directions_run

โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี 2566

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี 2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 11
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

1.เพื่อจัดทำและพัฒนางานด้านวิชาการ รวมทั้งพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสังคมที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทพื้นที่จังหวัด และกลุ่มจังหวัด 2.เพื่อยกระดับงานวิชาการของหน่วยงานให้สอดคล้องบริบทพื้นที่ของ สสว. 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายในทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา สร้างโอกาส เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 450
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หน่วยงาน พม. ในเขตรับผิดชอบ 200 -
บุคลากรสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑๑ 50 -
ภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ 200 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ (สสว.) ๑ – ๑๑ มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์ พม. สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยภารกิจตามกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดให้ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑ - ๑๑ มีอำนาจหน้าที่ คือ ๑) พัฒนางานด้านวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้สอดคล้องกับพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ๒) ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการ องค์ความรู้ ข้อมูลสารสนเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานบริการทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการในความรับผิดชอบของกระทรวง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชน และประชาชน ๓) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์และสภาพแวดล้อม เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ทางสังคมและผลกระทบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาสังคมและจัดทำยุทธศาสตร์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด ๔) สนับสนุนการนิเทศงาน ติดตามประเมินผล การดำเนินงานเชิงวิชาการตามนโยบายและภารกิจของกระทรวง ในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และ ๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้ นโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการเป็นผู้เชื่อมโยงประสานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค เพื่อแปลงนโยบาย ข้อมูลสารสนเทศ องค์ความรู้ และแผนต่างๆ รวมทั้งเพิ่มบทบาทและขีดความสามารถขององค์กรให้เป็นศูนย์เสริมสร้างนวัตกรรมทางสังคม และศูนย์ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ และเป็นหน่วยเคลื่อนที่ทางวิชาการการพัฒนาสังคมแก่หน่วยงานในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายและประชาชน นอกจากนี้สถานการณ์ทางสังคมที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน มีผลกระทบในภาพกว้างมีความแตกต่างกันตามบริบทพื้นที่ จำเป็นต้องมีแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะกระบวนการปฏิบัติงาน มีข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งจะสามารถคาดการณ์สภาพแวดล้อมทางสังคมหรือแนวโน้มที่เป็นผลกระทบ รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ระดับภาคหรือภาพรวมของกระทรวงส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ทั้งเชิงมิติพื้นที่เชิงประเด็น และเชิงกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานโครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี ๒๕๖๖ มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ ยุทธศาสตร์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ในประเด็นที่ ๖ ลงทุนทางสังคมแบบพุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยตรง สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม เป้าหมาย ชุมชน มีฐานข้อมูลกลางระดับพื้นที่ที่เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลในการกำหนดนโยบายและแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ ประเด็นปฏิรูปประเทศ ประเด็นที่ ๒ ผลักดันให้มีฐานข้อมูลทางสังคมและคลังความรู้ในระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดสวัสดิการและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ในประเด็น ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการ โดยมียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา ทุกระดับ ทุกประเด็น ทุกภารกิจและทุกพื้นที่ โดยการกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละกลุ่มจังหวัดในมิติต่าง ๆ อีกทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ๑๓) และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบด้วย 1) เรื่อง พัฒนานโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัยแบบพุ่งเป้า ๒) เรื่อง ยกระดับการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์แบบบูรณาการ ๓) พัฒนาระบบสวัสดิการและนวัตกรรมทางสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทุกช่วงวัย และ ๔) เรื่อง ยกระดับการพัฒนาองค์กรให้มีผลสัมฤทธิ์สูงเพื่อรองรับยุคดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ มีบทบาทในการรวบรวมประเด็นสถานการณ์ทางสังคมในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกกระทรวง รวมถึงให้ความรู้ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีการขับเคลื่อนงานยุทธศาสตร์ด้านสังคมระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลในระดับจังหวัด และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการในเชิงพื้นที่ เพื่อเสนอแนะให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงดำเนินการตรวจติดตามการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายกระทรวงในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่สามารถขับเคลื่อนงานตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ได้ผลงานที่ดีและหน่วยงานที่ต้องปรับปรุงเพื่อพัฒนาเพิ่มขึ้น การดำเนินงานของ สสว.๑-๑๑ จะมีประสิทธิภาพตามภารกิจและบทบาทดังที่กล่าวมาข้างต้นได้นั้น จะต้องมีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมงานวิชาการให้ตรงบริบทและสถานการณ์ในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี 2566 จึงประกอบไปด้วยกิจกรรม ดังต่อไปนี้ (๑) กิจกรรมที่ ๑ : ศูนย์บริการวิชาการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ประจำปี 2566 ประกอบด้วย ๒ กิจกรรมย่อย กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การจัดทำผลงานวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกิจกรรมย่อยที่ 1.2 การจัดทำข้อมูลทางสังคมและสารสนเทศในระดับพื้นที่ (๒) กิจกรรมที่ 2 : ขับเคลื่อนการบูรณาการโครงการด้านสังคมในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย ๑ กิจกรรมย่อย กิจกรรมย่อยที่ 2.1 บริการวิชาการด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๓) กิจกรรมที่ ๓ : พัฒนาระบบนิเทศงานด้านสังคม ประกอบด้วย ๒ กิจกรรมย่อย กิจกรรมย่อยที่ 3.1 การขับเคลื่อนงานนิเทศติดตามประเมินผล เพื่อการบริการเชิงกลุ่มจังหวัดระบบดิจิทัล และกิจกรรมย่อยที่ 3.2 การพัฒนาระบบนิเทศงานและติดตามประเมินผลเชิงยุทธศาสตร์ ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการงานกับหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ประสาน บูรณาการ การจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาสังคมระดับพื้นที่ ประจำปี ๒๕๖๖ ในการบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ในการที่จะสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็งและสร้างระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ดีต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา place directions
พัทลุง place directions
ตรัง place directions
สงขลา place directions
ปัตตานี place directions
ยะลา place directions
นราธิวาส place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
239,960.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 10:59 น.