาพระดับหนึ่ง มีความพร้อมในกิจกรรมต่างๆสามารถที่จะทำงานต่อเนื่องภายใต้กิจกรรมที่จะต่อยอดในอนาคต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมรับการลงทะเบียนเตรียมความพร้อมต่อการวางแผนงานของกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ตามแผนประชุมวาระที่ 1 เวลาแจ้งเพื่อทราบ คณะกรรมการโครงการฯได้มีการชี้แจงกิจกรรมภายในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมแบบบุรณาการ เช่นกิจกรรมจัดโดยเทศบาลตำบลปะนาเระ อีกทั้งแจ้งกิจกรรมจิตอาสาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตำบลปะนาเระ  ประธานโครงการฯได้แจ้งในเรื่องของเครือข่ายกิจกรรมโครงการคำตอบอยู่ที่ตำบลเข้ามาเพื่อนำพาพี่น้องเครือข่ายจากพื้นที่ 5จังหวัดมาศึกษาดูงาน ภายในเดือนสิงหาคม 2566 และได้เลือกพื้นที่ตำบลปะนาเระเป็นพื้นที่ต้นแบบ ในการจะพาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 5 จังหวัดมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์กับกลุ่มชมรมประมงและกลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ วาระที่ 2 แผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการและแผนการดำเนินงานสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม แผนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯ หัวหน้าโครงการฯได้ชี้แจงและกระชับให้กับคณะทำงานได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่และติดตามประเมินผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่ดีในปัจจุบันและอนาคต เช่นพฤติกรรมการกิน ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และเตรียมรองรับกิจกรรมถัดไปที่จะเกิดขึ้นในเดือนหน้ารวมถึงเตรียมตัวเพื่อทำงานแบบดำเนินการกับหน่วยงานในพื้นที่อำเภอปะนาเระ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมคำตอบอยู่ที่ตำบล และร่วมกันติดตามแผนการดำเนินงานในรอบที่ผ่านมาและคณะกรรมการร่วมกัน swot ภารกิจที่ทำในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้าน การเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกิจกรรมโครงการอนาคตและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาพื้นที่ตำบลปะนาเระ วาระที่ 3 วาระอื่นๆวางกำหนดการตามแผนงานและเร่งการจัดกิจกรรมเพื่อได้เผื่อเวลาเตรียมตัวในกระบวนการทำงานเก็บตกในทุกมิติในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพในบ้านประมงพื้นบ้านเพื่อให้ภารกิจงานของคณะทำงานได้ลดลงมากขึ้น

 

0 0

10. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 3)

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการที่ได้ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละคนพบว่า ………………..

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 26/5/2566 เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ได้มีการนัดหมายกลุ่มเป้าหมายในการติดตามและประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และบัญชีครัวเรือน ……………

 

0 0

11. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 4)

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะทำงานกิจกรรมโครงการมีความชำนาญยิ่งขึ้นในเรื่องของความเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเป้าหมายการเติมทักษะในเรื่องของบัญชีครัวเรือนการเงินเสริมกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการมีส่วนร่วมมีการทำงานตามบทบาทหน้าที่ สามารถที่จะพัฒนาต่อยอดในกิจกรรมขโครงการได้อีกและทำให้ชุมชนมีพลังตื่นตัวในการที่จะทำให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถมีแนวทางแก้ปัญหาหนี้สินในระดับหนึ่ง สามารถมีอาชีพเสริมมีรายได้เข้ามาในแต่ละครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวสมาชิกกลุ่มเป้าหมายในโครงการ ผลลัพธ์=จากการดำเนินกิจกรรมตลอดต่อเนื่องทำให้คณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความคล่องในการปฏิบัติหน้าที่แต่ละบทบาทหน้าที่มีความเข้าใจในความเป็นกิจกรรมโครงการมากขึ้น สามารถสื่อสารเรื่องดีๆเชิงการพัฒนาชุมชนให้กับสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายรวมถึงคนในชุมชนได้ดีและมีโอกาสการพัฒนากิจกรรมโครงการเพื่อต่อยอดในอนาคตได้ เกิดพลังระเบิดจากข้างในของคนในชุมชนที่เริ่มมีความสนใจจะร่วมกิจกรรมโครงการของกลุ่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 เวลา 9:00 น ถึง 13:00 น. คณะทำงานกิจกรรมโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้าน ได้ดำเนินกิจกรรมตามบทบาทหน้าที่ ประสานเชิญกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการร่วมแลกเปลี่ยนในภารกิจติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและการบริหารจัดการบัญชีครัวเรือน ซึ่งทำให้สมาชิกในกิจกรรมโครงการฯทุกคนนำสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อมาตรวจสอบความถูกต้องและประเมินในเรื่องของการออมทรัพย์ที่ความมีความขัดข้องในเรื่องใดและแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันแลกเปลี่ยนและสร้างพลังร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ชุมชนโดยระเบิดจากข้างในของคนในชุมชน โดยจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้กับคณะกรรมการโครงการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเติมเต็มหรือส่วนที่สมาชิกไม่ถนัดจะฝึกให้สมาชิกจัดการในเรื่องของบัญชีครัวเรือน การจดบันทึกบัญชีครัวเรือนให้ถูกต้องและสนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายจะบันทึกสมุดบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงประมวลผลในเรื่องของอาชีพที่ได้ทำ โอกาสที่ได้จากกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านครั้งนี้

