task_alt

โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

ชุมชน บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 65-10018-24 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศน์

วันที่ 17 กันยายน 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานที่เข้าร่วม 2 คน ได้เรียนรู้และเข้าใจการทำโครงการ การคลี่โครงการ การทำรายละเอียดตัวชี้วัด การทำการเงิน การใช้เว็ปไซต์คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.การคลี่โครงการโดยมีการทำรายละเอียดของโครงการและตัวชี้วัด 2.เรียนรู้และทำความเข้าใจรายละเอียดการเงินของโครงการ 3.เรียนรู้การใช้เว็ปไซต์คนใต้สร้างสุข

 

2 0

2. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ถอนเงินเปิดบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินเปิดบัญชีจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพิ่มผลผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

 

2 0

3. 1.ประชุมคณะแกนนำขับเคลื่อนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ สร้างความเข้าใจและแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อเก็บข้อมูลการเงินและข้อมูลสุขภาพ

วันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดคณะทำงาน 5  คนเป็นแกนขับเคลื่อน และสมาชิกที่คณะทำงานรวบรวมได้มา 25  คนรวม ทั้งหมด 30  คน ได้แบ่งบทบาทหน้าที่  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการปลูก  ได้รับรู้ถึงจำนวนวัตถุดิบท่ีสมาชิกปลูกว่ามีปริมาณร้อยละ 70  ซื้อจากข้างนอกและ ได้เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

สร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คนที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ผลผลิตของกลุ่มขายไม่ได้ถูกตีคืน  กลุ่มได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการปลูกเพื่มวัตถุดิบทำเครื่องแกงเพื่อท่ีจะมาจำหน่ายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแกนนำจำนวน 5 คน ได้แบ่งกลุ่มกันดูแลสร้างเครือข่ายร่วมกันโดยมีเป้าหมาย 1.เกิดคณะทำงาน 5  คนมีศักยภาพเพื่อหาสมาชิกเป้าหมายเพิ่มอีก 25 คนรวมจำนวน 30  คนเข้าร่วมโครงการช่วยผู้ประสบภัยโควิด-19 มีรอบรู้เรื่องการเงินและสุขภาพ
2.เรียนรู้ข้อมูลการเงินบุคคลใช้ในการวางแผนการด้านการรอบรู้เรื่องการเงินเพิ่มรายได้และมีความรอบรู้เรื่องข้อมูลสุขภาพทำแผนสุขภาพของสมาชิกในกลุ่ม

 

30 0

4. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ

วันที่ 24 ตุลาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและสมาชิกจำนวน 30 คน 1 ได้มีความรู้การเช็คสุขภาพดัชนีมวลการด้วยตัวเองได้ 2 ได้ทราบถึงสัญญาณเตือนของโรคต่างๆเบี้ยงต้นเป็น 3 ได้เรียนรู้วิธีการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ร่วมถึงรหัสที่จะป้องกันโรค 2ส ว่ามีอะไรบ้าง 4 ได้รู้วิธีการบำบัดจากการหัวเราะแบบการบำบัด 4 ท่าง่ายๆด้วยตนเองได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดการอบรมโดย คุณจิราวัฒน์ รามจันทร์ หมอโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้ความรู้สุขภาพแก่สมาชิกของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานโดยแบ่งออก 1การดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง เรียนรู้วิธีการหาค่าดัชนีมวลกาย 2การเช็คการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช็คสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน
3วิธีการดูแลร่างกาย 3อ2ส รหัสป้องกันโรค 3อ ประกอบด้วย อ1ออกกำลังกาย อ2อาหาร อ3อารมณ์  2ส ประกอบด้วย ส1ไม่สูลบุหรี่ ส2 ไม่ดื่มสุรา 4การทำกิจกรรมร่วมกับการออกกำลังกายและการหัวเราะบำบัด 4ท่า 5อบรมการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือน 5.1 การวางแผนด้านการเงินของครัวเรือน จดบันทึกรายรับ รายจ่าย 5.2 การจดบันทึกบัญชีรายรับจากกลุุ่มวิสาหกิจชุมชนรายบุคคล การวางแผนการรับชื้อวัถตุดิบจากสมาชิกกลุ่ม

 

