directions_run

โครงการกลุ่มแม่บ้านท่าอยู่ รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี ที่ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. 1 ต.ค. 2565

 

 

 

 

 

ประชุมแกนนำเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการ 16 ต.ค. 2565 3 พ.ย. 2565

 

นาย ชำนาญ  พึ่งถิ่น ผู้รับผิดชอบโครงการได้แจ้งสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มแม่บ้านท่าอยู่ รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมาชิกมีความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาทักษะด้านการทำบัญชีครัวเรือน ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และสร้างเครือข่ายอาหารปลอดสารในชุมชน งบประมาณรวม 80,000.00 บาท โดยแยกการใช้งบประมาณออกเป็นสองส่วน คือ ใช้ทำกิจกรรมตามแผนงาน จำนวน 70,000.00 บาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. 10,000.00 บาท ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ 1 กันยายน 2565-31 สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย 30 คนตามรายชื่อที่แจ้งให้ทราบ ทางโครงการฯ ได้เปิดสมุดบัญชีกับธนาคารกรุงไทย สาขาพังงา มีผู้เปิดบัญชี 3 คน คือ นายชำนาญ พึ่งถิ่น ผู้รับผิดชอบโครงการ นาง อาจินต์ อินทสุวรรณ์ และ นางสำราญ  อินทคุ้ม  ใช้สิทธิการเบิกถอนเงิน สองในสาม งบประมาณ งวดแรก ได้โอนเข้าบัญชีแล้ว จำนวน 50,000.00 บาท เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2565  ปัจจุบันนี้ยังไม่มีรายการถอนเงินจากธนาคาร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบโครงการได้สำรองจ่ายไปก่อน    จากการลงเก็บข้อมูลการปลูกผักสวนครัวของสมาชิกที่กลุ่มมีมติให้สมาชิกทุกครัวเรือนต้องปลูกผักอย่างน้อย 5 ชนิด สำหรับการปลูกเพื่อรับประทานภายในครัวเรือน และการจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ภายในครัวเรือน มีการจัดทำผังครัวเรือนสมาชิกบ้านใครอยู่จุดไหน อย่างไร เพื่อสะดวกในการติดตามงานของสมาชิกกลุ่มด้วยกันเอง พร้อมกับจัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อให้สมาชิกได้รวมกลุ่มรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการนัดหมายการทำกิจกรรม ในชื่อกลุ่ม "แม่บ้านท่าอยู่"  จากข้อมูลที่ได้จากสมาชิกนั้นผักที่ปลูกกันมาก คือ พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ  ตะไคร้ โหระพา บวบ แตงกวา มะระ ผักบุ้ง คะน้า มะนาว ต้นหอม กวางตุ้ง กระชาย ถั่วพู มะกรูด ผักเหมียง  ผักชี เป็นต้น  สำหรับแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ มีด้วยกัน 9 กิจกรรม วันนี้ถือเป็นการทำกิจกรรมครั้งที่ 1  สิ่งสำคัญของโครงการนอกจากจะให้สมาชิกมีการปลูกผักปลอดสารได้รับประทานผักที่สะอาดปลอดภัย  ทุกคนต้องทำบัญชีครัวเรือน เพราะการทำบัญชีครัวเรือนทำให้เรารู้รายได้ รู้รายจ่าย สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ เป็นสิ่งที่พระจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ให้แนวคิดแนวทางในการหลุดพ้นจากความยากจน การเป็นหนี้สินให้กับพสกนิกรที่ใช้ได้ผลมาแล้ว  ซึ่งจะมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาให้ความรู้กับเราในโอกาสต่อไป  สุดท้ายนี้หวังว่าสมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะช่วยกันทำกิจกรรมให้บรรลุผลสำเร็จไปด้วยดี มีอะไรสงสัยให้สอบถามไม่ต้องเกรงใจ  เพราะ 30 คน คือต้นแบบที่จะให้คนในชุมชนเราได้เรียนรู้และนำไปต่อยอดขยายผลให้เกิดประโยชน์กับชุมชนต่อไป  นัดหมายการประชุมครั้งต่อไป คือ วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-15.30 น. ที่ห้องประชุมชมรมผู้สูงอายุวัดดิตถาราม เวทีชี้แจงทำความเข้าใจและจัดตั้งคณะทำงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมโครงการเพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ั    ปิดการประชุม เวลา 15.30 น.

 

  1. ได้จำนวนสมาชิกร่วมโครงการ 30 คน
  2. ได้พิกัดครัวเรือนสมาชิก
  3. ได้ข้อมูลการปลูกผักของครัวเรือนสมาชิก อย่างน้อย 5 ชนิด
  4. สมาชิกได้รับรู้เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทำโครงการใน 9 กิจกรรม ที่นำพาไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี

 

เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน 22 ต.ค. 2565 22 ต.ค. 2565

 

ช่วงเช้า นายชำนาญ พึ่งถิ่น ได้ชี้แจงความเป็นมาโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ/กิจกรรมโครงการ และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วงบ่าย พิจารณาคัดเลือกและเสนอผู้รับผิดชอบการทำงาน และลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ

 

ได้กำนดแผนการดำเนินโครงการ และรับทราบพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

 

การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม 3 พ.ย. 2565 3 พ.ย. 2565

 

รับฟังการบรรยายจากวิทยากรในการทำบัญชีครัวเรือน รับฟังการบรรยายเรื่องสุขภาพในการป้องกันโรคโควิทและโรคอุบัติใหม่  การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

 

ครัวเรือนกกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรอบรู้การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการดำรงชีวิต ประโยชน์และความสำคัญของการทำบัญชีครัวเรือน และทอดสอบการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่าย และได้รับความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด - 19 ในปัจจุบัน กับการป้องกันตนเองและสังคม

 

อบรมการปลูกพืช การเตรียมดิน การทำปุ๋ยใช้เอง การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 22 พ.ย. 2565 22 พ.ย. 2565

 

