directions_run

จัดอบรมครู ก. เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เขตสุขภาพที่ 12

stars
1. ชื่อโครงการ
จัดอบรมครู ก. เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เขตสุขภาพที่ 12
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า

เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 52
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้รับผิดชอบงานควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแ 52 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัญหาที่มีความสำคัญระดับต้น ๆ ของประเทศ ที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันจำนวนของผู้สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากสถานการณ์การบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบว่าอัตราการบริโภคยาสูบสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ คือ ร้อยละ 23.9 และเพื่อพิจารณาอัตราการบริโภคยาสูบในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 9.61 สูงเป็นอันดับ 4 ของเขตสุขภาพทั้งหมดทั่วประเทศ สำหรับความชุกของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรในปี 2564 จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 57 ล้านคน เป็นผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในรอบ 12 เดือน ที่แล้วประมาณ 16 ล้านคน (ร้อยละ 28.0) เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ 10.6 ล้านคน (ร้อยละ 18.5) และเป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง 5.4 ล้านคน (ร้อยละ 9.5) สำหรับกลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการดื่มสูงสุด (ร้อยละ 36.5) กลุ่มอายุ 45-59 ปี และ 20-24 ปี มีอัตราการดื่มใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 32.4 และ 31.6 ตามลำดับ) กลุ่มผู้สูงวัย (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีอัตราการดื่มร้อยละ 15.2 สำหรับกลุ่มเยาวชน (อายุ 15-19 ปี) มีอัตราการดื่มต่ำสุด (ร้อยละ 15.0) ปัญหาของจังหวัดในพื้นที่เขต 12 คือการช่วยเหลือบำบัดรักษาผู้ที่ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ โดยเฉพาะในเรื่องของการคัดกรองผู้สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการคัดกรองเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทราบจำนวนของผู้สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการลดและบำบัดต่อไป เขตสุขภาพที่ 12 มีผลการคัดกรองผู้สูบบุหรี่ เฉลี่ยร้อยละ 29.53 ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 50 พบการคัดกรองสูงสุดที่จังหวัดสงขลา ร้อยละ 47.82 รองลงมา คือจังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง ร้อยละ 39.42, 33.58, 28.80, 13.91, 6.80, 6.16 ตามลำดับ สำหรับการคัดกรองผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาพรวมเขต เฉลี่ยร้อยละ 21.54 ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 45 พบการคัดกรองสูงสุดที่จังหวัดยะลา ร้อยละ 36.96 รองลงมา คือจังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ร้อยละ 34.45, 29.90, 10.75, 10.78, 5.92 และ 5.12 ตามลำดับ และจากการประเมินผล ติดตามผลการดำเนินงาน พบว่าในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง พัทลุง และสตูล โรงพยาบาลมีปัญหาในการนำเข้าข้อมูลการคัดกรองจากโปรแกรม HosXP,JHCIS ใช้รหัสในการบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง บางพื้นที่บันทึกข้อมูล การคัดกรองบำบัดสุราและยาสูบแล้ว แต่ข้อมูลไม่เข้าในระบบ HDC รวมทั้งพื้นที่ขาดการอัพเดทแนวทางและระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เนื่องจากในทุก ๆ ปีมีการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การดำเนินคัดกรองงานบุหรี่แอลกอฮอล์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา จึงได้จัด “อบรมครู ก. เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เขตสุขภาพที่ 12” ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการจัดระบบการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา place directions
สตูล place directions
พัทลุง place directions
ตรัง place directions
ปัตตานี place directions
ยะลา place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
120,370.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สสส.

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 10:58 น.