30 0

5. อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำจำนวน 2 คนมีความรู้และเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินคือ 1 สามารถนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดเพื่อปรับใช้ให้กับสมาชิกทั้ง 30 คน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเงินควบคู่ไปด้วย 2 มีความรู้ในการเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการจัดการตนเองสามารถชีัแนะเรื่องสุขภาพแก่ผู้อื่นได้ และนำความรู้ไปปฎิบัติได้ถูกต้อง 3 มีทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูด การอ่าน การเขียน ให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง มีการจัดการตนเองกำหนดเป้าหมาย ทำตามแผนที่กำหนด มีการตัดสินใจ สามารถกำหนดทางเลือก เลี่ยงวิธีการท่ีไม่เหมาะสมใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ ผลดี ผลเสีย รู้เท่าทันสื่อ สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ที่สื่อนำเสนอได้ 4 ลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยตนเองได้เช่น ปรับวิธีการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน เข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารมีการบันทึกสุขภาพตนเองจับประเด็นข่าวสารได้ มีการโต้ตอบ ซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ อสม จนท ได้ 5 ความรอบรู้เรื่องการเงิน มีการกำหนดเป้าหมาย สามารถวางแผนทางการเงินในหมวดต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวได้ 6 ต้องมีการดำรงชีวิตแบบใด จุดเด่นสามารถว่างแผนการเงินของครัวเรือนในสิ่งที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นที่เหลือนำไปสู่การออมได้ 7 รู้ขันตอนความสำคัญของการวางแผนการเงิน รู้สถานการณ์การตัวเองสำรวจรายรับรายจ่าย กำหนดวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยแยกเป็นหมวดๆ ใช้เงินตามแผนที่วางไว้ ประเมินการใช้จ่ายเงินเป็นระยะ และหาโอกาสในการเพิ่มเงินออมให้มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน สามารถเข้าถึง เข้าใจ การใช้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการจัดการตนเองได้และสามารถบอกกล่าวกับคนอื่นได้ มีทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูการอ่าน การเขียนได้ถูกต้อง กำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนทำตามแผนที่กำหนดได้ถูกต้อง วิเคราะห์ผลดีผลเสีย ตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ด้านการเงิน กำหนดเป้าหมาย ครัวเรือนมีความเข้าใจสามารถวางแผนทางการเงินการใช้เงินในหมวดต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการใช้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็น

 

2 0

6. ประชุมแกนนำและคณะทำงาน

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 คณะทำงานของกลุ่มได้รู้จักหน้าที่ๆตัวเองจะต้องรับผิดชอบ 2 สมาชิก 6 คนในกลุ่มของตัวเองจะได้รู้ว่าใครเป็นหัวหน้าของตัวเองมีปัญหาเรื่องใดสามารถปรึกษาได้ 3 การติดตามผลเราจะให้คณะทำงานเป็นผู้ติดตาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1 เชิญคณะทำงานของกลุ่มมาประชุมแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ 2 คณะทำงานแบ่งรับผิดชอบคือ คณะทำงาน 1 คนรับผิดชอบสมาชิก 6 คน 3 ให้คณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานของสมาชิกที่ตัวเองรับผิดชอบ 4 สมาชิกมีปัญหาด้านใดสามารถสอบถามจากคณะทำงานได้อย่างต่อเนือง

 

5 0

7. เก็บข้อมูลด้านสุขภาพ 30 คนโดยรพสต ด้านการงินโดยก็บบัญชีครัวเรือน 30 คน

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลด้านการเงินก่อนการดำเนินงาน ของ 30 คน และการตั้งเป้าหมาย เรื่องการเงินและสุขภาพ
1 สมาชิกในกลุ่มได้เรียนรู้การคิดดัชนีมวลกายของตนเองได้และสามารถตั้งเป้าหมายสุขภาพตนเองได้ 2 สามารถอ่านผลการวัดค่า BMI ได้ด้วยตนเอง 3 ได้ความรู้สัดส่วนการวัดรอบเอวของผู้ชายไม่ควรเกิน 35 นิ้ว และของผู้หญิ่งไม่ควรเกิน 32 นิ้ว 4 ค่าความดันและความสี่ยงของโรคที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง 5 ได้จัดสัดส่วนอาหารตามหลัก 2:1:1: เพื่อลดพุงและลดโรค 6 สมาชิกได้เรียนรู้เรื่องการบันทึกบัญชีเพิ่มมากขึ้นในการลงรับ จ่าย โดยใช้สมุดบันทึกและมีการตั้งเป้าหมาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ อสม.ของหมู่ที่ 8 จำนวน 6 คนร่วมกันทำการให้ความรู้และตรวจคัดกรอง กลุ่มวิสาหกิจผลิตเครื่องแกง โดยมีขั้นตอนคือ 1 มอบสมุดบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงให้กับสมาชิกกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน 2 ให้สมาชิกกรอกข้อมูลประจำตัวของตนเองว่าตนเองจะตั้งเป้าหมายด้านสุขภาพเรื่องอะไร เช่น ลดพุง ลดน้ำหนัก 3 ศึกษาข้อมูลความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับการปรัปเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การจัดสัดส่วนอาหารตามหลัก 2:1:1 ศึกษาวิธีการออกกำลังกาย ปริมาณน้ำที่ควรดืมต่อวัน 4 บันทึกข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรม และตั้งเป้าหมายความสำเร็จ และตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5 บันทึกกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองทั้ง 8 สัปดาห์ 6 อธิบายหลักการเขียนสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือน 7 กำหนดกฎกติกาข้อตกลงในกลุ่ม