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ช่วงเช้า นายประพนธ์ วิศุภกาญจน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าอยู่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ได้นำเสนอวิธีการปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด
พิชิตโรค และช่วงบ่าย บรรยายเรื่อง อาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ช่วงเช้า นายชลทิตย์ ชิตรัตฐา ครูศูนย์การศึกษานอกระบบประจำตำบลตะกั่วทุ่ง อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ได้บรรยายเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร ตู้เย็นข้างบ้านต้านภัยโควิด - 19
และช่วงบ่าย เป็นการเตรียมดินและผสมดินปลูกผักและการทำปุ๋ยหมัก

 

ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับมีกการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ในการปลูกผักข้างบ้าน เรื่องของการไม่มีพื้นที่ในการปลูกผัก โดยการปรับเปลี่ยนในการปลูกใส่ถุงหรือกระถางแทนได้ และได้เรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการในการเตรียมดินและทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อใช้ในการบำรุงพืชผัก

 

การจัดการเรียนรู้ชุมชน/ศึกษาดูงาน 26 เม.ย. 2566 26 พ.ค. 2566

 

เวลา 07.00 น. - สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าอยู่ เดินทางโดยรถยนต์ออกาจากตำบลท่าอยู่ เวลา 09.00 น.    - ถึงสถานที่ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเกาะไทร หมู่ที่ 9 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เวลา 09.00 – 09.15 น. - รับประทานอาหารว่าง/พักผ่อนตามอัธยาศัย เวลา 09.15- 12.15 น. - รับฟังการบรรยายสรุปเรื่อง การดำรงชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำบ้านดิน การทำแก๊สใช้เองในครัวเรือน การปลูกผักปลอดสาร
      จากนายพิชิต ชูมณี ประธานกลุ่มฯ เวลา 12.15 – 12.30 น. - สอบถาม/แลกเปลี่ยน ประเด็นต่างๆ เวลา 12.30 – 13.30 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.30 – 14.30 น. - ศึกษาดูงาน/เรียนรู้ชุมชน
เวลา 14.30 - 14.50 น. - รับประทานอาหารว่าง เวลา 14.50 - 17.00 น. - ทางคณะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าอยู่ เดินทางกลับ

