directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ตำบลหนองธง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมปฐมนิเทศ 16 ก.พ. 2566 16 ก.พ. 2566

 

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.15 น. เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมสันทนาการ
09.15-09.30 น. เปิดการประชุม กล่าวมอบนโยบายการส่งเสริมสุขภาพประชาชนภายใต้แผนงานร่วมทุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง โดยนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง 09.30-10.30 น. แนวทางการบริหารจัดการโครงการ การเงิน และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนายเสนีย์ จ่าวิสูตร
10.30-10.45 น. การจัดทำรายงานผ่านระบบ โดย นายอรุณ ศรีสุวรรณ
10.45-12-00 น. ปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบ และทดลงจัดทำรายงานผ่านระบบ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ 12.00-13.00 น. พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00-13.30 น. ความสำคัญของการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด โดยนายไพฑูรย์ ทองสม 13.30-14.30 น. แบ่งกลุ่มย่อ ออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด 14.30-15.00 น. ลงนามความร่วมมือตามข้อตกลงร่วมโครงการ 15.00-15.30 น. สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 15.30 น. ปิดการประชุม

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมกิจกรรมจำนวน 2 คน ผลลัพธ์ ตัวแทนเข้าร่วมการปฐมนิเทศของโครงการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของ รพ.สต. คณะผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงิน การเบิก การคุมเงิน การจัดทำรายงานและสามารถจัดทำเอกสารการเงินได้ รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานผ่านระบบเว็บไซต์ happynetwork ได้

 

รับเช็คเงินสดเงินอุดหนุนโครงการ 22 มี.ค. 2566 22 มี.ค. 2566

 

ผู้รับผิดชอบโครงการรับเอกสารและเช็คเงินสดงวดแรกที่ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง และดำเนินการฝากเงินที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาป่าบอน

 

ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 1 คน เป็นผู้รับผิดชอบ ผลลัพธ์ ได้รับเงินในการดำเนินการกิจกรรมงวดแรก จำนวน 53,200 บาท เพื่อใช้จ่ายในการทำกิจกรรมของโครงการ ทางผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเช็คที่ได้รับเข้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาป่าบอน ชื่อบัญชี โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ตำบลหนองธง ในวันที่ 24 เมษายน 2566 และได้เบิกเงินเพื่อดำเนินกิจกรรม ครั้งที่ 1 จำนวนเงิน 8,000 บาท

 

จัดจ้างทำป้ายประกอบโครงการ 9 พ.ค. 2566 9 พ.ค. 2566

 

จัดทำป้ายไวนิล โครงการ ขนาด 200 x 400 ซม. จำนวน 1 แผ่น เป็นเงินจำนวน 1,200 บาท เพื่อติดไว้ที่ห้องประชุม และสถานที่จัดกิจกรรม

 

ได้ป้ายชื่อโครงการ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2566” เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้กับบุคคลทั่วไป และให้สอดคล้องกับคู่มือการดำเนินงานแผนงานร่วมทุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 1) 25 พ.ค. 2566 25 พ.ค. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 08.30 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 10.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านเหมืองตะกั่ว พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 10.30 - 11.30 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี 11.30 - 12.00 น. - แจกเสื้อให้กับผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกลุ่มตามสี

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน ผลลัพธ์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติใช้ในหมู่บ้าน - ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 1 ประกอบด้วย
ประธาน นางฝาติมะ มากกราย รองประธาน นายเต็บ เภอเกลี้ยง กรรมการ นางยาริหย๊ะ ปาร์เด็ม ผู้สูงอายุได้เสื้อสีตามกลุ่ม เพื่อสวมใส่ในวันที่เข้าร่วมโครงการ

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 2) 25 พ.ค. 2566 25 พ.ค. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 13.00 - 13.15 น. ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
13.15 - 13.30 น. เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 13.30 - 14.30 น. จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 14.30 - 15.30 น. แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี 15.30 - 16.30 น. แจกเสื้อให้กับผู้สูงอายุ แบ่งเป็นกลุ่มตามสี

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน ผลลัพธ์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน - ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 2 ประกอบด้วย
ประธาน นายสนิท ก้อนทอง รองประธาน นางตะหล๊ะม๊ะ มิกาศ
กรรมการ นางมาชิเต๊าะ หลำชุจก ผู้สูงอายุได้เสื้อสีตามกลุ่ม เพื่อสวมใส่ในวันที่เข้าร่วมโครงการ

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 3) 1 มิ.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 08.30 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 10.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 10.30 - 12.00 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี
ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 32 คน ผลลัพธ์ 1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ ใช้ในหมู่บ้าน       2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 3 ประกอบด้วย
        ประธาน นายเพิ่ม ศรีชูทอง         รองประธาน นางสุจิน ผลาญไกรเพชร         กรรมการ นายประภาส ปานเขียว

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 4) 1 มิ.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 13.00 - 13.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
13.15 - 13.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 13.30 - 14.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 14.30 - 16.30 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี
ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน ผลลัพธ์  1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน       2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 4 ประกอบด้วย
        ประธาน นางสมปอง จันทร์ฉาย         รองประธาน นางประจวบ จันทร์เทพ         กรรมการ นางกฤษณา เอียดแก้ว

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 5) 8 มิ.ย. 2566 8 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 08.30 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 10.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 10.30 - 12.00 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน เข้าร่วมโครงการ 40 คน ผลลัพธ์ 1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน 2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 5 (บ้านหลักสิบ) ประกอบด้วย
ประธาน นายเพียร อินทระนก รองประธาน นายวัฒนา สรวงศิริ กรรมการ นายสิน คงศรีทอง

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 6) 8 มิ.ย. 2566 8 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 13.00 - 13.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
13.15 - 13.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 13.30 - 14.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 14.30 - 16.30 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี
ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน ผลลัพธ์ 1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน       2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 6 (บ้านเขาจันทร์) ประกอบด้วย
        ประธาน นางปราณี หนูถิน         รองประธาน นางปลื้ม เรืองรักษ์         กรรมการ นางห้อง แก้วมงคล

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 7) 13 มิ.ย. 2566 13 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2566 08.30 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 10.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 8 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 10.30 - 12.00 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน ผลลัพธ์ 1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน     2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ประกอบด้วย
      ประธาน นางสุพล ลอยลิบ       รองประธาน นางสมจิตร แก้วบุญส่ง       กรรมการ นางปราณี ด้วงรัตน์

 

กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (ครั้งที่ 8) 13 มิ.ย. 2566 13 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2566 13.00 - 13.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
13.15 - 13.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 13.30 - 14.30 น. - จัดประชุมเพื่อเลือกตัวแทนในระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 พร้อมทั้งจัดตั้งกลไกการทำงานของผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน และ สร้างกติกา ข้อตกลงของกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน 14.30 - 16.30 น. - แนะนำ รณรงค์ให้ผู้สูงอายุปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรรับประทานเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ และการสร้างสุขภาพที่ดี
ให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กรอบ 3 อ (อาหาร อารมณ์ดี ออกกำลังกาย) 2 ส (งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 31 คน ผลลัพธ์์ 1. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม เคารพกฎกติกา แสดงความคิดเห็น เสนอแนะและถือปฏิบัติ และใช้ในหมู่บ้าน     2. ได้ตัวแทนผู้สูงอายุระดับหมู่ที่ 9 ประกอบด้วย
    ประธาน นายดำรงค์ ทองพุฒ     รองประธาน นางประภา สุวรรณสังข์     กรรมการ นางยุพิน มลยงค์

 

กิจกรรมพัฒนา ศาสนสถาน/พาไปวัด/มัสยิด 20 ก.ค. 2566 20 ก.ค. 2566

 

วันพฤหัสที่ 20 กรกฎาคม 2566 กิจกรรมพัฒนา ศาสนสถาน/พาไปวัด/พาไปมัสยิส 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15- 12.00 น. - ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมพัฒนา ศาสนสถาน ผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาพุทธ ร่วมพัฒนาที่วัดหลักสิบ ม.5 ต.หนองธง นับถือศาสนาอิสลาม พัฒนาที่มัสยิสบ้านหนองธง ม.2 ต.หนองธง โดยมีการกวาดขยะ ล้างสุขา และทำความสะอาดบริเวณวัด บริเวณทั่วๆมัสยิสร่วมกัน

 

ผลผลิต มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม 103 คน
ผลลัพธ์ ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม เป็นการทะนุบำรุงศาสนา เกิดความรักความสามัคคี ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ระหว่างกันและสร้างความผูกพันกัน สร้างการยอมรับในความแตกต่างระหว่างทั้งสองศาสนา ทำให้การดำเนินชีวิต การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข เข้าใจกัน

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการระดับแผนงานร่วมทุนจังหวัดพัทลุง 24 ก.ค. 2566 24 ก.ค. 2566

 