 

0 0

12. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 11)

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะกรรมการโครงการมีความตระหนักงานในบทบาทหน้าที่ตนเองมากขึ้น คณะทำงานมีพลังบวกพร้อมในทุกเวลา มีการพัฒนาตนเองในทุกด้าน เช่นศักยภาพในการทำงานตามบทบาทหน้าที่ ทักษะการสื่อสารกับสมาชิกเชิงบวก มีความกล้าพูดหน้าเวที่มากขึ้น มีการจดการประชุม เรียนรู้การเก็บประเด็น สามารถดึงสามชิกสตรีในชุมชนให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมได้ดี ผลลัพธ์=คณะกรรมการสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ประเมินสถานการณ์มิติต่างๆได้ มีทักษะการนำเสนอประเด็นปัญหา ประเด็นการพัฒนาชุมชนตนเอง มีความรับผิดชอบ สามารถสร้างเครือข่าย มีทักษะการจัดกิจกรรมมากขึ้น เติมพลังบวกให้ซึ่งกันและกันได้ดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา09.00น.-12.00น. คณะทำงานโครงการส่งเสริงอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ได้เตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับนโยบายขับเคลื่อนงานสตรีชาวเลชุมชนปะนาเระ นำทีมโดยหัวหน้าโครงการฯ เปิดด้วยสวดดูอาร์และต้อนรับสมาชิกรวมถึงถามทุกข์สุข สารพัดปัญหาครอบครัว ชุมชน อัปเดตความเคลื่อนไหวภารกิจงานพัฒนาจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ โดยคณะทีมงานร่วมกันสะท้อน หลังจากการนับฟังทุกคนช่วยสะท้อน หัวหน้าโครงการฯได้ผลสรุปจากการสะท้อน พื้นที่ตำบลปะนาเระมีกิจกรรมที่หลากหลายเกิดขึ้น การมีส่วนร่วมจากหน่วยงานในพื้นที่มีมากขึ้น ทุกหน่วยงานพูดถึงกลุ่มสตรีชาวเลมากขึ้นในด้านการขับเคลื่อนงานต่อเนื่อง ได้รับการชื่นชมจากผู้ใหญ่หลายท่าน ว่า ภายใต้กิจกรรมโครงการเราที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากสตรีในชุมชนค่อนข้างดี จึงทำให้ปัจจุบันเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเริ่มเกาะติด กิจกรรมของกลุ่มสตรีชาวเลฯ และเริ่มต้นด้วยวาระที่ 1 วาระแจ้งเพื่อทราบ เปิดพื้นที่กลางให้ทีมงาน แจ้งทุกเรื่องราว ภารกิจตนเอง ภารกิจชุมชนตามบทบาทหน้าที่ที่นอกเหนือในกิจกรรมโครงการฯ เพื่อจัดระบบการขับเคลื่อนงานในกิจกรรมถัดไปไม่ชนกับงานอื่นๆของทีมงานและทำหน้าที่ตนเองได้เต็มที่ ทีมงานสะท้อนประเด็นเรื่องการจดบัญชีครัวเรือนของสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายที่หลายคนยังขัดข้องด้านการจดต่อเนื่อง สืบเนื่องจากยังไม่ชินกับชีวิตที่เปลี่ยน มีลืมจด มีเรื่องหารสมุดไม่เจอ มีเรื่องความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้สมาชิกอีกหลายคนประเมินคะแนนตกในบางเดือน ทีมงานเสนอแนวทางนัดติดตาม ประเมินผลอีกครั้ง ในวัที่ 9 มิถุนายน 2566 พร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกที่ยังไม่เข้าใจจัดการเรื่องการจดบัญชีครัวเรือนให้สมบูนณ์แบบที่สุดเท่าที่ทำได้เบื้องต้น วาระที่ 2 แผนการดำเนินงานระสั้น ระยะยาว หัวหน้าโครงการฯทวนนัดหมายเรื่องการติดตาม ประเมินผล วันที่ 9/6/66 พร้อมเพรียงกันเวลา 09.00น.-13.00น. ร่วมวางแผนภารกิจงานด้านเอกสารเพื่อเตรียมปิดโครงการฯตามบทบาทหน้าที่ที่ช่วยได้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทีมงาน การตรวจเอกสาร รวมถึงประเมินแผนอนาคตเมื่อโอกาสต่อโครงการฯทางกลุ่มสตรีชาวฯอยากต่อยอดในกิจกรรมด้านการเงิน การดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น พัฒศักยภาพทีมงานในแต่ละด้านให้มีความชำนาญในแต่ละด้านตามความถนัดและตามบทบาทหน้าที่ที่มอบหมาย การศึกษาดูงานพื้นที่อื่น เพื่อนำเป็นแบบอย่างท่ดีต่อไป คาดหวังได้มีโอกาสสร้างชุมชนต้นแบบจากมือสตรีชาวเล จัดการบทเรียนที่ผ่านมาของชุมชนให้เป็นระบบพร้อมสร้างยังยืนมิติ อาชีพและการจัดการหนี้สินของสมาชิกกลุ่มฯ จัดหาสถานที่ทำการสตรีชาวเลเพื่อเป้นพื้นที่กลางในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันพึ่งพื้นที่ของชมรมประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นกลุ่มผู้ชายทำงานกัน ซึ่งประะธานสตรีชาวเลรับเรื่องดำเนินการเพื่อให้เกิดพื้นที่กลางสตรีชาวเลดังหวัง  วาระที่ 3 วาระอื่นๆ คณะทำงานสะท้อนความมรู้สึกขอบคุณโครงการที่ดีเป็นที่มาทำให้ทีมงานได้รับองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพมิติต่าง ได้รับการยอมรับความเป็นแกนนำสตรีในชุมชนมากขึ้น เป็นที่พึ่งให้สมาชิกปรึกาาหารรือมิติต่างๆ ได้มีเพื่อนที่หลากหลายต่างหมู่บ้าน ได้ฝึกการทำงานด้านกิจกรรมโครงการฯได้เข้าใจความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่กิจกรรมที่ต่างกัน ทำให้ได้ทักษะต่างๆจากกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ได้พลังบวกพร้อมสร้างรอยยิ้มให้สตรีในชุมชน  หัวหน้าโครงการฯ สรุปขอบคุณเติมพลังงบวกคนทำงานจิตอาสา กล่าวปิด

