task_alt

โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการ “คลังอาหารข้างบ้าน สร้างสุข” พื้นที่ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชุมชน พื้นที่ ตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 65-10018-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2566 ถึงเดือน สิงหาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. พี่เลี้ยงติดตามผลงานระดับบุคคล และครัวเรือน

วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ด้านปริมาณ
1.เกิดคนต้นแบบครัวเรือน ต้นแบบ จำนวน 10 ครัวเรือน
ด้านคุณภาพ 1.เกิดแหล่งเรีบนรู้ในระดับหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง
2.เกิดรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นคนละ 500 - 1000 บาทต่อเดือน
3.เป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับสมาชิกครัวเรือน 4.ทำให้สมาชิกเห็นประโยชน์และความสำคัญของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 วันนี้พี่เลี้ยง ได้ลงพื้นที่ เพื่อเยี่ยมติดตามครัวเรือนต้นแบบ และติดตามการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน จำนวน 10 ครัวเรือน ดังนี้
1.นายถาวร เกิดวัน เกิดผลผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง 2.นายนันทวุฒิ จันทโชติ  เกิดผลผลิตในการผลิตอาหารเม็ดและเลี้ยงไก่ไข่ 3.นางจิรภรณ์ สุขแจ่ม เกิดผลผลิตในการปลูกแตงกวาและแตงโม
4.นางสุพรรษา จันทโร เกิดผลผลิตในการทำน้ำยาล้างจาน และขายในราคาต้นทุนได้กำไรเดือนละ 500 บาท
5.นางศรีวิลัย ทองใสพร เกิดผลผลิตในการเลี้ยงหอยขม และสร้างรายได้ประมาณ 500 – 1000 บาทต่อเดือน
6.นางวันดี เขียวสม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงหอยขม และสร้างรายได้ประมาณ 500 – 1000 บาทต่อเดือน โดยเลี้ยงร่วมกับนางศรีวิลัย
7.นางสาวภิรมย์ ภิรมย์รักษ์ เกิดผลผลิตในการเลี้ยงปลาดุกและการปลูกพริก
8.นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร เกิดผลผลิตในการปลูกผักชี และรายได้กิโลกรัมละ 200 บาท
9.นายอดุลย์ ยิ้มแย้ม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงปลาหมอ 10.นางวันดี เขียวสม เกิดผลผลิตในการเลี้ยงไก่บ้าน ไก่พื้นเมือง

 

10 0

2. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วันที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วั1.ด้านปริมาณ 1.1.จากการพูดคุยและจากบัญชีครัวเรือนทำให้เห็นว่าสมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือนมากขึ้น  ร้อยละ  80 1.2.สมาชิกสามารถเรียนรู้การปรับแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน  และเรียนรู้การนำเศรษฐกิจพอพัยงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

2.ด้านคุณภาพ 2.1.สมาชิกได้เรียนรู้  และเกิดทักษะการเพิ่มรายได้  และการออมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น  เป็นร้อยละ  80  เช่นกัน  ผักข้างบ้าน  ปลาข้างบ้านหรืออาหารอื่นๆข้างบ้านนำมาลงบัญชีครัวเรือน  ทำให้รู้รายรับ  รายจ่ายดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  7  มีนาคม  2566  สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  ตำบลเขาพระบาทซึ่งได้รับสนับสนุนงบ  สำนัก  6  สสส.  โดย  Node  โควิด-ภาคใต้ตอนล่าง  โดยนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  ได้มีการประชุมพูดคุยและติดตามการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกแกนนำทั้ง  10  คน  พบว่าแกนนำทั้ง  10  คน  ได้มีการทำบัญชีครัวเรือนสม่ำเสมอ  และได้นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  และนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  ยังได้พูดคุยขอความร่วมมือกับสมาชิกทั้ง  10  คน  ว่าถึงแม้จะปิดโครงการแล้วแต่เราก็ยังจะติดตามและคอยถามข่าว  และเราต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวดี  ๆ  อีก  ก็ได้รับการตอบรับจากสมาชิกแกนนำทั้ง  10  คนเป็นอย่างดีทุกคนเต็มใจ  และมีความสุขในการมานั่งพูดคุยกันและได้และเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

 

