directions_run

12. การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในชุมชนคลองน้ำเวียน เขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด จังหวัดสตูล

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงานและแกนนำชุมชน 5 ม.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 13 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

อบรมและการพัฒาศักยภาพสมาชิกกลุ่มเป้าหมาย 16 มี.ค. 2566

 

 

 

 

 

คืนเงินเปิดบัญชี 22 มี.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมปฏิบัติการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 1 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

ครัวเรือนต้นแบบการจัดแยกขยะ 1 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

แผนงานร่วมทุน อบจ สตูล 1 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ 1 มิ.ย. 2566

 

 

 

 

 

สรุปและถอดบทเรียนโครงการ 30 ก.ย. 2566

 

 

 

 

 

จัดทำป้ายไวนิลโครงการ 14 ก.พ. 2566 14 ก.พ. 2566

 

1.จัดหาร้านเพื่อสั่งทำป้ายโครงการ

2.ส่งรายละเอียด เนื้อหา แบบของป้ายให้แก่ร้านที่ทำการว่าจ้าง รวมทั้งขนาดของป้าย

3.ร้านส่งแบบที่ได้ออกแบบเสร็จแล้วให้แก่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ เพื่อตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้อง

4.แก้ไขแบบ และสั่งพิมพ์ตามแบบ

 

ได้ป้ายสำหรับจัดทำโครงการจำนวน 3 ป้าย ดังนี้

1.ป้ายชื่อโครงการการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมชุมชนในพื้นที่คลองน้ำเวียน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด จังหวัดสตูล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย พร้อมเจาะห่วงตาไก่

2.ป้ายขั้นบันไดผลลัพธ์ของโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2x 2.4 เมตร

3.ป้ายงดเหล้าบุหรี จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1x0.6 เมตร

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้ง 1/6 เพื่อคลี่โครงการโดยพี่เลี้ยงโครงการฯ 15 ก.พ. 2566 15 ก.พ. 2566

 

1) การแนะนำตัวให้ที่ประชุมทราบ

  1.แกนนำชุมชนคลองน้ำเวียนแนะนำตนเองในที่ประชุม

  2.ผู้รับผิดชอบโครงการแนะนำพี่เลี้ยงโครงการให้ชุมชนรู้จัก

  3.เจ้าหน้าที่เทศบาลแนะนำตนเอง

2) ผู้รับผิดชอบชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ และขั้นตอนการดำเนินโครงการให้แกนนำทราบ

3) วางแผนการดำเนินงาน และการประชาสัมพันธ์โครงการ พร้อมทั้งกำหนดปฏฺิทินการดำเนินงานครั้งต่อไป

 

1.ได้แกนนำชุมชน และรับทราบถึงโครงการฯ

2.ประชาชนรับทราบถึงโครงการผ่านแกนนำ

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้งที่ 2/6 เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดกติกาของคณะทำงาน 24 ก.พ. 2566 24 ก.พ. 2566

 

1.แกนนำชุมชนคลองน้ำเวียน แต่งตั้งคณะทำงานโดยเลือกกันเอง ในตำแหน่งหลักๆ ประธาน เลขานุการ ผู้ประสานงาน และบัญชี และตำแหน่งอื่นๆ

2.คณะทำงานกำหนดกติกาการทำงานร่วมกัน

3.คณะทำงานวางแผนการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่อไป และนัดหมายปฏิบัติงาน (การสำรวจข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันก่อนมีการดำเนินโครงการณฯ)

 

1.เกิดคณะทำงาน ดังนี้   1.1 นายธีระ จันทร์ทองพูน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ ที่ปรึกษาโครงการ

  1.2 นางเกศวรางค์ สารบัญ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข ที่ปรึกษาโครงการ

  1.3 นางนพวรรณ ปาละหมีน แกนนำคลองน้ำเวียน ประธาน

  1.4 นางสาวสุวันนา หยันยามีน แกนนำคลองน้ำเวียน ประชาสัมพันธ์/ผู้ประสานงาน

  1.5 นางรุ่งฤดี แก้วน้อย แกนนำคลองน้ำเวียน เลขานุการ

  1.6 นางสาววราภรณ์ ยังปากน้ำ แกนนำคลองน้ำเวียน บัญชี

  1.7 นางวิภารัตน์ คุ้มกัน นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ เหรัญญิก/เลขานุการ

  1.8 นายวินิช ถวิลวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข คณะทำงาน

  1.9 นางบิสณี เด่นดารา นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ คณะทำงาน

  1.10 นางสาวอังคณา มรรคาเขต นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ คณะทำงาน/เหรัญญิก

2.เกิดกติกาของคณะทำงาน ได้แก่

  2.1 การประชุมต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของคณะทำงาน
  2.2 แต่งกายสุภาพ

  2.3 คณะทำงานทุกคนต้องสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เพื่อทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการขยะของเทศบาล

  2.4 ต้องร่วมการทำงานโดยความสมัครใจ

  2.5 การประชุมต้องนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย

 

ทำตรายางโครงการฯ และ่ตราจ่ายแล้ว 10 มี.ค. 2566 7 เม.ย. 2566

 

1.สั่งร้านทำตรายาง 2 ชิ้น

  1.1 ตรา " จ่ายแล้ว"

  1.2 ตรา "โครงการการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในชุมชนคลองน้ำเวียน เขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด จังหวัดสตูล"

2.ร้านออกแบบตรายาง และส่งแบบให้างผู้รับผิดชอบโครงการตรวจ

3.สั่งให้ทำตามแบบที่ร้านออกแบบ

4.รับงานที่ร้าน

 

มีตรายางสำหรับให้ในการจัดทำเอกสารทางการเงิน จำนวน 2 ชิ้น

 

ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ/วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 17 มี.ค. 2566 17 มี.ค. 2566

 

1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ

1.1 ประชาสัมพันธ์ผ่านแกนนำซึ่งเป็นคณะทำงานของโครงการฯ จำนวน 4 ท่าน

1.2 ประชาสัมพันธ์ผ่านสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่่อาศัยอยู่ในพื้นที่คลองน้ำเวียน

1.3 ประชาสัมพันธ์ผ่านสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกของเทศบาลตำบลคลองขุด

1.4 เจ้าหน้าเทศบาลตำบลคลองขุดลงพื้นที่่ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่พร้อมกับแกนนำ

2.กิจกรรมการชี้แจงการมีของโครงการฯ /รายละเอียดของโครงการให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คลองน้ำเวียน

2.1 ประธานโครงการฯ นัดหมายกับเจ้าหน้าที่เทศบาลผู้รับผิดชอบโครงการฯ เรื่องการนัดประชุมประชาชนในพื้นที่คลองน้ำเวียน

2.2 เลขานุการโครงการฯ จัดพิมพ์หนังสือเชิญประชาชนในพื้นที่คลองน้ำเวียนประชุม

2.3 จัดประชุมประชาชนในพื้นที่คลองน้ำเวียนในวันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 10.30 -14.00 น.

3.กิจกรรมการชี้แจงการมีอยู่ของโครงการฯ และเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ ฯ

3.1 ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงโครงการ
3.2 แจ้งเป้าหมายของการประชุม

  3.2.1 ครัวเรือนในพื้นทีคลองน้ำเวียนเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 80 (35 ครัวเรือน)
  3.2.2 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต้องมีการจัดการขยะครัวเรือน (มีการคัดแยกขยะ)
  3.2.3 เมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการฯ ในพื้นที่คลองน้ำเวียนต้องมีปริมาณขยะลดลง บริเวณบ้านเรือนมีความสะอาดมากขึ้น

  3.2.4 มีกลุ่มรับซื้อขยะรีไซเคิล
4. กิจกรรมการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นก่อนดำเนินโครงการฯ

ทั้งนี้คณะทำงานฯ วางแผนการสำรวจข้อมูลพื้นที่คลองน้ำเวียนก่อนดำเนินโครงการฯ ไว้ 2 แนวทาง
4.1 การสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยแบ่งแบบสอบถามข้อมูลเป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อให้ทราบถึงที่อยู่ สถาพโดยทั่วไปของบ้าน หรือจำนวนผู้อยู่อาศัย การศึกษา การประกอบอาชีพ และปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือน

ส่วนที่ 2 การจัดการรรขยะในครัวเรือน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณขยะแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นในแต่ละครัวเรือน พร้อมทั้งความต้องการของประชาชนว่าต้องการความรู้แะไรเกี่ยวกับการขยะ เรียงตามระดับความต้องการมากไปหาน้อย

ส่วนที่ 3 ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจเรื่องขยะของประชาชน เพื่อวัดความรู้เกี่ยวกับขยะ ประเภทของขยะ การจัดการขยะของประชาชนในพื้นที่คลองน้ำเวียน

