directions_run

โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
มูลนิธิชุมชนสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้กับกลุ่มเปราะบางทางสังคม ได้แก่ เด็กนอกระบบ แรงงานนอกระบบ คนพิการ ผู้สูงอายุ พัฒนากลไกการดูแลการศึกษาในส่วนเด็กนอกระบบ เพิ่มรายได้ และการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานในกลุ่มประชากรแฝง และแรงงานนอกระบบ กิจกรรมจากระบบข้อมูลกลางเพื่อการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานและปัจจัย 4 อันเป็นคุณภาพชีวิตพื้นฐานของผู้สูงอายุ คนพิการ คนยากลำบาก

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตนพิการ 1,000 -
เด็กนอกระบบ 100 -
แรงงานนอกระบบ 200 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับจังหวัดสงขลา มุ่งเน้นการพัฒนาและขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัด รองรับผลกระทบหลังวิกฤตโควิดในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สืบเนื่องจากมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมจังหวัดสงขลา รายงานปี 256 3 มีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ 233,733 ล้านบาท ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภาคใต้ ใหญ่เป็นลำดับที่ 15 ของประเทศ ภาคสาขาการผลิตหลัก จังหวัดสงขลาโครงสร้างการผลิตหลักคือสาขาอุตสาหกรรม โครงสร้างเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติ 27.61 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการแปรรูปภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยาง 20.70 เปอร์เซ็นต์ อุตสาหกรรมอาหาร 19.18 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ 10.69 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรมปี 63 การขยายตัวเพิ่มขึ้น ภาคการเกษตรจังหวัดสงขลาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 48 เปอร์เซ็นต์เป็นการผลิตยางพารา ซึ่งยางพารามีปริมาณผลผลิตมากเป็นอันดับสองของภาคใต้รองจากสุราษฏร์ธานี ในส่วนของการผลิตพืชผัก 18 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นอันดับสองของการผลิต การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 13 ผลไม้ 7 % โค 3 สุกร 3 % ข้าว 2 เปอร์เซ็นต์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจย้อนหลัง 5 ปี จังหวัดสงขลามีภาคเกษตรมีแนวโน้มหดตัว 2.47 ในขณะที่สัดส่วนคนจนและความเหลื่อมล้ำ คิดเป็น 6.0 % และช่วงโควิดเพิ่มขึ้น 6.66% แนวโน้มคนจนเพิ่มขึ้น เหตุผลสำคัญคือได้รับผลกระทบจากโควิด การจ้างงานลดลง ทำให้คนจนพึ่งพาสินค้าที่สูงขึ้นในการดำรงชีพ ความเหลื่อมล้ำกลุ่มคนรวยและผู้มีรายได้น้อย ค่าความเหลื่อมล้ำแม้จะต่ำกว่าระดับประเทศ คือ 0.43 % ประกอบกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากร และเกิดความเสี่ยงจากอุทกภัยมากขึ้นไปด้วย และการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในทุกรูปแบบ ระบบออนไลน์ทุกชีวิต รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกระแสการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของอุตสาหกรรมอาหารและการดูแลสุขภาพ โดยต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา โดยอาจนำโมเดล BCG มาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้จังหวัดสงขลา นับแต่ปี 2557 เกิดความร่วมมือภายใต้ 15 ภาคีบริหารจัดการ โดยมีองค์กรหลักๆ ได้แก่ จังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา มูลนิธิในเครือของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาพันธ์สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมจัดทำ “วิสัยทัศน์สงขลา 2570” โดยมียุทธศาสตร์สำคัญได้แก่ การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมเป็นสุข คณะทำงานได้นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และสืบเนื่องจากการขับเคลื่อนงานในปี 2565 กำหนดเป้าหมายการร่วมพัฒนาสงขลาใน 5 ปีข้างหน้า โครงการในปี 2566 จึงนำแนวทางดังกล่าวมาดำเนินงาน 2. ผลการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะประเด็น มีความก้าวหน้า ดังนี้ Theme หลักของปี 2564 คือ Songkhla Smart&Green สงขลาปลอดภัยอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยเป้าหมายและผลดำเนินงานดังนี้ 1.ด้านสุขภาพ ร่วมขับเคลื่อน “สงขลาในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19” 2.ด้านเศรษฐกิจ ร่วมขับเคลื่อน “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในวิกฤตโควิด-19” 3.ด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อน “การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืนในวิกฤตโควิด-19” 4.ด้านสังคม ร่วมขับเคลื่อน “การดูแลสังคมเป็นสุขในวิกฤตโควิด-19” 5.