39 0

3. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 8 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ จำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุมตามแผนงานที่กำหนด 2.แกนนำโครงการ มีข้อมูลครัวเรือน เปรียบเทียบก่อนและหลังโครงการ ด้านคุณภาพ 1.เกิดกลุ่มอาชีพและจดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และดำเนินงานต่อเนื่องทุกเดือน 2.สมาชิกและครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเกิดอาชีพและรายได้ เฉลี่ยคนละ 500 บาทต่อดือน และมีเงินออมเฉลี่ย 50 บาท-100 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  8  เมษายน  2566  หัวหน้าโครงการ  คือ  นางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  และสมาชิกแกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ได้รับงงสนับสนุนจาก  สำนัก  6  สสส.  ได้เชิญสมาชิกแกนนำโครงการเพื่อมานั่งพูดคุยเกี่ยวกับ  ประเด็นการพัฒนางาน  กิจกรรมของกลุ่มไม่ว่าจะเป็นการทำปลานิล  แดดเดียว  ปลานิลส้มการทำลูกประคบสมุนไพร  การทำอาหารสัตว์ด้วยสมุนไพร  การทำปุ๋ยหมักชีวภาพว่าเราจะต้องมีวิธีการหรือแนวทางในการต่อยอดงานเหล่านี้เพื่อรองรับอาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของเรากันอย่างไรบ้าง  เพราะโครงการใกล้จะสิ้นสุดแล้ว  แต่เราจะหยุดตามโครงการไม่ได้  เพราะเรามีกลุ่มของเราที่เกิดขึ้นจริง  เราจะต้องพัฒนาต่อยอดต่อไป  เพื่อพวกเราเองและสมาชิกของพวกเรา  ให้มีอาชีพเพราะรายได้ที่มั่นคงต่อไป  ส่วนการทำบัญชีครัวเรือนเราก็ยังจะต้องทำต่อไป  เพราะจากที่เราได้พูดคุยกันสมาชิกบางคนเปลี่ยนแปลงรายรับ  –  รายจ่ายได้  เพราะการทำบัญชีครัวเรือนจริงๆ  และยังมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนครัวเรือนละ  50  บาทบ้าง  100  บาทบ้าง  สูงสุดเดือนละ  300-500  บาทต่อเดือน

 

10 0

4. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนให้ความรู้เกี่ยกับการปรับปรุงรูปแบบการบรรจุภัณฑ์

วันที่ 22 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ด้านปริมาณ -สมาชิกโครงการได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการออกแบบจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุสินค้าแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค้ามากกว่าเดิม -ทำให้สมาชิกมีความคิดสร่างสรรค์ในการคิดวิเคราะห์  และสนุกสนยานในการทำกิจกรรม 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  และปลอดสารเคมี  ทำให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกาย  และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจเพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  22  เมษายน  2566  หัวหน้าโครงการคือนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  และสมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ได้รับงงสนับสนุนจาก  สำนัก  6  สสส.  ได้มีการพูดคุยเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของยาดม  ยาหม่องสมุนไพร  ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร  ชุดอบสมุนไพร  ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สมุนไพรปลอดสารเคมี  บรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปปลานิลแดดเดียว  ปลาส้ม  เรียนรู้วิธีการซีนบรรจุภัณฑ์  และการออกแบบโลโก้หรือป้ายสินค้า  เพื่อให้สินค้าดูมีราคามากขึ้น  โดยในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นและระดมความคิด  ในการที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์  เพื่อที่จะคัดเลือกและเป็นแบบที่สามารถสร้างมูลค้าเพิ่มให้กับสินค้าอีกต่อไป

 

39 0

5. พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่ม

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ   -แกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้ทำหน้าที่ของตนเอง  ที่ได้รับมอบหมาย  คือการดูแลและช่วยเหลือสมาชิก  และมีการเก็บข้อมูลของสมาชิกที่ได้รับมอบหมายตามที่กำหนดให้เป้นอย่างดี -มีการขับเคลื่อนกิจกรรมกันตามแผนงานที่กำหนด  และเกิดผลสำเร็จตามโครงการและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี 2.ด้านคุณภาพ   -ทำให้คุณภาพไม่ว่าจะเป็นทางกาย  ทางสุขภาพทางการเงินของสมาชิกแกนนำ  และสมาชิกโครงการ  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถบริหารจัดการได้เป็นส่วนมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  20  พฤษภาคม  2566  วันนี้ได้มีการนัดแกนนำหลักของโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท  (รหัสโครงการ  65-10018-12)  ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด  19  ภาคใต้  สำนัก  6  สสส.  โดยการประชุมแกนนำโครงการ  10  คน  เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ  และประเมินผลตามบันไดผลลัพธ์และสมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้นำข้อมูลมาพูดคุย  และได้สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั่งแต่เริ่มโครงการจนตอนนี้จะปิดโครงการแล้ว  เพื่อนำมาสรุปและเก็บข้อมูลร่วมกัน  เพื่อที่จะนำไปจัดเวที  ARE  ในครั้งต่อไป  โดยข้อมูลที่ทำการเก็บ  คือ  ข้อมูลสุขภาพกาย  สุขภาพทางการเงิน  การทำบัญชีครัวเรือน  และการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน

 

10 0

6. อบรมกิจกรรมสื่อออนไลน์

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ 1.1.สมาชิกโครงการ 3 คน ได้เข้าเรียนระบบออนไลน์ โดยผ่านระบบซูม
1.2. สมาชิกได้เรียนรู้และฝึกทักษะ ในการถ่ายภาพ และการนำเสนอสินค้า