ส่วนที่ 4 ทัศนคติด้านการจัดการขยะ เพื่อทราบถึงทัศนคติในการจัดการขยะของประชาชน หน้าที่รับผิดชอบในการจัดการขยะว่าเป็นหน้าที่ของใคร
ใครเป็นผู้้รับผิดชอบหลักในหารบริหารจัดการขยะในพื้นที่คลองน้ำเวียน

4.2 การสำรวจพื้นที่/สถานการณ์ขยะเชิงรุก โดยแกนนำ

  เนื่องจากพื้นที่คลองน้ำเวียนมีการตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน การเดินทางเข้าของพื้นที่โดยรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อพ่วงข้าง อาจมีประชาชนบางส่วน ไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือเป็นคนแก่ที่ไม่สามารถขับรถหรือเดินทางได้ ทางคณะทำงานฯ จึงวางแผนลงสำรวจบ้านเรือนโดยลงพื้นที่สำรวจ ถ่ายภาพ บันทึกวีดีโอ สถานการณ์ขยะ พร้อมทั้งทำแบบสอบถามสำรวจปริมาณขยะ และข้อมูลในข้อ 4.1 ไปพร้อมด้วย

 

1.กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการฯ

  1.1 มีประชาชนประชุมรับฟังการมีของโครงการ "การจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมชุมชนคลองน้ำเวียน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด จังหวัดสสตูล"
  1.2 มีประชาชนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ

2.กิจกรรมการสำรวจข้อมูลก่อนดำเนินโครงการฯ

  2.1 สามารถเก็บรวบรวมแบบสอบถามสำรวจสถานการณ์ขยะ ความรู้ ทัศนคติในการจัดการขยะ พื้นที่คลองน้ำเวียน จำนวน 45 ชุด

  2.2 สามารถทราบข้อมูลสถานการณ์ขยะ ความรู้ ทัศนคติของประชาชนในพื้นที่คลองน้ำเวียนจากการวิเคราะห์แบบสอบถามเเบื้องต้น

  2.3 มีการเก็บรวบรวมภาพพื้นที่คลองน้ำเวียนโดยทั่วทุกคลังคาเรือนก่อนดำเนินโครงการฯ

  2.4 มีแผนที่เดินดินของชุมชนคลองน้ำเวียน จากการลงสำรวจพื้นที่ของเจ้าหน้าที่เทศบาลและแกนนำของชุมชน และแกนนำได้ร่วมกันทำแผนที่เดินดิน และจัดโซนสี เพื่อแยกสถานการณขยะ

    ตามปริมาณขยะที่พบเจอในแต่หลังคาเรือน เพื่อนำไปวางแผนในการจัดการขยะต่อไป

 

ประชาคมหมู่บ้านคืนข้อมูลและกำหนดกติกา/ข้อตกลงการจัดการขยะในครัวเรือน 19 มี.ค. 2566 19 มี.ค. 2566

 

จัดประชุมสมาชิกโครงกาาร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. คืนข้อมูลจากการสำรวจ และการทำแบบสอบถาม

  2. กำหนดกติกาข้อตกลงของผู้เข้าร่วมโครงการฯ

 

1.คืนข้อมูลสถานการณ์ขยะในปัจจุบันของพื้นที่คลองน้ำเวียน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์เรื่องขยะ การจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนคลองน้ำเวียน จำนวน 45 ครัวเรือน สรุปได้ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

  1. จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน

  2. อายุโดยเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถาม 44 ปี

  3. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 หรือ ไม่ได้รับการศึกษา

  4. ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพ รับจ้าง แม่บ้าน และประมงพื้นบ้าน ตามลำดับ

  5. ปริมาณขยะเปียกในครัวเรือนเฉลี่ย 0.5 กิโลกรัม/วัน/ครัวเรือน

  6. ปริมาณขยะรวมเฉลี่ย 2.2 กิโลกรัม/วัน/ครัวเรือน

    ส่วนที่่ 2 การคัดแยกขยะในครัวเรือน

  7. ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคัดแยก 48.89

  8. ร้อยละของครัวเรือนที่ไม่มีการคัดแยกขยะ 51.11

    ประชาชนต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ เรียงตามลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย ดังนี้

  วิธีการแยกขยะอย่างถูกวิธี> วิธีการลดปริมาณขยะ> วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ /น้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียก>การนำวัสดุเหลือใช้ สิ่งประดิษฐ์ หรือประยุกต์ใช้ใหม่

2.สรุปผลการศึกษาชุมชน (วิเคราะห์ผล)
  จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามเรื่อง แนวทางการจัดการขยะครัวเรือน ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

บ้านคลองน้ำเวียน หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขุดอำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่าชุมชนบ้านคลองน้ำเวียน มีบ้านเรือนที่มีการอาศัยอยู่ทั้งสิ้น 45 หลังคาเรือน มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 45 ราย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลเป็น

เพศหญิง (ร้อยละ 64.44) มีสถานภาพเป็นหัวหน้าครอบครัว (ร้อยละ 88.89) มีอายุเฉลี่ย 44 ปี มีการศึกษาในระดับ ชั้นประถมศึกษา 4-6 (ร้อยละ 46.67) ประกอบอาชีพ รับจ้าง (ร้อยละ 51.11) โดยมี

สมาชิกในครอบครัว เฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน และมีปริมาณขยะเกิดขึ้น เฉลี่ยวันละ 2.19 กิโลกรัม โดยมีครัวเรือนร้อยละ 48.81 ทำการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

  ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะของประชาชนในพื้นที่ พบว่า

  1. ร้อยละ 96.67 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องขยะอินทรีย์

  2. ร้อยละ 86.67 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องขยะรไซเคิล

  3. ร้อยละ 71.11 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องขยะอันตราย

  4. ร้อยละ 70.61 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในเรื่องขยะทั่วไป

  5. ร้อยละ 48.89 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากขยะ

  6. ร้อยละ 62.22 ของกลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่ในการจัดการขยะ

 

อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอินทรีย์ การทำน้ำหมักอินทรีย์ และสิ่งของเหลือใช้ 26 มี.ค. 2566 26 มี.ค. 2566

 

1.นัดหมายวันอบรม

2.แจ้งสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ

3.กำหนดเนื้อหาการอบรม ขออบเขตของเนื้อหาในการบรรยาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

3.1 บรรยายการจัดการขยะ โดยนายสินชัย น้อยดำ เจ้าของกิจการรับซื้อขยะ "รุ่งเรืองที่รัก" เป็นสถานประกอบการรับซื้อขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด

  3.1.1 การจัดการขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน

  มารู้จักขยะกันเถอะ (ชนิดและประเภทของขยะ และวิธีการคัดแยกขยะรีไซเคิล) ขยะ ถือเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นปัญหาใหญ่ในชุมชน และต้องแก้ไขที่ครอบครัวก่อน โดยทั่วไปขยะแบ่งออกเป็น

4 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. ขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้ คือขยะที่เน่าเสีย และย่อยสบายได้เร็ว สามารถนำมาใช้น้ำหมัก ทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้

  2. ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่ยังใช้ได้ เป็นวัสดุที่เหลือใช้ เช่น ขวดแก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษเเหล็ก กระป๋องอะลูมิเนียม

  3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว ไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้ใหม่ และเป็นขยยะที่ย่อยสลายยาก เช่น พลาสติกห่อขนม ถุงพลาสติกใส่ผงซักฤอก กล่องโฟมที่ใส่อาหาร ซองบะหมี่ ห่อใ่ส่

ลูกอม

  4. ขยะอันตราย เป็นขยะที่ปนเปื้อนวัตถุอันตรายต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ได้แก่ ขวดสเปร์ยาฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์

มือถือ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี

  3.1.2 ความสำคัญของการคัดแยกขยะมูลฝอย

  (เน้นการบรรยาย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่ 1.การคัดแยกขยะรีไซเคิลให้เกิดรายได้ และมูลค่าของขยะแต่ละประเภทที่ซื้อขายอยู่ในตลาดขยะ ประเด็นที่ 2 ระยะเวลาการย่อยสลายของขยะ

แต่ละชนิด)

  ขยะเป็นสิ่งที่มีค่า หากท่านคัดแยกขยะก่อให้เกิดรายได้ เปลี่ยนจากขยะไร้ค่าเป็นเงิน ปัจจุบันการคัดแยกขยะได้กลายเป็นอาชีพรับซื้อของเก่า ซึ่งรับซื้อและขายส่งไปยังโรงงานเพื่อนำไปแปรรูป

กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งราคาซื้อขายนั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทขยะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของขยะ

