task_alt

โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการ พัฒนาคุณภาพชีวิตลดโรค เพิ่มรายได้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านหูยาน

ชุมชน บ้านหูยาน ม.8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 65-10018-24 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มีนาคม 2566 ถึงเดือน สิงหาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 15 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำ 10 คน ติดตามครัวเรือนจำนวน 24ครัวเรือน (คิดเป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ) ปลูกพืช-ผัก ส่งกลุ่มวิสาหกิจโดยกลุ่มไม่ชื้อจากภายนอก สมาชิกมีรายได้เพิ่ม กลุ่มมีผลผลิตเพิ่มและผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพิ่มรายได้ มีช่องทางตลาดจำหน่ายเครื่องแกงและวัตถุดิบเครื่องแกง มากกว่า 2 ช่องทาง และติดตามพฤติกรรมด้านสุขภาพ/ด้านการเงินของกลุ่มและบุคคลดีขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมแกนนำอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง เพื่อติดตามการจัดการด้านการเงิน/ด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ติดตามอย่างต่อเนื่องไม่เป็นทางการ 2 เรื่อง การเงินส่วนบุคคล/กลุ่มวิสาหกิจ 1 การใช้ข้อมูลด้านการเงินปรับเปลี่ยนการเงิน 2 การใช้ข้อมูลสุขภาพสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

5 0

2. ออกแบบพัฒนาสูตรดินปุ๋ยไส้เดือนพร้อมปลูกผสมมูลไส้เดือน

วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ช่วยเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
  2. ช่วยรักษาความชุ่มซื้นในดินได้ดีขึ้น รากพืชสามารถดูดอาหารได้ง่าย
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปู๋ยเคมีและสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้
  4. ช่วยเปลี่ยนสภาพของดินจากดินเหนียวหรือดินร่วนทำให้สะดวกในการไถพราน
  5. ทำให้การถ่ายเทอากาศในดินได้ดี ทำให้รากพืชใช้เพื่อช่วยหายใจ
  6. ได้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
  7. ดินที่ได้ทำให้พืชได้เกาะยึดเหนี่ยวของลำต้นได้อย่างแข็งแรง ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำจะไปเรียนรู้ที่บ้านของวิทยากร คือ บ้านนารีรัตน์  อินทรมาก ซึ่งเป็น แหล่งเรียนรู้ของชุมชน มีชื่อว่า บ้านสวนพลูครูกลิ่น ซึ่งที่บ้านครูกลิ่นจะมีวิธีการผสมดินอยู่หลายหลักสูตร แต่ละสูตรขึ้นอยู่กับว่าจะใช่ปลูกพืชชนิดใด แต่วัสดุหลัก ๆที่ใช่จะเหมือนๆกันทุกสูตรที่อยู่ที่การผสมอัตราส่วน แต่ที่แกนนำไปเรียนรู้จะเป็นดินปลูกเกี่ยวกับพืชที่จะใช่ในการผลิตเครื่องแกง  เช่นปลูก พริก ตะไคร้ ขมิ้น พริกไทย ส่วนผสมที่ได้และวัตถุดิบที่ต้องใช่ คือ 1. วัสดุที่ใช้ในการผสมดินพร้อมปลูกมี  หน้าดิน ปู๋ยคอกหรือขี้ไก่ ขุ่ยมะพร้าวหรือพดพร้าวซับ มูลไส้เดือน หรือแกลบดำ 2. วิธีการทำ นำปุ๋ยคอกไปแซ่นำสัก1-3 คืน
3. พดพร้าวหรือขุ่ยมะพร้าวต้องนำไปแซ่นำ้สัก 3 วัน แล้วเอาน้ำออก แล้วใส่แซ่ใหม่อีก 1 คืน
4. การผสม  นำหน้าดินหรือดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยคอกที่ผ่านการแซ่น้ำแล้ว 1 ส่วน หรือจะใส่ขี้ไก่เพิ่มอีก 1 ส่วนก็ได้  ขุ๋ยมะพร้ามหรือพดพร้าวสับที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 1 ส่วน ปุ๋ยมูลไส้เดือน 1 ส่วน (วัสดุตวงต้องใช้แบบเดียวกันในการตวง) 5. นำส่วนผสมที่ตวงทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน ผ่านการหมัก 2-4 อาทิตย์ ตอนหมักสามารถใช้น้ำหมักที่มีอยู่ในครัวเรือน เช่น น้ำจ้าวปลวก น้ำจุลินทร์ซีแดง เปลือกไข่ที่ตากแดดแล้วตำให้ละเอียดนำมาหมักร่วมกันได้