2.ด้านคุณภาพ 2.1.สมาชิกได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการนำเสนอสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้สนใจ โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า รูปแบบสินค้าต้องน่าสนใจ และชวนให้ซื้อ 2.2.ตัวแทนโครงการ นำสินค้าที่ผลิตได้ในกลุ่ม นำมาโพสต์ขาย ทั้งในติ๊กต๊อกและเฟสบุ๊ก 2.3.เป็นการพัฒนาตัวแทนโครงการให้เรียนรู้เทคโนโลยี โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของอายุ หรือการศึกษา แต่ถ้ามีความมั่นใจ ก็สามารถพัฒนางานได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วาระที่  1  แจ้งเพื่อทราบ ผู้จัดการของ Node ได้แจ้ง ให้กับกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อจัดทำสื่อในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าของโครงการ โดยจัดการอบรม 2 วัน รูปแบบการใช้สื่อวันแรกจะสอนเรื่องการนำเสนอผลงานในระบบออนไลน์ และติ๊กต๊อก  และวันที่ 2 การจัดทำเอกสาร แผ่นพับ เพื่อนำเสนอสินค้าโดยใช้โปรแกรม canva วาระที่ 2
วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ตัวแทนโครงการ 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมโดยมีการทดสอบระบบซูม เพราะต้องเรียนผ่านทางระบบออนไลน์ และให้ตัวแทน โครงการละ 2 – 3 คน เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อพี่เลี้ยงของ Node ได้ชี้แจ้งรายละเอียด ก็มีการสอนแนะนำเกี่ยวกับการถ่ายภาพสินค้า  การจัดวางภาพสินค้า และให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพสินค้าและโชว์ในเอกสาร  ช่วงบ่าย มีการสอนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมติ๊กต๊อก มีการสอนให้นำเสนอสินค้าลงในติ๊กต๊อก โดยใช้ข้อมูลที่สั้น กระชับ ได้ใจความ วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 วิทยากรได้สอนความรู้เกี่ยวกับ การนำภาพมาตกแต่งในโปรแกรมแคนวา และให้มีการจัดขนาดตัวอักษร ความสมดุล และความน่าสนใจ และให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติการและทำการบ้านส่ง

 

2 0

7. ประชุมสรุปติดตามงานร่วมกับพี่เลี้ยง เวที ARE

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ   -สมาชิกได้เรียนรู้การลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  โดยเริ่มจากการทำบัญชีครัวเรือนจากเดิมสมาชิก  12  คน  ที่ยังไม่เคยทำบัญชีครัวเรือนตอนเริ่มโครงการจนกระทั้งถึงระหว่างโครงการ  แต่ตอนนี้สมาชิกทั้ง  12  คน  สามารถทำบัญชีครัวเรือนเป็นทุกคน   -จากการดำเนินโครงการมาทำให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  1  กลุ่มแล้วยังสามารถทำให้เกิดรายได้กลุ่มได้จริง  ณ  ตอนนี้ได้มีการเปิดบัญชีกลุ่มและมีรายได้เข้าบัญชีแล้ว  6000  บาท 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกรู้จักออกแบบปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมโครงการและตามความเหมาะสม   -มีการขยายถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนในหมู่บ้าน  7  หมู่บ้าน  จาก  9  หมู่บ้าน   -สมาชิกมีการทำบัญชีครัวเรือนต่อเนื่องทุกเดือน  37  คน  จาก  39  คน สรุป  สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  จากการสรุปพูดคุยของแปกนนำในวันนี้ให้ได้รู้ว่าครัวเรือนเป้าหมายของโครงการมีความรู้ด้านสุขภาพทางการเงิน  และความสามารถ  ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ  และครัวเรือนสมาชิกโครงการที่เข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มรายได้โดยการออมเงินได้ถึงครัวเรือน  400  –  500  บาท  /  เดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  27  พฤษภาคม  2566  แกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข  ตำบลเขาพระบาท  อำเภอเชียรใหญ่  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วนแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด  –  19  พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง  สำนัก  3  สสส.  ร่วมกับพี่เลี้ยง  โดยนางสาวจุฑาทิพย์  บริเพชร  หัวหน้าโครงการ  ได้ประชุมเพื่อติดตามผลลัพธ์ของโครงการตามตัวชี้วัดและสรุปผลที่เกิดขึ้นตามโครงการ  ได้แก่  ครัวเรือนมีอาชีพเสริมมากกว่า  1  อาชีพ  ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากครั้งก่อน  400-500  บาทต่อครัวเรือน  ครัวเรือนสามารถลดค่าการซื้อหวยได้เดือนละ  1000  บาท  เลิกซื้อสินค้าออนไลน์ได้เดือนละ  1000  บาท  ลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ  250  บาทต่อเดือน  ลดค่าซื้อผักได้เดือนละ  1500บาทต่อเดือน  โดยสิ่งเหล่านี้สามารถลดได้โดยการลงมือทำบัญชีครัวเรือน  ปลูกผักข้างบ้านไว้รับประทานเอง  ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง  ปลอดสารเคมีและยังสามารถสร้างรายได้โดยการทำอาชีพเสริมที่สามารถขายได้อยู่ตลอด  นอกเหนือจากการทำปลานิลแดดเดียว  โดยแปรรูปทำปลานิลส้ม  ไข่เค็มสมุนไพร