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น ผู้ประสานงานโครงการ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการมาศึกษาดูงานว่ากลุ่มที่มาเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าอยู่ ต.ท่าอยู่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ได้รับงบประมาณจาก สสส.สำนัก 6 เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสาร ภายใต้ชื่อโครงการ “กลุ่มแม่บ้านท่าอยู่รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี ลักษณะโครงการ สนับสนุนให้สมาชิกปลูกผักรับประทานเองโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งได้รับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมสถาบันเดียวกันให้มาดูงานที่นี่ นายพิชิต ชูมณี ประธานศูนย์การเรียนรู้กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเกาะไทร ได้เล่าให้ฟังว่าศูนย์แห่งนี้มีการทำกิจกรรมที่หลากหลาย แต่ที่โดดเด่นที่สุด คือ การทำเกษตรอินทรีย์ สโลแกนของศูนย์ฯ คือ บ้านดินกระบี่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีผ้าถุงปัก ข้าวผักคุณธรรม รำมโนราห์ เพลินตารองแง็ง” ประวัติการศึกษาจบปริญญาตรีทางด้านการเกษตรและไฟฟ้า อดีตเป็นเจ้าของธุรกิจไปทำงานอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ในปี 2540 เจอภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ จำเป็นต้องเลิกอาชีพ กลับมาอยู่บ้านที่จังหวัดกระบี่ ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นของคุณตาที่ตกทอดมาให้กับคุณพ่อ เป็นพื้นที่ในการทำนา ปลูกยางพารา และทำสวนปาล์ม ต่อมาผมในฐานะเป็นคนรุ่นที่ 3 ได้ปรับพื้นที่บางส่วนมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เรียกว่า “โคกหนองนาโมเดล” แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ คงพื้นที่ทำนา 3 ไร่ ทำแปลงดอกไม้หนึ่งส่วน ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ทางการเกษตร 4 บ่อ พื้นที่ส่วนที่เหลือจะปลูกไม้สมพรหม 10% ทำถนนรอบสวน และสร้างบ้านอาศัย พลิกผันตัวเองมาเป็นนักเกษตรเต็มตัว แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะทำแบบเกษตรอุตสาหกรรม คิดใหญ่ ทำใหญ่ มีแต่การลงทุน ไม่มีรายได้ สิ่งที่ปลูกสวนทางกับความเป็นจริงของชีวิต เพราะชีวิตทุกวันต้องมีรายได้ ต้องกินต้องใช้ทุกวัน แต่ผลผลิตที่จะได้รับไม่ได้รับผลภายในเร็ววัน เงินที่เหลือจากการทำธุรกิจก็หมดไป การทำงานทุกอย่างเอาเงินเป็นตัวตั้ง หลงอยู่กับเงิน เพราะตัวเองเคยเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาก่อน จึงเปลี่ยนความคิดไปเลี้ยงหมู เลี้ยงปลาดุก มีรายได้เดือนเป็นแสน แต่รายจ่ายก็มาก ทำให้ขาดทุนเพราะเราไม่สามารถกำหนดราคาได้ด้วยตัวเอง ทุกอย่างที่ทำบริษัทใหญ่ ๆ เช่น CP เป็นผู้กำหนดราคา ถึงแม้เราจะเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า แต่ในความเป็นจริงไม่มีคนซื้อ สุขภาพตัวเองก็แย่ลง เครียด ระบบการหายใจก็ไม่ดี การเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ต้องอยู่กับกลิ่นเหม็นและฝุ่นละออง สูดดมเอาสิ่งสกปรกเข้าร่างกายทุกวัน ประการสำคัญคือสร้างมลพิษทางอากาศให้กับคนในชุมชน มีปัญหาทะเลาะกับคนในชุมชนทำให้เสียเพื่อน สุดท้ายได้พบความจริงจากการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ คำว่า “ศาสตร์พระราชา” “เศรษฐกิจพอเพียง” 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เป็นทางรอดของทุกชีวิต จึงได้ทำการศึกษาอย่างจริงจัง มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชัยภูมิ ได้พบกับปราชญ์ชาวบ้านที่ทำบ้านดิน ก็มีความสนใจและไปเรียนรู้การทำบ้านดินจนสามารถทำบ้านดินได้ กลับบ้านมาทำบ้านดินที่แผ่นดินนี้ หลังแรกเป็นบ้านทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งวิธีการไม่ยากและไม่มีอะไรซับซ้อนอย่างที่คิด ทุกคนสามารถทำได้ วัสดุอุปกรณ์การทำบ้านดินก็สามารถหาได้ง่ายในชุมชน โครงการแรกของศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ คือ โครงการความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย เพราะเชื่อว่ายังมีคนอีกมากที่ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ถ้ารอให้มีเงิน ในชีวิตนี้ก็จะไม่มีบ้าน เพราะบ้านในยุคปัจจุบันราคาแพง วัสดุแพง รายได้ไม่ดี ไม่มีเงินออมเหลือเก็บ พ่อแม่ไม่มีทรัพย์สินมากพอที่สร้างบ้านให้ลูกหลานทุกคน เกิดความคิดเมื่อตัวเองมีบ้าน ก็อยากให้ญาติพี่น้องคนอื่น ๆ มีบ้านเป็นของตนเอง จึงได้ทำบ้านดินให้กับญาติพี่น้องและเพื่อนๆ ผู้มีรายได้น้อย และทำบ้านดินเป็นโฮมสเตร์ 3 หลัง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ปัญหาของบ้านดิน คือ ห้ามสร้างบ้านดินในบริเวณน้ำท่วมขัง เพราะน้ำจะซึมเข้าภายในบ้าน ดินจะรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาไม่ได้ จะทำให้บ้านพังและทรุดตัวได้ ประการที่สองถ้าเราไม่ป้องกันให้ดี ปลวกจะทำรัง โครงการที่ 2 คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกผัก ในอดีตเคยปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แพงด้วยการสร้างโรงเรือน หลังละ 70,000 บาท การลงทุนเยอะมากเพราะทุกอย่างเราต้องทำอย่างดีทั้งระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ จึงเปลี่ยนมาปลูกผักด้วยระบบดิน ทำแบบบ้านๆ จึงเป็นที่มาของการทำ “เกษตรอินทรีย์” ทำงานด้วยใจรัก การลองผิดลองถูกทำให้เกิดความรู้ เกิดเป็นประสบการณ์ที่ในห้องเรียนไม่มีสอน รู้วิธีแก้ปัญหาให้กับตัวเอง และส่งต่อขยายไปสู่ชุมชน โครงการที่ 3 คือ การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยการนำขยะ เศษอาหารมาทำบ่อแก๊ส สามารถนำแก๊สมาปรุงอาหารภายในครอบครัว ลดรายจ่ายได้
บทสรุป คือ ความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน ความพยายาม ความรักในสิ่งที่ทำ และทำอย่างตั้งใจ ด้วยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชามาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเข้าใจ จะทำให้ชีวิตเราและครอบครัวมีความสุขอย่างยั่งยืนได้จริง สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีคุณธรรมประจำใจ เพราะคุณธรรมเป็นคัมภีร์สุดยอดแห่งความมนุษย์ ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ได้กำหนดคุณธรรมไว้ 5 ประการ คือ 1. ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง 2. อย่าอยากได้ของผู้อื่น 3. ไม่ว่าร้ายผู้อื่น และไม่พูดจาหยาบคาย 4. ไม่เล่นการพนันทุกชนิด 5. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อสุขภาพที่ดีมีความสุข ใครก็ตามที่ปฏิบัติได้ตามคุณธรรม 5 ประการ ถ้าหากมาซื้อสินค้าที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะได้ส่วนลดตามจำนวนข้อที่ปฏิบัติ เช่น ปฏิบัติได้ 2 ข้อ ก็จะได้ส่วนลดจากการซื้อสินค้าจำนวน 2 บาท เป็นต้น สุดท้ายนี้ เข้าใจว่าสมาชิกทุกท่านที่ได้รับฟังการบรรยาย จะได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อย ถ้าหากสงสัยอะไร ในระหว่างการเดินชมแปลงผัก ก็สามารถสอบถามได้ทุกเรื่อง เป็นคนไม่หวงวิชาเพราะอยากให้ทุกคนมาศึกษาดูงานแล้วได้เอาเรื่องดี ๆ ไปสานต่อ ศูนย์ฯ ยินดีต้อนรับทุกคนจะมาเที่ยวหรือมาฝึกงานกิยินดีต้อนรับเพราะเป็นศูนย์ที่ทำจริง ทำเพื่อเรียนรู้ไม่ใช่เพื่อการแสดง นายชำนาญ พึ่งถิ่น ผู้ประสานงานโครงการได้กล่าวขอบคุณ และมอบกระเช้าของที่ระลึกให้เพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจในการนำเสนอความรู้ต่างๆ ให้กับสมาชิก หลังจากนี้ก็เดินชมแปลงพร้อมรับฟังการบรรยาย ซึ่งมีหลายสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับสมาชิกที่เห็น เช่น บ้านดินที่ทำได้อย่างสวยงาม บ่อแก๊สที่สร้างพลังงานจากเศษอาหาร เศษขยะ ที่สามารถจุดไฟหุงต้มได้จริง แปลงผักที่เป็นคอนโด ปลูกผักชั้นบน ส่วนชั้นล่างเลี้ยงหอย ทำให้เกิดการหมุนเวียนความชื้นในโรงเรือนผักมีความเจริญงอกงามดี การปลูกพืชที่ใช้ในการทำน้ำสมุนไพรสำหรับบริการนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน เช่น เตยหอม ตะไคร้ อัญชัญ ลูกหม่อน สับปะรด ซึ่งทุกอย่างไม่ต้องซื้อสามารถเก็บได้จากภายในสวน เรือนไทยร้านอาหารตามสั่งที่ปลูกอยู่ในทุ่งนาเขียวขจี บรรยากาศสวยงาม ลมพัดเย็นสบาย คนขายของมีอัธยาศัยไมตรีที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส คณะดูงานอยู่ที่ศูนย์ฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-14.30 น. จึงได้ลาประธานศูนย์ฯ ออกจากพื้นที่เพื่อกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