  ทั้งนี้ การคัดแยกขยะ มีวิธีการแยกประเภทขยะรีไซเคิล ดังนี้

  - กระดาษ ประเภทกระดาษที่ขายได้ ได้แก่ กรระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษสมุด หนังสือนิตยสาร กระดาษกล่อง กระดาษขาว-ดำ แผ่นพับ

  ## ราคาของขยะโดยประมาณ กระดาษขาว 7 บาท กล่งกระดาษ 5 บาท กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 บาท เศษกระดาษรวม 3 บาท

  - พลาสติก เป็นภาชนะที่เกี่ยวกับเครื่องสำองค์ ความงาม ได้แก่ ขวดยาสระผม ขวดครีมอาบน้ำ ถุงพลาสติกเหนียว (พลาสติกที่ดึงแล้วยืดได้) ถังน้ำ กะละมัง ขวดน้ำมันพืช ขวดน้ำดื่มใส ขวดน้ำพลาสติกขาวขุ่น บรรจุภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรีไซเคิล

  ##วิธีการเก็บก่อนนำมาขาย

  ถอดฝาขวด รินเทของเหลวในขวดออก และทำความสะอาดจากนั้นทำให้แบน เพื่อประหยัดเนื้อที่ และเก้บรวบรวมแยกประเภทเป็นพลาสติกขาวขุ้น พลาสติกใส และพลาสติกอื่นๆ เนื่องจาก

พลาสติกแต่ละประเภทมีราคาต่างกัน

  ##ราคาขวดพลาสติกต่อกิโลกรัมโดยประมาณ

พลาสติกใส 15 บาท พลาสติกขวดขุ่น 24 บาท ถุงพลาสติก 4 บาท เศษพลาสติกรวม 6 บาท

  - แก้ว ขวดหรือภาชนะแก้ว สำหรับบรรจุอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิด ทั้งที่มีสีเขียว สีใส และสีน้ำตาล

  ##วิธีการเก็บก่อนนำมาขาย

    ถอดฝา ริน/เท ของเหลวในขวดออก ทำความสะอาดและเก็บรวบรวม ให้แยกสี

  ## ราคาขวดแก้ว

  แก้ว 1 บาท ขวดน้ำเปล่า 0.6 บาท ขวดและกล่องเบียร์ ราคาประมาณ 7 บาท/กล่อง

  - โลหะ ได้แก่ กระป๋องใส่อาหารที่ไม่เป็นสนิม เครื่องดื่มที่เป็นอลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง

  ##วิธีการเก็บก่อนนำมาขาย

  ริน /เท ของเหลวและทำให้แบน เพื่อประหยัดพื้นที่ กรณี ทองแดง เศษเหล็กให้มันรวมกัน
  ## ราคาเหล็ก และอลูมิเนียม

    กระป๋องอลูมีเนียม 35 บาท เศษเหล็กหนา 11 บาท เศษเหล็กบาง 10 บาท กระป๋องกาแฟ 1 บาท
3.2 บรรยาย เรื่อง มูลค่าของขยะ

  • ราคาของขยะรีไซเคิล

  • ฝึกปฏิบัติการ การคัดแยกขยะ

    3.3 บรรยาย สาธิตและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การจัดการขยะเปียกในครัวเรือนอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และการใช้ประโยชน์จากขยะ อินทรีย์ โดยอาจารย์ไพฑูรย์ ตวงจิต เจ้าของศูนย์เรียนณุ้การจัดการขยะ

และสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากสิ่งขิงเหลือใช้ และการทำเกษตรอินทรีย์ (รสาบ้านสวน) โดยเน้นประเด็น การนำขยะสิ่งเหลือใช้มาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร และการทำน้ำหมักชีวภาพ

3.4 การแลกเปลี่ยนความคิดเรื่อง แนวทางการจัดการขยะโดยคณะทำงานการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในชุมชนคลองน้ำเวียน

 

1.กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจ เรื่อง ขยะรีไซเคิลที่สามารถขายได้ และที่ขายไม่ได้ และราคาของขยะแต่ละชนิด

2.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและแยกประเภทของขยะเป็น

3.กลุ่มเป้าหมายเข้าใจวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ และการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ เช่น ยางรถยนต์มาปรับใช้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของชุมชน

4.เกิดการนัดหมายการรับซื้อขยะของครัวเรือนโดยมีแกนนำเป็นผู้ดำเนินการ และสถานประกอบกาเข้ารับซื้อต่อในพื้นที่

 

อุปกรณ์เครื่องเขียน 30 มี.ค. 2566 7 เม.ย. 2566

 

ซื้ออุปกรณ์เครื่องเขียนที่ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียน

 

  1. มีอุปกรณ์เครื่องเขียนสำหรับจัดทำแผนที่เดินดินในพื้นที่โครงการฯ  ได้แก่

    - กระดาษ 100 ปอนด์  จำนวน 3 แผ่น

    - สีเมจิก  จำนวน  1  กล่อง

    - สีไม้    จำนวน  1 กล่อง

    - กระดานรองวาดรูป    จำนวนน  1 แผ่น

    - คลิปดำ  จำนวน  4  ตัว

2.  เกิดแผนที่เดินดิน  ที่แสดงรายละเอียดที่ตั้งของบ้านเรือนในสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน และสถานที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ มัสยิด แท้งค์เก็บน้ำประปาของชุมชน  บ่อปู และการแบ่งโซนของสถานการณ์ขยะของพื้นที่ที่ดำเนินโครงการ โดยยแบ่งตามความรุนแรงของขยะเป็นสีต่างๆ เพื่อให้กำหนดแนวทางการจัดการขยะให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเพื่อให้การเปรียบเทียบถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะหลังได้ดำเนินโครงการฯแล้ว

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 (นางวิภารัตน์ คุ้มกัน) 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

1.เดินทางไป - กลับร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล

2.พิมพ์แผนการที่เส้นทางการเดินจากบ้านหรือสำนักงาน (ที่ทำงาน) ไปยังสถานที่ประชุม

3.ทำการเบิกเงินตามระยะทางจริง

 

  1. นางวิภารัตน์  คุ้มกัน  ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมตามวันและเวลา ที่ทางแผนงานร่วมทุนกำหนด

  2. จ่ายค่าเดินทางไป-กลับ เพื่อร่วมประชุมให้แก่ นางวิภารัตน์  คุ้มกัน  จำนวน 103  บาท

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 (นายวินิช ถวิลวรรณ์) 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

1.เดินทางไป - กลับร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล

2.พิมพ์แผนการที่เส้นทางการเดินจากบ้านหรือสำนักงาน (ที่ทำงาน) ไปยังสถานที่ประชุม

3.ทำการเบิกเงินตามระยะทางจริง

 

  1. นายวินิช ถวิลวรรณ์ คณะทำงานโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมตามวันและเวลา ที่ทางแผนงานร่วมทุนกำหนด

  2. จ่ายค่าเดินทางไป-กลับ เพื่อร่วมประชุมให้แก่ นายวินิช ถวิลวรรณ์ จำนวน 103 บาท

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 (นางรุ่งฤดี แก้วน้อย) 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

1.เดินทางไป - กลับร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 1 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวจังหวัดสตูล

2.พิมพ์แผนการที่เส้นทางการเดินจากบ้านหรือสำนักงาน (ที่ทำงาน) ไปยังสถานที่ประชุม

3.ทำการเบิกเงินตามระยะทางจริง

 

  1. นางรุ่งฤดี  แก้วน้อย คณะทำงานโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมตามวันและเวลา ที่ทางแผนงานร่วมทุนกำหนด

  2. จ่ายค่าเดินทางไป-กลับ เพื่อร่วมประชุมให้แก่ นางรุ่งฤดี  แก้วน้อย  จำนวน 59  บาท

 

ถอนเงินเปิดบัญชีคืน 28 เม.ย. 2566 22 ก.พ. 2566

 

คืนเงินเปิดบัญชีนายวินิช  ถวิลวรรณ์  จำนวน  500  บาท ซึ่งนายวินิชได้สำรองจ่ายเพื่อเปิดบัญชีโครงการฯ

 

คืนเงินสำรองจ่ายนายวินิช ถวิลวรรณ์ จำนวน 500 บาท

 

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมซื้อ-ขยะ 2 มิ.ย. 2566 2 มิ.ย. 2566

 

ซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล 1.ตาชั่ง

2.ตะกร้าใส่ขยะ

3.ไวนิลแสดงราคาขยะ

 

มีวัสดุอุปกรณ์ใช้ในกิจกรรมซื้อ-ขายขยะ ได้แก่

1.ตาชั่ง

2.ตะกร้า

3.ตารางราคาขยะ

4.ป้ายบอกประเภทขยะ สำหรับการเก็บขยะที่รับซื้อ เพื่อขายต่อให้ผู้ประกอบการรับซื้อขยะะรีไซเคิลในพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ 1/6 4 มิ.ย. 2566 4 มิ.ย. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ และไวนิล สถานที่เก็บขยะรีไซเคิล

