directions_run

การดำเนินงานเพื่อการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี ปี 2566

stars
1. ชื่อโครงการ
การดำเนินงานเพื่อการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี ปี 2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดปัตตานี
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

 

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจาก ผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) จังหวัดปัตตานี เป็นองค์กรชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพและได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในพ.ศ. 2565 มีภารกิจในการดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรภาคีในระดับพื้นที่ รับเรื่องร้องทุกข์ประสานงานแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและกรณีส่งต่อ ติดตามและพัฒนาคุณภาพระบบบริการหลักประกันสุขภาพ สนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและผลักดันเชิงนโยบาย ปี 2565 ที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) จังหวัดปัตตานี สามารถดำเนินงานคุ้มครองสิทธิและรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จำนวน 50 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องร้องเรียน จำนวน 1 เรื่อง และร้องทุกข์ จำนวน 49 เรื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2565 พบว่า มีเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้ขยายเครือข่ายหน่วยรับเรื่องร้องเรียนในระดับอำเภอ จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยะรัง อำเภอหนองจิก และอำเภอปะนาเระ ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ให้รับรู้สิทธิ ทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักหน่วยรับเรื่องร้องเรียนมากขึ้น นอกจากนั้น ได้จัดให้มีการสร้างการรับรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแก่แกนนำเครือข่ายพระสงฆ์และเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน สำหรับการประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายคุ้มครองสิทธิ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จังหวัดปัตตานี ศูนย์ประสานงานฯ ได้ ทำงานร่วมกับสสจ.และหน่วยบริการ โดยจัดประชุมคืนข้อมูลเสนอผลการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์แก่แกนนำเครือข่ายหน่วยรับเรื่องร้องเรียน และ หน่วยบริการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากเวทีรับฟังความคิดเห็นของเครือข่ายผู้หญิง จังหวัดปัตตานี เพื่อให้ได้มาข้อเสนอ เชิงนโยบาย และส่งให้ สปสช เขต 12สงขลา ดำเนินการต่อไป การถอดบทเรียนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพฯ จังหวัดปัตตานี ปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ หน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ จังหวัดปัตตานี ควรประสานดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุขจังหวัด หน่วยบริการในโรงพยาบาล ทั้ง 12 อำเภอ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี โดยจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์การร้องเรียนร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน และประสานงานแกนนำเครือข่ายในการลงพื้นที่ ติดตาม และประสานผู้ร้องเรียนหรือผู้ได้รับความเสียหาย รวมถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการคุ้มครองสิทธิ ด้วยแผ่นพับ ไวนิล จัดนิทรรศการ วิทยุชุมชน สื่อบุคคล กลุ่มเฟสบุค กลุ่มไลน์เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค จ.ปัตตานี เพจสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดปัตตานี สำหรับประเด็นการสร้างความรับรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ประสานงานฯ จังหวัดปัตตานี ควรจัดเวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพให้กับเครือข่าย 9 ด้าน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ควบคู่กับการจัดทำสื่อเกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพแบบเข้าใจง่ายและตามบริบทพื้นที่ โดย สปสช เขต 12 สงขลา สนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ใหม่ของระบบหลักประกันสุขภาพให้กับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง สำหรับการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้รับบริการและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนั้น เพื่อให้ได้ ข้อเสนอต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งเชิงปฏิบัติการและเชิงนโยบาย รวมถึงการร่วมผลักดันเชิงนโยบาย ในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ศูนย์ประสานงานฯ ควรจัดประชุมร่วมกับแกนนำเพื่อวางแผนร่วมและสรุปงานร่วมกัน ซึ่งผลการถอดบทเรียนดังกล่าวจะนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
100,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 12:49 น.