 

5 0

3. ประชุมแกนนำเดือนละ 1 ครั้ง

วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ดินพร้อมปลูกที่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เพิ่มขึ้นภายในกลุ่ม ได้ช่องทางการจำหน่ายเช่น ปากต่อปาก ไลน์ ประชาสัมพันธ์กับแก่นนำ ได้สติกเกอร์ที่ใช่ติดกับถุงดิน สร้างคน สร้างงานภายในชุมชนให้สามาชิกมีรายได้ ทุกคนได้รับประโยชน์ สร้างแกนบ้างคนเป็นบุคลต้นแบบ - เรื่องสุขภาพ เราเก็ยข้อมูลของแต่ละบุคคล และตั้งเป้าหมายเอาไว้ก่อนเข้าร่วมโครงการ สมาชิกทุคนมีความรอบรู้เข้าใจและสามารถอธิบายให้กับคนอื่นได้ - การเงิน เราใช้บัญชีครัวเรือนทำแบบรับจ่ายโดยวิะีการง่ายๆที่สามาชิกเข้าใจและบันทึกได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน คุยเรื่องจุดเด่นของแต่ละคนที่เป็นแกนนำ และอยากให้องค์ความรู้กับสมาชิกเรื่องของวัตถุดิบในชุมชน ชวนแก่นนำมาสร้างความเข้าใจเรื่องการทำดินเพื่อจะนำมาปลูกหรือเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ คุยเรื่องสุขภาพ เป้าหมาย เรื่องการเงิน

 

5 0

4. อบรมการทำสื่่อโดยใช้ Canva และ Tik T0k

วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สมาชิกหรือตัวแทนภายในกลุ่มสามารถเรียนรู้ถึงช่องทางการจำหน่ายได้อีกช่องทางหนึ่งไม่ว่าจะเป็น Tik T0k หรือการโพสในโซเชียวต่างๆ
ได้ฝึกการสร้างคอนเทนและฝึกการนำรูปภาพมาจัดว่าง ได้รู้จักการจัดรูปแบบจาก Canva เพิ่มมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สอนวิธีการถ่ายภาพ การใช้แสงกับสินค้า
  2. สอนวิธีการใช้ Canva  การฝึกปฎิบัติการหารูปการจัดวางรูป
  3. การเขียนคอนเทนให้ดึงดูดและหน้าซื้อ
  4. การทำ Tik T0k  การถ่ายวิดีโอผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาลงTik Tok

 

0 0

5. เรียนรู้การวิเคราะห์และทำแผนปฏิบัติการความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ

วันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การตรวจสารเคมีในเลือด เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับของสารต่างๆ ในเลือด การครวจสารเคมีในเลือด ทำให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เพื่อนำผลมาประเมินความเสี่ยง ค่าปกติหรือไม่ปกติ มีความหลากหลายไปตามการทดสอบ การตรวจสารเคมีในเลือดสามารถอ่านผลได้ภายในทันที
  2. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวเหลืองจนถึงสีแดงแสดงว่าปลอดภัย
  3. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวแสดงว่ามีแนวโน้มไม่ปลอดภัย
  4. สีของกระดาษทดสอบเป็นสีเขียวนำ้เงินแสดงว่ามีแนวโน้มสารเคมีในเลือดสูง
  5. จากการตรวจสารเคมีในเลือดของกลุ่มพบว่า ไม่ปลอดภัย 17 คน มีความเสี่ยง 10 คน และปลอดภัย 3 คน ที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงมีหลายสาเหตุ เช่น เรื่องการกิน การใช้เครื่องสำอาง เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. เตรียมอุปกรณ์ในการเจาะสารเคมีในเลือดให้กับสมาชิกทั้ง 30 คน โดยใช้วิทยากรของ รพสต. ตำบลนาท่อมมาเป็นวิทยากร
  2. เชิญสมาชิกมาตามวันและเวลาที่กำหนด
  3. ก่อนเจาะเลือดวิทยากรให้ความรู้ถึงวิธีการเจาะสารเคมีในเลือด เพราะจะให้สมาชิกทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และจะได้รับรู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับไหนกันบ้าง
  4. ทำความสะอาดปลายนิ้วที่จะทำการเจาะเลือดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์
  5. เจาะเลือดและเก็บตัวอย่างเลือดด้วยอุปกรณ์การเจาะเลือดและหลอดแก้วขนาดเล็ก
  6. ตั้งหลอดแก้วดังกล่าวจนกระทั่งแยกชั้นน้ำเหลืองและเม็ดเลือดแดง
  7. นำกระดาษทดสอบที่ใช้สำหรับครวจหาสารเคมีบนแผ่นสไลด์ด้วยปากคีบ
  8. อ่านผลโดยการเทียบสีที่เปลี่ยนแปลงกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน

 

30 0

6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธืและบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำในโครงการเข้าร่วม 2 คน แกนนำได้นำข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการ โดยวิธีการและกระบวนการของทีม สสส มาดำเนินการ  โครงการการผลิตเครื่องแกงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปบ้านหูยาน และได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ผลลัพธ์การนำเสนอเพื่อมาปรับใช้กับชุมชน ได้เรียนรู้ถึงการเลือกกลุ่มเป้าหมาย แกนนำจะต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อให้การขับเคลื่อนงานได้ผลลัพธืที่เพิ่มมากขึ้น และได้เรียนรู้การจัดการข้อมูลวิธีการเก็บการตรวจสอบ การเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับโครงการอื่นๆได้ วิธีการดำเสนอว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อนแล้วเรียงลำดับตามขั้นตอน วิธีจัดกระบวนการรายละเอียดขั้นตอน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทางโครงการมีการไลฟ์สด และเยี่ยมชมนิทรรศการของแต่ละโครงการ
เริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธ์ 26 ข้อมานำเสนอ
และให้พี่เลี้ยงนำผลการแลกเปลี่ยนแต่ละกลุ่มมานำเสนอ

 

2 0

7. การติดตามประเมินผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา1

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีข้อมูลสถานการณ์ด้านพฤติกรรมการเงิน - การเงินของสมาชิก - การเงินกลุ่ม
- ข้อมูลการปลูกและการซื้อวัตถุดิบจากภายนอก

แกนนำมีข้อมูลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ก่อนเริ่มโครงการของสมาชิกทั้ง 30  คน น และนำข้อมูลไปใช้รวมถึงคืนข้อมูลให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ มีการกำหนดกติกา  เป้าหมาย หรือข้อตกลงเรื่องการเงินหรือการลดซื้อวัตถุดิบทำเครื่องแกงจากตลาดและกติกาปรับพฤติกรรมสุขภาพ และการ ปฏิบัติตามกติกาหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ในระดับบุคคล และกลุ่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รณรงค์กิจกรรมกรรม 3 อ2ส โดยกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น เช็คร่างกาย ติดตาม 6 เดือน/ ครั้ง เพื่อติดตาม -พฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยน 80% -รายได้สมาชิกเพิ่มขึ้น

 

30 0

8. สร้างและพัฒนาช่องทางการขาย

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เนื่องจากโครงการของวิสาหกิจชุมชนบ้านหูยานสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ กลุ่มจึงให้แกนนำเรียนรู้วิธีการไลฟ์สด การทำเพจ การขายแบบออนไลน์ ขายในเฟสบุ็ค ให้สมาชิกที่สูงอายุทำการเตรียมวัถตุดิบเมื่อเตรียมวัตถุดิบเสดสมาชิกทุกคนนั่งล้อมวงทุกคนต้องแต่งตัวเรียบร้อยในเสื้อกันเปื่อนและสวมหมวกกันทุกคน สมาชิกเริ่มทำวัตถุดิโดดยการปอกวัตถุดิบ เช่นการปอกกระเทียม ขมิ้น  ตะไคร้ เสร็จแล้วนำไปล้างตากในโรงตากจากโซลาเซลว์ แต่ทุกขั้นตอนเราจะทำการไลฟ์สด ตั่งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การปอก การล้างวัตถุดิบ เป็นต้น เสร็จกระบวนการทำโดยนำไปบดกับเครื่อง การไลฟ์สดคนที่จะทำการนำเสนอคือ  นายอนุชา  เฉลาชัย ผู้รับผิดชอบโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำหนังสื่อเชิญวิทยากร และเชิญแกนนำพร้อมสมาชิกมาพร้อมเพรียงกัน สมาชิกคนใดมาก่อนก็ลงทะเบียน เตรียมวัถุดิบที่จะนำมาไลฟ์สด พร้อมอุปกรณ์ที่จะทำการไลฟ์สด เตรียมสถานที่ จัดลำดับและขั้นตอนในการไดฟ์สด