 

ถอนเงินเปิดบัญชี 10 พ.ค. 2566 10 พ.ค. 2566

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น และนางอาจินต์ อินทสุวรรณ์ ได้ถอนเงินเปิดบัญชี

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น และนางอาจินต์ อินทสุวรรณ์ นำเงินที่ถอนจากธนาคารมาคืนนางอาจินต์ อินทสุวรรณ์

 

การประชุมเพื่อสรุปผลการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติจริงตามศาสตร์พระราชา 16 พ.ค. 2566 29 ก.ค. 2566

 

08.30-09.00 น. -ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00-10.30 น. - สรุปผลการฝึกอบรมที่ผ่านมาตามศาสตร์พระราชา โดย นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการ 10.30-10.45 น. - พักรับประทนอาหารว่าง 10.45-12.00 น. - แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ทำสำเร็จ และไม่สำเร็จ 12.00-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. - อบรมให้ความรู้การทำขนม "แชนวิช" โดย คณะครูจาก กศน.อำเภอตะกั่วทุ่ง

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการได้ทบทวนการทำงานของกลุ่มแม่บ้านท่าอยู่ รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี เริ่มทำโครงการมาตั้งแต่ เดือนกันยายน 2565 และจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2566 ถามว่าเราได้อะไรจากโครงการนี้บ้าง อยากให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
นางลาวัลย์ มุกดา การอบรมให้ความรู้เรื่องทักษะการเงิน การทำบัญชีครัวเรือน มีประโยชน์มาก ตั้งแต่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ทำบัญชีมาตลอด ทำให้รู้ว่าในแต่ละวันมีรายจ่ายอะไรบ้าง มีรายได้กี่บาท ที่ผ่านมาไม่เคยจดบันทึกว่าขายอะไรได้ในแต่ละวัน จำนวนกี่บาท การบันทึกรายได้ทำให้ตัวเองอยากทำงาน อยากปลูกผัก ปลูกทุกอย่างที่ขายได้ เพราะเห็นตัวเลขชัดเจน เป็นโครงการที่ดี ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในแต่ละเดือนได้ การได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านเกาะไทร ได้ไปเห็นบ้านดิน ซึ่งอยากจะได้คิดว่าในอนาคตอยากทำบ้านดินในสวนสักหลัง การได้ไปเห็นการทำแก๊สหุงต้มจากเศษขยะและเศษอาหาร ที่สามารถนำมาใช้ในการทำอาหารได้จริง ก็อยากจะทำไม่ต้องซื้อแก๊สตามร้านซึ่งมีราคาแพงทุกปี การปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เป็นเรื่องที่ทำแล้วมีความสุข การปลูกผักกินเองสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองว่าได้รับประทานผักที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ อยากทำโครงการแบบนี้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ และจะนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อเพื่อต่อยอดให้คนอื่น ๆ ในชุมชนได้ทำบ้าง นายศุภกร อรรถธรรม ได้เล่าว่าเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ต้นไม้ทำให้อากาศบริเวณบ้านสดชื่น บริสุทธิ์ ปกติตัวเองมีอาชีพค้าขาย ทำขนมขายตอนเช้าทุกวัน การไปในที่ต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าชาวบ้านจะซื้อผักต่าง ๆ ในตอนเช้าทุกวัน ซึ่งเป็นไม้ที่สามารถปลูกได้ด้วยตัวเอง เช่น พริก มะเขือ แตงกวา การเข้าร่วมโครงการนี้ทำให้ตัวเองต้องปลูกผักบริเวณบ้านมากขึ้น ในตอนแรกคิดอย่างเดียวว่าร่วมกลุ่มกับเพื่อน อย่าทำให้เพื่อนต้องหนักใจจึงจำเป็นต้องปลูก ปลูกแล้วได้ผล ได้กิน ได้ขาย ทำให้ครอบครัวลดค่าใช้จ่าย อย่างน้อยอาทิตย์ละ 300-500 บาท และทำให้ครอบครัวมีรายได้จากการขายผัก เดือนหนึ่งมีรายได้ประมาณ 1,000-2,500 บาท หลังจากนั้นก็ปลูกทุกอย่างมากขึ้น แล้วนำออกขายไปพร้อมกับการขายขนม การร่วมโครงการทำให้เพื่อน ๆ ได้ไปเยี่ยมบ้าน ไปดูผลงานที่ทำ ก็ยิ่งมีกำลังใจที่หลายคนให้ความสนใจเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำไม่สำเร็จ คือ การทำบัญชีครัวเรือน รู้และเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ดีในการได้บันทึกรายรับ-รายจ่าย เพื่อจะรู้ตัวตน รู้ปัญหาทางการเงิน แต่ไม่ได้จด ลืมบ้าง อะไรบ้าง หลายครั้งก็ท้อ เพราะรายจ่ายมากกว่ารายได้
นางอัมพร ศรแก้ว ปกติที่บ้านมีการปลูกผักอยู่แล้ว ปลูกไว้กินในครัวเรือน เพราะซื้อเขากินกลัวว่าจะถูกสารเคมี แต่ปลูกไม่มากเหมือนในปัจจุบัน เมื่อเข้าโครงการนี้ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ หลายคน มีการลงผลงานที่ทำในกลุ่มไลน์ มีการแลกเปลี่ยนการทำงานกันทุกวัน ก็มีความรู้สึกสนุกและมีความรู้ การทำบัญชีครัวเรือนได้จดบ้าง ไม่ได้จดบ้าง การได้มีโอกาสศึกษาดูงานที่บ้านเกาะไทร ทำให้เห็นว่าคนเราจะมีเงินมากมาย ร่ำรวยจากการทำธุรกิจ สุดท้ายเมื่อเกิดปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจก็อยู่ไม่ได้ ต้องหันมาทำเศรษฐกิจพอเพียงเดินตามรอยพ่อสอน มีชีวิตเรียบง่ายทำให้ชีวิตมีความสุข สุขภาพแข็งแรง การปลูกผักที่ชอบกิน ไม่ต้องซื้อ ปลูกหน้าบ้านได้เห็นการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก ก็มีความสุข ส่วนมากจะไม่ได้ขาย แจกญาติพี่น้องได้รับประทานผักปลอดภัย เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีอยากให้ทำต่อเนื่องจะได้ขยายให้เต็มทั้งตำบล