ด้านการเมือง ร่วมขับเคลื่อน “สำนึกพลเมืองภาวะวิถีใหม่” ผลการดำเนินงาน 1)ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดเริ่มลดความรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะปกติ และสงขลาเป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว สามารถเปิดเมือง เปิดด่านรับการท่องเที่ยวสร้างรายได้ ร่วมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน Songkhla walletช่วยลดรายจ่าย เพิ่มภูมิต้านทานด้วยแนวคิดสหกรณ์ มีการ MOU ระหว่างบ.เคแอนด์เคซุปเปอร์ค้าส่ง สหกรณ์จังหวัด/สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์บริการในพื้นที่หาดใหญ่ ร่วมกับสหกรณ์จังหวัด/เกษตรจังหวัดสนับสนุนเกษตรกรผ่าน Platform iGreensmile ส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัยผัก ผลไม้ ข้าวสู่รพ. โรงแรม ร้านอาหาร 2)5 เมืองสำคัญ มีการประเมินความเปราะบางของเมืองที่มีต่อการเกิดสาธารณภัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ เมืองหาดใหญ่ เมืองบ่อยาง เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ นำไปสู่ข้อเสนอแนะความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหลายภาคส่วน ยกตัวอย่าง เมืองหาดใหญ่ Sandbox ร่วมดำเนินการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด 19 ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน ประชาสังคม ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม เมืองสงขลา ร่วมช่วยเหลือกลุ่มคนจนเมืองลดผลกระทบจากโควิดใน 21 ชุมชน ได้ร่างแผนปฎิบัติการดูแลคุณภาพชีวิต 10 ชุมชนริมทางรถไฟหาดใหญ่ร่วมกับทน.หาดใหญ่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การพัฒนาระบบดูแลคนพิการ ทม.คลองแห/ทต.กำแพงเพชร และการใช้ระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home ในพื้นที่ 6 ตำบล 3)มีการทำงานร่วมกันระดับเมืองในการแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ระหว่างชุมชน พอช. อปท. มีระบบข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com ในการบูรณาการงานคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยในภาวะพึ่งพิงระหว่าง อบจ. สสจ. พมจ.และมูลนิธิชุมชนสงขลา ดำเนินการได้แล้วในระยะที่ 1 ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยที่บ้าน ผ่านPlatform iMedCare ในเขตเมือง ได้Platform iMedCare พร้อมใช้งาน นำเสนอเข้าแผนของพมจ. ได้ HCG ผู้ดูแลที่บ้าน จำนวน 120 คนผ่านการอบรม พัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับตำบล เสริมระบบ LTC โดยวิสาหกิจเพื่อชุมชนนำร่องในพื้นที่ทต.ปริก ทต.พะตง ทั้งนี้ได้นำเสนอผลดำเนินงานดังกล่าวในงานวันพลเมืองสงขลาปี 2565 และเกิดความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม จากมติงานวันพลเมืองสงขลา ปี 2565 ที่มีประเด็นหลักของงานคือ 15 ปีวิสัยทัศน์สงขลา ณ วันที่ 27-28 กันยายน 2565 มีผู้เข้าร่วมนำเสนอผลดำเนินงานเพื่อร่วมรับมือวิกฤตโควิดและการพัฒนานโยบายสาธารณะในมิติต่างๆ 28 องค์กร มีผู้เข้าร่วม 200 คน รูปแบบ onsite จำนวน 150 คน online 50 คน นำเสนอกรณีศึกษาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 4 เรื่อง จุดเน้นด้านอาหารสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จุดเน้นการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวน 5 เรื่อง ด้านสังคมเป็นสุข 4 เรื่อง จุดเน้นการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส มีการวางเป้าหมายการดำเนินงานในอีก 5 ปีข้างหน้า ในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมเป็นสุข ประกอบด้วยเป้าหมายและข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะดำเนินการ 14 เป้าหมายร่วม ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1.ยกระดับสงขลาสู่เมืองมรดกโลก 2.สงขลาเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารดีมีมาตรฐาน และปลอดภัย 3.สงขลาเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียน 4.สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์เมืองแห่งอาหารปลอดภัย 5.การคุ้มครองอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน 6.เพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ 7.ลดมลภาวะเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในเขตเมือง 8.เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก 9.เมืองรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้ระบบนิเวศ 10.ลดปริมาณขยะ ด้านสังคมเป็นสุข 11.สร้างธุรกิจเพื่อชุมชน เพิ่มอาสาสมัครเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพสังคม รองรับสังคมสูงวัย 12.ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 13.เมืองแห่งความปลอดภัย 14.เมืองสร้างสรรค์สุขภาพ
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สงขลา place directions
สงขลา ในเมือง place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
100,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 15:09 น.