 

0 0

13. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 5)

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

…ผลผลิต =คณะทำงานกิจกรรมโครงการมีภาวะความเป็นจิตอาสาเสียสละเวลาและลักษณะในการนำพาหนะรับส่งผลเป้าหมายเพื่ออยากทราบการมีส่วนร่วมให้กับพี่น้องประชาชน คณะทำงานกับแฟนมีทักษะในการสื่อสารประสานงานรวมถึงทักษะการเตรียมสถานที่ ในส่วนของเป้าหมายในกิจกรรมโครงการมีความสุขที่ได้มาเจอกันทุกๆครั้งและได้จัดการตัวเองฝึกทักษะการเขียนบันทึกบัญชีครัวเรือนทักษะในเรื่องของการสร้างงานสร้างอาชีพการอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มของสตร ผลลัพธ์ =สติปัญญาเล็กมีความเข้มแข็งสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับกลุ่มและสามารถนำประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้คุมสตรีมีงานทำมีอาชีพเสริมภายในชุมชนและปัญหาหนี้สินื กลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมการตอบคำเดียวว่ามีความสุขสืบเนื่องจากภายในกิจกรรมมีทักษะเสริมองค์ความรู้ทักษะการสื่อสารที่เป็นประโยชน์และโอกาสในการให้กับกลุ่มเป้าหมายด้วย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

…เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2561 เวลา 9:00 น-13 .00น. คณะพิมพ์งานโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปานามิได้จัดเตรียมเอกสารเพื่อทำการติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการบริหารจัดการบัญชีครัวเรือน โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ฝ่ายประสานงาน จัดกระบวนการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีทักษะการสื่อสารพูดคุยด้วยตนเองดึงศักยภาพกลุ่มเป้าหมายโดยประธานโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ พร้อมในเชิญชวนเปิดประเด็นให้พี่น้องสมาชิกกลุ่มเป้าหมายในโครงการส่งเสริมอาชีพในบ้านประมงพื้นบ้านได้สะท้อนไม่จิตอาสาโดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการในเรื่องของเข้ามาทำหน้าที่ในเรื่องของอาชีพเสริมและการประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของแต่ละครัวเรือน

 

0 0

14. เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=จากจัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สตรีในชุมชนอยากมีส่วนร่วมงานด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนด้วยมือเรา ด้วยการให้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมที่ทางกลุ่มสตรีฯจัดขึ้น พร้อมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการรับการอบรมในกิจกรรมโครงการ ไปประชาสัมพันธ์ บอกต่อและนำสู่การปฎิบัติในครอบครัว เช่นกิจกรรม อบรมทักษะการเงิน การออมทรัพย์ การทำบัญชีครัวเรือน การดูแลสุขภาพ
ผลลัพธ์=จากจัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาทำให้เกิดการยอมในการทำงานกับทุกภาคส่วน ทำให้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย หน่วยงานรัฐสนใจมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมที่ทางกลุ่มฯจัดขึ้น มีแนวทางการพัฒนาในทุกมิติ สตรีในชุมชนสนใจต่อยอดกิจกรรมให้เกิดความสำเร็จเช่น ประชาสมพันธ์ในคนในครอบครัวมาสมัครออมทรัพย์ สมัครให้ลูกหลานรู้จักการออมฯ มีความหวังที่จะเห็นภาพความสำเร็จเชิงการพัฒนาชุมชน อยากเห็นการทำงานแบบบูรณาการกับทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 ณ.ลานชายหาดปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 กิจกรรมเวทีบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานี คณะทำงานในกิจกรรมโครงการได้จัดเตรียมสถานที่พร้อมเครื่องมือกระบวนการเพื่อทำการถอดบทเรียนในกิจกรรมโครงการเวลา 8:30 น จนถึงเวลา 9:00 น คณะทำงานต้อนรับกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมโครงการจำนวน 30 คนและกลุ่มเป้าหมายที่นอกเหนือกิจกรรมโครงการอีก 20 คนรวมเป็น 50 คนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังร่วมถอดบทเรียนกิจกรรมในรอบที่ผ่านมา เวลา 9:00 น ถึงเวลา 9:30 น คณะทำงานในกิจกรรมโครงการรับการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ประธานโครงการได้จัดการเตรียมเครื่องมือเพื่อชวนคุยกับพี่น้องที่เป็นสมาชิกในกิจกรรมโครงการและพี่น้องที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการครั้งนี้เบื้องต้นใดมิได้มีการแนะนำตัวคณะทำงานในกิจกรรมโครงการจำนวน 10 คนและได้กล่าววัตถุประสงค์ในการดำเนินงานกิจกรรม เวลา 9:00 น ถึง 12:00 น เริ่มกระบวนการการมีส่วนร่วมโดยมีวิทยากรชวนคุยเพื่อตกผลึกภาพความเป็นพื้นที่ชุมชนปะนาเระและแนวทางการพัฒนารวมถึงบทเรียนกระบวนการทำงานในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ โดยคุณอุสมาน ลา นักกิจกรรมจากองค์กร KPS (ครอบครัวรอยยิ้มหมู่บ้านเป็นสุข) ใช้เครื่องมือโดยการแจก post it /กระดาษสีติดแต้ม โดยให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้ประเมินกิจกรรมในรอบที่ผ่านมาและให้คะแนนความสุข  โดยใช้วิธีการจด/เขียน แปะ และชวนตัวแทนกลุ่มๆละ 2 คนแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่กลุ่มคณะทำงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ กลุ่มเป้าหมาย 20 คนจากโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มในบ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระและกลุ่มผู้สนใจที่เข้ามาร่วมกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนในครั้งนี้ ผลการประเมินกิจกรรมรอบแรกคือการใส่แต้มเพื่อให้คะแนนกิจกรรมที่สนใจตลอดระยะเวลาในกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ กิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจคือกิจกรรมส่งเสริมอาชีพกิจกรรมต่อยอดการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนเพื่อให้เกิดสถานการณ์การเดินในชุมชนแก้ปัญหาหนี้สินในอนาคตและกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพรวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน เมื่อกลุ่มเป้าหมายได้ติดแต้มความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านไปแล้วพิธีกรโดยประธานโครงการฯ ได้สรุปผลคะแนนที่กลุ่มเป้าหมายได้ติดตามต่างๆ แล้วมอบเวทีให้ทางวิทยากรได้เชิญตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอความรู้สึกที่ได้มีกิจกรรมในพื้นที่ชุมชน 3 กลุ่มเป้าหมาย
              พักเที่ยงละหมาด....เริ่มต่อ เวลา 13.30 นจนถึงเวลา 15:00 น พิธีกรได้มีกิจกรรมสันทนาการเล็กน้อยเพื่อกระตุ้นความสนใจให้กับกลุ่มเป้าหมายและได้เริ่มกิจกรรมแจก post it และมีการวาดภาพรูปแก้วกาแฟแล้วให้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดได้ให้คะแนนความรู้สึกความสุขที่มีกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระ ผลลัพธ์ให้กับคนในพื้นที่วัดความสุขได้กี่เปอร์เซ็นต์?สรุปสุดท้ายวิทยากรได้อ่านผลจากการไปแปะโพสต์อิทของกลุ่มเป้าหมาย ผลปรากฏกลุ่มเป้าหมายได้ให้คะแนนวัดความสุขในการได้ร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงปะนาเระ 50 -100% มีความสุขในการที่มีกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงปะนาเระและมีการเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายให้มีกิจกรรมโครงการต่อยอดตลอดต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการกิจกรรมระยะยาวเช่นการดำเนินการกิจกรรมออมทรัพย์ยังมีความต้องการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานรวมไปถึงพัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่ชุมชนตำบลปะนาเระ ลดปัญหาหนี้สิน าร้างความตระหนักการออม การสร้างความสามัคคี สร้างการมีส่วนร่วมต่อไป