นางพัชรา บุญเรือน ก่อนเข้าโครงการไม่ค่อยได้สนใจจะปลูกผักมากนัก ชอบปลูกไม้ดอก เพราะให้ความสวยงาม แต่พอมาร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องต่าง ๆ เกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องปลูกผักกินเอง เพราะซื้อผักเขากินไม่ปลอดภัย เป็นการทำร้ายร่างกายทุกวัน ๆ จึงได้ทดลองปลูกตามที่โครงการแจกเมล็ดพันธุ์ผักไปให้ ไปให้สามีปลูก เราก็ให้กำลังใจ จากคนที่ไม่ชอบทำอะไรแบบนี้ ปัจจุบันกลับเปลี่ยนชีวิต ขยันปลูกขยันดูแล ปลูกได้กิน ได้ขาย ขาดเหลืออะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ต้องวิ่งออกไปซื้อในตลาด สามารถเก็บผลผลิตได้จากข้างบ้าน สามีกลายเป็นคนชอบปลูกผัก เป็นคนรักธรรมชาติ ตื่นเข้าขึ้นมาต้องลงแปลงผักก่อน เพื่อดูความเรียบร้อย กำจัดแมลง รดน้ำผัก ทำให้เราสองสามีภรรยามีความใกล้ชิดและมีการพูดคุยกันมากขึ้น มีความเข้าใจกันมากขึ้น ชีวิตมีความสุขได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อยากให้มีการทำโครงการแบบนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะเห็นแล้วว่าเป็นเรื่องที่ดีทำให้ชีวิตในครัวเรือนดีขึ้น
นางยุพดี ไชยคง การทำโครงการแบบนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี โดยส่วนตัวเป็นคนขอบปลูกผักกินเองอยู่แล้ว เพราะเป็นโรคภูมิแพ้ แต่ปลูกอย่างไม่มีความเข้าใจ เมื่อมาร่วมโครงการทำให้มีความรู้มากขึ้น การได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การนำประสบการณ์ของคนอื่นมาปรับให้เหมาะสมกับเรา เป็นเรื่องที่ดีมาก ตอนนี้รอบบ้านมีแต่ผักเกือบทุกชนิด มีรายได้ประมาณอาทิตย์ละ 500 บาท มีคนมาซื้อถึงบ้าน ครอบครัวได้รับประทานผักที่ปลอด ภัยทำให้สุขภาพดีขึ้น
นางสมมิตร อุดม ก่อนเข้าโครงการ ที่บ้านไม่เคยปลูกผักอะไรเลย ทำอาหารทุกวันต้องซื้อทุกอย่าง เพราะไม่เคยคิดที่จะปลูก ทั้ง ๆ รอบบ้านมีพื้นที่ว่างอยู่มาก พอเพื่อนชวนมาร่วมโครงการ ได้รับฟังการประชุม ได้ฟังวิทยากรหลาย ๆ คนมาให้ความรู้ เหมือนกับจะเกิดซึมซับบ้าง ผักชนิดแรกที่ปลูก คือ พริกชี้ฟ้า เพราะชอบกินน้ำพริก เมื่อปลูกแล้วก็ได้ผลผลิต ไม่ต้องซื้อเขากิน จึงขยายปลูกผักชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เริ่มจากผักที่ตัวเองชอบรับประทานก่อน เมื่อรอบบ้านมีผักมากขึ้น ขาดเหลือก็สามารถเก็บมาทำอาหารได้ ไม่ต้องเดินออกมาซื้อในตลาด บ้านกับตลาดก็อยู่ห่างกันไม่น้อย ปัจจุบันนี้กลายเป็นคนชอบปลูกผัก เพราะเห็นแล้วว่ามีผลดีหลายอย่าง ดีต่อสุขภาพ ได้รับประทานผักที่ปลอดสาร มีการแบ่งปันสู่เพื่อนบ้าน ทำให้มีประเด็นในการพูดคุย ปัจจุบันไม่มีการซื้อผักพื้นบ้านเลย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เดือนละเกือบหนึ่งพันบาท นางอาจินต์ อินทสุวรรณ์ เป็นโครงการที่ดี ขอบคุณ สสส.ที่สนับสนุนงบประมาณลงมาให้ชุมชนได้ทำเรื่องที่ดีๆ ซึ่งกว่าโครงการจะปิดตัวลง สมาชิกทุกคนกลายเป็นคนรักการปลูกผัก เกิดความรู้จากประสบการณ์ที่ทำ การเดินทางทำให้เกิดความรู้ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นเป็นการเรียนรู้ทางลัด ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นต่อรุ่น เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดต่อยอดไปได้โดยไม่รู้จบ เป็นนวัตกรรมที่ทำให้คนที่ศึกษามีภูมิต้านทานที่ดี พี่เป็นคนหนึ่งที่เดินตามรอยพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการอยู่อย่างพอเพียง ความพอเพียงไม่ใช่เป็นเรื่องของคนขี้เหนียว แต่เป็นเรื่องที่สอนให้เราได้มีภูมิต้านทานในการดำรงชีวิต อยู่อย่างไม่ประมาท เราทำโครงการกลุ่มแม่บ้านรู้เก็บ-รู้จ่าย-รู้เพิ่มรายได้ด้วยการปลูกผักปลอดสาร ซื่อโครงการสอนให้เราได้รู้ตั้งแต่แรกว่าเราต้องทำอะไร อย่างไร ตอนเกิดวิกฤตโควิด-19 ครอบครัวพี่ไม่ได้อดอยาก เพราะทุกอย่างมีครบภายในสวนยางสามารถเก็บกินได้ทุกวัน ทุกวันนี้พี่มีรายได้จากสิ่งที่ปลูก ขายได้ทุกวัน เดือนหนึ่งพี่มีรายได้จากการขายผลผลิตที่ปลูก ประมาณเดือนละ 2,500-3,000 บาท พี่ว่าเป็นโครงการที่ดีมากถ้าได้ขยายต่อยอดให้ครบทั้งตำบลจะเป็นเรื่องที่ดี เกิดวิกฤติอะไรขึ้นมาอีก คนจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะเรามีความมั่นคงทางอาหาร ลูกหลานว่างงาน ไม่มีรายได้ แต่เราก็ยังมีอาหารกินทุกวัน อยากให้ทำโครงการนี้ต่อไป นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการ กล่าวว่า ได้ฟังสมาชิกพูดมาทำให้รู้สึกตื้นตันใจ หลายคนที่ไม่ได้พูดก็คงมีความคิดที่ไม่แตกต่างกัน สสส.สนับสนุนงบประมาณมา 60,000 บาทต่อหนึ่งโครงการ ดูแล้วเป็นเงินไม่มาก แต่เป็นสารตั้งต้นให้เกิดสิ่งดี ๆ มากมายกับสมาชิกของเราที่ไม่สามารถนับเป็นมูลค่าได้ ในอนาคตถึงแม้โครงการเราจะจบลง แต่เรื่องดี ๆ ที่ทำก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป การทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ทุกคนเกิดภูมิรู้ในตัวตนอย่างไม่รู้ตัว จากคนที่ไม่ชอบผัก ก็กลับมาชอบและปลูกดูแลอย่างดี คนไม่เคยปลูกผักเลยซื้อกินอย่างเดียว ก็กลับมาปลูกผักในปัจจุบัน บางครอบครัวการได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดความรักความผูกพันกันมากขึ้น นับเป็นโอกาสดีของตำบลท่าอยู่ที่ได้เข้าร่วมโครงการกับ สสส. ได้ร่วมกันเติมเต็มและนำสิ่งดี ๆ ไปบอกต่อ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงงานอย่างหนักเพื่อให้ประชาชนของพระองค์มีความกินดีอยู่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้ เพราะสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากจะมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มด้วยซ้ำไป
สำหรับช่วงเช้านี้ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันสะท้อนความรู้สึกให้กันฟัง ในตอนบ่ายจะมีการเรียนรู้เรื่องการทำขนม “แซนวิช” เป็นเรื่องที่ทำให้เราสามารถนำไปสร้างอาชีพได้ นำไปทำอาหารรับประทานในครัวเรือนได้