 

25 0

8. ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ

วันที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกทุกคน  ได้มีการตรวจวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ  ก่อนที่จะเริ่มโครงการ  และเน้นทุกคนได้ปรับพฤติกรรม  และติดตามทุก  3  เดือน -สมาชิกได้รู้สถานะสุขภาพของตนเอง  มีการปรับพฤติกรรมทั้งทางสุขภาพและการเงิน -สมาชิกสามารถประเมินสถานะสุขภาพด้านการเงินของตนเอง  วางแผน  และนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้เงินในชีวิตประจำวันได้   2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกเกิดทักษะ  ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น -สมาชิกเข้าใจและเกิดการวางแผนด้านการเงิน  ปรับลดค่าใช้จ่ายเพิ่มวิธีการหารายได้  และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนเองและครัวเรือนได้ สรุป  สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพทางกายและสุขภาพการเงินได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลสมาชิกหลังดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมายเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลด้านสุขภาพ  และด้านการเงิน  โดยใช้แบบวัดความรู้ทางด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ  การสอบถามโรคประจำตัว  ผลความดันโลหิตสูง  ผลน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร  น้ำหนัก  รอบเอว  และแบบสำรวจสุขภาพทางการเงิน  และบัญชีครัวเรือน   ผลการสำรวจพบว่า -เดิมมีสมาชิก  39  คน  และสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มเป็น  45  คน
-กลุ่มเป้าหมายเจ็บป่วยคงเดิม  ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม -ผลความดันโลหิตสูง  พบว่า  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  6  คนเท่าเดิม  ความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง  30  คน  ลดลง  5  คน  ไม่มีกลุ่มเสี่ยง -ผลการวัดระดับน้ำตาลในเลือด  พบว่า  ผู้ป่วยเบาหวาน  1  คน  ไม่เพิ่มกลุ่มปกติ  36  คน  กลุ่มเสี่ยงลดลง  2  คน  เหลือ  4  คน -ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน  12  คน  ปกติ  29  คน  สามารถลดได้  3  คน
-ความรู้ทางด้านการเงิน  พบว่า  คะแนนสุขภาพการเงินอยู่ในระดับดีขึ้น  จำนวน  35  คน

 

39 0

9. ประชุมแกนนำโครงการ

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ด้านปริมาณ   -สมาชิกทุกคนในครัวเรือนได้มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ  5  วัน  ทำให้สุขภาพแข็งแรง  ได้กินผักที่ปลูกเองที่ปลอดสารพิษ   -สมาชิกในครัวเรือนรู้จักออม  มีการช่วยทำบัญชีครัวเรือน  ลดการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์  ลดการซื้อหวย  รู้จักใช้จ่าย  รู้ค่าของเงินมากขึ้นด้วย 2.ด้านคุณภาพ   -สมาชิกในครัวเรือนมีทักษะและความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและของตนเองในครัวเรือน  รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   -สมาชิกในครัวเรือนเข้าใจและเกิดทักษะการวางแผนการใช้จ่ายเงินรู้จักปรับลดค่าใช้จ่าย  สิ่งไหนที่ไม่จำเป็นเปลี่ยนวิธีการเพิ่มรายได้ สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการรวมถึงสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการพฤติกรรมของตนเอง  และสามารถจัดการเงินของครัวเรือนได้ดีขึ้นจากเดิม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ได้รวบรวมข้อมูลในทุกๆ  ด้านตามกิจกรรมของโครงการไม่ว่าจะเป็น  ด้านสุขภาพทางด้านร่างกาย  สุขภาพด้านการเงิน  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเสริม  รายได้ที่เพิ่มขึ้น  และรายจ่ายที่สามารถลดลงได้จากการที่สมาชิกได้เรียนรู้และได้ทำกิจกรรมจากโครงการ  จะทำให้เห็นว่าโครงการได้ครัวเรือนต้นแบบ  และคนต้นแบบจากการทำกิจกรรมของโครงการจำนวน  10  คน  โดย  10  คนนี้ก็ได้รับการยอมรับจากสมาชิกที่ร่วมโครงการทุกคน  และจากผลงานของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายเองด้วย   ผลที่สำรวจพบว่า   -ครัวเรือนเป้าหมายทั้ง  10  ครัวเรือนนี้  จากเดิมมีการทำงานและมีรายได้ของครอบครัวจากพ่อแม่  แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการทำให้เห็นว่า  ได้มีการชวนลูก  ๆ  ทำกิจกรรมร่วมกัน  เช่น  ชวนลูก  ๆ  รดน้ำผักข้างบ้าน  ปลูกผักข้างบ้าน  บางครอบครัวจากลูกเล่นแต่เกมส์  สามารถชักชวนลูกมาช่วยปลูกผัก  เก็บผัก  ลูกเล่นเกมส์น้อยลง  หันมาช่วยพ่อแม่มากขึ้น  และทำให้ครอบครัวมีความรัก  ความอบอุ่น  และที่สำคัญมีความสุขมากขึ้น