  1. มีการซื้อวัสดุ เพื่อทำการรับซื้อขยะ

  2. มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

ข้อมูลขยะก่อนดำเนินการ

**ปริมาณการเกิดขยะเปียกในครัวเรือนก่อนดำเนินการ

ขยะทิ้งรวมเฉลี่ย 2.191 กิโลกรัม/ วัน หรือ 65.733 กิโลกรัม/เดือน
ขยะนำไปขาย/คัดแยกไว้เฉลี่ย 1.158 กิโลกรัม/วัน หรือ 34.734 กิโลกรัม/เดือน

เศษอาหารเฉลี่ย 0.505 กิโลกรัม/วัน หรือ 15.135 กิโลกรัม/เดือน

ขยะอันตรายเฉลี่ย 0.020 กิโลกรัม/วัน หรือ 0.600 กิโลกรัม /เดือน

ข้อมูลขยะระหว่างดำเนินการ

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 1

พลาสติกรวม ปริมาณ 129.4 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 388.2 บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 35.0 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 140.0 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 40.0 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 60.0 บาท

กระดาษสี ปริมาณ 5.0 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 5.0 บาท

กระดาษขาว ปริมาณ 2.0 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 6.0 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 140.5 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 140.5 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 149.7 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 823.35 บาท

เหล็กหล่อ ปริมาณ 1.8 กิโลกรัม ราคา 7.0 บาท เป็นเงิน 12.6 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 102.0 บาท

อะลูมิเนียม ปริมาณ 3.0 กิโลกรัม ราคา 20.0 บาท เป็นเงิน 60.0 บาท

สังกะสี ปริมาณ 10.0 บาท ราคา 2.5 บาท เป็นเงิน 25.0 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 1 ปริมาณ 516.40 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 1,660.65 บาท

ปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินงาน


1. การรวมตัวของสมาชิก ณ จุดนั้นหมาย ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากต้องนำขยะมาด้วย ซึ่งทำให้สมาชิกบางคนไม่สามารถนำขยะทั้งหมดมาได้ในคราเดียว

2.ขีดจำกัดของสมาชิกที่ร่วมกิจกรรม ในการนำขยะมาขาย

แนวทางการแก้ไขปัญหา

สมาชิกผู้รับซื้อขยะติดต่อ ประสานสถานประกอบการที่รับซื้อขยะในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด มารับซื้อขยะในพื้นที่ โดยการนำของกลุ่มสมาชิกแกนนำ แาละคณะทำงานโครงการ

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครั้งที่ 1/6 11 มิ.ย. 2566 11 มิ.ย. 2566

 

1.ขออนุมัติกิจกรรม กำหนดการติดตามกิจกรรม

2.ลงพื้นที่ติดตามตามกำหนดการ

3.บันทึกข้อมูลบ้านต้นแบบ ตามกฏเกณฑ์

 

1.คะแนนบ้านต้นแบบ  เช็คลิสบ้านที่เป็นตามกฎเกณฑ์

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้ง 3/6 25 มิ.ย. 2566 25 มิ.ย. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติจัดประชุมและเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการประชุมครั้งที่ 3/6 ต่อประธานโครงการ

2.แจ้งนัดหมายการประชุมต่อคณะทำงานโครงการ

3.จัดประชุมคณะกรรมการตามวาระการประชุม

4.สรุปบันทึกการประชุม

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ค่าอาหารกลางวัน

 

ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 3/6 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน ประกอบด้วย

คณะทำงาน

1.นายวินิช ถวิลวรรณ์​ ประธานโครงการ

2.นางนพวรรณ​ ปาละหมีน​ รองประธาน

3.นางเกศวรางค์ สารบัญ​ ที่ปรึกษาโครงการ

4.นายธีระ​ จันทร์ทองพูน​ ทีปรึกษาโครงการ

5.นางวิภารัตน์​ คุ้มกัน​ กรรมการ
6.นางสาวบิสณี เด่น​ดารา​ กรรมการ

7.นางสาวอังคณา​ มรรคาเขต​ กรรมการ

8.นางสาวรุ่งฤดี​ แก้วน้อย​ กรรมการ

9.นางสาวสุวันนา​ หมันยาหมีน​ กรรมการ

10.นางสาววราภรณ์​ ยังปากน้ำ​ กรรมการ

รายละเอียดการประชุม

ประเด็นที่ 1 ติดตามการดำเนินงานของโครงการ/ความก้าวหน้าของโครงการแต่ละกิจกรรม

ผลการประชุม โครงการมีการดำเนินกิจกรรมไปแล้ว จำนวน 4 กิจกรรม จาก 8 กิจกรรมหลัก คิดเป็นร้อยละ 50 รายละเอียดดังนี้
1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/6 เพื่อคลี่โครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุมาลี พรหมสุทธิ์

  1. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 2/6 เพื่อเตรียมการสำรวจข้อมูล และสถานการณ์ขยะในพื้นที่ชุมชนคลองน้ำเวียน

    3.กิจกรรมประชาสัมพันธ์รับสมัครสมาชิกร่วมโครงการ และสำรวจข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ

    4.กิจกรรมประชาคมคืนข้อมูล และกำหนดกติกาการจัดการขยะ

    5.อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และมูลค่าจากขยะ ครั้งที่ 1/2

ประเด็นที่ 2 การเบิกจ่ายเงินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ มีหลักฐานที่ต้องส่งตามประเภทของกิจกรรม ดังนี้
2.1 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการและแกนนำ

2.1.1 หนังสือขออนุมัติการจัดประชุม
2.1.2 หนังสือเชิญประชุม

2.1.3 แบบลงทะเบียนลงลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

2.1.4 ระเบียบวาระประชุม
2.1.5 สรุปรายงานการประชุม

2.1.6 ใบเสร็จค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ประทับตรา "จ่ายเงินแล้ว" และ "ชื่อโครงการ")
2.1.7 ใบสำคัญรับเงินค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

2.1.8 สำเนาบัตรประชาชนผู้ขาย
2.1.9 ภาพถ่ายกิจกรรม บันทึกลงเวปไซต์

2.2 กิจกรรมเบิกจ่ายค่าเดินทางไปประชุม

2.2.1 หนังสือเชิญประุชุมจาก สำนักงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะ จังหวัดสตูล
2.2.2 รูปจาก google map ที่ระยะทางในการเดินทาง จากต้นทาง ถึงปลายทาง
2.2.3 ใบสำคัญรับเงินของผูัรับเงิน

2.2.4 สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงิน

ประเด็นที่ 3 การขับเคลื่อนกิจกรรมของโครงการในลำดับต่อไป
กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ได้แก่

3.1 กิจกรรมการรับซื้อขยะรีไซเคิลจำนวน 6 ครั้ง

3.2 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้การจจัดการขยะ และมูลค่าขยยะจากสิ่งเหลือ ครั้งที่ 2/2

3.3 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่่ 3-6 (4 ครั้ง)
3.4 กิจกรรมศึกษาดูงานของคณะทำงาน (10 คน)

3.5 กิจกรรมการคัดเลือกบ้านต้นแบบ ด้านการจัดการขยะครัวเรือน จำนวน 5 ครัวเรือน

ประเด็นที่ 4 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการ

4.1 ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ

4.2 กิจกรรมที่ล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องด้วยความพร้อมของพื้นที่ และสามาชิกผู้ดำเนินงาน

4.3 สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จากเดิม 45 ครัวเรือน ปัจจุบันที่มีครัวเรือนที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการได้ทุกครั้งประมาณ 35 ครัว ส่วนอีก 10 ครัวเรือนคือถือเอาความสะดวก

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ 2/6 2 ก.ค. 2566 2 ก.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

ข้อมูลขยะก่อนดำเนินการ

**ปริมาณการเกิดขยะเปียกในครัวเรือนก่อนดำเนินการ

ขยะทิ้งรวมเฉลี่ย 2.191 กิโลกรัม/ วัน หรือ 65.733 กิโลกรัม/เดือน
ขยะนำไปขาย/คัดแยกไว้เฉลี่ย 1.158 กิโลกรัม/วัน หรือ 34.734 กิโลกรัม/เดือน

เศษอาหารเฉลี่ย 0.505 กิโลกรัม/วัน หรือ 15.135 กิโลกรัม/เดือน

ขยะอันตรายเฉลี่ย 0.020 กิโลกรัม/วัน หรือ 0.600 กิโลกรัม /เดือน

ข้อมูลขยะระหว่างดำเนินการ

**ปริมาณขยะครัวเรือนจากการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 2/6 พื้นที่คลองน้ำเวียน

พลาสติกรวม ปริมาณ 63 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 189 บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 12 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 48 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 46.3 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 69.54 บาท