กำหนดการ กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 1 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมทองอินทรา ชั้น 6 โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 09.30 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และเตรียมความพร้อมด้วยกิจกรรมทางกายโดย กลุ่มผู้สูงอายุหมู่ที่ 12 บ้านลานช้าง 09.30 - 10.00 น. พิธีเปิดการประชุมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโดย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข (กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)กล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนฯ) 10.00 - 11.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย ๔ กลุ่มแบ่งกลุ่ม ทบทวนผลลัพธ์รายประเด็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ กลุ่มที่ 1 ประเด็นเยาวชนและครอบครัววิทยากรกระบวนการ ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร บรรจงเมือง และนางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ กลุ่มที่ 2 ประเด็นผู้สูงอายุวิทยากรกระบวนการ นางสาวจิราภรณ์ บุญมาก และ นางสาวจุฑาธิป ชูสง กลุ่มที่ 3 ประเด็นอาหารปลอดภัยวิทยากรกระบวนการ นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู และ นายณัฐพงค์ คงสง กลุ่มที่ 4 ประเด็นกิจกรรมทางกายวิทยากรกระบวนการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ และ นายประเทือง อมรวิริยะชัย 11.00 - 12.00 น. นำเสนอผลการระดมความเห็นกลุ่มย่อย และเติมเต็มให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุน 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 13.30 น. เตรียมความพร้อมกิจกรรมช่วงบ่าย โดยกลุ่มกิจกรรมทางกายผู้หญิงโหล็จังกระ 13.30 - 14.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการ     - การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์     - การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน     - การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคี     - การจัดการด้านการเงิน 14.30 - 15.00 น. สรุปผลการประชุม

 

ผลลัพธ์ มีคณะทำงานร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน ผลลัพธ์ 1. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มพื้นที่ที่รับผิดชอบ   2. เรียนรู้เพิ่มเติมหลังจากเริ่มดำเนินการโครงการการไปแล้วได้ความรู้จากวิทยากรบรรยายสรุปรายการที่ตรวจพบและขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งให้โครงการ

 

กิจกรรมออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน 27 ก.ค. 2566 27 ก.ค. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 12.00 น. - ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน โดยนางสาววิภาดี พรหมทอง ตำแหน่งแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลตะโหมด ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเพื่อการสร้างสุขภาพดี ลดปัญหาการเจ็บป่วย และสนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ ซึ่งจากการวิเคราะห์ ภูมิปัญญาแห่งการรักษาตนเองของไทยในอดีตที่มีจารึกในคัมภีร์สำหรับท่ากายบริหารฤาษีดัดตนที่ใช้ในวันนี้คัดเลือกเป็นตัวอย่าง 7 ท่า ได้แก่
1.ท่าแก้ลมข้อมือ แก้ลมในลำลึงค์ เป็นการบริหารข้อมือ และเพิ่มการขมิบก้น บริหารฝีเย็บ
2.ท่าแก้ปวดท้องปวดข้อเท้า แก้ลมปวดศีรษะ ป้องกันไหล่ติด
3.ท่าแก้ลมเจ็บศีรษะ และตามัว และแก้เกียจ เป็นการบริหารส่วนแขน
4.ท่าดำรงกายอายุยืน เป็นการบริหารส่วนขา
5.ท่าบริหารเอว อก ขา ไหล่ เลือดไหลเวียนดี
6.ท่าแก้ตะคริวมือเท้า เป็นการทดสอบการทรงตัว และบริหารส่วนขา
7.ท่าแก้สะโพกสลักเพชร และแก้ไหล่สะโพกขัด เป็นท่าใช้บริหารไหล่ สะโพก และหลัง

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 103 คน ได้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายการบริหารร่างกายท่าฤาษีดัดตน
ผลลัพธ์ 1. ช่วยในการบำบัดรักษาโรคและอาการนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์แล้ว ท่าฤาษีดัดตนยังสามารถช่วยบำบัดโรคและอาการหลายๆ กรณี เช่น การดัดตนแก้ปวดเข่า การดัดตนแก้ลมปลายปัตฆาต การดัดตนแก้กล่อน เป็นต้น   2. ขจัดความปวดเมื่อย เมื่อยล้าของร่างกายท่าฤาษีดัดตนถือว่าเป็นท่าที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย ใช้สำหรับกายบริหารร่างกาย เพื่อขจัดความปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ หรือสามารถแก้โรคบางอย่างโดยไม่ต้องพึ่งหมอยา หรือหมอนวด และถ้าปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเชื่อแน่ว่าร่างกายจะแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีผลต่อกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว มีประสิทธิภาพ   3. สามารถฟื้นฟูและรักษาสุขภาพฤาษีดัดตนเป็นกายบริหารร่างกายที่ใช้การดัดส่วนต่างๆ ของร่างกายและบริหารระบบลมหายใจ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะสรรถภาพทางการแพทย์ในวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูในส่วนของการบริหารระบบการหายใจด้วยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อและระบบกระบังลม ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติของฤาษีดัดตน ก็เป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดี   4. ทำให้เกิดสมาธิมีหลายท่าของฤาษีดัดตน ถ้าปฏิบัติร่วมกับการกำหนดลมหายใจตามหลักของพระพุทธศาสนา นอกจากจะได้ร่างกายที่สุขภาพดีแล้ว จะได้การปฏิบัติสมาธิควบคู่ไปด้วย ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจเข็มแข็งมีสมาธิเป็นการยกระดับจิตใจให้พ้นจากอารมณ์ขุ่นมัวทั้งหลายทำให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ   5.ช่วยในการบำบัดรักษาโรคและอาการนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์แล้ว ท่าฤาษีดัดตนยังสามารถช่วยบำบัดโรคและอาการหลายๆ กรณี เช่น การดัดตนแก้ปวดเข่า การดัดตนแก้ลมปลายปัตฆาต การดัดตนแก้กล่อน เป็นต้น

 

ตรวจรายงานเอกสารการเงิน 30 ก.ค. 2566 30 ก.ค. 2566

 

นายอรุณ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ติดตามโครงการ ตรวจสอบความคืบหน้าของการทำเอกสารการเงิน  ชี้แจงการจ่ายเงิน  ตรวจสอบรายงานในระบบ happynetwork และการสรุปโครงการ  ให้คณะทำงานทราบและรับรู้ร่วมกัน

 

ผลผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการ (ผอ.รพ.สต.)และ คณะทำงาน เข้าร่วม 10 คน ผลลัพธ์  ตรวจสอบความคืบหน้าของการทำเอกสารการเงิน มีการทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ ฯ ที่รับผิดชอบอยู่ในขั้นใด และมีข้อบกพร่องใด แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัย  ฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับ ชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการเงิน การจัดทำรายงานผ่านเว็บไซด์ ทำความเข้าใจในการเตรียมหลักฐานการเงิน และการลงบันทึกค่าใช้จ่ายกิจกรรมในระบบ

 

กิจกรรมสันทนาการด้วยรำวงย้อนยุค 10 ส.ค. 2566 10 ส.ค. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 ได้จัดกิจกรรมสันทนาการด้วยรำวงย้อนยุค 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 12.00 น. - ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมสันทนาการด้วยรำวงย้อนยุค

 

ผลผลิต มีคณะทำงาน พี่เลี้ยง ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจำนวน 87 คน
ผลผลิต ผู้สูงอายุมีความสนุกสนานที่ได้เต้น ได้ฟ้อนรำ ได้โยกตามจังหวะเสียงเพลงจาก “รำวงย้อนยุค” กิจกรรมสันทนาการดังกล่าวยังช่วยคลายเหงาและลดความว้าเหว่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุในช่วงบั้นปลายของชีวิต ช่วยบำบัด รักษาฟื้นฟู เสริมสร้างสุขภาพสมรรถภาพทางกาย รวมทั้งช่วยลดไขมันในร่างกาย กล้ามเนื้อ ข้อเสื่อม เหน็บชา  ยังช่วยผ่อนคลายสุขภาพจิตให้ดีขึ้น เป็นกิจกรรมที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกแจ่มใสและสดชื่นไปตามจังหวะเสียงเพลงที่สนุกสนาน จึงจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและเกิดความตระหนักตื่นตัว เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เกิดทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์รำวงย้อนยุค

 

สมัชชาพัทลุงแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สสส. 15 ส.ค. 2566 15 ส.ค. 2566

 

ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

 

เนื่องจากติดภารกิจไปร่วมโครงการประชุมวิชาการสมาคมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 “ก้าวสู่ระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ ภายใต้รูปแบบใหม่ระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

กิจกรรมประเมินกลุ่มเป้าหมาย (ครั้งที่ 2) 17 ส.ค. 2566 17 ส.ค. 2566

 

คณะทำงานได้ลงประเมินเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยการสุ่มประเมิน หมู่ละ 3 หลังคาเรือน
1. การปลูกผักสวนครัว
2. สอบถามการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน 3. การมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ภายในครอบครัวและเพื่อนบ้าน 4. สอบถามพฤติกรรมการหลับนอน 5.ผู้สูงอายุมีรายได้เสริม จากการขายผลไม้ ผักสวนครัวปลูกเอง

 

ผลผลิต คณะทำงานประเมินเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ จำนวน 9 หมู่บ้าน ผลลัพธ์ 1.จากการลงประเมินเยี่ยมบ้าน 27 หลัง พบว่า มีการปลูกผืชผักไว้รับประทานเอง จำนวน 25 หลัง อีก 2 หลัง ไม่ได้ปลูกผักรับประทานเองเนื่องจาก บ้านผู้สุงอายุทำสวนผลไม้ จึงไม่มีเวลาปลูกผักข้างบ้าน ตัวอย่างสวนผลไม้ที่ปลูก ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด เงาะ สละ 2.จากการสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวนผู้สูงอายุ 27 คน มีการออกกำลังกาย 15 คน ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เพราะผู้สูงอายุเข้าสวนเพื่อดูแลผลไม้ และขายของตามตลาดนัดช่วงตอนเย็นและตอนเช้า แต่ผู้สูงอายุก็ได้ออกกำลังกายจากการทำสวนและขายของ เพราะได้บริหารร่างกายจากการทำกิจกรรมจากการทำสวน 3. มีการพูดคุย เอาความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง มาให้ความรู้ แนะนำกับเพื่อนบ้าน 4. พฤติกรรมการหลับนอนผู้สุงอายุบอกว่า จากการออกกำลัง ผักสวนครัว การทำสวน ส่งให้ผู้สูงอายุนอนหลับสนิทขึ้น เฉลี่ย 8-9 ชั่วโมง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ ลดการซื้อผักจากการปลูกผักกินเอง มีสุขภาพจิตดีขึ้น หน้าตามีความสุข จากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้สูงอายุก็บอกได้ถึงความสุขนั้น