 

10 0

10. อบรมเพิ่มความรู้ทักษะการ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1.ได้กองปุ๋ย  1  กอง  ที่ปลอดสารเคมี 2.ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มผู้ศึกษาดูงาน สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ  ได้ปุ๋ยหมัก  1  กอง  เพื่อไว้ใช้ปลูกผักปลอดสารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  19  มิถุนายน  2566  ทางโครงการได้มีโอกาสมาต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากจังหวัดภูเก็ต  ได้มาเรียนรู้เยี่ยมชม  ศูนย์เรียนรู้ของโครงการ  ณ  ศูนย์เรียนรู้  รพ.สต.เขาพระบาท  ได้มาดูการปลูกผักยกแคร่  การเลี้ยงไก่ไข่  เลี้ยงไก่พื้นบ้าน  การเลี้ยงแพะ  การทำอาหารสัตว์  และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และได้มีการสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสดให้กับคณะศึกษาดูงานได้ดูด้วย   อุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากพืชสด  ประกอบด้วย 1.ปุ๋ยขี้วัว  จำนวน  10  กระสอบ 2.หญ้าสด  จำนวน  3  กระสอบ 3.ผักตบ  จำนวน  5  กระสอบ 4.ใบไม้สด+แห้ง  จำนวน  3  กระสอบ 5.แกลบ  จำนวน  2  กระสอบ 6.กากน้ำตาล  จำนวน  5  ลิตร 7.สารเร่ง  จำนวน  1  ซอง 8.พลาสติกสีฟ้า  ใช้สำหรับรองพื้นและคลุมบน 9.อุปกรณ์ในการคลุกเคล้าปุ๋ย   วิธีการทำปุ๋ยหมัก 1.ปูพลาสติกสีฟ้า  เพื่อใช้รองพื้นก่อรที่จะผสมปุ๋ย 2.นำวัสดุทั้งหมด  ได้แก่  ขี้วัว  หญ้าสดสับ  ผักตบสับ  ใบไม้แห้ง+สด  แกลบมาเทลงบนพลาสติกสีฟ้า  และคลุกเคล้าให้เข้ากัน 3.เมื่อคลุกเคล้าเข้ากันดีแล้ว  ให้นำกากน้ำตาลมาผสมกับน้ำคนให้เข้ากันและนำมาราดลงบนปุ๋ย  ใส่สารเร่ง  ที่ผสมน้ำแล้วนำมาราดบนปุ๋ยอีกครั้งและคลุกเคล้าาให้เข้ากัน  คลุกเคล้ากันให้ทั่ว  และราดน้ำให้ปุ๋ยพอชุ่มน้ำ 4.คลุมปุ๋ยไว้โดยใช้พลาสติกสีฟ้า  ปิดให้แน่น 5.กลับปุ๋ยทุก  ๆ  สัปดาห์  เพิ่มเติมออกซิเจน  และเร่งการย่อยสลาย 6.กลับปุ๋ยติดต่อกันเป้นเวลา  2  เดือน  แล้วนำมาบรรจุใส่ถุงขายได้ 7.ปุ๋ยกังกล่าวเหมาะสำหรับเป็นดินเพาะดินปลูก

 

39 0

11. อบรมทักษะ และช่องทาง การเผยแพร่สินค้าทางออนไลน์

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกแกนนำของโครงการทั้ง  10  คน  ได้เรียนรู้วิธีการจักทำสื่อช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางระบบออนไลน์  และได้นำไปใช้ในการจำหน่ายสินต้าต่อไป 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกแกนนำของโครงการทั้ง  10  คน  สามารถนำไปถ่ายทอดใช้กับสมาชิกของโครงการต่อไป  และสามารถเพิ่มช่องทางการขายให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจอีกทางหนึ่ง -สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจ สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้  คือ  สมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  ได้มีความรู้และสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการขายสินค้าได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้วันที่  24  มิถุนายน  2566  หัวหน้าโครงการมีการนัดแกนนำกลุ่มของโครงการ  จำนวน  10  คน  เพื่อนำมาเรียนรู้การจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์  โดยได้รับความช่วยเหลือจาก  รพ.สต.เขาพระบาท  ได้มอบหมายให้นายโชตินันท์  จันทโชติ  มาเป็นผู้สอนการจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางออนไลน์ให้กับแกนนำทั้ง  10  คน  โดยมีการสอนการจัดทำช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์  ทางไลน์  ทางเฟส  ทางติ๊กต๊อก  เพื่อที่สมาชิกแกนนำโครงการทั้ง  10  คน  จะได้มีความรู้ความสามารถนำไปใช้ในการขายสินค้าผ่านทางช่องทางเหล่านี้ได้  และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจของโครงการ  ได้อีกช่องทางหนึ่งและจะได้นำไปถ่ายทอดความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปสอนไปแนะนำให้กับสมาชิกอีก  29  คน  ต่อไป