กระดาษสี ปริมาณ 10 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 10 บาท

กระดาษขาว ปริมาณ 5 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 15 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 120.5 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 120.5 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 81.5 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 448.25 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 179.6 บาท

อะลูมิเนียม ปริมาณ 6.4 กิโลกรัม ราคา 20.0 บาท เป็นเงิน 128 บาท

สังกะสี ปริมาณ 52.5 บาท ราคา 2.5 บาท เป็นเงิน 131.25 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 2 ปริมาณ 397.20 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 1,159.45 บาท

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ ครั้งที่ 2/6 9 ก.ค. 2566 9 ก.ค. 2566

 

1.ขออนุมัติกิจกรรม กำหนดการติดตามกิจกรรม

2.ลงพื้นที่ติดตามตามกำหนดการ

3.บันทึกข้อมูลบ้านต้นแบบ ตามกฏเกณฑ์

 

1.มีคะแนนบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้ง 4/6 23 ก.ค. 2566 23 ก.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติจัดประชุมและเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการประชุมครั้งที่ 4/6 ต่อประธานโครงการ

2.แจ้งนัดหมายการประชุมต่อคณะทำงานโครงการ

3.จัดประชุมคณะกรรมการตามวาระการประชุม

4.สรุปบันทึกการประชุม

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

 

*ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 4/6 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน ประกอบด้วย

คณะทำงาน

1.นายวินิช ถวิลวรรณ์​ ประธานโครงการ
2.นางนพวรรณ​ ปาละหมีน​ รองประธาน

3.นางเกศวรางค์ สารบัญ​ ที่ปรึกษาโครงการ

4.นายธีระ​ จันทร์ทองพูน​ ทีปรึกษาโครงการ

5.นางวิภารัตน์​ คุ้มกัน​ กรรมการ

6.นางสาวบิสณี เด่น​ดารา​ กรรมการ

7.นางสาวอังคณา​ มรรคาเขต​ กรรมการ

8.นางสาวรุ่งฤดี​ แก้วน้อย​ กรรมการ

9.นางสาวสุวันนา​ หมันยาหมีน​ กรรมการ

10.นางสาววราภรณ์​ ยังปากน้ำ​ กรรมการ

รายละเอียดการประชุม

ประเด็นที่ 1 ติดตามการดำเนินงานของโครงการ/ความก้าวหน้าของโครงการแต่ละกิจกรรม

ผลการประชุม

โครงการมีการดำเนินกิจกรรมไปแล้ว จำนวน 4 กิจกรรม จาก 8 กิจกรรมหลัก คิดเป็นร้อยละ 50 รายละเอียดดังนี้
1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/6 เพื่อคลี่โครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุมาลี พรหมสุทธิ์

  1. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 2/6 เพื่อเตรียมการสำรวจข้อมูล และสถานการณ์ขยะในพื้นที่ชุมชนคลองน้ำเวียน

  2. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 3/6 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และที่ต้องดำเนินการ

    4.กิจกรรมประชาสัมพันธ์รับสมัครสมาชิกร่วมโครงการ และสำรวจข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ

    5.กิจกรรมประชาคมคืนข้อมูล และกำหนดกติกาการจัดการขยะ

    6.อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และมูลค่าจากขยะ ครั้งที่ 1/2

    7.กิจกรรมการรับซื้อขยะครั้งที่ 1/6 และครั้งที่ 2/6

ประเด็นที่ 2 งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

ประเด็นที่ 3 กิจกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการ และต้องเร่งดำเนินการ

3.1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และมูลค่าของขยะ ครั้งที่ 2/2

3.2 กิจกรรมศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ เทศบาลตำบลควนโดน ของคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน

3.3 กิจกรรมประกวดบ้านต้นแบบ

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ 3/6 6 ส.ค. 2566 6 ส.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

ข้อมูลขยะก่อนดำเนินการ

**ปริมาณการเกิดขยะเปียกในครัวเรือนก่อนดำเนินการ

ขยะทิ้งรวมเฉลี่ย 2.191 กิโลกรัม/ วัน หรือ 65.733 กิโลกรัม/เดือน

ขยะนำไปขาย/คัดแยกไว้เฉลี่ย 1.158 กิโลกรัม/วัน หรือ 34.734 กิโลกรัม/เดือน

เศษอาหารเฉลี่ย 0.505 กิโลกรัม/วัน หรือ 15.135 กิโลกรัม/เดือน

ขยะอันตรายเฉลี่ย 0.020 กิโลกรัม/วัน หรือ 0.600 กิโลกรัม /เดือน

ข้อมูลขยะระหว่างดำเนินการ

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 3 พื้นที่คลองน้ำเวียน

พลาสติกรวม ปริมาณ 72.5 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 217.5 บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 20 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 80 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 42 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 63 บาท

กระดาษขาว ปริมาณ 7 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 21 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 72 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 72 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 28 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 154 บาท

เหล็กหล่อ ปริมาณ 29.6 กิโลกรัม ราคา 7.0 บาท เป็นเงิน 207.2 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 140.6 บาท

อะลูมิเนียม ปริมาณ 3.0 กิโลกรัม ราคา 20.0 บาท เป็นเงิน 60.0 บาท

สังกะสี ปริมาณ 9 บาท ราคา 2.5 บาท เป็นเงิน 22.5 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 3 ปริมาณ 283.10 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 897.20 บาท

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ ครั้งที่ 3/6 7 ส.ค. 2566 7 ส.ค. 2566

 

1.ขออนุมัติกิจกรรม กำหนดการติดตามกิจกรรม

2.ลงพื้นที่ติดตามตามกำหนดการ

3.บันทึกข้อมูลบ้านต้นแบบ ตามกฏเกณฑ์

 

1.เช็คลิสบ้านที่เข้าหลักเกณฑ์

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้ง 5/6 13 ส.ค. 2566 13 ส.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติจัดประชุมและเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการประชุมครั้งที่ 5/6 ต่อประธานโครงการ

2.แจ้งนัดหมายการประชุมต่อคณะทำงานโครงการ

3.จัดประชุมคณะกรรมการตามวาระการประชุม

4.สรุปบันทึกการประชุม

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

 

ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 5/6 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 10 คน ประกอบด้วย

คณะทำงาน จำนวน 10 คน

1.นายวินิช ถวิลวรรณ์​ ประธานโครงการ
2.นางนพวรรณ​ ปาละหมีน​ รองประธาน

3.นางเกศวรางค์ สารบัญ​ ที่ปรึกษาโครงการ

4.นายธีระ​ จันทร์ทองพูน​ ทีปรึกษาโครงการ

5.นางวิภารัตน์​ คุ้มกัน​ กรรมการ

6.นางสาวบิสณี เด่น​ดารา​ กรรมการ

7.นางสาวอังคณา​ มรรคาเขต​ กรรมการ

8.นางสาวรุ่งฤดี​ แก้วน้อย​ กรรมการ

9.นางสาวสุวันนา​ หมันยาหมีน​ กรรมการ

10.นางสาววราภรณ์​ ยังปากน้ำ​ กรรมการ

รายละเอียดการประชุม

#ประเด็นที่1 ติดตามการดำเนินงานของโครงการ/ความก้าวหน้าของโครงการแต่ละกิจกรรม

ผลการประชุม

โครงการมีการดำเนินกิจกรรมไปแล้ว จำนวน 6 กิจกรรม จาก 8 กิจกรรมหลัก ประมาณร้อยละ 70 รายละเอียดดังนี้
1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/6 เพื่อคลี่โครงการ ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสุมาลี พรหมสุทธิ์

  1. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 2/6 เพื่อเตรียมการสำรวจข้อมูล และสถานการณ์ขยะในพื้นที่ชุมชนคลองน้ำเวียน

  2. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 3/6 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และที่ต้องดำเนินการ

  3. ประชุมคณะทำงานและแกนนำครั้งที่ 4/6 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของกิจกรรมของโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และที่ต้องดำเนินการ

  4. กิจกรรมประชาสัมพันธ์รับสมัครสมาชิกร่วมโครงการ และสำรวจข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ

  5. กิจกรรมประชาคมคืนข้อมูล และกำหนดกติกาการจัดการขยะ

  6. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ และมูลค่าจากขยะ ครั้งที่ 1/2

  7. กิจกรรมการรับซื้อขยะครั้งที่ 1/6 ,ครั้งที่ 2/6, ครั้งที่ 3/6, ครั้งที่ 4/6

#ประเด็นที่2 งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

#ประเด็นที่3 กิจกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการ และต้องเร่งดำเนินการ

3.1 กิจกรรมศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ เทศบาลตำบลควนโดน ของคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน

3.2 กิจกรรมประกวดบ้านต้นแบบ

 