 

อบรมเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร การตลาด การสร้างเครือข่ายเพื่อจำหน่ายผลผลิต 1 ก.ค. 2566 1 ก.ค. 2566

 

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 08.30-09.00 น. - ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00-10.30 น. - ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ     - ให้ความรู้เรื่องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการตลาด โดย นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการ 10.30-10.45 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 น. - อบรมทฤษฎีการเพาะเห็ดนางฟ้า โดย นายชลทิตย์ ชิตรัตฐา ครู กศน.ประจำตำบลท่าอยู่ 12.00-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. - อบรมการทำก้อนเห็ด

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 08.30-09.00 น. - ลงทะเบียน รับเอกสาร 09.00-10.30 น. - แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม                   กลุ่มที่ 1 จำนวน 15 คน ทำก้อนเห็ดนางฟ้า (ต่อจากเมื่อวาน)                   กลุ่มที่ 2 จำนวน 15 คน อบรมการแปรรูปเห็ดนางฟ้า 10.30-10.45 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.45-12.00 น. - ให้ความรู้การแปรรูปแหนมเห็ดนางฟ้า โดย นางจิตรา เทพบุตร ประธานกลุ่มสตรีพัฒนา 12.00-13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. - ให้ความรู้สรรพคุณ ประโยชน์ของการรับประทานเห็ด                 - วิธีการห่อแหนมเห็ดให้น่ารับประทาน

 