 

50 0

15. การติดตาม ประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม บัญชีครัวเรือน (ครั้งที่ 6)

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

…ผลผลิต =กิจการติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ทำให้คณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความชำนาญและมีความรู้เพิ่มขึ้นในทุกมิติสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเป็นอย่างดีและทำให้คนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านมีความเข้าใจและได้มีองค์ความรู้ในทักษะต่างๆจึงทำให้มีกลุ่มเป้าหมายสนใจที่อยากจะเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มสตรีจากหลากหลายหมู่บ้าน ผล ลัพธ์ = จากการจัดกิจกรรมติดตามประเมินผลอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ทำให้สตรีในชุมชนได้ตระหนักรู้ในมิติต่างๆและสามารถเป็นที่พึ่งให้กับกลุ่มสตรีในชุมชนสามารถเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มสมาชิกสตรีในอนาคตข้างหน้าและสามารถดึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในมิติของสตรีสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 9:00 น-13:00 น คณะทำงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านป่านาเระ ขับเคลื่อนงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยการเชิญกลุ่มเป้าหมาย 30 คนเพื่อทำการติดตามประเมินผลในกิจกรรมกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่มบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 6 ผลจากการติดตามประเมินจากกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับหนึ่ง ทำให้สตรีในชุมชนมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการทำงานด้านจิตอาสาส่งเสริมเรื่องอาชีพในชุมชนและรู้จักไปพร้อมระบบการบริหารจัดการของกลุ่มทำความเข้าใจในมิติการทำงานเพื่อสังคมและตระหนักในเรื่องของการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนรวมเป็นถึงรู้จักประเมินรายรับรายจ่ายของครอบครัวนำมาสู่การออมทรัพย์อีกแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินและปัญหาความยากจนในอนาคตต่อไป

 

0 0

16. ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 12)

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต= สมาชิกคณะทำงานมีความกระตือรือร้นในภารกิจงานจิตอาสามีความเสียสละที่มากยิ่งขึ้นและมีทักษะในกระบวนการทำงานทุกมิติที่หลากหลายมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้น ผลลัพธ์ =จากการประมวลภาพรวมการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านปะนาเระทำให้ได้เห็นถึงศักยภาพของคณะทำงานในกิจกรรมโครงการดียิ่งขึ้นคณะทำงานในกิจกรรมโครงการมีความสามารถที่หลากหลายและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายงานโครงการมีทักษะองค์ความรู้ที่เก็บเกี่ยวตลอดต่อเนื่องจากกิจกรรมในโครงการส่งเสริมอาชีพในสังคมชุมชนและครอบครัวต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

….เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา09.00น.-12.00น. คณะทำงานกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพแม่บ้านประมงพื้นบ้านได้รวมตัวเพื่อเคลียร์เอกสารการดำเนินงานกิจกรรมโครงการเพื่อปิดกิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพไม่ได้ประมูลพื้นบ้านปะนาเระหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มและบ้านประมงพื้นบ้านปัญญาริคณะทำงานได้มาร่วมด้วยช่วยกันเคลียร์เอกสารทางการเงินและรายละเอียดต่างๆเพื่อส่งไปยังพี่เลี้ยงตัวทางเพื่อเข้าสู่ระบบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง วิธีการทำงานจะแบ่งตามบทบาทหน้าที่ตามความถนัดของกลุ่มคณะทำงานรวมเป็นถึงจะมีกลุ่มฝ่ายอำนวยการเพื่อติดตามรายละเอียดต่างๆที่ยังไม่ครบถ้วนจะมีเครื่องมือในการขอความคิดเห็นแสดงความรู้สึกจากคณะทำงานภายใต้กิจกรรมโครงการส่งเสริมอาชีพส่งเสริมอาชีพ