อบรมให้ความรู้เกี่ยวการจัดการขยะในครัวเรือน และในชุมชน 25 ส.ค. 2566 25 ส.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติจัดอบรมคณะทำงานและผู้เข้าร่วมโครงการ

2.แจ้งนัดหมาย/ประชาสัมพันธ์การอบรม ผ่านคณะทำงานในพื้นที่คลองน้ำเวียน

3.ทำหนังสือเชิญวิทยากร/ตอบรับวิทยากร

4.จัดอบรมผู้เข้าร่วมโครงการ บรรยาย

  4.1 เรื่อง ประเภทของขยะในครัวเรือน และในชุมชน และวิธีการคัดแยกขยะให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดย นางวิภารัตน์ คุ้มกัน ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ กองสาธารณสุขและ

    สิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด

  4.2 เรื่อง การจัดการขยะในพื้นที่ป่าชายเลน และการจัดการขยะที่มากับน้ำ (ขยะในทะเล) โดย นายวินิช ถวิลวรรณ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและ

    สิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าะเครื่องดื่ม และค่าอาหารกลางวัน และค่าตอบแทนวิทยากร

 

กลุ่มเป้าหมาย

*1.กลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ร้อยละ 80 หรือ 35 คน)

  กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมโดยทีมวิทยากรจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคลองขุด (นายวินิช ถวิลวรรณ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข และนางวิภารัตน์ คุ้มกัน
  ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ) และมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังนี้

ประเด็นการอบรม

*1.ประเด็นการอบรม

1.1 ประเภทของขยะในครัวเรือน และในชุมชน และวิธีการคัดแยกขยะให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ขยะในครัวเรือนที่พบเจอได้ทุกครัวเรือน ได้แก่

  1.1.1 ขยะอินทรีย์ ได้แก่ เศษอาหาร ผัก ผลไม้

  1.1.2 ขยะรีไซเคิล ได้แก่ กล่องนม หลอดนม ขวดน้ำอัดนม ขวดน้ำดื่ม ขวดยาสระผม ขวดสบู่ ขวดเครื่องสำอาง กระป๋องอะลูมิเนียมสำหรับใส่เครื่องดื่ม ขวดแก้ว

  1.1.3 ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ฉีดพ่นยุงและแมลง ขวดสารเคมีฉ๊ดยาฆ่าหญ้า ถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่

  1.1.4 ขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติกที่เปื้อนและเปียกน้ำ ขยะที่ไม่สามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก

1.2 การจัดการขยะในพื้นที่ป่าชายเลน และการจัดการขยะที่มากับน้ำ (ขยะในทะเล)

ขยะในพื้นที่ป่าชายเลนที่พบส่วนใหญ่ เป็นขยะที่สามารถลอยน้ำได้ ได้แก่ ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก และขวดแก้ว ซึ่งจะลอยมาติดตามรากต้นไม้ เวลาน้้ำขึ้น เมื่อน้ำลดขยะไม่ได้กลับไปกับน้ำ

กลายเป็นขยะที่อยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน และสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขยะที่มากับน้ำนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ร่วมกันกันจัดการ ในส่วนของการจัดการขยะที่มากับน้ำ

จำเป็นต้องมีการนำขยะขึ้นมาและแยกประเภท ได้แก่ ถุงพลาสติกที่เปียกน้ำ จัดเป็นขยะทั่วไปที่ต้องนำไปเข้าสู่ระบบกำจัดต่อไป ในส่วนของขวดแก้ว และขวดพลาสติก จัดเป็นขยะรีไซเคิล

นำไปขายได้

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ ุ4/6 27 ส.ค. 2566 27 ส.ค. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

ข้อมูลขยะก่อนดำเนินการ

**ปริมาณการเกิดขยะเปียกในครัวเรือนก่อนดำเนินการ

ขยะทิ้งรวมเฉลี่ย 2.191 กิโลกรัม/ วัน หรือ 65.733 กิโลกรัม/เดือน

ขยะนำไปขาย/คัดแยกไว้เฉลี่ย 1.158 กิโลกรัม/วัน หรือ 34.734 กิโลกรัม/เดือน

เศษอาหารเฉลี่ย 0.505 กิโลกรัม/วัน หรือ 15.135 กิโลกรัม/เดือน

ขยะอันตรายเฉลี่ย 0.020 กิโลกรัม/วัน หรือ 0.600 กิโลกรัม /เดือน

ข้อมูลขยะระหว่างดำเนินการ

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 4 พื้นที่คลองน้ำเวียน

พลาสติกรวม ปริมาณ 74 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 222 บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 10 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 40 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 31 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 46.5 บาท

กระดาษขาว ปริมาณ 2 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 6 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 87 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 87 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 25 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 137.5 บาท

เหล็กหล่อ ปริมาณ 20 กิโลกรัม ราคา 7.0 บาท เป็นเงิน 140 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 45 บาท

สังกะสี ปริมาณ 0.5 บาท ราคา 2.5 บาท เป็นเงิน 1.25 บาท

แบตเตอรีขนาดเล็ก ปริมาณ 2.5 กิโลกรัม ราคา 16 บาท เป็นเงิน 40 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 4 ปริมาณ 260.0 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 740.25 บาท

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ ครั้งที่ 4/6 3 ก.ย. 2566 3 ก.ย. 2566

 

1.ขออนุมัติกิจกรรม กำหนดการติดตามกิจกรรม

2.ลงพื้นที่ติดตามตามกำหนดการ

3.บันทึกข้อมูลบ้านต้นแบบ ตามกฏเกณฑ์

 

1.เช็คลิสบ้านที่เข้าหลักเกดณฑ์การประกวด

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ 5/6 10 ก.ย. 2566 10 ก.ย. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการรับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 5 พื้นที่คลองน้ำเวียน

พลาสติกรวม ปริมาณ 43 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 129บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 8 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 32 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 27 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 40.5 บาท

กระดาษขาว ปริมาณ 5 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 15 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 39.5 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 39.5 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 36 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 198 บาท

เหล็กหล่อ ปริมาณ 15 กิโลกรัม ราคา 7.0 บาท เป็นเงิน 105 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 22.5 บาท

สังกะสี ปริมาณ 2 บาท ราคา 2.5 บาท เป็นเงิน 5 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 5 ปริมาณ 190.90 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 682.00 บาท

 

ประชุมคณะทำงานและแกนนำ ครั้ง 6/6 15 ก.ย. 2566 15 ก.ย. 2566

 

1.ทำหนังสือขอนุมัติกิจกรรม

2.ทำหนังสือเชิญประชุม

3.ประชุมคณะทำงาน

 

1. กิจกรรมศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ

เทศบาลตำบลควนโดน ของคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 27 กันยายน 2566 โดยไปดูงาน ณ เทศบาลตำบลปริก บ้านควนโดนใน

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล โดยติดต่อผ่านเทศบาลตำบลคลองขุด อนุเคราะห์ประสานงานไปยังเทศบาลตำบลควนโดน กำหนดการดูงานจะออกเดินทางโดนรถตู้ เวลา 8.00 น.

รถตู้จะมารับแกนนำ บริเวณหัวสะพานข้ามคลองน้ำเวียน แล้วจะเดินทางไปยังเทศบาลตำบลควนโดน คาดว่าจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 40 นาที โดยจะเดินทางไปยังสำนักงานเทศบาลตำบล

ควนโดนก่อน แล้วเดินทางไปศึกษาดูงานยังบ้านควนโดนใน จะดูงาน 3 ฐานการเรียนรู้ 1. สภากาแฟ 2. ศูนย์การเรียนรู้การทำโกปี้ 3. ศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะครัวเรือน จะเดินทางกลับถึงคลองน้ำ

เวียน ประมาณ 16.00 น.