 

กิจกรรมรวมพลคนสูงวัย 24 ส.ค. 2566 24 ส.ค. 2566

 

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 กิจกรรมรวมพลคนสูงวัย (จัดขบวนพาเรด ,กิจกรรมกีฬาผู้สูงอายุ) 06.00 - 06.30 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
06.30 - 07.00 น. - ตั้งขบวนพาเรด ณ หน้ามัสยิดบ้านหนองธง หมู่ที่ 2 07.00 - 08.00 น. - ปล่อยขบวนพาเรด 08.00 - 09.00 น. - ขบวนพาเรดถึงจุดหมาย หน้าอนามัยหนองธง 09.30 - 12.00 น. - ผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์กีฬาสี

โดยการจัดการแข่งขัน ประกอบด้วย กีฬาพื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์ในการจัดการแข่งขัน คือ 1) เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ และส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่าง ๆ 3) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรักการเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย

 

ผลผลิต 94 คน ได้ข้อสรุปการจัดกิจกรรมรวมพลคนสูงอายุ โดยมีกิจกรรมกีฬาผู้สูงอายุ และกิจกรรมเดินขบวนพาเรด
กิจกรรมขบวนพาเหรดเคลื่อนขบวน เวลา 07.00 น. ณ หน้ามัสยิดบ้านหนองธง หมู่ที่ 2 จุดหมายขบวนหน้าอนามัยหนองธง จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการเคลื่อนขบวน เป็นระยะทาง 800 เมตร โดยนำทีมผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ผู้ใหญ่บ้าน พี่เลี้ยง อสม. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และ เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธง ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลขบวนผู้สูงอายุ เมื่อขบวนเคลื่อนถึงจุดหมาย จะมีเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธง ญาตผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่คอยรับผู้สูงอายุไป ณ ลานกีฬาอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองธง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีผู้สูงอายุ

เพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อความสามัคคี และการลดช่องว่างระหว่างกัน รูปแบบกิจกรรมจะเป็นการแข่งขันกีฬาเป็นทีม ลดความขัดแย้ง รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย สองศาสนามีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแสดงออก สามารถทำกิจกรรมอยู่ร่วมกันได้ สรุปบุคคลต้นแบบ ประเภทผู้ชายและผู้หญิง 1. นายเคลือบ เหตุทอง
2. นางสาวย้าริหย๊ะ ปาร์เด็ม

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 24 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ส่งเอกสารการเงิน 6 ก.ย. 2566 6 ก.ย. 2566

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว ส่งเอกสารการเงินที่ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง

 

ผลผลิต คณะทำงานจำนวน 1 คน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ผลลัพธ์ ส่งเอกสารการเงินเพื่อให้ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อย

 

ประเมินผลการดำเนินงานระดับแผนงานร่วมทุน ครั้งที่ 2 31 ต.ค. 2566 31 ต.ค. 2566

 

กำหนดการ กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 2 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง วันอังคาร ที่ 31 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมเพชรสุกานต์ ชั้น 1 โรงแรมชัยคณาธานี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 09.30 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และเตรียมความพร้อม 09.30 - 10.00 น. พิธีเปิดการประชุมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโดย ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข (กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ)กล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนฯ) 10.00 - 11.00 น. แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม แบ่งกลุ่ม ทบทวนผลลัพธ์รายประเด็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ กลุ่มที่ 1 ประเด็นเยาวชนและครอบครัววิทยากรกระบวนการ ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร บรรจงเมือง และนางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ กลุ่มที่ 2 ประเด็นผู้สูงอายุวิทยากรกระบวนการ นางสาวจิราภรณ์ บุญมาก และ นางสาวจุฑาธิป ชูสง กลุ่มที่ 3 ประเด็นอาหารปลอดภัยวิทยากรกระบวนการ นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู และ นายณัฐพงค์ คงสง กลุ่มที่ 4 ประเด็นกิจกรรมทางกาย วิทยากรกระบวนการ นายอรุณ ศรีสุวรรณ และ นายประเทือง อมรวิริยะชัย 11.00 - 12.00 น. นำเสนอผลการระดมความเห็นกลุ่มย่อย และเติมเต็มให้ข้อเสนอแนะโดยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุน 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 13.30 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และเตรียมความพร้อม 13.30 - 14.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการ - การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์ - การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน - การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคี - การจัดการด้านการเงิน 14.30 - 15.00 น. สรุปผลการประชุม

 

ผลลัพธ์ มีคณะทำงานร่วมกิจกรรมจำนวน 3 คน ผลลัพธ์ 1. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มพื้นที่ที่รับผิดชอบ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ อาหารปลอดภัย มีการแลกเปลี่ยนกิจกรรม การสื่อสารแบบออนไลน์ (มีเน็ตไอดอล) มีการสัมพันธภาพเพิ่มมากขึ้นในครอบครัว และการตระหนักรู้ในการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น 2. เรียนรู้และทบทวนผลลัพธ์เพิ่มเติมหลังจากเริ่มดำเนินการโครงการการไปแล้ว 3. ได้ความรู้จากวิทยากรบรรยายสรุปรายการที่ตรวจพบและขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อส่งให้โครงการ 4. ได้ความรู้แต่ละกลุ่มโครงการที่ร่วมกับ สสส. เช่น กลุ่มอาหารปลอดภัย เด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ เกี่ยวกับ เป้าหมาย ปัญหา และอุปสรรค 5. ได้ความรู้วิธีการดำเนินการในระยะปิดโครงการ มีการจัดทำรายงานในระบบ

 

กิจกรรมประชุมถอดบทเรียน 4 ธ.ค. 2566 4 ธ.ค. 2566

 

กำหนดกิจกรรม ประชุมถอดบทเรียน เวลา 14.00 - 16.00 น. วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ติดตามโครงการ และตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี 3. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ
4. โครงการ Environment Youth Junior (เด็กแวดล้อม) รุ่นที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ ชี้แจงและอธิบายเนื้อหา ข้อมูลเชิงวิชาการในตัวของโครงการที่ประสบความสำเร็จจากการจัดโครงการ เพื่อใช้นำเสนอผลงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ในกิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และจัดบูธนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการ ในวันที่ 19 ธันวาคม2566 โดยให้ผู้ร่วมดำเนินโครงการจัดบูธนิทรรศการ

 

ผลผลิต มีตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 4 โครงการ ผลลัพธ์ ได้แนวทางการจัดบูทนิทรรศการในการแสดงผลงานของโครงการ แนวทางการจัดซุ้ม เนื้อหาการเสนอผลงาน ข้อมูลเชิงวิชาการ รูปแบบการนำเสนอผลงาน เพื่อนำไปประกอบในกิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

กิจกรรมรวมพลคนสามวัย 19 ธ.ค. 2566 19 ธ.ค. 2566

 

กิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง 12.30-13.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน 13.00-13.15 น.พิธีเปิดกิจกรรม เปิดงานโดยประธานคณะกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง กล่าวรายงานโดยเลขานุการคณะกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง 13.15-13.30 น. พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ขอรับทุนที่มีผลงานโดดเด่นและคณะทำงานสนับสนุนวิชาการขับเคลื่อนแผนงานร่วมทุนฯ 13.30-14.00 น. รวมพลคนสามวัยออกกำลังกาย ขยับกาย สบายชีวี ด้วยการเต้นบาสโลป นำออกกำลังกายโดยผู้ขอรับทุนจำนวน 6 ทีม 1. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ช่วงวัย ด้วยบาสโลป ไลน์แด๊นท์ และรำไทย สอนบ้านควนปอม 2. โครงการส่งเสริมการขยับกายในชุมชน ตำบลชะรัด 3. โครงการส่งเสริมสุขภาพทางกายและใจในผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๗ บ้านลานช้าง 4. โครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง 5. โครงการกิจกรรมทางกายสร้างสรรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า 6. โครงการผู้หญิงออกกำลังกายสู้โรคที่ชุมชนโหละจันกระ