ด้านความรอบรู้ทางด้านการเงิน
1.ใช้บันทึกการเงินของธนาคารธกส.ในการเก็บข้อมูลของสมาชิกเพื่อบันทึก รับจ่าย 2. การเงินเหรัญญิกของกลุ่มได้บันทึกสมุดรับจ่าย จากการขายและชื้อวัตถุดิบจากสมาชิกแต่ละคน เพื่อได้ความถึงยอดขายของกลุ่ม และวัตถุดิบจากสมาชิก 3. การกำหนดเป้าหมายทางการเงินของกลุ่ม เรื่อง ยอดขาย ช่องทางการขาย และยอดรับซื้อจากสมาชิก

 

30 0

8. ส่งเสริมการเลี้ยงปุ๋ยมูลไส้ดือนใช้เองพร้อมกับอุปกรณ์ชุดเลี้ยงให้กับสมาชิกกลุ่ม

วันที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกทั้ง 30 คน มีความรู้และทำปุ๋ยไส้เดือนเป็น แต่คนที่เลี้ยงไส้เดือนผลิตปุ๋ย จำนวน 12 คน ส่วนที่เหลือ 18 คน ซื้อปุ๋ยไส้เดือนจากกลุ่มและสมาชิกเนื่องจากไม่ผักที่ปลูกไม้ใช้สารเคมีเป็นผักปลอดสารพิษ 1 การเลี้ยงไส้เดือนเป็นการผลิตปุ๋ยคุณภาพดีส่งเสริมให้เกษตกรใช้ในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์ถือว่า เป็นการลดต้นทุน และลดการใช้สารเคมีของกลุ่ม 2 เกษตรกรเองก็จะได้ก็จะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งได้ดูแลระบบนิเาศด้วย 3 ที่สำคัญดีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกรในการปลูกผักปลอดสารพิษและลดต้นทุนมีรายได้เพิ่มของสมาชิกจากการขายปุ๋ยมูลไส้เดือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ขั้นตอนการทำปุ๋ยไส้เดือนใช้เองในครัวเรือน 1 สมาชิกนำอุปกรณ์การเลี้ยงไส้เดือน  เช่น ขี้วัว กะละมังเจาะรู ใส่เดือน หยวกกล้ายหรือเศษผัก 2 สมาชิกนำชุดเลี้ยงที่ทางโครงการส่งเสริม เช่น ขี้วัวไปแช่น้ำอย่างน้อย7 วัน 3 นำกะละมังเจาะรูมาเตรียมไว้  ตักขี้วัวที่แช่น้ำทิ้งไว้มาใส่ลงในกะละมังใส่พอประมาณ  พร้อมกับคลุกเคล้ากับหยวกกล้วยที่หั่นใส่ลงไป 4 ใส่ตัวไส้เดือนหรือชุดพร้อมเลี้ยงลงไป แล้วรดน้ำให้ชุ่ม และนำกะละมังวางเป็นชั้่นๆห้ามเป็นพื้นดินไส้เดือนจะออกลงพื้นดินหมด 5 การรถน้ำใช้เวลาเลี้ยง 3 อาทิตย์ หลังจากนั้นปาดมูลไส้เดือนออกนำมาร่อนแยก ส่วนตัวและมูลที่เหลือให้นำกลับไปเลี้ยงในอาหารชุดใหม่ต่อไปทำอย่างนี้ต่อไปหรือจะขยายเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้ต่อไปก็ได้

 

30 0

9. สงเสริมการปลูกวัตถุดิบเครื่องแกงโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ไดด้รับผลกระทบจากโควิด 19

