directions_run

โครงการรณรงค์วันงดสูบโลกและวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พ.ศ.2566

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการรณรงค์วันงดสูบโลกและวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พ.ศ.2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า

เพื่อรณรงค์สื่อสารความเสี่ยงป้องกันนักสูบ/นักดื่มหน้าใหม่ และลดพฤติกรรมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 20
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียน นักศึกษา ประชาชน 20 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการศึกษาภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557 โดยที่ภาระโรคจากมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นผลของการสูญเสียที่สำคัญจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงอันดับแรก ที่ก่อให้เกิดภาระโรคมากที่สุดในเพศชาย ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 12.0 ของการสูญเสีย ปีสุขภาวะทั้งหมดในเพศชาย รองลงมาคือ บุหรี่/ยาสูบ ความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้สูญเสียปีสุขภาวะร้อยละ 11.7 สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 การดำเนินงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบปัญหาหลัก 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 การช่วยเหลือบำบัดรักษาผู้ที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ โดยเฉพาะในเรื่องของการคัดกรองผู้สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นจุดเน้นในการดำเนินงานควบคุม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบของกรมควบคุมโรค เพราะการคัดกรองเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ทราบจำนวนของผู้สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการลดและบำบัดต่อไป เขตสุขภาพที่ 12 มีผลการคัดกรองผู้สูบบุหรี่ เฉลี่ยร้อยละ 29.53 ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 50 พบการคัดกรองสูงสุดที่จังหวัดสงขลา ร้อยละ 47.82 รองลงมา คือจังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง ร้อยละ 39.42, 33.58, 28.80, 13.91, 6.80, 6.16 ตามลำดับ สำหรับการคัดกรองผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาพรวมเขต เฉลี่ยร้อยละ 21.54 ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 45 พบการคัดกรองสูงสุดที่จังหวัดยะลา ร้อยละ 36.96 รองลงมา คือจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ร้อยละ 34.45, 29.90, 10.75, 10.78, 5.92 และ 5.12 ตามลำดับ โดยปัญหาเหล่านี้ได้ดำเนินงานโดยใช้เงินนอกงบประมาณโครงการสนับสนุนการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สสส.) ซึ่งสามารถใช้ได้ถึงปีงบประมาณ 2566 และประเด็นที่ 2 การลดการบริโภคยาสูบและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเขตเฉลี่ยร้อยละ 11.40 และสูงสุดอยู่ที่จังหวัดตรัง ร้อยละ 22.4 และ พัทลุง 21.0 สงขลา 16.4 สตูล 9.8 ยะลา 3.3 นราธิวาส 2.4 และปัตตานี 1.6 สำหรับอัตราการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับเขตมีผู้บริโภคยาสูบเฉลี่ย ร้อยละ 20.9 พบว่า จังหวัดสตูล มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุด ร้อยละ 25.2 รองลงมาคือ จังหวัดตรัง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดพัทลุง และจังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ24.2, 23.7, 22.4, 21.4 และ21.4 ตามลำดับ ส่วนจังหวัดสงขลา และจังหวัดยะลา มีอัตราการบริโภคยาสูบต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับเขต อยู่ที่ร้อยละ 18.5 และ 18.4 ตามลำดับ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2564) ซึ่งจากการศึกษา พบว่าการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสร้างความตระหนักเป็นจุดเริ่มต้นในการลดผลกระทบหรือการเกิดโรคในระยะยาว ดังนั้น กิจกรรมรณรงค์เพื่อลดนักสูบและนักดื่มหน้าใหม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเมื่อติดสุราหรือยาสูบแล้วจะทำให้บุคคลนั้นติดไปตลอดชีวิต ส่งผลให้เกิดภาระโรคต่อไป ด้วยเหตุนี้เพื่อสร้างแรงกระตุ้นในการลดนักสูบและนักดื่มหน้าในเขตสุขภาพที่ 12 จึงจัดโครงการรณรงค์วันงดสูบโลกและวันงดดื่มสุราแห่งชาติ พ.ศ.2566 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
37,400.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
กรมควบคุมโรค

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 10:46 น.