วันนี้ (1 กรกฎาคม 2566) นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการได้กล่าวกับสมาชิกว่า วันนี้กลุ่มของเราจะพูดเรื่องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการตลาด ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญกับโครงการ โดยการผลิตก้อนเห็ดนางฟ้า นายชลทิตย์ ชิตรัตฐา ครู กศน.ประจำตำบลท่าอยู่ ซึ่งครัวเรือนเป้าหมาย และเมื่อบรรยายให้ความรู้ ก็ได้ลงมือปฏิบัติ และได้รับความรู้ประสบการณ์ และได้นำก้อนเห็ดกลับไปเลี้ยงที่บ้าน     วันนี้ (2 กรกฎาคม 2566) นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการได้กล่าวกับสมาชิกว่า เมื่อวานได้มีการอบรมเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าไปแล้ว และหวังว่าก้อนเห็ดที่ได้แจกไป ทุกคนคงจะไปวางไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม พยายามรดน้ำทุกวัน เห็ดใครออกดอกก็ให้ถ่ายภาพส่งมาในไลน์ เพื่อจะได้รู้ว่าใครเลี้ยงเป็นหรือไม่เป็น วันนี้วันที่สองของการรอบรม ก็ได้นำเมนู “แหนมเห็ด” มาให้สมาชิกได้ทดลองทำ เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ต่อไป เพราะเมื่อเราเพาะเห็ดมีบางช่วงที่เห็ดจะออกดอกมาก ถ้าเราเก็บแล้วจำหน่ายดอกสดไม่หมด เราจะได้นำเห็ดไปทำเป็นอาหารอย่างอื่นได้ ซึ่งวันนี้จะสอนเรื่องการทำ “แหนมเห็ด” ซึ่งเป็นอีกเมนูหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ ผู้ที่มาสอนเรื่องการแปรรูปเห็ดในวันนี้ก็คือ นางจิตรา เทพบุตร ประธานกลุ่มสตรีพัฒนาตำบลท่าอยู่ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ นางจิตรา เทพบุตร ประธานกลุ่มสตรีพัฒนาตำบลท่าอยู่ ได้กล่าวถึงการฝึกทำแหนมเห็ดในวันนี้ออกเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งจะเป็นการทำให้สมาชิกทุกคนได้รู้ในวิธีการทำ ส่วนที่สองสมา ชิกต้องแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อช่วยกันทำแหนมเห็ด โดยได้จัดวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้แต่ละกลุ่มแล้ว หลังจากนั้นค่อยมาชิมรสชาดกัน ส่วนผสมในการทำแหนมเห็ด (กรณีวิทยากรทำให้ดู) 1. เห็ดนางฟ้า  1 กก. 2. ข้าวมันปูหุงสุก 6 ทัพพี 3. ผงปรุงรส ตราทิพรส 1 ซ้อนโต๊ะ 4. กระเทียมไทยบุบ 30 กรัม 5. เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ 6. พริกขี้หนูสวน 20 เม็ด วิธีการทำ คือ นำเห็ดนางฟ้ามาล้างน้ำให้สะอาดโดยใช้น้ำส้มสายชูตราทิพรสแช่เห็ดนางฟ้าเป็นเวลา 5 นาที ก่อนนำไปล้างน้ำทำความสะอาดอีกครั้ง น้ำส้มสายชูจะช่วยล้างสารพิษที่อยูในเห็ด ทำให้เห็ดมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น แล้วพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ หลังจากนั้นก็นำเห็ดนางฟ้าไปนึ่งให้สุก โดยใช้เวลา 10-15 นาที จากนั้นก็นำเห็ดมาฉีกเป็นเส้นๆ แล้วพักไว้ เตรียมนำไปหมักกับเครื่องหมัก
วิธีการหมัก นำเห็ดนางฟ้าที่เตรียมไว้ใส่ลงในชามผสม จากนั้นก็ใส่ข้าวมันปูหุงสุก ตามด้วยกระเทียมไทยบุบ เกลือแกง พริกขี้หนูสวน และผงปรุงรส ตราทิพรสลงไป แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้ถุงขนาด 3x5 มาตัดปลายถุงออกให้เป็นทรงสามเหลี่ยม จากนั้นก็ตักแหนมเห็ดใส่ลงไป ใช้เส้นยางรัดให้แน่น แล้วนำไปหมักทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้แหนมมีรสเปรี้ยว เมื่อเห็ดเปรี้ยวได้ทีก็มาแกะถุงออก แล้วนำไปเสริฟใส่จาน กินคู่กับผักสดและพริก
ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมมา ให้สมาชิกทดลองทำกันเอง เพื่อทดสอบความเข้าใจจากการที่ได้เห็นวิทยากรทำเสร็จแล้ว ผลการทำแหนมเห็ดทุกกลุ่มมีความเข้าใจ สามารถทำเองได้ รสชาดก็อร่อยทุกกลุ่ม

 

ประชุมถอดบทเรียน 30 ก.ค. 2566 30 ก.ค. 2566

 

วัตถุประสงค์ 1. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา 2. การวิเคราะห์บทเรียน/บทสรุป จากการเปลี่ยนแปลงในแต่ละมิติ

เวลา 09.00 – 09.30 น. - ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมอบรม เวลา 09.30 – 09.40 น. - กล่าวต้อนรับ และประธานโครงการ ชี้แจง วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรม โดยนายชำนาญ  พึ่งถิ่น เวลา 09.40  – 10.40 น. - การพบปะพูดคุยการดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยนายธีระวัฒน์  หัสนี เวลา 10.40  – 11.00 น. - พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 11.00 – 12.00 น. - พูดคุยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงแต่ละมิติ โดยนายชำนาญ  พึ่งถิ่น - มิติด้านเศรษฐกิจ - มิติด้านสังคม - มิติด้านสิ่งแวดล้อม - มิติด้านสุขภาพ เวลา 12.00 – 12.10 น. - แลกเปลี่ยน/สอบถาม เวลา 12.10 – 13.15 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.15 – 14.40 น. - พูดคุยการถอดบทเรียนโครงการ เรื่อง บทสรุปและบทเรียนโครงการ โดยนายชำนาญ  พึ่งถิ่น เวลา 14.40 – 15.00 น. - พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 15.00 – 16.00 น. - สรุปผลกิจกรรมการถอดบทเรียนโครงการ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

จากการดำเนินโครงการกลุ่มแม่บ้านท่าอยู่ รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี ที่ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ที่ผ่านมาโดยสามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงเป็น 4 มิติ ดังนี้ 1. มิติด้านเศรษฐกิจ ได้รับความรอบรู้ซึ่งนำไปเปลี่ยนวิธีคิด การใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ลดรายจ่ายจากการซื้อผัก และมีรายได้จากการจำหน่ายผัก อีกทั้งยังสร้างเครือข่ายการซื้อ - ขายในชุมชนและสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ระดับหนึ่ง 2. มิติด้านสังคม เกิดการพูดคุย/การทำงานร่วมกัน และการช่วยเหลือกันของบุคคลในครัวเรือน จนสามารถขยายผล/การเลียนแบบให้ครัวเรือนข้างเคียงจนเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีในชุมชน ต่อไป 3. มิติด้านสังคม การจัดการเศษขยะเปียก แห้งทำปุ๋ย และเศษหญ้าหรือมูลสัตว์ต่างๆ ทำดินผสม อีกทั้งนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นอุปกรณ์ในการปลูกผัก จนนำไปสู่การบริเวณบ้านที่น่ามอง สภาพแวดล้อมสะอาด และอากาศดี 4. มิติด้านสุขภาพ ได้รับประทานผักที่สด สะอาด ปลอดภัยจากสารเคมี จนมีการพูดกันว่า “ได้กินอาหารเป็นยา”