 

30 0

9. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ส่งรายงานสรุปการเงิน เอกสารการเงินให้ตรวจ และปริ้นให้ผู้รับผิดชอบตรวจ ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งให้หน่วยจัดการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานที่ได้รับมอบหมายดำเนินการจัดทำสรุปการเงินและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยการรวบรวมภาพกิจกรรมและเอกสารการเงินลงบัญช่ี

 

2 0

10. ติดตามประเมินผล ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วม  จำนวน 30  คน แกนนำ 10 คนและสมาชิก 20  คน  เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ตั้งแต่ต้นโครงการจนสิ้นสุดโครงการ สมาชิกกลุ่มมีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง มีการวัดค่า BMI หรือการเรียนรู้เรื่อง 3อ2ส และนำไปตั้งเป้าหมายทางสุขภาพแต่ละคนตอนนี้สมาชิกได้พูดคุยให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่มฟังถึงวิธีการต่างๆที่ตัวเองไปศึกษามาให้กับคนอื่นฟังได้ และเรื่องการเงินของกลุ่มสมาชิกจะต่อยอดการปลูกวัตถุให้เพิ่มมากขึ้นและจะแนะนำคนอื่นๆปลูกเพิ่มด้วย และสมาชิกแต่ละคนได้แนะนำสมาชิกถึงเรื่องที่เจอปัญหามานำเสนอเพื่อให้ทางกลุ่มแก้ไข  โดยให้สมาชิกทดลองนำวัตถุดิบเดิมที่สมาชิกปลูกอยู่แล้วมาขยายพันธ์ุต่อ โดยเน้นต้นที่แข็งแรง เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น และแกนนำจะนำข้อมูลบางส่วนของสมาชิกที่เจอปัญหาไปศึกษาหรือไปขอคำแนะนำจากเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล หรือคนที่มีความรู้เรื่องการกำจัดศัตรตรูพืชมาให้อีกทางหนึ่ง โดยสรุป มีข้อเสนอ 2 เรื่องหลัก คือการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ของสมาชิกกลุ่มโดยให้สมาชิกปลูกเพิ่ม  และให้มีการสนับสนุนอบรมเรียนรู้เรื่องแก้ปัญหาโรคพืชที่เกิดกับเกษตกรในกลุ่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

นำเสนอแลกเปลี่ยนของแกนนำ  โดยวิธี ให้แกนนำเชิญสมาชิกของตัวเองที่รับผิดชอบมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาชิกทุกคนอย่างรู้และสงสัยเกี่ยวกับการทำบัญชี ปลูกผัก หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองพร้อมทั้งปัญหาของการปลูกผักว่าเจอปัญหาอะไรบ้าง และจะให้แกนนำช่วยเหลือด้านใดบ้าง พร้อมทั้งนำข้อมูลการจัดซื้อวัตถุดิบจากสมาชิกว่าสิ่งใดบ้างที่กลุ่มต้องการเป็นอย่างมากและยังคงให้สมาชิกปลูกเพิ่มขึ้นอีก อย่างเช่น พริกขี้หนูสด พริกไทยดำ ตะไคร้ กลุ่มยังต้องซื้อจากตลาดภายนอกอีก และสมาชิกบ้างท่านได้เจอปัญหาเรื่องปลูกพริกแล้วเจอลูกกุ้งแห้งบาง ใบหยิกบ้าง

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 25 22                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 80,000.00 79,036.00                  
คุณภาพกิจกรรม 88                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลลัพธืและบทเรียนการดำเนินโครงการย่อย ( 15 ก.ค. 2566 - 16 ก.ค. 2566 )
  2. ติกตามประเมินผล ( 20 ก.ค. 2566 )
  3. สร้างและพัฒนาช่องทางการขาย ( 31 ก.ค. 2566 )
  4. ค่าอินเตอร์เนตเพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ( 5 ส.ค. 2566 )

(................................)
นายอนุชา เฉลาชัย
ผู้รับผิดชอบโครงการ