 

39 0

12. อบรมเพิ่มและพัฒนาทักษะ การทำยานวดสมุนไพร

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1.ด้านปริมาณ  แกนนำ และสมาชิก 39 คน เข้ารว่มประชุม

2.ด้านคุณภาพ 1.ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการบรรจุภัณฑ์กประคบสมุนไพรที่สามารถเก็บไว้ได้นาน 2.ได้เรียนรู้วิธีการทำสมุนไพรพอกเข่าเพื่อนำไปใช้เองที่บ้านได้ด้วย 3.ทำให้เกิดรายได้กับทั้งครัวเรือน  และกลุ่มวิสาหกิจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับสนับสนุนงบ สำนัก 6 สสส. โดย Node โควิด – 19 ภาคใต้ตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เขาพระบาท ตัวแทนจากสภาองค์กรชุมชน ตำบลเขาพระบาท มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำลูกประคบสมุนไพรเพิ่มเติมจากครัวเรือนและมีการสอนหรือแนวทางในการจัดการรูปแบบบรรจุภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และชุดอบสมุนไพร เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน และได้สอนการทำสมุนไพรพอกเข่าให้กับผู้สูงอายุ และได้นำไปใช้จริงจนเกิดเห็นผลจริง โดยการนำยาพอกเข้าสมุนไพรตัวนี้ นำไปใช้กับผู้สูงอายุในชุมชน ทำให้ได้รับผลตอบรับกลับมาดีมาก คนในชุมชนพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าดีมาก ๆ อยากให้ทำอีก ดีกว่าไปกินยาทำแบบนี้รู้สึกไม่อันตรายด้วย และสมาชิกของโครงการยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นด้วยและสามารถนำไปใช้เองกับคนในครอบครัวได้อีกด้วย

 

39 0

13. ติดตามและประเมินผลครัวเรือนต้นแบบ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และสามารถเป็นคนต้นแบบได้อย่างถูกต้อง จำนวน 10 คน 2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ ได้ครัวเรือนต้นแบบหรือคนต้นแบบ จำนวน 10 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาทซึ่งได้รับสนับสนุนงบสำนัก 6 สสส. โดย Node โควิดตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ร่วมกับแกนนำของโครงการร่วมกันลงพื้นที่ติดตามประเมินคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นคนต้นแบบ และครัวเรือนต้นแบบของดครงการ โดยประเมินจากบัญชีครัวเรือนและกิจกรรมที่สมาชิกได้ดำเนินการ และจากการพูดคุยสอบถามกลุ่มเป้าหมายก็ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี และทำให้รู้ว่าบุคคลเหล่านี้มีการทำบัญชีครัวเรือนทุกเดือนตั้งแต่เริ่มโครงการและสามารถลดรายจ่ายจากการทำบัญชีครัวเรือนได้จริง และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดการใช้สารเคมี โดยหันมาใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพแทน ทั้งที่ทำใช้เอง และที่เกษตรอำเภอสนับสนุนมา และบุคลเหล่านี้ยังมีความรู้ความสามารถในการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพใช้เองและสามารถแนะนำให้กับคนอื่นในชุมชนที่สนใจได้

 

39 0

14. อบรมเพิ่มทักษะอาชีพและการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -สมาชิกโครงการได้เรียนรู้การจัดรูปแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค้าของสินค้า และสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและกลุ่มวิสาหกิจได้มากขึ้น

2.ด้านคุณภาพ -สมาชิกได้เรียนรู้ และเกิดทักษะการจัดการรูปแบบการบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น สรุปสิ่งที่ได้ในวันนี้คือ สมาชิกโครงการสามารถออกแบบปรับปรุงแบบการจัดทำบรรจุภัณฑ์ได้ดีขึ้น และสวยมากกว่าขึ้น  สมาชิกได้เรียนรู้การแปรรูปปลานิลแดดเดียวที่ปลอดสารเคมี และมีความอร่อยเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าได้อย่างปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 สมาชิกโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก สำนัก 6 สสส. โดย Node โควิด-19 ภาคใต้ตอนล่าง โดยนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ได้เชิญเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระบาท โดยนายโชตินันท์ จันทโชติ มาช่วยให้ความรู้ในการออกแบบ รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพที่เกิดจากโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุขตำบลเขาพระบาท และได้รับสนับสนุนงบในการจัดการอาหารจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาพระบาท และในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากร สอนการทำสติกเกอร์ ออกแบบสติกเกอร์ในการติดผลิตภัณฑ์ให้ด้วย และในวันนี้เรายังได้มีการชวนสมาชิก แปรรูปผลิตภัรพ์ ปลานิลแดดเดียวเพื่อจำหน่าย เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในโครงการอีกทางหนึ่ง

 

50 0

15. ประชุมเวที ARE ร่วมกับ Node ที่ อ.หาดใหญ่

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -แกนนำโครงการได้เข้าร่วมประชุม -แกนนำโครงการได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ที่ Node กำหนดให้ได้ 2.ด้านสุขภาพ -แกนนำโครงการมีการเรียนรู้การถอดบทเรียน การนำข้อมูลบันไดผลลัพธ์ไปใช้ในการทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น -แกนนำได้เพิ่มความรู้มากขึ้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566 ทาง Node  ได้เชิญกลุ่มเป้าหมายทุกโครงการเข้าร่วมชี้แจงสรุปผลการดำเนินงานประชุมถอดบทเรียนโครงการย่อยที่โรงแรมเซาเทร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันนี้ทีมงานของโครงการจำนวน 4 คน โครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานของโครงการย่อย (การจัดนิทรรศการของแต่ละโครงการ) กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ คือ 1 Node  wได้ร่วมกับทีมงานพี่เลี้ยงเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละโครงการและได้มีการไลน์สดเพื่อเผยแพร่ผลงานผ่านทางเฟสบุคสมาคมสร้างสุขชุมชน 2 เริ่มขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการนำผลลัพธ์ 26 ข้อ ที่ทาง Node กำหนดให้เพื่อมาแลกเปลี่ยน 3.พี่เลี้ยงนำผลการแลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอในวงใหญ่ วันที่ 16 ก.ค.2566 กิจกรรมที่ได้เรียนรู้ 1.กิจกรรมถอดบทเรียนโครงการ โดยมีหัวข้อย่อย คือ -การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการสนับสนุนควรมีแนวทางอย่างไร -แกนนำควรได้รับการพัฒนาเรื่องอะไร เพื่อให้ขับเคลื่อนงานได้บรรลุผลลัพธ์ -การจัดการข้อมูลตามบันไดผลลัพธ์ มีวิธีการเก็บ การตรวจสอบความถูกต้องและการเอาข้อมูลไปใช้ในโครงการอย่างไร -การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนวิชาการมีแนวทางอย่างไร -ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงจากหน่วยจัดการและภาคีระดับพื้นที่เป็นอย่างไร

 

4 0

16. พัฒนาศักยภาพแกนนำโครงการ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ด้านปริมาณ 1.แกนนำโครงการ 10 คน นำเสนอผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการ ผลการดำเนินงานให้กับภาคีเครือข่าย

ด้านคุณภาพ 1.มีการสร้างเครือข่าย กับ จังหวัดพังงา ซึ่งเป็น อสม.ทั้งจังหวัดพังงา จำนวน 350 คน
2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหาความยากจนและหนี้สิน 3.เกิดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างจังหวัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 หัวหน้าโครงการ คือ นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร และสมาชิกโครงการอาหารข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส. ได้นำเสนอและสาธิตกิจกรรมรวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการ ให้กับภาคีเครือข่าย จากทีม อสม.จังหวัดพังงา 350 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ได้แก่ ไข่เค็ม ปลานิลแดดเดียว ลูกประคบสมุนไพร อาหารสัตว์สมุนไพร ผักปลอดสารพิษ โดยได้รับการสนับนสนุนงบจากภาคีต่างๆ และสามารถไปประยุกต์ให้เข้ากับการช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนได้

 

10 0

17. กิจกรรมเผยแพร่ผลงาน สู่สาธารณะโดยการถ่ายทำวีดีโอ

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์ 1.ด้านปริมาณ
1.กลุ่มเป้าหมาย 39 คน เข้าร่วมโครงการและร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน 2.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 36 คน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีรายได้ มีอาชีพเพิ่ม ร้อยละ 39.70

2.ด้านคุณภาพ 1.กลุ่มเป้าหมาย มีรายได้เพิ่มขึ้น น้อยที่สุด 500 บาท และมากที่สุด 3,000 บาท ต่อเดือน 2.มีภาคีเครือข่าย ให้การสนับสนุนต่อยอดในการพัฒนาอาชีพ เช่น การให้เงินกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย 3.เกิดรูปแบบการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการจัดสรรเงินตามหลักเกณฑ์ที่ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน

สรุป สิ่งที่ได้ในวันนี้คือ ได้มีการเผยแพร่กิจกรรมที่ทำแล้วเกิดผลสำเร็จสู่สาธารณชนได้และเกิดผลจริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 หัวหน้าโครงการ คือ นางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร และสมาชิกโครงการข้างบ้านสร้างสุข (รหัสโครงการ 65-10018-12) ได้รับงบจาก สำนัก 6 สสส. ได้เข้าร่วมพูดคุยนำเสนอผลงานที่ได้ทำ ตั่งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ว่าได้เกิดผลอย่างไรบ้าง และมีการเปลี่ยนแปลงอยย่างไรบ้างโดยเริ่มจากลงชุมชนบ้านสมาชิก จำนวน 2 บ้าน คือ นางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม และนางบุปผา ชูเมือง โดยลงถ่ายทำวิดีโอเริ่มจากบ้าน นางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม และนางสาวจิราภรณ์ สุขแจ่ม ก็ได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ก็เนื่องจากสาเหตุผลกระทบจากการเกิดโควิด -19 ว่าก่อนหน้านี้ครอบครัวมีงานทำกันทุกคนที่เป็นวัยทำงาน แต่พอเกิดโควิด – 19 ทำให้ทุกคนตกงาน โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวซึ่งเป็นนักดนตรี จึงมีผลกระทบอย่างมาก คือ ไม่มีงานดนตรีเลยในช่วงนั้น เลยทำให้ตัดสินใจพาครอบครัวกลับมาอยู่บ้าน มารับจ้างแทงปาล์ม แต่เนื่องจากเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ต้องใช้แรงงานหนัก ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่เพราะต้องทำร่วมกับคนอื่นเพื่อนร่วมงาน พอมีโครงการนี้เข้ามาเลยสมัครเข้าร่วมโครงการ และได้รับงบสนับสนุนมาทำอาชีพเสริมอีกทางหนึ่ง โดยในตอนแรกจะเป็นเงินให้เปล่า 500 บาท เพื่อมาซื้อเมล็ดพันธ์ผักปลูกข้างบ้านได้ขายบ้างและไว้กินเองบ้าง ก็มีเงินมาต่อยอด แต่ก็ยังได้ไม่เต็มที่ทางโครงการ ก็ประสานกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท เพื่อขอยืมเงินจากโครงการพอเพียงมาให้กับสมาชิกกู้ยืมเพื่อนำไปสร้างรายได้ครัวเรือนละ 3000 บาท ปลอดดอกเบี้ย ได้นำเงินส่วนนี้มาต่อยอดซื้อเมล็ดพันธ์ และอุปกรณ์การเกษตรเพื่อปลูกผักผสมผสานในพื้นที่ว่างข้าง ๆ บ้านเลยทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง และเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนโดยให้ลูกสาวช่วยลงบัญชีครัวเรือนให้ ทำให้สามารถประหยัดและมีเงินออมได้ ณ ทุกวันนี้ -ส่วนของนางบุปผา ชูเมือง ได้เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของตนเองก็คล้ายๆ กัน แต่ตรอบครัวของตนเองหนักสักนิดที่ลูกตกงานเกิดความเคลียดเลยหันไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ก็ยังดีมีโครงการนี้เข้ามา เลยมีคนได้ปรึกษา และมีอาชีพเสริมให้ลูกและครอบครัวทำ เลยทำให้ลูกเลิกยาเสพติดได้และหันมาช่วยทำงานทุกอย่างที่ตนเองทำ และลูกยังช่วยทำบัญชีครัวเรือน ช่วยทำงานทุกอย่าง และทำให้ครอบครัวของตนเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมมาก -ส่วนของนางสาวจุฑาทิพย์ บริเพชร ผู้รับผิดชอบโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาทก็ได้เล่าในส่วนของผู้รับผิดชอบว่า ตัดสินใจรับงบจาก สสส. เพราะเห็นว่าสามารถช่วยเหลือสมาชิกได้หลายครอบครัว รับงบมาแล้วก็มาประชุมค้นหา แกนนำเพื่อมาช่วยขับเคลื่อนงานจนกระทั่งตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จ เกิดกลุ่มอาชีพหลายๆ กลุ่มของโครงการและที่ประสบความสำเร็จก็คือ สามารถรวมกลุ่มกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้และทำให้สมาชิกของโครงการมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ มีการออม มีการทำบัญชีครัวเรือน

 

10 0

18. ประชุมแกนนำโครงการ ปิดเอกสารโครงการ

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพ์ที่เกิดขึ้น 1.ด้านปริมาณ -แกนนำโครงการทั้ง 10 คน เข้าร่วมประชุม 2.ด้านคุณภาพ -แกนนำทุกคน ได้นำข้อมูลมาพูดคุย สรุป และร่วมกันทำรายงาน ตรวจสอบหลักฐานททางการเงินว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 แกนนำโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ภายใต้ชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิท – 19 พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สำนัก 6 สสส. โดยนัดหมายแกนนำโครงการ 10 คน เพื่อทำการบันทึกทำกิจกรรมวาระการประชุมตามโครงการคลังอาหารข้างบ้านสร้างสุข ตำบลเขาพระบาท (รหัสโครงการ 65-10018-12) และทำการลงรายการหลักฐานทางการเงิน เพื่อเตรียมปิดโครงการต่อไป

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 41 39                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 80,201.00                  
คุณภาพกิจกรรม 156                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
น.ส.จุฑาทิพย์ บริเพชร
ผู้รับผิดชอบโครงการ