directions_run

โครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้ประชาชนและบุุคลลากรเทศบาลเกิดความรู้และความตระหนักการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนและบุคลากรในเทศบาลอ่างทองมีความรู้และความตระหนักดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 2. มีครัวเรือนร่วมดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 3. สามารถออกแบบการดูแลสุขภาพและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมวัย
0.00 100.00

ประชาชนและบุคลากรเทศบาลอ่างทองเกิดความรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพโดยมีการดูแลสุขภาพปรับเปลี่ยนมีกิจกรรมทางกายและใช้หลัก 3 อ.มาใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้นคือ 1.ประชาชนและบุคลากรในเทศบาลอ่างทองมีความรู้และความตระหนักดูแลสุขภาพมีกิจกรรมทางกายร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย และได้มีแผนในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย และสุขภาพของแต่ละคน ควบคู่ไปกับการนำหลักการ 3 อ. 2 ส. เพื่อดูแลสุขภาพมาปรับใช้ควบ่คุ่กันไป

ตระหนักถึงผลกระทบของการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายหรือวัยของแต่ละคน เกิดความรักใส่ใจกันได้ นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลต่อและชวนกันทำในระดับครอบครัวและชุมชนทำให้เกิดความสนใจและตื่นตัวในการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัยเพิ่มขึ้น

การคัดเลือกให้ความรู้คู่กับฝึกปฏิบัติการกิจกรรมทางกายที่หลากหลายที่เหมาะกับช่วงวัย ทำให้แต่ละ่คนเลือกได้หลากรูปแบบที่เหมาะสม

2 เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน 2. มีข้อมูลสถานการณ์และการดูแลสุขภาพ กิจกรรมทางกาย 3. มีกติกาและแผนปฏิบัติการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกาย 4. มีกลไกการติดตามและส่งเสริมการดูแลสุขภาพ
26.00

เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางการที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ และมีประสิทธิภาพ
ดูได้จาก 1. คณะทำงานจำนวน 26 คนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ออกแบบตัดสินใจดำเนินงานเกิดผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้
ซึ่งคณะทำงานงานมีที่มาจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล  ตัวแทนแกนนำชุมชน ตัวแทนกำนันผู้ให่ญ่บ้าน ตัวแทนกลุ่มในตำบล และตัวแทนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต.  โรงเรียน สสอ. 2.มีข้อมูลสถานการณ์และการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิจกรรมทางกายก่อนและระหว่างการดำเนิน ที่คณะทำงานใช้ในการวางแผนการทำงาน
3. มีกติกาและแผนปฏิบัติการของสมาชิกเข้าร่วมและแผนปฏิบัติการส่งเสริมและให้ความรู้ ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อ 4. มีกลไกติดตามและส่งเสริมการดูแลสุขภาพ คณะทำงานติดตาม ควบคู่ อสม. และรพ.สต.ในตำบล
    ระบบติดตามเยี่ยมและระบบรายงานออนไลน์ผ่านกลุ่มไลน์ในการสือสาร

เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนต่างร่วมกันขับเคลื่อนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย การทำงานได้รับการยอมรับจากประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ในตำบล มีสมัครเข้าร่วมจำนวน 230 คน มากกว่ากลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 160 คน

การบูรณาการความร่วมมือและการแบ่งบทบาทตามความถนัด มีทีมกองเลขา และทีมติดตามที่เข้าใจทำให้การดำเนินงานขับเคลื่อนไปได้ตามที่กำหนดไว้ กระบวนการประชุมคณะทำงาน และมีกลไกการประเมินผลทำให้ได้ทบทวนและปรับปรุงการทำงานเป็นระยะ

3 เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อและมีปฏิบัติการปรับเปลี่ยนมีกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มเด็กวัยเรียน เยาวชน และกลุ่มวัยทำงานมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 2. มีบุคคลต้นแบบกิจกรรมขยับกายเพื่อสุขภาพจำนวน 10 คน 3. มีแกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 30 คน 4. มีพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 3 จุด

 

 

 

4 ประชาชนมีการดูแลสุขภาพและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีการดูแลสุขภาพและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย