directions_run

การลด ละ เลิก บุหรี่/ยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในชุมชนบ้านปุหรน ตำบล ช้างให้ตก อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

stars
1. ชื่อโครงการ
การลด ละ เลิก บุหรี่/ยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในชุมชนบ้านปุหรน ตำบล ช้างให้ตก อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ประชาคมงดเหล้า จังหวัดปัตตานี
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การบริโภคยาสูบเป็นพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ ครอบครัว ชุมชน และสาธารณะ โดยโทษของควันบุหรี่มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ควันบุหรี่มือหนึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและทำให้เนื้อปอดเสื่อมสมรรถภาพ เมื่อมีการสะสมของควันบุหรี่ในปอดอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคถุงลมปอดโป่งพอง เป็นต้น และเป็นโรคติดต่อง่ายขึ้น (2) ควันบุหรี่มือสองที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมาและฟุ้งกระจายในอากาศทำให้คนรอบข้างสูดดมและรับสารพิษเข้าไป และ (3) ควันบุหรี่มือสามเป็นควันที่ตกค้างตามสถานที่และสิ่งของที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของการสูบบุหรี่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เป็นต้น ดังนั้น การควบคุมการสูบบุหรี่โดยการลดอัตราการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผู้สูบบุหรี่เองเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคลอีกด้วย ภาพรวมสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทยพบว่า อัตราการบริโภคยาสูบลดลงตามลำดับ แต่ลดลงอย่างชะลอตัว โดยในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 - 2560 พบอัตราการสูบบุหรี่ลดลง 0.9 ต่อปี และเมื่อพิจารณาในรอบ 5 ปีสุดท้าย พบอัตราการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยเปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 19.1 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 17.4 ในปี 2564 พร้อมกับบริบทอื่นๆ ของสถานการณ์การบริโภคยาสูบ ที่แม้มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ก็ยังมีรูปแบบเดิม นั่นคือ เพศชายสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือ 25-40 ปี ผู้ที่อยู่อาศัยนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่สูงกว่าในเขตเทศบาล ภาคใต้มีสัดส่วนผู้สูบบุหรี่ที่สูงที่สุด และมีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองทั้งในบ้านและสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะตลาด ร้านอาหาร และสถานีขนส่งสาธารณะ สูงสุดเช่นกันส่วนข้อมูลนักสูบหน้าใหม่ พบว่ามีนักสูบหน้าใหม่ที่สูบบุหรี่ไม่เกิน 1 ปี จำนวน 211,474 คน ในจำนวนนี้ พบว่าร้อยละ 73.7 เริ่มสูบบุหรี่ในช่วงอายุ 15-19 ปี โดยมีอายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มต้นสูบบุหรี่ครั้งแรก 18.14 ปี ขณะที่การเลิกสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 30.8 โดยผู้สูบบุหรี่อายุยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเลิกสำเร็จสูง ในทางกลับกัน ผู้สูบบุหรี่อายุยิ่งน้อย ยิ่งมีโอกาสเลิกสูบบุหรี่สำเร็จน้อย กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป้าหมายการลดอัตราการสูบบุหรี่ให้เหลือร้อยละ 15.0 ในปี พ.ศ.2568 เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการเจ็บป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบพร้อมกันนี้แผนยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมยาสูบแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการใน 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ 1) การป้องกันนักสูบหน้าใหม่2) บริการช่วยเลิกยาสูบ3) สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่4)เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการควบคุมยาสูบ และ 5) การเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมาย ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ที่มีสาระทางกฎหมายที่เคร่งครัดและรุนแรงมากขึ้นต่อการกระทำผิดในการละเมิดการจำหน่ายและการสูบในสถานที่ห้ามสูบ อาทิ ห้ามขาย/ให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์และห้ามใช้/จ้าง/วาน/ยินยอมให้บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ขาย/ให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น ปัญหาการสูบบุหรี่คนไทยพบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล/ในชนบทยังขาดความรู้และความตระหนักต่อปัญหาการสูบบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่โดยตรง อีกทั้งสิ่งแวดล้อมที่ยังเอื้อให้เข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย เช่น ร้านค้ายังจำหน่ายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีการขายบุหรี่แยกซองความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ อันตรายจากการได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสามทำให้เป็นภาระทางเศรษฐกิจแก่บุคคลและครอบครัวค่าใช้จ่ายการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่โรงงานที่อัตราภาษีเพิ่มสูงขึ้นทำให้บุหรี่มีราคาสูงขึ้นรวมถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยังแก้ไขได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนชนบทที่มีบริบททางสังคมวัฒนธรรมและมีความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติของคนในชุมชน การใช้ “ชุมชนเป็นฐาน”เป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้ในการควบคุมยาสูบในระดับชุมชนที่เน้นการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ตั้งแต่ (1) การค้นหาผู้นำ กลุ่มแกนนำ ทุนทางสังคม มาร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (2) ความเป็นเจ้าของปัญหา รับทราบข้อมูล และร่วมวิเคราะห์สาเหตุ/ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (3) วางแผน ออกแบบกิจกรรม และดำเนินการ (4) กำกับติดตาม ประเมินและปรับแผนการดำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ที่วางไว้
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี โคกโพธิ์ ช้างให้ตก place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
70,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สสส

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 13:10 น.