 

0 0

17. พี่เลี้ยงลงพื้นที่ ARE ครั้งที่ 3

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=คณะทำงานมีส่วนร่วมในการสะท้อนการถอดบทเรียน มีความกล้าในการสื่อสารมากขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆและสามารถประเมินตนเองและชุมชนได้ ผลลัพธ์=คณะทำงานมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมโครงการได้ในระดับหนึ่งและมีความกระตือรือร้นที่จะร่วมในกิจกรรมโครงการตลอดต่อเนื่องสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและมีความสามารถในการประสานสตรีในชุมชนเพื่อมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของการเป็นอย่างดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00น.-12.00น. คณะทำงานในกิจกรรมโครงการร่วมกันต้อนรับพี่เลี้ยงและเตรียมความพร้อมสะท้อนผลสรุปการดำเนินงานในห้วงเวลาที่ผ่านมาสรุแผนการดำเนินงานกิจกรรมทั้งหมด พี่เลี้ยงมาสร้างพื้นที่กลางให้คณะทำงานชวนคุยในเรื่องของการทำ a r e 2/3 ของชุมชน เอาตัวชี้วัดของกิจกรรมที่เคยทำ a r e ที่ผ่านมาแล้วชวนถอดบทเรียนของโครงการส่งเสริมแม่บ้านประมงพื้นบ้าน โดยมีประเด็นหลัก 8 ประเด็นและให้คะแนน เต็ม 5 คะแนนและโยงใยแมงมุมให้ตรงกับสิ่งที่ได้รับการประเมิน ประเด็นดังนี้ (1) คือโครงสร้างการทำงาน ประเมินคณะทำงานทั้ง 10 คนเมื่อมีการทำงานตามบทบาทหน้าที่ คณะทำงานได้สะท้อนในเรื่องของบทบาทหน้าที่ซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมจากเดิมคะแนน 4 และได้รับการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพจึงทำให้มีความคล่องในเรื่องการจัดการในบทบาทหน้าที่ตนเองจนประเมินให้คะแนน 5 คะแนน  (2) ในประเด็นบทบาทหน้าที่ คณะทำงานได้ประเมินตัวเองให้ 5 คะแนน รอบที่แล้วและรอบนี้เนื่องจากคณะทำงานได้ทุ่มเทเสียสละในเรื่องของเวลาอย่างเต็มที่และได้จัดการทุกมิติของปัญหาด้วยตัวเอง ได้ทำบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเต็มความสามารถ (3) ประเด็นงานชัดเจน คณะทำงานได้ประเมินกระบวนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาให้ 5 คะแนน สืบเนื่องจากกลุ่มมีการประชุมเตรียมทุกๆครั้งที่จะเริ่มกิจกรรมและกลุ่มมีการประเมินทุกๆครั้งที่มีปัญหากลุ่มมีการทำงานแบบบูรณาการกับทุกฝ่ายจึงมีความรู้สึกแผนงานกิจกรรมโครงการมีความชัดเจนมาก (4) ประเด็นการปฏิบัติการตามแผน คณะทำงานในกิจกรรมโครงการได้ให้คะแนน 5 คะแนน สืบเนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมโครงการตามแผนงานทุกกิจกรรมที่สำคัญมีความภูมิใจที่สามารถจัดกิจกรรมโครงการฯให้เสร็จก่อนแผนการดำเนินงาน (5) ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ คณะทำงานได้ประเมินให้คะแนน 5 สืบเนื่องจากมีมีสตรีในชุมชนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการด้วยทำให้คณะทำงานมีความรู้สึกพอใจและมีพลังที่จะดำเนินกิจกรรมตลอดต่อเนื่อง  (6) ประเด็นความรู้ของชุมชน คณะทำงานได้ประเมินให้ 5 คะแนนสืบเนื่องจากกิจกรรมที่ให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกิจกรรมถูกตอบรับเป็นอย่างดี เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติเช่นพฤติกรรมด้านการกินอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการออมเงินจนถึงทำให้เกิดกลุ่มออมทรัพย์ 1 กลุ่ม (7) การมีส่วนร่วมของชุมชน ให้คะแนนเต็ม 5 สืบเนื่องจากการตอบรับของคนในชุมชนที่มีความสนใจที่จะร่วมกิจกรรมโครงการกับคณะทำงานและพร้อมที่อยากจะพัฒนาชุมชนได้ ผลจากการสำรวจในเวทีที่จัดกิจกรรมภายใต้โครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้าน  (8) ความสำเร็จของโครงการ คณะทำงานได้ให้คะแนนเต็ม 5 ตัวชี้วัดที่เห็นถึงความสำเร็จในกิจกรรมโครงการคือสมาชิกในกลุ่มเป้าหมายมีความสนใจและตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพ เรื่องของการจัดการหนี้สิน เรื่องของการออมทรัพย์และเกิดการมีส่วนร่วมภายในชุมชนมีความสนใจมากขึ้นและสามารถดำเนินกิจกรรมโครงการได้เสร็จก่อนกำหนดตามเป้าหมายที่วางไว้ สรุปผลจากการถอดบทเรียนในครั้งนี้บันไดผลลัพธ์ที่ 1 เห็นได้ชัดการเกิดกลุ่มคณะทำงานที่คัดเลือกจากกลุ่มสตรีชาวเลและพัฒนาศักยภาพในตลอดต่อเนื่องสามารถดำเนินกิจกรรมในโครงการแม่บ้านประมงพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี บันไดผลลัพธ์ที่ 2 มีความรู้ทักษะพัฒนาอาชีพ กิจกรรมสำคัญอบรมเสริมความรู้บริหารจัดการการเงิน พัฒนาศักยภาพแกนนำเป็นผู้ประกอบการแผนการตลาด บันไดผลลัพธ์ที่ 3 มีการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพกิจกรรมสำคัญติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่าย วันเด็กผลลัพธ์ที่ 4 มีอาชีพเสริมกิจกรรมสำคัญการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายอาชีพและการตลาด

 

0 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต=ได้รับพลังบวกจากการนำเสนอของพื้นที่ชุมชนอื่นๆรวมถึงจากพี่เลี้ยง ได้ทักษะการถอดบทเรียนที่เข้มข้นยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับกิจกรรมอื่นๆ และสามารถต่อยอดงานได้ดีขึ้น ผลลัพธ์=เกิดแรงบันดาลใจ ที่อยากต่อยอดกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อเนื่อง สามารถดำเนินงานด้านเอกสารได้มากยิ่งขึ้น สามารถนำทักษะกิจกรรมสันทนาการไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆและได้มีทักษะจัดเก็บข้อมูล ผ่านเครื่องมือวิธีการถอดบทเรียนในครั้งนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00น.-16.30น. กิจกรรมวันแรก  เดินทางถึงโรงแรมเซาเทอร์น แอร์พอต รับอาหารกล่องและเตรียมจัดแสดงนิทรรศการ มีการจำหน่ายและนำเสนอสินค้าโดยจัดโต๊ะเป็นกลุ่มสำหรับการจัดนิทรรศการ กลุ่มละ 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,สงขลา,สตูล,นครศรีธรรมราช,พัทลุง,กระบี่,ตรังและพังงา โซนจังหวัดปัตตานี จัดบูทนิทรรศการวางผลิตภัณฑ์ชุมชน เวลา 13.00 น. ทางโครงการเริ่มไลฟ์สด เยี่ยมชมนิทรรศการแต่ละโครงการฯ โดยมีนายมะยุนันรับหน้าที่ในการไลฟ์สดในงานผ่านช่องทางเพจ สมาคมสร้างสุขชุมชน ชุมชนปะนาเระเป็นตัวแทนนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนจากจังหวัดปัตตานี ของดีจังหวัดปัตตานี ผลิตภัณฑ์จากชุมชนปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี/ชุมชนท่าคลอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี/ชุมชนลูโบะซุลง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เวลา 14.00น.กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำผลลัพธ์ 26 ข้อโดยมีการแบ่งกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงตัวแทนละ1-2 คน พี่เลี้ยงทำหน้าที่ชวนคุยวิเคราะห์และร่วมสรุปถอดบทเรียน จำนวน 26 ข้อ ได้แก่ 1.ชื่อโครงการฯ ?2.จำนวนแกนนำ ? 3.จำนวนแกนนำที่มีความรู้การบริหารโครงการ ? 4.จำนวนแกนนำที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพพและการเงิน ? 5.จำนวนแกนนำที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ? 6.จำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ? จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ ? 7.จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ ? 8.จำนวนคนที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(สุขภาพ+การเงิน) ? 9.ลักษณะพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง พึ่งพาตนเองด้านอาหาร ? 10. ที่มีความสุขเพิ่ม? 11.จำนวนกลุ่มในชุมชนที่สร้างแหล่งอาหารในชุมชน ?  เวลา16.00 น.พี่เลี้ยงประจำกลุ่มนำผลการเเลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอในวงใหญ่ เวลา 18.30 น.รับประทานอาหารร่วมกันในรูปแบบปาร์ตี้สังสรรค์และชมการแสดงของตัวแทนแต่ละจังหวัด     กิจกรรมวันที่สอง เวลา 09.00 น. นายมะยูนันเป็นพิธีกรผู้ดำเนินกิจกรรมได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและให้ตัวแทนบางกลุ่มได้แลกเปลี่ยนกล่าวถึงสิ่งที่รับจากกิจกรรมของวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ผู้เข้าร่วมได้กล่าวว่า "มีความประทับใจในการที่ได้เข้าร่วมโครงการและกิจกรรม ได้รู้จักเครือข่าย รู้จักเพื่อนจากจังหวัดอื่นๆ" "ได้ผ่อนคลายความเครียดจากการร่วมแสดงปาร์ตี้สังสรรค์" "ได้รู้จักเครื่องมือเรื่องบันไดผลลัพธ์ในการวัดตัวชี้วัดความสำเร็จกิจกรรมของโครงการ แบ่งกลุ่มย่อยในการถอดบทเรียนโครงการ(มีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม)โดยมีหัวข้อย่อยดังนี้ 1.การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการสนับสนุนการมีแนวทางอย่างไร? -กลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจ -มีเป้าหมายเดียวกัน -มีความสนใจกิจกรรมเดียวกัน -การมีส่วนร่วม -กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ -กลุ่มเยาวชน/ผู้สูงอายุ 2.แกนนำควรได้รับการพัฒนาทักษะเรื่องอะไรบ้าง? เพื่อให้ขับเคลื่อนงานได้บรรลุผลลัพธ์ -การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ -การตลาด -ทักษะผู้ประกอบการ -การสร้างเครือข่าย/เชื่อมโยงแบ่งปัน -ความรู้เฉพาะด้านให้สอดคล้องประเด็นโครงการ -การสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้นำ -การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้/การรับมือ -การยกระดับแกนนำให้เป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ -การส่งต่อ/การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นต่อไป 3.การจัดการข้อมูลตามบรรไดผลลัพธ์ มีวิธีการเก็บ การตรวจสอบความถูกต้องและการเอาข้อมูลไปใช้ในโครงการอย่างไร? ตัวอย่างที่เคยทำ -วิธีเก็บข้อมูลได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การจัดประชุม การบันทึกสมุดออมทรัพย์ -การตรวจสอบได้แก่ การติดตามตรวจสอบความถูกต้อง กระบวนการกลุ่ม การลงพื้นที่ -การนำไปใช้ได้แก่ จัดเวทีคืนข้อมูล เป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำกิจกรรมต่อไป ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -นำข้อมูลไปแก้ปัญหา โดยการแก้หนี้/สหกรณ์ บัตรสวัสดิการ 4.การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนวิชาการมีแนวทางอย่างไร? -เป็นพี่เลี้ยงในการทำงานร่วมกัน -เป็นที่ปรึกษา/เติมพลังให้กับชุมชน/กำลังใจ -แก้ปัญหาร่วมกัน -เกิดการกระตุ้นจากพี่เลี้ยงย่างแรงเพื่อขับเคลื่อนงานให้บรรลุผล -การเข้าถึง การเข้าใจและพัฒนาให้เกิดผล -การสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบครอบครัว 5.ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง จากหน่วยจัดการและภาคีระดับพื้นที่เป็นอย่างไร? -ผลักดันกิจกรรม/โครงการให้เกิดการต่อยอด -การสร้างเครือข่ายระดับพื้นที่ -การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ -การพัฒนาศักยภาพแกนนำ -การเติมเงิน/คน/งาน

 

1 0

19. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวจเอกสารการเงินรายงานในระบบ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-

 

0 0

20. พบพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

พี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบเพื่อตรวจความถูกต้อง เพิ่มเติมบัตรประชาชนและบิลใบเสร็จรับเงินให้ครบ้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่การเงินนัดพี่เลี้ยงหน่วยจัดการตรวตจเอกสารการเงินรายงานในระบบเพื่อตรวจความถูกต้อง

 

2 0

21. พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารรายงานการเงินและรายงานในระบบคนใต้สร้างสุข

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่การเงินตรวจเอกสารการเงินและรายงานเพิ่มเติมในระบบคนใต้สร้างสุขถูกต้องครบถ้วน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่การเงินตรวจเอกสารการเงินและรายงานเพิ่มเติมในระบบคนใต้สร้างสุข

 

2 0

22. จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 45 43                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 80,607.00                    
คุณภาพกิจกรรม 172                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางสาวอาอิชะฮ์ ตีมุง
ผู้รับผิดชอบโครงการ