directions_run

โครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง ในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
มูลนิธิชุมชนสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ด้านสุขภาพ ลดการแพร่เชื้อและเสียชีวิต กลุ่มผู้ป่วย long covid ได้รับการดูแลและสร้างกำลังใจ

 

เศรษฐกิจปากท้องเดินได้ สร้างความมั่นคงทางอาหารที่รับมือกับโควิดได้

 

ด้านสังคม กลุ่มเปราะบางได้แก่ เด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากจน ได้รับการช่วยเหลือดูแลมีรายได้ มีความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับตัวกับโควิดได้ มีกิจกรรมทำภายใต้ความปลอดภัยของโควิด

1.เพื่อถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 ในการรับมือกับวิกฤติสุขภาพของชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 2.เพื่อพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง เสริมสร้างศักยภาพชุมชนในเรื่องการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และการจัดการภัยพิบัติอื่นๆ

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางในการสานพลังความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรที่เป็นภาคียุทธศาสตร์ภายใต้แผนงาน “รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19” จากบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์การรับมือกับโควิด-19 พบว่าพลังของภาคประชาสังคมและชุมชนสามารถนำต้นทุนที่มีอยู่ในพื้นที่นำมาประยุกต์ใช้ เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่สร้างระบบการจัดการปัญหาภาวะฉุกเฉินได้ทันต่อสถานการณ์ และ สช. ได้เล็งเห็นว่าโปรแกรม “การยุติโรคระบาดด้วยนวัตกรรม” (Ending Pandemics through Innovation, EPI) โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และภาคีรวมถึง สช. ด้วยนั้น เป็นโปรแกรมที่จะช่วยยกระดับความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถเตรียมความพร้อมและรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และทำให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี สช.จึงได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการยุติโรคระบาด โดยได้เสนอที่จะร่วมบริหารจัดการแผนงาน “การพัฒนาขีดความสามารถด้านสาธารณสุขรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน” โดยมีจุดเน้นการดำเนินงานที่สำคัญในด้าน “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพชุมชนในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข” โดยแผนงานนี้มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่เขตเมืองเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ จากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่เขตเมืองของ กทม. ปริมณฑล และเมืองใหญ่ ทำให้สังคมไทยได้ประจักษ์ถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของ “ชุมชน” ในการร่วมเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกัน ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณะสุข ซึ่งจะเห็นว่ามีชุมชนจำนวนหนึ่งที่มีลักษณะเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” โดยที่ชุมชนนั้นๆ สามารถรับมือกับสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นได้อย่างดี จึงควรมีการถอดบทเรียนกระบวนการทำงานของชุมชน ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง โดยมีพี่เลี้ยง(Node)ด้านวิชาการ และภาคียุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสนับสนุนและต่อยอดประเด็นการเรียนรู้ ค้นหาปัญหาและความต้องการของชุมชน เสริมสร้างศักยภาพชุมชนในเรื่องการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ การจัดการภัยพิบัติอื่นๆ และพัฒนาศักยภาพของชุมชน สร้างองค์ความรู้ทางสังคมเพื่อนำไปขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ ให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนต่างๆ โดยการร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคมในการยุติวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 และเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตอื่นๆ ในอนาคตต่อไป ชุมชนแหลมสนอ่อน เป็น 1 ใน 55 ชุมชนของเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา มีพัฒนาการมาตั้งแต่ปี 2560 กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อนร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา/ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด(ศปจ.) ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมจัดเก็บข้อมูลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม(คนพิการ คนยากไร้ คนไร้รัฐ คนเร่ร่อน ผู้สูงอายุติดเตียง ถูกทอดทิ้ง เด็กกำพร้า คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ในสังคมเป็นภาระที่สังคมต้องดูแล)ในพื้นที่อำเภอบ่อยาง จึงเกิดกิจกรรมในการดูแลสมาชิกที่เป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมมาจนถึงปัจจุบัน ชุมชนแหลมสนอ่อนอยู่ในทำเลที่เรียกได้ว่าทำเลทองของเทศบาลนครสงขลาที่รอการพัฒนา ผู้บริหารเทศบาลหลายยุคที่ผ่านมาก็พยายามหาโครงการที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่ แต่ก็ยังทำไม่ได้ด้วยปัญหาของการใช้กรรมสิทธิ์ที่ดินของชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการอยู่อาศัยในพื้นที่มากว่า 30 ปีในฐานะคนอพยพมาอาศัยที่ดินของราชพัสุด กรมธนารักษ์ แต่ไม่ได้ทำสัญญาเช่าให้ถูกต้อง ที่นี่มีประชากรราวๆ ๒๐๐ คน ๘๐ ครัวเรือน ถูกรัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จัดระเบียบชายหาดสมิหลาแล้วก็ให้มาอยู่อาศัยที่นี่ โดยไม่ได้ทำสัญญาให้เป็นกิจลักษณะ สมาชิกเริ่มสร้างบ้านทำร้านอาหารประกอบกิจการของตนมานับสิบปี ไฟฟ้าที่ได้เป็นไฟชั่วคราว น้ำเป็นน้ำบาดาลเจาะเองหรือซื้อน้ำทาน ชุมชนไม่สามารถใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพราะไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ เช่าใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่ใช่ผู้บุกรุก จนกระทั่งล่าสุดก็คือธนารักษ์จะให้ชุมชนเช่าที่ให้ถูกต้อง การเป็นชุมชนเปราะบางทำให้เข้าใจสภาพปัญหาของคนเปราะบางด้วยกัน เมื่อมีโอกาสได้ร่วมกับศปจ.สงขลาเก็บข้อมูลคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคมในพื้นที่ตำบลบ่อยาง จึงเป็นที่มาของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดูแลคนยากลำบากฯในชุมชนทั้งในพื้นที่ชุมชนและนอกชุมชน การดำเนินงานดังกล่าวอาศัยภาวะผู้นำของชุมชน ได้แก่ คุณบุณย์บังอร ชนะโชติและคุณนิพนธ์ ชนะโชติ เป็นแกนนำ เมื่อสมาชิกเผชิญปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเองจึงกลายเป็นกลไกสำคัญในการประสานให้เกิดการพึ่งพาช่วยเหลือสมาชิกด้วยการดำเนินการ ภารกิจ “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” จัดทำครัวกลางของชุมชนขึ้นเพื่อการรับบริจาควัตถุดิบในการปรุงอาหาร ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ได้รับผลกระทบ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ กรณีชุมชนแหลมสนอ่อน ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา โดยความร่วมมือระหว่าง สช. ภาคียุทธศาสตร์ Node พี่เลี้ยงของชุมชน มูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อถอดบทเรียนกรณีโควิด-19 และพัฒนาต้นแบบชุมชนเข้มแข็งในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

1.ถอดบทเรียนชุมชน ทบทวน ประมวลข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และข้อมูลสถานการณ์ทางสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อร่วมสรุปบทเรียนกับชุมชนเรื่องการรับมือภัยพิบัติสุขภาพ กรณีโควิด-19
2.การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชน ในการจัดการความรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงการถอดบทเรียนการจัดการระบบสุขภาพของชุมชนในสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 (ค้นหาและสร้างทีมจัดการความรู้ชุมชน)
3.พัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านการจัดเก็บ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ 4.ร่วมกับชุมชนในการค้นหา และจัดการภาวะวิกฤติสุขภาพในปัจจุบัน ที่ชุมชนให้ความสำคัญ

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา เมืองสงขลา บ่อยาง place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
200,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2023 15:41 น.