14.00-15.00 น. คณะกรรมการบริหารฯ ทีมสนับสนุนวิชาการ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมบูธนิทรรศการซึ่งจัด โดยหน่วยงานผู้ขอรับทุนและแผนงานร่วมทุน จำนวน 31 บูธ ประกอบด้วย 1. โครงการครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวกตำบลนาท่อม 2. โครงการเสริมสร้างพลังชีวิต กู้สุขภาพจิตผู้สูงวัย ตำบลหารเทา 3. โครงการกิจกรรมทางกายสร้างสรค์ใช้เวลาร่วมกันของคนบ้านควนนกหว้า 4. โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ตำบลหนองธง 5. โครงการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี 6. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย 2 ช่วงวัย ด้วยบาสโลป ไลน์แด๊นท์ และรำไทย สอนบ้านควนปอม 7.โครงการผู้หญิงออกกำลังกายสู้โรคที่ชุมชนโหลีะจันกระ 8. โครงการ Environment Youth Junior (แด็กแวดล้อม) รุ่นที่ 1 9. โครงการการจัดการคนบริโภคผักไม่ปลอดภัย หมู่ที่ 12 บ้านปากทางเกาะทองสม 10.โครงการส่งเสริมสุขภาพทางกายและใจในผู้สูงอายุ หมู่ที่ 7 บ้านลานช้าง 11.โครงการพัฒนาเครือข่ายดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลฝาละมี 12.โครงการส่งเสริมการขยับกายในชุมชน ตำบลชะรัด 13.โครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้สูงอายุบ้านทุ่งเลียบ 14.โครงการครอบครัวรอบรู้ส่งเสริมเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ บ้านควนปอม ตำบลท่าแคอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 15..โครงการส่งเสริมความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการสุขภาพเด็กและเยาวชน อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 16.โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนตำบลพญาขัน 17.โครงการส่งเสริมการบริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 18.โครงการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรในองค์กร สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง 19.โครงการรักอย่างปลอดภัย ห่างไกลเอดส์ 20.โครงการพลัง อสม.ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตปลอดภัย สร้างกำไรสู่ชุมชน 21.โครงการสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน บ้านควนกุฎ 22.โครงการลดความรุนแรงในครอบครัวตำบลโคกม่วง 23.โครงการตลาดนัดเด็กและเยาวชนตะแพน 24.โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 25.โครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง 26.โครงการถ้ำเขากลางสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตำบลปันแต 27.โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยใส่ใจรักสุขภาพตำบลบ้านนา 28.โครงการสิ่งแวดล้อมที่ดี วิถีเยาวชน ตำบลบ้านพร้าว 29.โครงการเสริมสร้างวัคนชีวิตแก่เด็กเยาวชนและครอบครัวในยุควิถีชีวิตใหม่ 30.แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง 31.บูธแสดงผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรของชาวจังหวัดพัทลุงโดยศูนย์ OTOP อบจ. พัทลุง 15.00-16.00 น. เสวนา "แนวทางการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง" - สถานการณ์โรคและปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง - แนวโน้มการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพของคนพัทลุง - แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนพัทลุง โดย 1. นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร หรือผู้แทน 2. นางเข็มพชร เลนะพันธ์ หรือผู้แทน 3. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง หรือผู้แทน 4. นายสมคิด ทองสง 5. นายนิยุติ สงสมพันธุ์ ดำเนินการเสวนาโดย นายไพฑูย์ ทองสม

16.00-17.00 น. กิจกรรม ช้อป ชม ชิม ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยจากชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง - ซุ้มอาหารปลอดภัยจากหน่วยงานผู้ขอรับทุน - ซุ้มอาหารว่างจากแผนงานร่วมทุน 1. ซุ้มข้าวยำสมุนไพร 2.ซุ้มเมี่ยงคำสมุนไพร 3. ซุ้มเครื่องดื่มสมุนไพร 4. ซุ้มขนมปำาน้ำตาลโตนด 5. ซุ้มหมี่กะทิทรงเครื่อง/หมี่หุนตำนาน 6. ซุ้มสลัดปักษ์ใต้เพื่อสุขภาพ 7. ซุ้มของนักเรียนโรงเรียน อรว. 8. ซุ้มของนักเรียนโรงเรียน อรว. 9.ซุ้มของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) 10.ซุ้มของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่แค (วันครู 2500)

 

มีคณะทำงานร่วมกิจกรรม และผู้ร่วมโครงการ 21 คน (คณะทำงาน 4 ตน) ผลลัพธ์ 1. ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันในกลุ่มพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ ผลงานต่างๆ การจัดซุ้มตามโครงการด้วยวัสดุสิ่งของอุปกรณ์ตามท้องถิ่นของโครงการนั้น ๆ 2. ช่วยกระตุ้นความสนใจ และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องที่ได้ดูจากนิทรรศการ 3. มีแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขงานของโครการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะทำงาน และผู้เข้าร่วมโครงการจากการได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

อีกหนึ่งผลลัพธ์คือ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพที่ตำบลหนองธง ได้รับเกียรติบัตรเป็นโครงการที่มีผลงานโดดเด่น มีคณะทำงานพร้อมด้วยผู้สูงอายุพี่เลี้ยง และอสม.เข้าร่วมกิจกรรมและถ่ายรูปแสดงความยินดี เป็นผลงานที่ได้รับเกียรติ และภาคภูมิใจ เพราะเป็นสายงานการทำงาน ความสำเร็จของโครงการส่งผลด้านสุขภาพทางกาย ทางด้านจิตใจ และทางด้านสังคม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมอยู่ร่วมกันได้ และต้องขอบคุณสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ให้โอกาสโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธงเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการดีๆๆ ในครั้งนี้

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 1) 24 เม.ย. 2566 24 เม.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 24 เมษายน 2566 13.00 -15.00 น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง พร้อมด้วยคณะทำงานร่วมประชุมจัดประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ 18 คน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบรายละเอียดขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน

  1. ร่วมคิด แลกเปลี่ยน ออกแบบการจัดทำข้อมูลการจัดทำข้อมูล ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกัน มีดังนี้ 1) คัดกรองความดันโลหิต 2) น้ำหนัก/ส่วนสูง/รอบเอว 3) ค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด หลังงดน้ำอาหาร 8 ชั่วโมง 4) ตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. วางแผนและติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ
  3. ประสานงานกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม
  4. วางแผนในการมอบหมายหน้าที่การตรวจคัดกรองประวัติส่วนตัวของผู้สูงอายุ
  5. สรุปและบันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัวของผู้สูงอายุ

 

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 18 คน ผลลัพธ์ 1. ได้รูปแบบการเก็บข้อมูลและมอบหมายงานการเก็บข้อมูลให้กับ อสม. ที่ดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุ 2. ได้มีการติดต่อสื่อสารกลุ่มผู้สูงอายุ ผ่านไลน์กลุ่มผู้สูงอายุ ไลน์กลุ่ม อสม. ผ่านพี่เลี้ยง อสม. และแกนนำหมู่บ้านผู้สูงอายุ 3. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองประวัติสุขภาพ อย่างรวดเร็ว เพราะมี อสม. กับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบประจำจุดให้บริการ 4. มีการบันทึกประวัติส่วนตัวของผู้สูงอายุในระบบ jhcis-client (ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ) และมีการบันทึกข้อมูลลงสมุดส่วนตัวที่ทาง รพ.สต. จัดทำขึ้นของแต่ละคน

 

ประชุมค้นหาคณะทำงาน 25 เม.ย. 2566 25 เม.ย. 2566

 

จัดประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 41 คน มีคณะทำงานเจ้าหน้าที่ รพ สต. อสม. พร้อมกันทั้ง 9 หมู่บ้าน รับทราบวัตถุประสงค์และเป้าหมายโครงการ สร้างความเข้าใจที่มา และวัตถุประสงค์ของโครงการ ได้รับงบประมาณสนันสนุนจาก สสส. โดยมีนายอรุณ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ติดตามโครงการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบรายละเอียดขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลการเงิน ข้อมูลสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ กำหนดรายละเอียดดังนี้ 1. เชิญภาคีเครือข่ายในพื้นที่มาร่วมประชุมทำความเข้าใจ (โรงพยาบาลป่าบอน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองธง วัดหลักสิบ วัดหนองนก มัสยิดบ้านหนองธง โรงเรียนบ้านหนองธง โรงเรียนบ้านเหมืองตะกั่ว) 2. รับสมัครคณะทำงานร่วม/พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน แบ่งเป็นกลุ่มๆ
3. จัดทำกติกาข้อตกลงในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะ /ปัญหา / อุปสรรค
4. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
5. แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบงานในการทำกิจกรรม วางแผนในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการมอบหมายให้คณะทำงานช่วยกันคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรม 6. การจัดเตรียมสถานที่ ได้รับความอนุเคราะห์จาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธงในการขนอุปกรณ์ 7.แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามสี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีชุมพู พร้อมทั้งแจกเสื้อ

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้เข้าร่วมโครงการ 41 คน
ผลลัพธ์ 1. คณะทำงานได้รับรู้เรื่องการเงินของโครงการ รับทราบที่มาของเงินงบประมาณสนันสนุนของโครงการ 2. เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างคณะทำงาน อสม. กับเจ้าหน้าที่โครงการ 3. ได้กติกาแนวปฏิบัติระหว่างร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ของโครงการในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
4. ได้แผนงานและรูปแบบการจัดกิจกรรม ตามแผนงานโครงการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 5. ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการทำงานตามความถนัดของแต่ละคน มีการสร้างลายกลุ่มผู้สูงอายุ ไลน์กลุ่ม อสม. เพื่อสะดวกในการติดต่อและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร 6. ได้สถานที่ ณ ลานกีฬาอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองธง เหมาะสำหรับผู้สูงอายุทำกิจกรรม มีอากาศถ่ายเท การเดินทางสะดวก เพราะเป็นจุดศูนย์รวมของตำบลหนองธง 7. ได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธงในการขนอุปกรณ์ต่าง เช่น เก้าอี้ โต๊ะ คูลเลอร์น้ำและอุปกรณ์ต่างๆ ไปยังศาลาเพื่อร่วมโครงการ 8. โดยสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรม มีการแจกเสื้อรุ่น

 

จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 28 เม.ย. 2566 28 เม.ย. 2566

 

เวลา 07.00 – 07.15 น. ลงทะเบียน บันทึกประวัติส่วนตัวของผู้สูงอายุ เวลา 07.15 – 09.00 น. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นผู้สูงอายุ (ชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง,วัดรอบเอว, ตรวจความดันโลหิต, เจาะเลือดปลายนิ้วหาค่าน้ำตาลในเลือด) เวลา 09.00 – 10.30 น. ตรวจสุขภาพช่องปาก จากทันตแพทย์โรงพยาบาลป่าบอน
เวลา 10.30 – 12.30 น. กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ

 

ผลผลิต มีผู้สูงอายุมาตรวจสุขภาพและเจาะเลือด จำนวน 44 คน ผลลัพธ์ 1. ได้ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ ดังนี้   1) เบาหวาน คัดกรอง 44 คน ปกติ 13 คน เสี่ยง 31 คน   2) ความดันโลหิต คัดกรอง 44 คน ปกติ 31 คน เสี่ยง 13 คน   3) สุขภาพช่องปาก คัดกรอง 44 คน ปกติ 28 คน ทำหัตถการต่อเนื่อง 16 คน   2. มีคณะทำงาน (อสม.) ช่วยอำนวยความสะดวก
  3.ได้ให้ความรู้ผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพช่องปาก   4. เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ดังนั้น จากผลการเก็บข้อมูล พบว่า เห็นควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปรับพฤติกรรม ทั้งในเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย ความเครียด เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น และส่งเสริมองค์ความรู้ให้ผู้สูงอายุสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 2) 8 พ.ค. 2566 8 พ.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 13.00 -15.00 น. เรื่องที่ 1 แจ้งผลการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมจัดเก็บข้อมูลสุภาพครั้ง 1 สรุปได้ ดังนี้ 1) เบาหวาน คัดกรอง 44 คน ปกติ 13 คน เสี่ยง 31 คน 2) ความดันโลหิต คัดกรอง 44 คน ปกติ 31 คน เสี่ยง 13 คน 3) สุขภาพช่องปาก คัดกรอง 44 คน ปกติ 28 คน ทำหัตถการต่อเนื่อง 16 คน เรื่องที่ 2 วางแผนการจัดจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมจัดเก็บข้อมูลสุภาพครั้ง 2 เรื่องที่ 3 เรื่องนำเสนอแนวคิดและวิธีการดำเนินงานเตรียมจัดตั้งคณะทำงานหมู่บ้านออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ 1 บ้านเหมืองตะกั่ว หมู่ 2 บ้านหนองธง หมู่ 3 บ้านทุ่งค่าย หมู่ 4 บ้านทุ่งลานช้าง หมู่ 5 บ้านหลักสิบ หมู่ 6 บ้านเขาจันทร์ หมู่ 7 บ้านหนองนก , หมู่ 8 บ้านหอยโข่ง หมู่ 9 บ้านสายกลาง โดยมี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) , กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน , ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมทำกิจกรรมโครงการร่วมกัน

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 23 คน ผลลัพธ์ มีการวางแผน การจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมจัดเก็บข้อมูลสุภาพครั้ง 2 ต่อไป และได้ข้อสรุปวิธีการแนวทางการคัดเลือกคณะทำงานหมู่ที่ 1 บ้านเหมืองตะกั่ว และหมู่ที่ 2 บ้านหนองธง (หมู่ละ 3 คน) ซึ่งประกอบด้วย ประธาน รองประธาน และกรรมการของหมู่บ้าน เพื่อเป็นตัวแทนในการประสานงานต่างๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม

 

จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 2) 11 พ.ค. 2566 11 พ.ค. 2566

 

เวลา 07.00 – 07.15 น. ลงทะเบียนบันทึกประวัติส่วนตัวของผู้สูงอายุ เวลา 07.15 – 09.00 น. ตรวจสุขภาพเบื้องต้้นของผู้สูงอายุ (ชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง,วัดรอบเอว, ตรวจความดันโลหิต, เจาะเลือดปลายนิ้วหาค่าน้ำตาลในเลือด) เวลา 09.00 – 10.30 น. ตรวจสุขภาพช่องปาก จากทันตแพทย์โรงพยาบาลป่าบอน
เวลา 10.30 – 12.30 น. กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ

 

ผลผลิต มีผู้สูงอายุมาตรวจสุขภาพและเจาะเลือด จำนวน 56 คน ผลลัพธ์ 1. ได้แบบเก็บข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ ดังนี้       1) เบาหวาน คัดกรอง 56 คน ปกติ 51 คน เสี่ยง 5 คน       2) สุขภาพช่องปาก คัดกรอง 56 คน ปกติ 20 คน ทำหัตถการต่อเนื่อง 36 คน   2. มีคณะทำงาน (อสม.) ช่วยอำนวยความสะดวก
  3. ได้ให้ความรู้ผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพช่องปาก   4. เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ดังนั้น จากผลการเก็บข้อมูลพบว่าเห็นควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปรับพฤติกรรม ทั้งในเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย ความเครียด เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น และส่งเสริมองค์ความรู้ให้ผู้สูงอายุสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 3) 29 พ.ค. 2566 29 พ.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 13.00 -15.00 น. เรื่องที่ 1 -แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 1 บ้านเหมืองตะกั่ว ประกอบด้วย
ประธาน นางฝาติมะ มากกราย รองประธาน นายเต็บ เภอเกลี้ยง กรรมการ นางยาริหย๊ะ ปาร์เด็ม
- แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 2 บ้านหนองธง ประกอบด้วย
ประธาน นายสนิท ก้อนทอง รองประธาน นางตะหล๊ะม๊ะ มิกาศ
กรรมการ นางมาชิเต๊าะ หลำชุจก เรื่องที่ 2 แจ้งผลการดำเนินงาน (รายงานการเงิน)
เรื่องที่ 3 แจ้งในการจัดกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 4) เรื่องที่ 4 มอบหมายงานและแจ้งที่ประชุมให้เสนอข้อมูลเพี่อการดำเนินงานในกิจกรรม

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 19 คน ผลลัพธ์ ในที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับการเงิน การเบิก การถอน การจ่าย ในแต่ละกิจกรรม   - ได้ข้อสรุป วัน เวลา ในการจัดกิจกรรมคัดเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งค่าย และหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งลานช้าง (หมู่ละ 3 คน) ซึ่งประกอบด้วย ประธาน รองประธาน และกรรมการของหมู่บ้าน เพื่อเป็นตัวแทนในการประสานงานต่างๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 4) 6 มิ.ย. 2566 6 มิ.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 6 มิถุนายน 2566 13.00 -15.00 น. เรื่องที่ 1 - แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งค่าย ประกอบด้วย
ประธาน นางฝาติมะ มากกราย รองประธาน นายเต็บ เภอเกลี้ยง กรรมการ นางยาริหย๊ะ ปาร์เด็ม
- แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งลานช้าง ประกอบด้วย
ประธาน นายสนิท ก้อนทอง รองประธาน นางตะหล๊ะม๊ะ มิกาศ
กรรมการ นางมาชิเต๊าะ หลำชุจก เรื่องที่ 2 แจ้งผลการดำเนินงาน (รายงานการเงิน)
เรื่องที่ 3 แจ้งในการจัดกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุระดับหมู่บ้าน (หมู่ที่ 5 ,6,7, 8 และ 9 )
เรื่องที่ 4 แจ้งวันเวลา รายละเอียด วิธีการ ในกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ) ให้คณะทำงานทราบ เรื่องที่ 5 มอบหมายงานและแจ้งที่ประชุมให้เสนอข้อมูลเพี่อการดำเนินงานในกิจกรรม

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 23 คน
ผลลัพธ์ 1. ในที่ประชุมรับทราบรายงานเกี่ยวกับการเงิน การเบิก การถอน การจ่าย ในแต่ละกิจกรรม 2. ได้ข้อสรุป วัน เวลา ในการจัดกิจกรรมคัดเลือกคณะทำงานหมู่ที่ 5 บ้านทุ่งค่าย หมู่ที่ 6 บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่ 7 บ้านหนองนก , หมู่ที่ 8 บ้านหอยโข่ง และหมู่ที่ 9 บ้านสายกลาง (หมู่ละ 3 คน) ซึ่งประกอบด้วย ประธาน รองประธาน และกรรมการของหมู่บ้าน เพื่อเป็นตัวแทนในการประสานงานต่างๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรม 3.มีการกำหนดกฎกติกาแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับบริบทที่กำหนดไม่กระทบต่อในพื้นที่

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1) 15 มิ.ย. 2566 15 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2566
09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 12.00 น. - ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ " สูงวัยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ 3 อ. 2 ส. " โดยนางสาวพรสวรรค์ สุขรัตน์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

การดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2 ส. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 3 อ. 2 ส. รหัสป้องกันโรค อ.อาหาร รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานมัน เค็ม มากเกินไป อ.ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที อ.อารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิและผ่อนคลายเครียด เช่น ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะเพื่อน ส.ไม่สูบบุหรี่ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง ส.ไม่ดื่มสุรา หรือเแอลกอฮอล์ครื่องดื่มที่มี

 

ผลผลิต คณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน ผู้สูงอายุเ ข้าร่วมโครงการเข้าร่วมจำนวน 52 คน ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ มีความรู้จากวิทยากร ในเรื่อง การดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. ในการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สามารถควบคุม หลีกเลี่ยง อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 2) 16 มิ.ย. 2566 16 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2566
09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 12.00 น. - แนะนำวิทยากร แบ่งกลุ่มตามที่รับผิดชอบ ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ " สูงวัยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ 3 อ. 2 ส. " โดยนางสาวพรสวรรค์ สุขรัตน์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

การดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2 ส. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ 3 อ. 2 ส. รหัสป้องกันโรค อ.อาหาร รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวานมัน เค็ม มากเกินไป อ.ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที อ.อารมณ์ มีการจัดการกับอารมณ์ ฝึกสมาธิและผ่อนคลายเครียด เช่น ฟังเพลง ทำงานอดิเรก พบปะเพื่อน ส.ไม่สูบบุหรี่ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง ส.ไม่ดื่มสุรา หรือเแอลกอฮอล์ครื่องดื่มที่มี ส.ไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

ผลผลิต มีคณะทำงาน พี่เลี้ยง ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ มีความรู้จากวิทยากร ในเรื่อง การดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. ในการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ สามารถควบคุม หลีกเลี่ยง อาหารรสจัด หวาน มัน เค็ม ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

 

กิจกรรมผ่อนคลายด้วยการนวดแผนไทย 22 มิ.ย. 2566 22 มิ.ย. 2566

 

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ) 09.30 - 12.00 น. - ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ " การนวดด้วยตนเอง " โดยนายสมคิด ช่วยนุกูล ประธานชมรมหมอพื้นบ้านอำเภอป่าบอน สอนวิธีการนวดด้วยตนเองให้แก่ผู้สูงอายุ
1.ใช้นิ้วมือข้างขวานวดคลึงบริเวณข้อนิ้วมือ ข้างซ้ายแล้วดึงออกไปในแนวตรง ทำเบาๆให้รู้สึกตึงบริเวณข้อนิ้วมือ คล้ายกับการถอดแหวาน โดยทำทุกข้อนิ้ว การนวด ด้วยวิธีการนี้ จะช่วยให้เส้นเอ็นของข้อนิ้วมือคลายตัว ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก ป้องกันการเกิดนิ้วล็อกได้ 2.ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวานวดคลึงบริเวณหลังมือและฝ่ามือข้างซ้าย จะช่วยกระตุ้นเลือดลมบริเวณฝ่ามือและหลังมือ 3.ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวา นวดบริเวณข้อมือข้างซ้ายทั้งด้านในและด้านนอก กรณีนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบ ๆข้อมือ 4.เหยียดแขนข้างซ้ายตรงไปด้านหน้า พร้อมกับ ใช้มือขวาดัดปลายนิ้วมือข้างซ้ายในลักษณะคว่ำมือและหงายมือตามลำดับ กรณีนี้จะช่วยยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของแขน 5.ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวานวดตามแนวกล้ามเนื้อแขนด้านใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก่ 1) แนวนิ้วหัวแม่มือ 2) แนวนิ้วกลาง และ 3) แนวนิ้วก้อย โดยเริ่มนวดจากแขนท่อนล่างขึ้นมาแขน ท่อนบนและสิ้นสุดบริเวณรักแร้ กรณีนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อแขนด้านใน กระตุ้นเลือดลมให้ไปเลี้ยงที่แขน 6.ใช้นิ้วหัวแม่มือ ข้างขวานวดตามแนวกล้ามเนื้อแขนด้านนอก ในแนวนิ้วกลาง จากข้อมือขึ้นไปสิ้นสุดบริเวณหัวไหล่ กรณีนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อแขนด้านนอก 7.ใช้นิ้วมือข้างขวา (นิ้วชี้, นิ้วกลาง, นิ้วนาง) นวดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกข้างซ้าย กรณีนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อหน้าอก

 

ผลลัพธ์ มีคณะทำงาน พี่เลี้ยง ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน
ผลผลิต ผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนไหว การตบตีบนเส้นลมชี่และจุดบนเส้นลมชี่ มีสรรพคุณในการกระชับข้อต่อ ช่วยให้ข่อต่อมีการเคลื่อนไหวได้คล่องตัว และเพิ่มสมรรถภาพของการเคลื่อนไหว
ขจัดความเหนื่อยล้า ลดอาการปวดเมื่อย การตบตีบนเส้นลมชี่และจุดบนเส้นลมชี่ ทำให้การไหลเวียนของชี่และเลือดไหลเวียนดี ชาวจีนโบราณกล่าวว่า อาการปวดเกิดจากไหลเวียนไม่คล่อง เมื่อการไหลเวียนคล่องก็จะไม่ปวด จึงทำให้การตบตีบนจุดเส้นลมชี่มีสรรพคุณในการลดอาการปวดได้ ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ลดสภาวะเนือยนิ่งได้ ความรู้เกี่ยวกับดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ความเข้าใจการผลิตยาหม่องไพล เป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน และนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้สูงอายุได้ฝึกทดลองสามารถนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 5) 26 มิ.ย. 2566 26 มิ.ย. 2566

 

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 13.00 -15.00 น. ประชุมคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ
เรื่องที่ 1 - แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ที่ 5 บ้านหลักสิบ ประกอบด้วย
ประธาน นายเพียร อินทระนก รองประธาน นายวัฒนา สรวงศิริ กรรมการ นายสิน คงศรีทอง - แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ 6 บ้านเขาจันทร์ ประกอบด้วย
ประธาน นางปราณี หนูถิน รองประธาน นางปลื้ม เรืองรักษ์ กรรมการ นางห้อง แก้วมงคล - แจ้งผลการเลือกคณะทำงาน หมู่ 7 บ้านหนองนก หมู่ 8 บ้านหอยโข่ง ประกอบด้วย
ประธาน นางสุพล ลอยลิบ รองประธาน นางสมจิตร แก้วบุญส่ง กรรมการ นางปราณี ด้วงรัตน์ - แจ้งผลการเลือกคณะทำงานประกอบด้วย หมู่ที่ 9 บ้านสายกลาง ประกอบด้วย
ประธาน นายดำรงค์ ทองพุฒ รองประธาน นางประภา สุวรรณสังข์ กรรมการ นางยุพิน มลยงค์ เรื่องที่ 2 แจ้งกิจกรรมให้ความรู้ในการให้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1และ ครั้งที่ 2) ให้คณะทำงานทราบ เรื่องที่ 3 มอบหมายงานและแจ้งที่ประชุมให้เสนอข้อมูลเพี่อการดำเนินงานในกิจกรรม

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 18 คน
ผลลัพธ์ มอบหมายงานและแจ้งที่ประชุมให้เสนอข้อมูลเพี่อการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ในการประชุม

 

กิจกรรมให้ความรู้ในการให้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1) 29 มิ.ย. 2566 29 มิ.ย. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรม เรียนรู้ทำอาหารสุขภาพ กิจกรรมให้ความรู้ในการให้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1) 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ)
09.30 - 12.00 น. - แนะนำวิทยากร แบ่งกลุ่มตามที่รับผิดชอบ ผู้สูงอายุร่วมรับฟังความรู้การดูแลสุขภาพเท้า ยาหม่องไพล พร้อมกับ 12.30 - 13.00 น. - รับประทานอาหารร่วมกัน 1.เชิญผู้ดูแลผู้สูงอายุมาร่วมประชุมสัมนา 2.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 1. คุณวิภาวดี พรหมทอง
ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ และ 2. คุณบุญญาวีย์ จันทร์เกตุ ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย สังกัดหน่วยงาน โรงพยาบาลตะโหมด 3.ช่วยกันออกแบบวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้อง เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ดูแลเรียนรู้และทำความเข้าใจ ว่า โรคแบบไหน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะแต่ละโรค มีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน 3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีปริมาณแคลเซียมในมวลกระดูกลดลง ตาฝ่าฟาง มองเห็นไม่ชัด และมีความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 4.ให้ความรู้การดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้สูงอายุ โดยการใช้สมุนไพรใกล้ตัว เช่น ผิวมะกรูด ตะไคร้ ไพล ใบมะขาม มาเป็นส่วนผสมในการแช่เท้า เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย 5.ให้ความรู้และและสาธิต วิธีการทำยาหม่องไพล สมุนไพรแช่เท้า เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูอายุ สามารถนำความรู้ไปบอกกล่าวแก่บุคคลรอบข้างได้

 

ผลผลิต มีผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 99 คน
ผลลัพธ์ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ ได้ความรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้สูตรการทำน้ำมันไพลแช่งเท้า และยาหม่องสมุนไพร สามารถทำเอง และนำไปใช้ดูแลสมาชิกในบ้านได้ เป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน  ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรแช่เท้าและการผลิตยาหม่องไพล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การสร้างคุณค่าของสมุนไพรพื้นบ้านให้เกิดรายได้จากการปลูกสมุนไพร และรายได้จากการแปรรูปสมุนไพร

 

กิจกรรมให้ความรู้ในการให้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 2) 30 มิ.ย. 2566 30 มิ.ย. 2566

 

วันศุกร์นี้ 30 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรม เรียนรู้ทำอาหารสุขภาพ กิจกรรมให้ความรู้ในการให้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 2) 09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ)
09.30 - 12.00 น. - ผู้สูงอายุร่วมรับฟังความรู้การดูแลสุขภาพเท้า ยาหม่องไพล พร้อมกับ 12.30 - 13.00 น. - รับประทานอาหารร่วมกัน

1.เชิญผู้ดูแลผู้สูงอายุมาร่วมประชุมสัมนา 2.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ 1. คุณวิภาวดี พรหมทอง
ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ และ 2. คุณบุญญาวีย์ จันทร์เกตุ ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย สังกัดหน่วยงาน โรงพยาบาลตะโหมด 3.ช่วยกันออกแบบวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการสุขภาพ โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้อง เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ดูแลเรียนรู้และทำความเข้าใจ ว่า โรคแบบไหน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะแต่ละโรค มีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน 3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีปริมาณแคลเซียมในมวลกระดูกลดลง ตาฝ่าฟาง มองเห็นไม่ชัด และมีความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 4.ให้ความรู้การดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้สูงอายุ โดยการใช้สมุนไพรใกล้ตัว เช่น ผิวมะกรูด ตะไคร้ ไพล ใบมะขาม มาเป็นส่วนผสมในการแช่เท้า เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย 5.ให้ความรู้และและสาธิต วิธีการทำยาหม่องไพล สมุนไพรแช่เท้า เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูอายุ สามารถนำความรู้ไปบอกกล่าวแก่บุคคลรอบข้างได้