2. กิจกรรมประกวดบ้านต้นแบบ

*การประกวดบ้านต้นแบบ ได้สรุปการบ้านต้นแบบ จำนวน 5 หลังคาเรือน ได้แก่

2.1 นางสาวทิพวรรณ ปาละหมีน

2.2 นางนพวรรณ  ปาละหมีน

2.3 นางสาววราภรณ์ ยังปากน้ำ

2.4 นางรุ่งฤดี แก้วน้อย

2.5 นางสาวสุวันนา หยันยามีน

ซึ่งเป็นครัวเรือนที่เข้าเกณฑ์การประเมินมากที่สุด ได้แก่ เป็นครัวเรือนที่มีการร่วมกิจกรรมกับโครงการทุกครั้ง มีการคัดแยกขยะครัวเรือน และรักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือนของตัวเอง

มีสภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านเรือนที่สะอาด

*ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

  1. ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ

  2. กิจกรรมที่ล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องด้วยความพร้อมของพื้นที่ และสมาชิกผู้ดำเนินงาน

  3. สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จากเดิม 45 ครัวเรือน ปัจจุบันที่มีครัวเรือนที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการได้ทุกครั้งประมาณ 35 ครัว ส่วนอีก 10 ครัวเรือนคือถือเอาความสะดวก

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครั้งที่ 5/6 17 ก.ย. 2566 17 ก.ย. 2566

 

1.ขออนุมัติกิจกรรม กำหนดการติดตามกิจกรรม

2.ลงพื้นที่ติดตามตามกำหนดการ

3.บันทึกข้อมูลบ้านต้นแบบ ตามกฏเกณฑ์

 

1.เช็คลิสบ้านที่เข้าเกณฑ์การประกวด

 

ประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ (จัดทำป้ายโฟมบอร์ด) 20 ก.ย. 2566 20 ก.ย. 2566

 

จัดจ้างทำป้ายโฟมบอร์ด ขนาด 70*41 เซนติเมตร

 

มีป้ายโฟมบอร์ดขนาด 70*41 เซนติเมตร สำหรับมอบให้ครัวเรือนต้นแบบ ด้านการจัดการขยะครัวเรือน จำนวน 5 ป้าย เพื่อมอบให้ครัวเรือนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบ ในวันสรุปโครงการ (30 กันยายน 2566)

 

นัดซื้อ-ขาย ครั้งที่ 6/6 22 ก.ย. 2566 22 ก.ย. 2566

 

1.ทำหนังสือขออนุมัติรับซื้อขยะเป็นตาราง 6 ครั้ง พร้อมนัดหมายเป็นปฏิทินรับซื้อขยะ

2.แจ้งนัดหมายคณะทำงานโครงการในพื้นที่ ให้แจ้งไปยังบ้านเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.ทำการรับซื้อขยะ ในพื้นที่คลองน้ำเวียน ซึ่งจะทำการรับซื้อหลักที่ศาลาอเนกประสงค์

4.บันทึกประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อลงในสมุดบันทึก การซื้อ-ขาย ขยะครัวเรือน

5.ทำเอกสารเบิกจ่ายค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และอาหารกลางวัน

 

มีการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิล โดยคณะทำงานโครงการ ร่วมกับแกนนำชุมชน ซึ่งในการรับซื้อขยะมีปริมาณขยะรีไซเคิล ดังนี้

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 6 พื้นที่คลองน้ำเวียน

พลาสติกรวม ปริมาณ 7 กิโลกรัม ราคา 3.0 บาท เป็นเงิน 21 บาท

พลาสติกใส ปริมาณ 8 กิโลกรัม ราคา 4.0 บาท เป็นเงิน 32 บาท

กระดาษลัง ปริมาณ 12 กิโลกรัม ราคา 1.5 บาท เป็นเงิน 18 บาท

ขวดแก้ว ปริมาณ 15 กิโลกรัม ราคา 1.0 บาท เป็นเงิน 15 บาท

เหล็กรวม ปริมาณ 14 กิโลกรัม ราคา 5.5 บาท เป็นเงิน 77 บาท

เหล็กหล่อ ปริมาณ 1 กิโลกรัม ราคา 7.0 บาท เป็นเงิน 7 บาท

เครื่องใช้ไฟฟ้า ราคา 9.1 บาท

*ปริมาณขยะที่ทำการซื้อ-ขาย ครั้งที่ 6 ปริมาณ 63 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 290.0 บาท

 

ติดตามประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครั้งที่ 6/6 24 ก.ย. 2566 24 ก.ย. 2566

 

  1. ติดตามการจัดการขยะของครัวเรือน โดยกรรมการ/คณะทำงานของโครงการที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน เพื่อลงพื้นที่ประเมิน และติดตามครัวเรือน ในพื้นที่คลองน้ำเวียน

  2. คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่เป็นไปตามกติกา และเงื่อนไข

  3. เมื่อกิจกรรมการซื้อ-ขายขยะครบ จำนวน 6 ครั้ง ให้กรรมการ 2 คนที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบสมุดบันทึกการซื้อขยะ และคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ

4.ประกาศผล ครัวเรือนต้นแบบในวันที่ดำเนินกิจกรรมสรุปและถอดบทเรียนโครงการ และมอบเกียรติบัตร พร้อมป้ายครัวเรือนต้นแบบ

 

กติกาการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะครัวเรือน

1.เจ้าบ้านให้ความร่วมมือ เข้าร่วมโครงการ อย่างสมัครใจเป็นอย่างดี

2.มีการคัดแยกขยะหรือกำจัดขยะอย่างถูกวิธีอย่างน้อย 2 ประเภท

3.ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

4.บริเวณบ้านมีความสะอาด

5.มีความคิดริเร่มในการคัดแยกขยะ เช่น สิ่งประดิษฐ์ วัสดุอุปกรณ์ในการคัดแยกขยะ เป็นต้น

ครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือน บ้านคลองน้ำเวียน จำนวน 5 ครัวเรือน

1.นางสาวสุวันนา  หยันยามีน

2.นางสาวทิพวรรณ ปาละหมีน

3.นางนพวรรณ  ปาละหมีน

4.นางสาววราภรณ์  ยังปากน้ำ

5.นางรุ่งฤดี แก้วน้อย

 

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงาน 27 ก.ย. 2566 27 ก.ย. 2566

 

นำคณะทำงานและแกนนำโครงการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในชุมชนคลองน้ำเวรยน เขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด จังหวัดสตูล ประกอบด้วย

1.แกนนำและคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน

2.ผู้บริหารจากเทศบาลตำบลคลองขุด จำนวน 3 คน

3.สามาชิกเข้าร่วมโครงการ บ้านคลองน้ำเวียน 7 คน

ศึกษาดูงานในพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการขยะ เทศบาลตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

 

*1.แกนนำได้ศึกษาเรียนรู้ในพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการขยะ ประกอบด้วย 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่

ฐานที่ 1 ฐานประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ศอ.บต. "ประจำร้านน้ำชา"
เป็นที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของเทศบาล ด้านการจัดการขยะ สิ่งแวดล้อม ผ่านเจ้าของร้าน และประชาชนที่นั่งร้านน้ำชา เป็นการสื่อสารที่อาศัยบริบทของชุมชน ที่นิยมดื่มน้ำชาและพูดคุยข่าวสารยามเช้า โดยเทศบาลจัดทำผ้าปูโต๊ะจากไวนิล ซึ่งบ่งบอกการแยกขยะ ประเภทของขยะที่สามารถขายได้

ฐานที่ 2 ชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โกปี้ควนโดน เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตกาแฟจำหน่าย ส่งขายในประเทศ และต่างประเทศ และมีการผลิตนวัตกรรมจากขยะ เช่น กระเป๋าสาน ตะกร้าใส่ของ จากซองกาแฟ ซองน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น

ฐานที่ 3 ฐานการเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ จุดการเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ เนื่องจากขยะอินทรียย์คิดเป็นปริมาณร้อยละ 60 ของขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่เทศบาล จึงต้องมีวิธีจัดการขยะอินทรีย์ โดยการถังกรีนโคน และน้ำหมักชีวภาพ

ฐานที่ 4 นวัตกรรมจากขยะ และการจัดการขยะในชุมชน เป็นการนำเอาขยะรีไซเคิลมาทำสิ่งประดิษฐ์ เพื่อสร้างมูลค่า เช่น ไม้กวาดจากขวดพลาสติก กล่องใส่กระดาษทิชชู กล่องใส่ปากกา จานรองแก้วจากถุงพลาสติกถัก สายข้อมือจากระดาษ ถังขยะจากขวด เป็นต้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนขยะให้เกิดมูลค่า และนำมาใช้ประโยชน์ได้

*2.สิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้จากการศึกษาดูงานในพื้นที่่ต้นแบบ

1.การทำวัตกรรมจากขยะ ได้แก่ ไม้กวาดจากขวดน้ำพลาสติก ถังขยะจากขวดน้ำ

2.วิธีประชาสัมพันธ์ข่าวสารจากโครงการ   การประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมผ่านร้าน้ำชา ร้านค่าในพื้นที่ หรือแหล่งที่มีการรวมตัวของประชาชนในชุมชนเป็นจำนวนมาก

 

ประกวดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ (ทำเกียรติบัตร) 28 ก.ย. 2566 28 ก.ย. 2566

 

จัดทำเกียรติบัตร สำหรับผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 5 ครัวเรือน

โดยการจัดทำเกียรติบัตรในครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลคลองขุดในการจัดทำขึ้น

 

มีเกียรติบัตรสำหรับมอบให้ครัวเรือนที่ได้รับคัดเลือกเป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ จำนวน 5 ครัวเรือน ได้แก่