วันที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกทั้ง 3 คน ของกลุ่มวิสาหกิจ มีการดำเนินการปลูกและอยู่ก่อนหน้าเมื่อมีการสนับสนนุนการปลูกและได้บันทึกเป็นข้อมูลรายรับ จ่าย
1 สมาชิกทั้ง 30 มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากการขายให้กลุ่ม ขายให้กับร้านค้า
2 ผู้สูงอายุมีความสุขกับการได้ดูแลพืชที่ตัวเองปลูก เกิดรายได้เพิ่มของผู้สูงอายุจะมีความภูมิใจที่สามารถหาเงินได้ด้วยตัวเอง 3 กลุ่มผู้สูงอายุมีความสม่ำเสมอในการทำให้กลุ่มวิสาหกิจเข้มแข็งมากกว่าคนหนุ่มสาว  ทำให้กลุ่มสามารถขายเครื่องแกงได้เพิ่มขึ้น และสมาชิกก็ขายวัตถุดิบได้มากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนนำ จำนวน 5 กับสมาชิก 6 คน ได้สำรวจความต้องการเพื่อที่จะส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบ 4 ชนิด  พริกไทย พริกขี้หนู ขมิ้น ตะไคร้ ว่าสมาชิกต้องการปลูกอะไรจำนวนเท่าใด และและเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปลูกและปัญหา 1 สมาชิกกลุ่มเครื่องแกงต้องรู้ก่อนว่า พริก  ขมิ้น ตะไคร้ ชนิดใดที่เราจะเอามาผลิตเป็นเครื่องแกง และสมาชิกจะต้องรู้ว่าวัตถุดิบแต่ละอย่างสามารถนำไปปลูกในดินที่มีสภาพดินแบบใดได้บ้าง และสมาชิกทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมพื้นที่ปลูก การให้น้ำ รวมถึงการดูแลและป้องกันโรค แมลง 2 การเตรียมดินปลูกวัตถุดิบ ควรพิจารณาความแตกต่าง สภาพของดินและระดับน้ำ ถ้าปลูกแล้วกี่วันจะใส่ปุ๋ยได้
3 ให้สมาชิกได้เรียนรู้ถึงวิธีการดูแลรักษา นอกจากการให้น้ำและใส่ปุ๋ยแล้ว การกำจัดศัตรูหรือแมลง ส่วนมากที่เห็นจะเป็น เพลี้ยไฟ  กุ้งแห้ง ต้องหมั่นตรวจดูต้นกล้าที่ปลูกบ่อยๆ ส่วนโรคกุ้งแห้ง จะพบมากในพริก อาการเริ่มแรกจะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลแล้วค่อยขยายกว้างออกไป 4. สนับสนุนต้นชำเพื่อให้สมาชิกปลูกตามความต้องการที่ปลูกและดูแลได้

 

30 0

10. ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยานกับตรายางจ่ายแล้ว

วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1ได้ตรายางมาทำโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1ตรายางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มผลผลิตวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน 2 ตรงยางจ่ายแล้ว

 

0 0

11. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดแกนคณะทำงานจำนวน 8 คน จากเดิม มี 5 คน ได้มีการพูดคุยและมอบหมายในการเก็บและติดตามข้อมูล เป้าหมายด้านสุขภาพและข้อมูลกิจกรรมการปลูกจากการส่งเสริมเพิ่มรายได้จากการปลูกวัตถุดิบการผลิตเครื่องแกง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 5 คน เพื่อเพิ่มแกนคณะทำงานจาก 5 คนเป็น 10 คนเพื่อสร้างแกนคนทำงานที่มีความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ  โดยมอบหมายให้เก็บข้อมูล 3 คนรวมทั้งตัวเองรวมทั้งสิ้น 30 คน

 

5 0

12. รายงานผลลัพธ์กิจกรมโครงการพร้อมรายงานการเงิน(ARE ครั้งที่ 1)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ไ้ด้แรกเปลี่ยนเรียนรู้จากพื้นที่ต่างๆถึงวิธีการสร้างความเข้าใจของสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้นที่สร้างความเข้าใจที่ต่างกัน แบ่งกลุ่มเรียนรู้ถึงผลลัพธ์ของพื้นที่ต่างๆ และการทำบัญชีโครงการถ้าทีปัญหาต้องแก้ไขอย่างไร และการรายงานในเวปว่าต้องรายงานอย่างไร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1 สร้างความเข้าใจในกระบวนการการจัดการอบรม 2 สร้างความเข้าใจการรายงานผลลัพธ์ของโครงการโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยแล้วเขียนผลลัพธ์หรือบรรไดความสำเร็จของตนเอง 3 เรียนรู้การเขียนรายงานของกิจกรรมถึงวิธีการเขียน วิธีการบันทึก กิจกรรมที่ทำ 4 เรียนรู้การบันทึกบัญชีโครงการ

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 25 12                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 49,470.00                  
คุณภาพกิจกรรม 48                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง ( 15 มี.ค. 2566 )
  2. ออกแบบพัฒนาสูตรดินปุ๋ยไส้เดือนพร้อมปลูกผสมมูลไส้เดือน ( 21 เม.ย. 2566 )
  3. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง ( 17 พ.ค. 2566 )
  4. อบรมการทำสื่่อโดยใช้ Canva ( 20 พ.ค. 2566 - 21 พ.ค. 2566 )
  5. ติดตามประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 ( 21 มิ.ย. 2566 )
  6. เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ ( 23 มิ.ย. 2566 )

(................................)
นายอนุชา เฉลาชัย
ผู้รับผิดชอบโครงการ