พัฒนาการและกลไกสู่ความสำเร็จ 1. ลดรายจ่ายในครัวเรือนและเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตที่ปลูก 2. ได้กินผักที่ปลอดภัยที่ไม่ใช้สารเคมีในการดูแล โดยเริ่มปลูกจากผักชนิดที่ชอบทานก่อนเป็นลำดับแรก 3. สามารถสร้างสุขในครอบครัว ปรึกษาหารือกัน เนื่องจากได้ทำกิจกรรมด้วยกันมากยิ่งขึ้น 4. เกิดศูนย์เรียนรู้ในชุมชน และเกิดธนาคารเมล็ดพันธุ์ในการแบ่งปันแก่เพื่อนบ้านข้างเคียงซึ่งสามารถขยายผลโครงการได้ต่อไป
โอกาสความยั่งยืน 1. การรณรงค์ ส่งเสริมกำหนดวิธีการทำบัญชีครัวเรือนตามความถนัดและเหมาะสม เนื่องจากครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าโครงการ ยังไม่สามารถทำบัญชีได้ทั้ง 100% หากทำบัญชีครัวเรือนได้นั้น เป็นผลดีกับตัวเองและครัวเรือนเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะสามารถเป็นข้อมูลวางแผน/วิเคราะห์ ตนเองได้ 2. เกิดการรวมกลุ่ม ปรึกษาหารือกัน ซึ่งสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ โดยจะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้การผลิตผักเป็นอาชีพ เพื่อจะสามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้         3. การทำงานร่วมกันในชุมชน โดยยึดหลัก “บวร” และ “บมร” เป็นหลักขับเคลื่อนในการทำงาน

 

กิจกรรมที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการ 1 ต.ค. 2565 1 ต.ค. 2565

 

การปฐมนิเทศโครงการสร้างเสริมสุขภาวะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานรากในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 พื้นที่ภาคใต้ระยะเวลา 2 วัน สิ่งที่ได้จากการอบรม คือ เข้าใจในการทำกิจกรรมโครงการ การบริหารงานโครงการ การจัดเก็บข้อมูล การใช้เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ การรายงานผลการปฏิบัติงาน การบริหารระบบการเงิน วันแรก ชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการ แนะนำพี่เลี้ยงในความรับผิดชอบที่จะมาช่วยเหลือให้คำแนะนำการทำโครงการ แบ่งกลุ่มย่อยร่วมคลี่โครงการกับพี่เลี้ยง ทำความเข้าใจในเป้าหมายร่วมของโครงการ การรายงานผลการเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัดและกิจกรรม ทำความเข้าใจในส่วนของเอกสารการเงิน การจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และการนำข้อมูลไปใช้ในการทำงาน วันที่สอง เรียนรู้เรื่องการรายงานผลการทำกิจกรรม รายงานการเงินผ่านทางระบบออนไลน์ ทำความเข้าใจในกรอบระเบียบการเงิน สุดท้ายเป็นการแลกเปลี่ยนและสอบถามข้อสงสัยในการทำงาน การอบรมครั้งนี้ทำให้พื้นที่มีความเข้าใจในการทำโครงการและการรายงานผลการปฏิบัติงานได้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการเรื่องการเงินที่ถูกต้อง ทำให้ชุมชนเกิดความมั่่นใจในการทำงานให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์แก่ชุมนได้อย่างดีการะปฐมนิเทศน์

 

เข้าใจในการทำกิจกรรมโครงการ การบริหารงานโครงการ การจัดเก็บข้อมูล การใช้เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ  การรายงานผลการปฏิบัติงาน การบริหารระบบการเงิน เข้าใจการรายงานการเงินผ่านทางระบบออนไลน์ เข้าใจในกรอบระเบียบการเงินโครงการ

 

ค่าจัดทำไวนิล ตรายางโครงการ และตรายางจ่ายเงินแล้ว 10 ต.ค. 2565 13 พ.ย. 2565

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น ประธานโครงการ ได้สั่งทำป้ายไวนิล เพื่อประกอบโครงการกลุ่มแม่บ้านท่าอยู่ รู้เก็บ รู้จ่าย รู้เพิ่มรายได้ด้วยผักปลอดสารเคมี ที่ตำบลท่าอยู่ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

 

มีป้ายไวนิล และตรายาง จำนวนอย่างละ 1 ชิ้น

 

กิจกรรมที่ 2 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 5 พ.ย. 2565 5 พ.ย. 2565

 

นายชำนาญ พึ่งถิ่น และนางสาวอรษา โภคบุตร ได้เข้าร่วมการอบรมด้านสุขภาพและการเงิน ในะหว่างวันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน 2565 ณ เขาพับผ้ารีสอร์ท จังหวัดตรัง

 

ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพและด้านเงินเพิ่มมากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 3 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 11 ก.พ. 2566 11 ก.พ. 2566

 

  • วันที่ 11 ก.พ. 66 1. นำเสนอในภาพรวมของทีมหน่วยจัดการ และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน                         2. นำเสนอความก้าวหน้าและผลลัพธ์การดำเนินงาน ในห้วง 6 เดือน
                                โดยแบ่งเป็น 2 ห้องย่อย
  • วันที่ 12 ก.พ. 66 1. แบ่งกลุ่มตามจังหวัดในหัวข้อ แนวทางการปรับปรุงโครงการเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์อย่างไร                         2. สรุปกิจกรรมภาพรวมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้ง 2 วัน

 

ได้นำเสนอผลการดำเนินงานในโครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่ และได้รับทราบผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์และการปรับใช้กับการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่ต่อไป

 

กิจกรรม 4 การจัดอบรมการจัดการระบบข้อมูลและการสื่อสาธารณะ 20 พ.ค. 2566 20 พ.ค. 2566

 

นางสาวโอรษาโภคบุตร และนางชนัยพรรณ  ทอดทิ้ง คณะทำงาน/แกนนำโครงการได้เข้าร่วมการจัดอบรมการจัดการระบบข้อมูลและการสื่อสารธารณะ ผ่านระบบออนไน์

 

ได้รับความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี และเรียนรู้โปรแกรมการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม canva เพื่อตกแต่งภาพในการขายผลิตภัณฑ์สินค้า ในการดึงดูดลูกค้าและเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ จึงเป็นประโยชน์กับการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง