directions_run

สนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม

stars
1. ชื่อโครงการ
สนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

 

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็นความมั่นคง เป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งให้ประเทศชาติไปสู่ความมั่นคง ประชาชนมีความสุข ตามกรอบแนวคิด “ความมั่นคงแบบองค์รวม” ซึ่งขยายขอบเขตครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การทหาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในประเด็นสำคัญ อาทิ พลังงาน อาหาร น้ำ รวมถึงด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการมีสุขภาวะที่ดีและการเรียนรู้ทุกช่วงวัย และด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการและสิทธิขั้นพื้นฐานภาครัฐ เพื่อให้ การบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มั่นคง ปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย และการยกระดับประเทศ ให้ก้าวไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างแท้จริง สถานการณ์ปัญหาด้านสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เห็นได้จากระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) : ข้อมูล ปี 2562 พบครัวเรือนตกเกณฑ์สูงถึง 36,429 ครัวเรือน มีประชาชน กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กกำพร้า ผู้ป่วยติดเตียง และครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว อีกจำนวนกว่า 1.6 แสนราย และประชาชนกลุ่มเปราะบาง 11 ประเภท ในภาพรวมของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 599,605 ราย ที่ต้องได้รับโอกาสทางสังคมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหา ความเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือในมิติการหนุนเสริมและเติมเต็มภารกิจของหน่วยงาน/องค์กร ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนการสร้างความเข้าใจในกระบวนการภาครัฐที่สามารถส่งผลให้เกิดสังคมสันติสุขภายใต้การวางระบบการพัฒนา เพื่อดูแล หรือให้บริการประชาชนในทุกมิติ เช่น การวางระบบการบริหารจัดการผู้สูงอายุ คนไร้ที่อยู่ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้งอย่างเป็นระบบ ผ่านองค์กรภาคประชาสังคม ตามบริบท และวิถีชีวิตในพื้นที่ชายแดนใต้ รวมทั้ง การจัดการปัญหาที่ส่งผลให้ประชาชนป่วยและเสียชีวิตจากภัยคุกคาม ทางสุขภาพ เช่น การระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคไข้เลือดออก และงานอนามัยแม่และเด็ก ปัญหาเหล่านี้ มีความสลับซับซ้อนด้วยสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันในหลายมิติรวมถึงความคิดความเชื่อและพฤติกรรม ส่วนบุคคล ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเพียงหน่วยงานเดียวจึงไม่สามารถดำเนินการได้ จำเป็นต้องได้รับการบูรณาการ ที่เกิดการเชื่อมโยง เชื่อมต่อ และประสานการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะหน่วยงานบูรณาการ ประสาน กำกับ เร่งรัด ติดตาม การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้สนองนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานความต้องการของประชาชน เพื่อยุติการขยายแนวคิด และการใช้ความรุนแรงในพื้นที่ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น และสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ตามแนวทางด้านการพัฒนาเพื่อสร้าง “พื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก” การพัฒนาด้านสังคมจึงเป็นภารกิจสำคัญ นอกเหนือจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ทรัพยากร และด้านอื่น ๆ เพราะปัญหาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา และการเข้าถึงสวัสดิการ ของภาครัฐ โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเปราะบาง 11 ประเภท ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการเชื่อมโยง เชื่อมต่อ และประสานการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย สร้างความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ประชาชนมีศักยภาพ ในการพึ่งพาตนเอง และมีศักยภาพในการสรรค์สร้างและพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวฯ ยังเป็นพันธกิจที่ ศอ.บต. จำเป็นต้องดำเนินการตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนโยบาย ข้อสั่งการ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญและติดตามความก้าวหน้า ผลดำเนินงานที่ส่งผลต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม รองรับการพัฒนาและการเติบโต ทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม อาทิ การสร้างงานสร้างรายได้เพื่อการเลี้ยงดูครอบครัว อย่างเหมาะสม สนับสนุนการการยกระดับศักยภาพของหน่วยงานและองค์กรเพื่อการเข้าถึงสิทธิ การบริการ และสวัสดิการภาครัฐอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ การบูรณาการจัดบริการสาธารณสุขเชิงรุกแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างครบวงจร และสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทุกช่วงวัย อาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 9 ให้ ศอ.บต. มีอำนาจหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (9) เสนอแนะหรือแนะนำต่อหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับลักษณะ อันพึงประสงค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งดำเนินการ ให้มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และบูรณาการการปฏิบัติหน้าที่ ของหน่วยงานของรัฐฝ่ายพลเรือนเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของประชาชน และ (10) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเป็นพันธกิจที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล ข้อสั่งการ และภารกิจ ที่เกี่ยวเนื่อง ศอ.บต. ในฐานะหน่วยงานซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกระทรวงและหน่วยงานที่มีหน้าที่สู่พื้นที่และเชื่อมโยงภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันแบบไร้รอยต่อทุกมิติเพื่อหนุนเสริมกระบวนการทำงานให้เกิดเป็นรูปธรรมทางด้านการพัฒนาและความมั่นคง รวมถึงประสาน เร่งรัด ผลักดัน การดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด กลุ่มงานส่งเสริมการศึกษาและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน (กสพ.) จึงได้จัดทำค่าใช้จ่ายสนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสทางสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น โดยมุ่งประเด็นขับเคลื่อนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2566) ของ ศอ.บต. เพื่อมุ่งขับเคลื่อนงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนปฏิบัติการด้านการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566 - 2570 แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) โดยกำหนดกรอบและขอบเขตการทำงานในปีงบประมาณ 2566 ประกอบด้วย 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสทางสังคมให้มีศักยภาพ ในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับศักยภาพของครอบครัว ชุมชน และสังคม ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบางและครอบครัวได้รับการฟื้นฟูสภาพครอบคลุมทั้งมิติด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้สามารถพึ่งพาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) การบูรณาการความร่วมมือ งานสาธารณสุขเชิงรุกและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนมีภาวะวิกฤตต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่พิเศษ โดยมุ่งบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ดียิ่งขึ้น ผ่านการเสริมสร้างโอกาสทางสังคม ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส (เปราะบาง) ทำให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพเข้าถึงบริการ สวัสดิการ ของรัฐอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม ควบคู่กับการบริหารจัดการระดับตำบลที่เข้มแข็ง เป็นตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 3) ขยายผลโครงการสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการ นำหลักและแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง มาเชื่อมโยง กับสถานศึกษา นำไปสู่ครอบครัว ชุมชน เพื่อมุ่งเน้นการ ลดสารเคมีในการทำเกษตร และทำให้ทั่วถึงไปยังประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างนักเรียนต้นแบบที่นำความรู้ด้านการเกษตรตามแนวทางพระราชดำริฯ จากโรงเรียนไปทำที่บ้านให้เกิดผล เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชนได้
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ยะลา place directions
สตูล place directions
ปัตตานี place directions
นราธิวาส place directions
สงขลา place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
7,367,500.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี'งบประมาณ พ.ศ. 2566

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 11:31 น.