 

ผลผลิต มีคณะทำงาน พี่เลี้ยงในแต่ละหมู่บ้าน ผู้สูงอายุเ ข้าร่วมโครงการเข้าร่วม จำนวน 99 คน
ผลผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ ได้ความรู้และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้สูตรการทำน้ำมันไพลแช่งเท้า และยาหม่องสมุนไพร สามารถทำเอง และนำไปใช้ดูแลสมาชิกในบ้านได้ เป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน  ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุสามารถนำความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรแช่เท้าและการผลิตยาหม่องไพล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การสร้างคุณค่าของสมุนไพรพื้นบ้านให้เกิดรายได้จากการปลูกสมุนไพร และรายได้จากการแปรรูปสมุนไพร

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 6) 3 ก.ค. 2566 3 ก.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 13.00 -15.00 น. พร้อมด้วยคณะทำงานร่วมประชุม สรุปผลการจัดโครงการที่ผ่านมา สร้างความเข้าใจโครงการ
เรื่องที่ 1 สรุปผลการจัดกิจกรรมให้ความรู้สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2) ความรู้เกี่ยวกับดูแลผู้สูงอายุให้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสมุนไพรแช่เท้า และการผลิตยาหม่องไพล เป็นการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในครัวเรือน และนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้สูงอายุได้ฝึกทดลองสามารถนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เรื่องที่ 2 วางแผนการจัดกิจกรรมทำอาหารเพื่อสุขภาพ (ผักปลอดสารพิษที่ผู้สูงอายุปลูกเอง) ตกลงวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารโดยให้ผู้สูงอายุนำผักมาเอง โดยใช้วิธีการให้ผู้สูงอายุเลือกเมนูอาหารจากการโหวต และแบ่งกลุ่มการทำอาหาร ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องอาหารและประโยชน์ของพืชผักท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำอาหาร

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 21 คน
ผลลัพธ์ 1.ผู้สูงอายุได้มีความรู้ในการใช้สมุนแช่เท้า และผลิตยาหม่องไพล่ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
2.มีการวางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำอาหาร มีการมอบหมายการนำผักปลอดสารพิษ (ผักปลูกเอง) นำมาประกอบอาหาร ได้ผลสรุปเมนูอาหารจากการโหวต คือ เมนูแกงกะทิไก่กับหยวก เมนูไข่เจียว เมนูแกงเลียง เมนูน้ำพริก ขนมครก น้ำโอเลี้ยง และน้ำสับปะรด ผู้สูงอายุมีการตกลงแบ่งหน้าที่การนำวัตถุดิบจากที่ปลูกเอง หรือหาได้ในท้องถื่น มาประกอบอาหาร

 

กิจกรรมประเมินกลุ่มเป้าหมาย (ครั้งที่ 1) 6 ก.ค. 2566 6 ก.ค. 2566

 

คณะทำงานได้ลงพื้นที่ติดตามผลประเมินเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยการสุ่มประเมิน หมู่ละ 3 หลังคาเรือน
1. การปลูกผักสวนครัว 2. สอบถามการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน 3. การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน 4.สอบถามพฤติกรรมการหลับนอน

 

ผลผลิต คณะทำงานประเมินเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 15 คน ลงพื้นที่ติดตามผล จำนวน 9 หมู่บ้าน ผลลัพธ์ 1.จากการลงประเมินเยี่ยมบ้าน 27 หลัง พบว่า มีการปลูกผืชผักไว้รับประทานเอง จำนวน 25 หลัง อีก 2 หลัง ไม่ได้ปลูกผักรับประทานเองเนื่องจาก ติดภารกิจเลี้ยงหลาน ตัวอย่างผักที่ปลูกได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง พริก ถั่วฝักยาว แตงกวา ต้นแค ผักบุ้ง มะนาว มะเขือ ผักปลอดสารพิษผักออร์แกนิก พริก และผลไม้ต่างๆ 2.จากการสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวนผู้สูงอายุ 27 คน มีการออกกำลังกาย 23 คน นอกจากนั้นมีการชวนเชิญคนภายในครอบครัวมาร่วมออกกำลังกายด้วยกัน 3. มีการพูดคุย เอาความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง มาให้ความรู้ แนะนำกับเพื่อนบ้าน มีการตรวจสุขภาพให้กับสมาชิกภายในบ้านของผู้สูงอายุ 4. พฤติกรรมการหลับนอนผู้สุงอายุบอกว่า จากการออกกำลัง และปลูกผักสวนครัว ส่งให้ผู้สูงอายุนอนหลับสนิทขึ้น เฉลี่ย 6-8 ชั่วโมง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

 

กิจกรรมทำอาหารสุขภาพ 13 ก.ค. 2566 13 ก.ค. 2566

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 ได้จัดกิจกรรม เรียนรู้การทำอาหารสุขภาพ
09.00 - 09.15 น. - ลงทะเบียนผู้สูงอายุ
09.15 - 09.30 น. - เปิดอบรม (เคราพธงชาติ)
09.30 - 12.00 น. - ผู้สูงอายุร่วมทำอาหารเพื่อสุขภาพ (ผักปลอดสารพิษที่ผู้สูงอายุปลูกเอง) ซึ่งประกอบด้วยเมนูแกงเลียง เมนูแกงกะทิไก่กับหยวก เมนูน้ำพริก เมนูปลาทอด ขนมครก น้ำสับปะรด น้ำโอเลี้ยง และน้ำสละ ซึ่งเป็นเมนูที่ผู้สูงอายุเป็นผู้เลือกจากโหวต 12.30 - 13.00 น. - รับประทานอาหารร่วมกัน

 

ผลผลิต กิจกรรมทำอาหารเพื่อสุขภาพมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 97 คน
ผลลัพธ์ 1. ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน 2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องอาหารและประโยชน์ของพืชผักท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำอาหาร 3. ผู้สูงอายุมีความสุข และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากยิ่งขึ้น 4. ผู้สูงอายุ มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร สามารถคิดเมนูอาหารในการดูแลผู้สูงอายุได้ 5. เพื่อให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด 6. ผู้สูงอายุสามารถใช้พื้นที่เปล่าให้เป็นประโยชน์ 7. ช่วยลดรายจ่าย มีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค และสร้างรายได้เสริม 8. ช่วยสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับหมู่บ้าน 9. การปลูกผักกินเอง ทำให้ผู้สูงอายุบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีสารเคมี อุดมด้วยโภชนาการ 10. เพื่อให้ผู้สูงอายุประกอบอาหารโดยใช้ผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 7) 17 ก.ค. 2566 17 ก.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 13.00 -15.00 น. นายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ พร้อมด้วยคณะทำงาน ร่วมประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ
เรืองที่ 1 สรุปผลกิจกรรมการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยเมนูแกงเลียง แกงกะทิไก่กับหยวก น้ำพริก ขนมครก น้ำสับปะรด น้ำโอเลี้ยง และน้ำสละ
เรื่องที่ 2 วางแผนการจัดกิจกรรมพัฒนา ศาสนสถาน/พาไปวัด/มัสยิด
เรื่องที่ 3 วางแผน ประสานวิทยากรจัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยฤาษีตัดตน

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 18 คน ผลลัพธ์ 1. ผลที่ได้จากกิจกรรมทำอาหารสุขภาพผู้สูงอายุมีความสุข และตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากยิ่งขึ้น   2. ได้ข้อสรุปการจัดกิจกรรมพัฒนา ศาสนสถาน/พาไปวัด/มัสยิด โดยให้ผู้สูงอายุ นำอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ไม้กวาด ไม้ถูพิ้น ถังน้ำ ผ้าขี้ริ้ว เพื่อนำมาทำความสะอาดภายในบริเวณวัดและมัสยิด   3. ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรมโดยนางสาววิภาดี พรหมทอง ตำแหน่งแพทย์แผนไทยปฏิบัติการ โรงพยาบาลตะโหมด เพราะมีความชำนาญด้านแพทย์แผนไทย

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 8) 4 ส.ค. 2566 4 ส.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 -15.00 น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิพงค์ เรืองแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองธง พร้อมด้วยคณะทำงาน่วมประชุมจัดประชุมสร้างความเข้าใจในโครงการ เรื่องที่ 1 สรุปกิจกรรพัฒนา ศาสนสถาน/พาไปวัด/มัสยิด เรื่องที่ 2 สรุปกิจกรรมออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน
เรื่องที่ 3 วางแผนกิจกรรมสันทนาการด้วยรำวงย้อนยุค

 