1.นางนพวรรณ ปาละหมีน

2.นางสาวทิพวรรร ปาละหมีน

3.นางรุ่งฤดี แก้วน้อย

5.นางสาววราภรณ์ ยังปากน้ำ

 

ประชุมสรุปบทเรียนการทำงาน และถอดบทเรียนโครงการ 30 ก.ย. 2566 30 ก.ย. 2566

 

1.ขออนุมัติจัดกิจกรรมสรุปบาทเรียนโครงการ

2.ทำหนังสือเชิญผู้ร่วสมโครงการฯ สรุปบทเรียน

3.เชิญวิทยากร

4.เตรียมสถานที่

5.เตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อทำกิจกรรม

6.ทำกิจกรรมสรุปบทเรียน โดยวิทยากรจากเทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อแนะแนวทางในการสรุป และถอดบทเรียน ได้แก่ นายวินิช ถวิลวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

สังกัดกองสาธารณสุขและสิ่งแวดลัอม เทศบาลตำบลคลองขุด ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการจัดการขยะโดยตรง

 

คณะทำงานโครงการฯ ประกอบด้วย แกนนำประชาชนจากพื้นที่บ้านคลองน้ำเวียน พนักงานเทศบาลตำบลคลองขุด และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค์ในการดำเนินโครงการ และผลลัพธ์การดำเนินโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ และประเด็นที่ไม่ได้ผลตามเป้าหมาย รวมทั้งแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข โดยวิทยากรจากเทศบาลตำบลคลองขุด ได้แก่ นายวินิช ถวิลวรรณ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

สังกัดกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียด ดังนี้

ผลลัพธ์ของโครงการ

1.เกิดแกนนำและเครือข่ายด้าน  การจัดการขยะ

  1.1 เกิดคณะทำงาน มีพี่เลี้ยง/เจ้าหน้าที่จากเทศบาลเป็นพี่เลี้ยง

  1.2 เกิดกติกา/ข้อตกลงโดยสมาชิก

  1.3 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะก่อนโครงการ

  1.4 มีข้อมูลสถานการณ์ขยะหลังดำเนินการ

  1. คนในชุมชนมีความรู้ ทักษะในการจัดการขยะ

  2.1 มีจุดรับซื้อขยะในชุมชน

  2.2 ร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีความรู้การจัดการขยะ

  2.3 เกิดกลุ่มรับซื้อขยะในชุมชน 1 กลุ่ม

  1. เกิดการคัดแยกขยะและนำขยะมาใช้ประโยชน์

  3.1 ร้อยละ 80 ของครัวเรือนคัดแยกขยะได้ถูกต้อง

  3.2 ร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ

4.ขยะในชุมชนลดลง

  4.1 ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลงจากก่อนร่วมโครงการ

  4.2 ร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีรายได้จากขยะ

ผลการดำเนินงานประเด็นที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือไม่สามารถวัดผลได้

*การนำขยะมาใช้ประโยชน์

จากการดำเนินโครงการการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมในบ้านคลองน้ำเวียน เขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองขุด โดยผ่านกิจกรรมย่อยต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการจัดการขยะครัวเรือน การคัดแยก

ขยะครัวเรือน และในชุมชน รวมถึงการจัดการขยะที่ลอยมากับน้ำ และส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะ ผ่านกิจกรรมปฏิบัติคัดแยกขยะและการนำขยะมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติ และการสร้างวินัยเพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรรม

เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมประจำวัน ผลการดำเนินงาน พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะร้อยละ 80 ซึ่งเป็นการคัดแยกขยะเป็นครั้งคราว ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 59 (25 ครัวเรือน) มีการคัดแยกขยะเป็นประจำ

และทำอย่างต่อเนื่อง และสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องตามประเภทของขยะ  และมีการนำขยะมาใช้ช้ำ การขายขยะรีไซเคิล

*ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินโครงการ

ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นก่อนดำเนินโครงการ และหลังการดำเนินโครงการ มีปริมาณไม่แตกต่างกัน ประมาณ 70 กิโลกรัม/เดือน หรือ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อวัน แต่หากประเมินในวิธีการจัดการขยะ และการใช้

ประโยชน์ของขยะ พบว่า ในพื้นที่คลองน้ำเวียนไม่มีปีญหาในการจัดการขยะอินทรีย์ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงแพะ เป็ด ไก่ ซึ่งกินเศษอาหารจากครัวเรือน ขยะส่วนใหญ่เกิดจากการนำเข้าจากการซื้อของใช้และของ

บริโภค ขยะส่วนใหญ่เป็นประเภท พลาสติก ได้แก่ ขวดน้ำดื่ม ถุงพลาสติกใส่อาหารถุงหูหิ้ว ถุงบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว

ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีการเก็บขยะรีไซเคิล (ขวดน้ำดื่ม) เพื่อมาขายเป็นขยะรีไซเคิล ซึ่งมีปริมาณที่ใกล้เคียงกันในทุกเดือน (ข้อมูลจากการรับซื้อขยะในโครงการ) ส่วน

ปริมาณขยะพลาสติกประเภทถุงหูหิ้ว มีการนำมาใช้ช้ำเพื่อบรรจุในจากเพื่อส่งขาย

ขยะพลาสติกที่เป็นปัญหาในการจัดการขยะของชุมชนคลองน้ำเวียน ได้แก่ พลาสติกที่มีการปนเปื้อนอาหาร ปนเปื้อนน้ำคาวปลา หรือวัตถุดิบ ซึ่งไม่สามารถใช้ช้ำได้ ทั้งนี้ทางเทศบาลตำบลคลองขุดได้หาแนวทางแก้ไข

ปัญหา โดยการล้างแล้วแขวนให้แห้ง แต่ด้วยวิถีการใช้ชีวิต ความเคยชิน ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการยังไม่สะดวกในการจัดการด้วยวิธีดังกล่าว ดังนั้นขยะพลาสติกที่ปนเปื้อน จะมีการจัดการด้วย 2 วิธี ได้แก่ การนำออกไปทิ้งถัง

ขยะของเทศบาลตำบลคลองขุด นอกพื้นที่บ้านคลองน้ำเวียน และการเผาบบริเวณบ้านเรือน

*ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการ

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการทำงานที่หลากหลายอาชีพ ส่งผลให้มีเวลาว่างเข้าร่วมโครงการได้ไม่ตรงกัน การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมค่อนข้างมีเวลาจำกัด เวลาในการทำกิจกรรมน้อยลง

  2. กิจกรรมย่อยของโครงการ มีระยะเวลาในการทำกิจกรรมค่อนข้างบ่อย และมีจำนวนครั้งในการทำกิจกรรมค่อนข้างเยอะ (16 ครั้ง/เดือน) ผู้เข้าร่วมโครงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้พร้อมกันทุกครั้ง

  3. การขนส่งขยะที่เหลือทิ้ง ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว เพื่อส่งกำจัดตามหลักสุขาภิบาล ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเส้นทางขนส่งไม่สะดวก รถยนต์ไม่สามรถเข้าได้

  4. ปัญหาการจัดการขยะในพื้นที่มีความหลากหลายแบ่งตามความรุนแรงของปัญหาขยะ

ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 โซน การจัดการขยะจึงต้องเปลี่ยนแปลงตามบริบทพื้นที่ ไม่สามารถใช้แนวทางเดียวกันในการจัดการขยะ

*แนวทางในการแก้ไขปัญหา

  1. แกนนำและคณะทำงานโครงการลงพื้นที่ แยกเป็นโซน 3 โซน เพื่อรณรงค์การคัดแยกขยะ และนัดหมายทำกิจกรรมรับซื้อขยะ

  2. การขนขยะที่เหลือทิ้งออกพื้นที่ภายนอกพื้นที่คลองน้ำเวียน โดยรถสามล้อพ่วงข้าง โดยให้แต่ละครอบครัวบริหารจัดการด้วยตัวเอง ทิ้งในถังขยะของเทศบาลตำบลคลองขุดจัดให้

*กิจกรรมที่คาดว่าจะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2567

  1. กิจกรรมรับซื้อขยะ โดยแกนนำ และขยายเครือข่ายไปยังเยาวชนในพื้นที่ อสม. และผู้นำหมู่บ้าน

  2. ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

  3. ส่งเสริม/สร้างนวัตกรรมด้านการจัดการขยะ

 

คืนดอกเบี้ย และเงินนฝาก 6 พ.ย. 2566 6 พ.ย. 2566

 

ดำเนินการปดบัญชีธนาคาร

1.หนังสือขอปิดบัญชี

2.ปิดบัญชี

3.ถอนดอกเบี้ยเงินฝาก

 

ได้เงินสดในมือพร้อมดอกเบี้ย ส่งคืน แผนงานร่วมทุน จำนวน 709.67