directions_run

โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เขต 12 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เขต 12 ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
สวนยางยั่งยืน,หนึ่งไร่หลายแสน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การรับรองมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้เกษตรกร การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวสวนยาง

 

ส่งเสริมการตลาดอาหารสุขภาพ ส่งเสริมการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยง Maching Model จากแหล่งผลิตสู่ร้านอาหาร (Form Fram to Table)

 

ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์และพันธุกรรมท้องถิ่น

 

ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในครัวเรือน

 

ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ., ผ 20 -
ครูผู้รับผิดชอบงาน/ผู้สัมผัสอาหารในโรงเรียน 20 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 การวิเคราะห์สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กองระบาดวิทยา จำแนกตามสถานที่เสี่ยงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562-2564 มักพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มจำนวนเหตุการณ์การระบาดลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้โรงเรียนปิดการเรียนการสอน ผู้สัมผัสอาหารของโรงเรียนปฏิบัติตามมาตรการหลักในการป้องกันโรค ด้วยการรักษาความสะอาดของวัตถุดิบและสถานที่มีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีซึ่งช่วยส่งเสริมสุขลักษณะที่ดี สำหรับฐานข้อมูลรายงาน 506 ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า จังหวัดสงขลา มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด เท่ากับ 51.7 รองลงมาคือ สตูลเท่ากับ 23.6 เมื่อพิจารณากลุ่มเสี่ยงตามอาชีพ ปี พ.ศ. 2562-2564 พบ ร้อยละการป่วยสูงสุดคือ นักเรียน เนื่องจากเป็นกลุ่มวัยที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ สัมผัสสิ่งแวดล้อม รวมตัวกันทำกิจกรรมและรับประทานอาหารร่วมกันในโรงเรียน ทำให้กลุ่มดังกล่าวเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคติดต่อทางอาหารและน้ำได้ เมื่อจำแนกตามเวลา พบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมกราคมและเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนและเปิดเทอม ในปี 2565 แผนงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้ร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษา, สสจ., รพ.สต., อปท. ได้เยี่ยมเสริมพลัง ประเมินผลเพื่อลดความเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา (สช.จ.สงขลา) และเทศบาลนครสงขลา รวมทั้งหมด 10 แห่ง เพื่อตอบมาตรการที่ 1 พัฒนาเครือข่ายและระบบบริหารจัดการ โดยใช้แบบประเมิน 6 มาตรการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน พบว่า 1) อาหาร โดยครูผู้รับผิดชอบงาน/ ผู้สัมผัสอาหารไม่มีการเก็บตัวอย่างอาหารที่ปรุงให้นักเรียนรับประทานไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 1 วัน 2) นม-พาสเตอร์ไรส์ มีการนับจำนวนและตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ภายนอก แต่ไม่มีการสุ่มตรวจคุณภาพนมก่อนให้เด็กดื่ม 3) ผู้สัมผัสอาหาร ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้สัมผัสอาหาร 4) การประสานส่งต่อ/สื่อสารความเสี่ยงเมื่อพบเด็กป่วย พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีแผนฉุกเฉินและทำเนียบเครือข่ายที่เป็นลายลักษณ์อักษร/เป็นปัจจุบันผลทดสอบทางชีวภาพ 1) ผลทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อ Escherichia coli และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย โดยใช้เพลทอาหารเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูป ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ปรุงประกอบอาหาร น้ำแข็งบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหาร พบ การปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในตัวอย่างน้ำแข็งบริโภคมากที่สุด (ร้อยละ 90.0) โดยพบเชื้อ E.coli ร้อยละ 1.1 รองลงมาคือ มือผู้สัมผัสอาหาร (ร้อยละ 45.0) ซึ่งสาเหตุของการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์อาจเกิดจากต้นน้ำ (สถานที่ผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน) กลางน้ำ (การจำหน่าย การขนส่ง) และปลายน้ำ การให้บริการน้ำแข็ง (การเก็บรักษา) เมื่อจำแนก รร. ตามสังกัด พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มในตัวอย่างน้ำแข็งบริโภคใน รร.สังกัด สพฐ. และ สช.จ.สงขลา เท่ากันคือ ร้อยละ 100 สำหรับมือผู้สัมผัสอาหารพบใน รร.สังกัดเทศบาลนครสงขลามากที่สุด (ร้อยละ 44.4) รองลงมาคือ สช.จ.สงขลา (ร้อยละ 33.3) 2) ผลการทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำดื่มและน้ำใช้ปรุงประกอบอาหารผ่านเครื่องกรองน้ำ พบว่า น้ำดื่มมีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือ น้อยกว่า 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร (ppm) ถึงร้อยละ 100 และน้ำใช้ปรุงประกอบมีปริมาณคลอรีน น้อยกว่า 0.2 ppm ร้อยละ 80.0 (มาตรฐาน WHO ปี 2547 น้ำดื่มปลายท่อที่ปลอดภัยต้องมีค่าคลอรีนอิสระคงเหลืออยู่ในช่วง 0.2-0.5 ppm) แผนการดำเนินงานปี 2566 เป็นการดำเนินงานต่อยอดจากปี 2565 เพื่อตอบมาตรการที่ 1 การพัฒนาเครือข่ายและระบบบริหารจัดการ โดยขยายเครือข่ายพัฒนาคุณภาพน้ำไปยังจังหวัดสตูล เนื่องจากมีอัตราป่วยเป็นอันดับ 2 และโรงเรียนส่วนใหญ่พบปัญหาน้ำดื่ม น้ำใช้ปรุงประกอบอาหารที่ไม่ปลอดภัย แม้เป็นน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำแล้ว และประเมินผลซ้ำเพื่อรองรับการระบาดของโรคในช่วงก่อนเปิดเทอม สำหรับปัญหาน้ำแข็งบริโภคของโรงเรียนในจังหวัดสงขลาจะขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการร่วมกับ สสจ.สงขลา เพื่อควบคุมน้ำแข็งให้มีคุณภาพ ลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ตลอดเส้นทางลำเลียงจากสถานที่ผลิตจนถึงโรงเรียนที่สำคัญเพื่อลดการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่ป้องกันได้ในนักเรียน
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

ตรวจเยี่ยมเสริมพลังลดเสี่ยงลดโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน เก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์ม

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา หาดใหญ่ place directions
สตูล เมืองสตูล place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
26,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
กรมควบคุมโรค

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 11:06 น.