ผลผลิต คณะทำงาน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 16 คน ผลลัพธ์ 1. ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม เป็นการทะนุบำรุงศาสนา สร้างการยอมรับในความแตกต่างระหว่างทั้งสองศาสนา เกิดความรักความสามัคคี ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ระหว่างกันและสร้างความผูกพันกัน ทำให้การดำเนินชีวิต การทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข เข้าใจกัน       2. ผู้สูงอายุได้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน ช่วยในการบำบัดรักษาโรคและอาการนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์ ขจัดความปวดเมื่อย เมื่อยล้าของร่างกาย ทำให้เกิดสมาธิมีหลายท่าของฤาษีดัดตน สามารถฟื้นฟูและรักษาสุขภาพฤาษีดัดตนเป็นกายบริหารร่างกายที่ใช้การดัดส่วนต่างๆ ช่วยในการบำบัดรักษาโรคและอาการนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง       3. สรุปวางแผนคิดท่าร่ายรำ บทเพลงรำวง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ฟ้อนรำ ได้เต้น คลายความเหงาและลดความว้าเหว่เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย  มีสุขภาพแข็งแรงเป็นกิจกรรมที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 9) 22 ส.ค. 2566 22 ส.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 13.00 -15.00 น. เรื่องที่ 1 สรุปกิจกรรมสันทนาการด้วยรำวงย้อนยุค เรื่องที่ 2 กำหนดข้อตกลงกิจกรรมรวมพลคนสูงวัย

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 20 คน ผลลัพธ์ 1. ผู้สูงอายุมีความสนุกสนานที่ได้เต้น ได้ฟ้อนรำ ได้โยกตามจังหวะเสียงเพลงจาก “รำวงย้อนยุค” กิจกรรมสันทนาการดังกล่าวยังช่วยคลายเหงาและลดความว้าเหว่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกาย
เรื่องที่ 2 กิจกรรมขบวนพาเหรดเคลื่อนขบวน เวลา 07.00 น. ณ หน้ามัสยิดบ้านหนองธง หมู่ที่ 2 จุดหมายขบวนหน้าอนามัยหนองธง จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการเคลื่อนขบวน เป็นระยะทาง 800 เมตร โดยนำทีมผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน ผู้ใหญ่บ้าน พี่เลี้ยง อสม. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และ เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธง ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลขบวนผู้สูงอายุ เมื่อขบวนเคลื่อนถึงจุดหมาย จะมีเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนองธง ญาติผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่คอยรับผู้สูงอายุไป ณ ลานกีฬาอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองธง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีผู้สูงอายุ เช่น เกมส์ปิดตาแต่งหน้า เกมส์ปิดตาตีหม้อ เกมส์ตีกอล์ฟ เกมส์อุ้มลูกตามผัว และเกมส์ปิดตาขูดมะพร้าว

 

ประชุมคณะทำงาน (ครั้งที่ 10) 28 ส.ค. 2566 28 ส.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 13.00 -15.00 น. เรื่องที่ 1 สรุปกิจกรรมรวมพลคนสูงวัย เรื่องที่ 2 วางแผนกิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)
เรื่องที่ 3 วางแผนกิจกรรมรวมพลคนสามวัย

 

ผลผลิต มีคณะทำงานร่วมประชุมจำนวน 20 คน ผลลัพธ์ 1 มีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อความสามัคคี และการลดช่องว่างระหว่างกัน รูปแบบกิจกรรมจะเป็นการแข่งขันกีฬาเป็นทีม ลดความขัดแย้ง รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย สองศาสนามีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแสดงออก สามารถทำกิจกรรมอยู่ร่วมกันได้       2.กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ประกอบด้วย           -ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับ 15 ข้อ
          -การจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุหลังปิดโครงการโดยเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ ชายและหญิง เกณฑ์ผลการตรวจสุขภาพ ก่อนเปิดโครงการและปิดโครงการ ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประทานอาหาร และการออกกำลังกาย           -กิจกรรมมอบเกียรติบัตรผู้สูงอายุ เพื่อแสดง ได้ผ่านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุได้มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง       3. คณะทำงาน และผู้ร่วมโครงการ วางแผน ปรึกษา แนวทางการจัดบูทนิทรรศการในการแสดงผลงานของโครงการ แนวทางการจัดซุ้ม เนื้อหาการเสนอผลงาน ข้อมูลเชิงวิชาการ รูปแบบการนำเสนอผลงาน เพื่อนำไปประกอบในกิจกรรมเวทีรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ในวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย พัทลุง

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 20 ต.ค. 2566 20 ต.ค. 2566

 

กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ประกอบด้วย 1.ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับ 15 ข้อ มีการประเมินดัชชี้วัดความสุขของผู้สูงอายุ ในการเข้าร่วมโครงการตามแบบประเมิน 15 ข้อ ประเมินสภาพชีวิตที่เป็นสุขในระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ 2. จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุหลังปิดโครงการโดยเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ ชายและหญิง เกณฑ์ผลการตรวจสุขภาพ ก่อนเปิดโครงการและปิดโครงการ ที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการประทานอาหารและการออกกำลังกาย 3. กิจกรรมมอบเกียรติบัตรผู้สูงอายุ เพื่อแสดง ได้ผ่านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุได้มองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง

 

  1. ผลการประเมินดัชชี้วัดความสุขคนไทยฉบับ จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ คือ ไม่เลย เล็กน้อย มาก มากที่สุด (จากความสุขของกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุจำนวน 100 คน) ข้อที่ 1 รู้สึกว่าชีวิตท่านมีความสุข ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 3 คน /มาก 10 คน /มากที่สุด 87 คน
    ข้อที่ 2 รู้สึกภูมิใจในตนเอง ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 10 คน /มากที่สุด 90 คน
    ข้อที่ 3 ต้องไปรับการรักษาพยาบาลเสมอ ๆ ไม่เลย 3 คน /เล็กน้อย 4 คน /มาก 13 คน /มากที่สุด 80 คน
    ข้อที่ 4 พึงพอใจในรูปร่างหน้าตาของท่าน ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 3 คน /มาก 25 คน /มากที่สุด 72 คน
    ข้อที่ 5 มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนบ้าน ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 3 คน /มาก 22 คน /มากที่สุด 75 คน
    ข้อที่ 6 รู้สึกประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในชีวิต ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 8 คน /มาก 19 คน /มากที่สุด 83 คน
    ข้อที่ 7 มั่นใจจะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 10 คน /มาก 15 คน /มากที่สุด 75 คน
    ข้อที่ 8 ถ้าสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังท่านจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่เลย 87 คน /เล็กน้อย 13 คน /มาก 0 คน /มากที่สุด 0 คน
    ข้อที่ 9 สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 9 คน /มาก 18 คน /มากที่สุด 73 คน
    ข้อที่10 รู้สีกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 7 คน /มากที่สุด 93 คน
    ข้อที่ 11 มีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่ปัญหา ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 12 คน /มากที่สุด 88 คน
    ข้อที่ 12 รู้สึกว่าชีวิตของท่านไร้ค่าไม่มีประโยชน์ ไม่เลย 92 คน /เล็กน้อย 8 คน /มาก 0 คน /มากที่สุด 0 คน
    ข้อที่ 13 มีเพื่อนหรือญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือ ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 13 คน /มากที่สุด 87 คน
    ข้อที่ 14 มั่นใจว่าชุมชนที่ท่านอาศัยมีความปลอดภัย ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 4 คน /มากที่สุด 96 คน
    ข้อที่ 15 มีอากาสได้พักผ่อนคลายเครียด ไม่เลย 0 คน /เล็กน้อย 0 คน /มาก 5 คน /มากที่สุด 95 คน
    *** อ้างอิงตามเอกสารที่แนบ ไฟล์แผนภูมิและไฟล์ตาราง

  2. ผลการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุต้นแบบ ประเภทชายและประเภทหญิง จากการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด     1. นายเคลือบ เหตุทอง น้ำหนัก 35 กก. ส่วนสูง 151.5 ซม. รอบเอว 68 ซม. ความดัน 137/78 อัตราเต้นของหัวใจ 88 ค่าน้ำตาลในเลือด 82     2. นางสาวย้าริหย๊ะ ปาร์เด็ม น้ำหนัก 67 กก. ส่วนสูง 156 รอบเอว 92 ซม. ความดัน 136/59 อัตราเต้นของหัวใจ 54 ค่าน้ำตาลในเลือด 87

สรุปผลการเลือกผู้สูงอายุต้นแบบ โดยการเอาผลการตรวจมาเปรียบเทียบก่อนเข้าร่วมโครงการและหลังปิดโครงการ เพื่อหาบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวัน วัดจากค่าระดับน้ำตาลก่อนเริ่มโครงการ และปิดโครงการคือ

  • นายเคลือบ เหตุทอง ก่อนเริ่มโครงการ ค่าน้ำตาลในเลือด 86 หลังปิดโครงการมีค่าน้ำตาลลดลงเหลือ 82
  • นางสาวย้าริหย๊ะ ปาร์เด็ม ก่อนเริ่มโครงการ ค่าน้ำตาลในเลือด 87 หลังปิดโครงการมีค่าน้ำตาลลดลงเหลือ 84

ดังนั้น จากผลการเก็บข้อมูลของผู้สูงอายุหลังปิดโครงการ พบว่า เห็นควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปรับพฤติกรรม ทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น และส่งเสริมองค์ความรู้ให้ผู้สูงอายุสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ ได้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมเทคนิคการปรับสมดุลอาหารสำหรับผู้สูงอายุ และพบว่าผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี มีความสุขมากขึ้น

*** อ้างอิงตามเอกสารที่แนบ ไฟล์เอกสารและเกียรติบัตร ****

  1. กิจกรรมมอบเกียรติบัตรผู้สูงอายุ โดยนายสิทธิพงศ์ เรืองแก้ว หัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการมอบเกียรติบัตรให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง มีบุคคลต้นแบบในตำบล มีเครือข่ายสุขภาพที่สามารถเป็นผู้นำและขยายผลไปยังชุมชนของตำบลหนองธง ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ จากรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้เข้าร่วมก็บอกได้ถึงความสุขนั้นจริงๆ