directions_run

โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๖
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
มูลนิธิชุมชนสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

 

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
๑.สงขลาเป็นจังหวัดที่มีทุนทางทรัพยากรจำนวนมาก รวมถึงภาคีเครือข่ายภาครัฐ ท้องถิ่น วิชาการเอกชน ประชาชน แต่ยังขาดโอกาสที่จะได้มาร่วมการขับเคลื่อนร่วมกันและการสร้างสรรค์ร่วมกันอย่างมีพลัง ซึ่งต้องการการสร้างความเป็นเครือข่ายให้เกิดขึ้นมา และปัจจุบันความเป็นเครือข่ายได้พัฒนาการมาเป็นเครือข่ายแบบเซลลูล่า คือ ประดุจเซลของสิ่งมีชีวิต ต่างเซลต่างอยู่ได้ด้วยตนเอง ทำหน้าที่ของตนเองที่เป็นภารกิจเฉพาะตามความสามารถ แต่มีการเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนเป็นระบบร่างกายเป็นระบบสิ่งมีชีวิตขึ้นมา เครือข่ายเซลลูล่านี้ก็จะเป็นเครือข่ายที่ฟื้นฟูระบบสังคมให้กลับมามีสมดุล เครือข่ายหรือ network ไม่ใช่แค่เครือหรือข่ายที่ช่วยกันทำงานทำนั้น (net for work) แต่เครือข่ายที่มีพลังต้องมีลักษณะ care share and learning ด้วย หมายความว่ามีการดูแลให้พลังกันและกัน มีการแลกเปลี่ยนกันอย่างเท่าเทียม สามารถมีปฎิบัติการร่วมกัน สร้างความรู้จากการปฎิบัติร่วมกัน และมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงจะมีพลังยิ่งใหญ่กว่าเครือข่ายที่มุ่งแต่งาน นอกจากการเชื่อมเครือข่ายแล้ว การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดความเห็นก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการก้าวเดินไปข้างหน้า บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ผนวกความรู้วิชาการ(ความรู้นภากาศ) และความรู้ปฏิบัติการ สร้างสมดุลของสองชุดความรู้และสร้างกระบวนการที่สามารถให้แต่ละคนปลดปล่อยความรู้ปฏิบัติการที่ซ่อนในแต่ละคนออกมาแลกเปลี่ยนกัน พัฒนาขีดความสามารถของคนทำงานทางสังคมไปสู่การเป็นพลังพลเมือง ในปัจจุบัน สุขภาพถูกกำหนดความหมายที่หมายถึงสุขภาวะ คือ ภาวะของมนุษย์ที่สมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม สุขภาพแบบองค์รวมเช่นนี้คำนึงถึงปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งมิติปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบบริการ โครงการนี้จึงนำแนวทางดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็น “หุ้นส่วนความร่วมมือ” ให้ประชาชนสามารถทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของตน ร่วมกันปรับสภาพแวดล้อม และระบบบริการ ในประเด็นปัญหาสำคัญๆ และลดช่องว่างการทำงานของจังหวัดที่มีหน่วยงาน องค์กรต่างๆจำนวนมาก ให้สามารถมารวมตัวกันดำเนินการ ในระดับนโยบาย หากภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาและร่วมประเมินผล จะทำให้การสร้างสรรค์จังหวัดสงขลานั้นเป็นไปได้เร็วขึ้นในอัตราเร่ง ส่วนในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนก็จะเกิดความตื่นตัวที่มากขึ้น เพราะชุมชนคือฐานที่มั่นสุดท้ายของภาคประชาชน การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ชุมชนที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบใหม่ จะทำให้คนรุ่นใหม่มีความหวังกับการอยู่ในชุมชนได้ การที่ภาคส่วนอื่นมาสนับสนุนจะทำให้ชุมชนอยู่ได้จริงอย่างมีคุณภาพในระยะยาว ดังนั้นโครงการนี้จึงจัดขึ้นมาเพื่อเป้าหมายหนุนเสริมภาคประชาสังคมสงขลาสู่การเป็นพลเมือง ได้พัฒนาศักยภาพคนทำงานสู่การเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (change agent) และได้เกิดปฎิบัติการระดับตำบล อำเภอ ผ่านประเด็นร่วมเพื่อร่วมแก้ปัญหาของจังหวัดสงขลา ให้ภาคส่วนวิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐส่วนภูมิภาค หนุนเสริมงานตำบล อำเภอ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและร่วมเคลื่อนประเด็นสำคัญของจังหวัดสงขลาร่วมกัน ๒.แนวทางสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ประกอบด้วย ๒ แนวทาง ภายใต้วิสัยทัศน์สงขลา ๒๐๒๐ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สังคมเป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” สรุปความต้องการจากการระดมความเห็น “เครือข่ายผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมประจำจังหวัด” และ การจัดทำวิสัยทัศน์สงขลา และจากการจัดรับฟังความเห็นของภาคีเครือข่ายเมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ๒.๑ มีชุมชนปฎิบัติการ/เรียนรู้ หนุนสร้างชุมชนเข้มแข็งในระดับตำบล ตำบลภายใต้ประเด็นร่วม “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” จุดเน้นคือ ๑) ตลาดอาหารสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพใช้วัตถุดิบจากพื้นที่ มีคุณสมบัติพิเศษ มีเรื่องเล่ากระตุ้นความสนใจ การพัฒนาระบบมาตรฐาน การเชื่อมโยงกับผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์และแอพพลิเคชั่น) ๒)การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชิงวัฒนธรรม “สังคมเป็นสุข” จุดเน้นคือ ๑) การดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ คนยากลำบาก (กลยุทธ์ : ระบบข้อมูลกลาง กองทุนกลาง เพื่อให้ชุมชนดูแลผู้สูงอายุและคนพิการ คนยากลำบาก สร้างสังคมอารยะ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน) “สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” จุดเน้นคือ ๑) การจัดการขยะจากแหล่งกำเนิด: (กลยุทธ์ : ห้องเรียนสวนผักคนเมือง ธรรมนูญทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล การจัดการขยะระดับชุมชน) หมายเหตุ ปี ๖๓ โครงการนี้ขยายผลการดำเนินงานธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาในปี ๒๕๖๒ สนับสนุนการดำเนินการจำนวน ๑๕ ตำบลโดยขยายผลเน้นการนำข้อตกลงที่อยู่ในธรรมนูญตำบลมาสู่การปฎิบัติร่วมกับเครือข่ายในการแก้ปัญหาคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม การจัดการขยะ และการเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคอาหารสุขภาพ ปี ๒๕๖๔ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายตำบลน่าอยู่ ทั้ง ๑๕ ตำบลและตำบลขยายให้ยกระดับการดำเนินงาน เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเชิงประเด็น มีกิจกรรมรับมือโควิด การดูแลกลุ่มเปราะบาง การจัดการขยะเปียก มีการทำกิจกรรมร่วมกันในลักษณะร่วมกันดำเนินการที่มิใช่ต่างคนต่างทำ โดยมีภาคส่วนหน่วยงานเข้ามาเสริมศักยภาพ ปี ๒๕๖๕ เชื่อมโยงเครือข่ายประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาการ นำแนวทางการขับเคลื่อนจากเวทีงานวันพลเมือง มาร่วมดำเนินการในลักษณะการบูรณาการความร่วมมือและสร้างนวตกรรมในโครงการต้นแบบได้แก่ การพัฒนาผู้ดูแลที่บ้าน การใช้แอพฯ iMedCare ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การเชื่อมโยงผู้ผลิต ส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล การรับมือโควิด ปี ๒๕๖๖ หนุนเสริมภาคประชาสังคมทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน วิชาการ อปท.ในระดับเมือง ได้แก่ เมืองหาดใหญ่ เมืองบ่อยาง เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ สร้างปฎิบัติการต้นแบบในการทำเกษตรและอาหารสุขภาพ การส่งเสริมป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มเปราะบาง การลดความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพ ๒.๒ การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ผลักดันข้อเสนอนโยบายสาธารณะระดับจังหวัดเพื่อการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา ๒๐๒๐ ผ่าน “วันพลเมืองสงขลา”(กลยุทธ์: เวทีสาธารณะ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง การจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม สื่อสารสาธารณะ) ในประเด็นหลักได้แก่ การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เอื้อต่อสุขภาพจังหวัดสงขลา การดูแลช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุหลังโควิด และการจัดการความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อสุขภาพ เป็นต้น ๓. สร้างกลไกกลาง เสริมการทำงานในลักษณะแนวราบ รวมเครือข่าย หลากหลาย เป็นพี่เป็นน้อง เป็นหุ้นส่วน ยืดหยุ่น ไม่แข็งตัว ไม่ขึ้นตรงต่อกัน เพื่อเชื่อมโยงการทำงานกับภาคส่วนต่างๆอย่างเป็นทางการ มีการเจอกันสม่ำเสมอ มีวาระของกลุ่มต่างๆได้พบกันตามความเหมาะสม เชื่อมโยงภาคีอื่นๆ สัญจร ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ มีระบบฐานข้อมูลร่วม สื่อสารสาธารณะร่วม โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นกองเลขาประสาน เหล่านี้จึงเป็นโอกาสของโครงการนี้ที่จะใช้พลังพลเมืองในการหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมีการดำเนินงานในลักษณะ “บูรณาการ” และเป็น “หุ้นส่วน” คิดร่วม แล้วร่วมกันดำเนินการในบางกิจกรรม กระจายความรับผิดชอบไปตามเครือข่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
200,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2566 16:03 น.