directions_run

การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ชุมชนบ้านมั่นคงนาเกลือกำปงปันตัยรูซอ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

stars
1. ชื่อโครงการ
การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ชุมชนบ้านมั่นคงนาเกลือกำปงปันตัยรูซอ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์ประสานงานหลักประันสุขภาพจังหวัดปัตตานี
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
สวนยางยั่งยืน,หนึ่งไร่หลายแสน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การรับรองมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้เกษตรกร การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวสวนยาง

 

ส่งเสริมการตลาดอาหารสุขภาพ ส่งเสริมการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยง Maching Model จากแหล่งผลิตสู่ร้านอาหาร (Form Fram to Table)

 

ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์และพันธุกรรมท้องถิ่น

 

ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในครัวเรือน

 

ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล
  1. ครัวเรือนมีการปลูกและบริโภคผักโดยไม่ใช้สารเคมี
groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีความหลากหลายของฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีความแข็งแกร่งระดับโลก ประเด็นด้านความปลอดภัยของอาหารยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยพบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้นๆ โดยในปี 2560 มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร 197,647 ตัน ในขณะที่ปี 2558 นำเข้าเพียง 75,473 ตัน (สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, 2561) กล่าวคือประเทศไทย นำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น 2.6 เท่า ภายในระยะเวลา 12 ปี โดยร้อยละของสารที่นำเข้าเป็นสารกำจัดวัชพืช เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่ใช้สารเคมีในช่วงเวลาเดียวกัน ปริมาณการใช้สารเคมีการเกษตรของประเทศไทยสูงเป็นอันดับ 5-6 ของโลก ทั้ง ๆ ที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ใช้สารเคมีมากที่สุด 20 ประเทศ ประเทศไทยมีพื้นที่การเกษตรอยู่ในอันดับ 14 ของโลก ความปลอดภัยของผักและผลไม้จากการสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) ปี พ.ศ. 2562 พบสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ร้อยละ 41 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ โดยกระทรวงสาธารณสุข และยังสอดคล้องกับข้อมูลมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรปี 2561 อยู่ที่ 292 รายการ คิดเป็น 170,932,622 กิโลกรัม เฉลี่ยแล้วคนไทย 1 คนจะได้รับสารเคมี 2.5 กิโลกรัม ในขณะที่พื้นที่เกษตรอินทรีย์มีเพียงร้อยละ 0.38 หรือ 570,409 ไร่ จากพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 149,225,195 ไร่ (ข้อมูลปีพ.ศ. 2560) ทั้งนี้ สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยของอาหารจากการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอาหารและสารเคมี เช่นโรคมะเร็งและเนื้องอก โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โดยพบว่าอัตราการตายของคนไทยที่เกิดจากโรคที่สัมพันธ์กับอาหารและสารเคมีเกิดขึ้นเกินกว่า 2 เท่า ในช่วงเวลา พ.ศ.2537-2559 นอกจากนี้ โรคโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร โดยหลังจากที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ Food Safety Testing Market เพิ่มขึ้น กล่าวคือจากเดิมที่เคยมีการทดสอบเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่จะเอาไปขายในตลาดโลกอยู่แล้ว เมื่อมีวิกฤตโควิด-19 โอกาสของธุรกิจการขายอาหารจะมีเรื่อง Food Safety เข้ามาเกี่ยวข้องสูงมาก ซึ่งอาจส่งผลดีในแง่ของการขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัย ด้านพฤติกรรมบริโภคผักผลไม้ ด้วยองค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กำหนดเกณฑ์การบริโภคผักผลไม้ปริมาณที่เพียงพอของประชาชนอยู่ที่ 400 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น น้ำหนักเกิน โรคมะเร็งและหลอดเลือด จากการศึกษาของโครงการติดตามพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2561 และ 2562 พบว่าปริมาณการกินเฉลี่ยของผักและผลไม้ในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปในปี พ.ศ. 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 จาก ปริมาณเฉลี่ย 336.94 เป็น 392.21 กรัมต่อวัน ในขณะที่ร้อยละของการกินผักและผลไม้ที่เพียงพอ ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก พบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากร้อยละ 34.5 เป็นร้อยละ 38.7 ในปี พ.ศ.2561 และพ.ศ. 2562 ตามลำดับ ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกผักและผลไม้ปลอดสารเคมีเพื่อการบริโภคในระดับชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่เข้าถึง “ทุกครัวเรือน” น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมให้คนในชุมชนได้กินผักผลไม้ที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี ชุมชนบ้านมั่นคงนาเกลือ กำปงปันตัยรูซอ เป็นชุมชนจัดตั้งขึ้นใหม่ตามแนวทางโครงการบ้านมั่นคง เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยในเมืองปัตตานี มีจำนวน 70 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 285 คน แบ่งเป็นชายจำนวน 136 คน และหญิงจำนวน 149 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้าง ประมง แม่บ้าน ทำงานเรือ ค้าขาย รับราชการ และอื่นๆ พื้นที่อยู่อาศัยในชุมชนมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง มีน้ำบาดาลใช้ตลอดปี ทำให้ชุมชนสามารถปลูกผักและผลไม้รอบ ๆ บ้านเล็กๆน้อยๆ เพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน ผักและผลไม้ที่ปลูก เช่น มะละกอ พริก ตะไคร้ แคบ้าน และ มะม่วง เป็นต้น โดยทั่วไปจะมีการปลูกพืชครัวเรือนละ 1-3 ชนิด และมีการใช้ปุ๋ยเคมีและ น้ำหมักชีวภาพ ในการปฏิบัติดูแลรักษา อย่างไรก็ตามเนื่องจากผักและผลไม้ที่ปลูกในชุมชนมีน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน ทำให้คนชุมชนส่วนใหญ่ต้องซื้อผักและอาหารปรุงสำเร็จจากตลาดมาบริโภค ผักที่คนในชุมชนนิยมซื้อ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว เป็นต้น เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายๆ และสะดวกในการบริโภค ประกอบกับการมีเวลาจำกัด ทำให้ในแต่ละครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อผักผลไม้มาบริโภควันละ 200 บาท ต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงสำหรับประชาชนในชุมชนเมือง การซื้อผักจากภายนอกของคนในชุมชนมืองทำให้คนในชุมชนเกิดการเจ็บป่วย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพจากการบริโภคผักผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมีตามมา ก่อให้เกิดปัญหาและกระทบอื่นๆ ตามต่อกันมาเป็นลูกโซ่ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนมีการปลูกผักจำนวนน้อยชนิด บริโภคผักไม่หลากหลาย และบริโภคผักและอาหารปรุงสำเร็จที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากขาดความรู้ในการปลูกปฏิบัติดูแลรักษาที่ถูกต้อง ขาดความตระหนักคิดในการเลือกซื้อและบริโภคผักปลอดสารเคมี จากสาเหตุดังกล่าวคณะทำงานในชุมชนบ้านมั่นคงนาเกลือ กำปงปันตัยรูซอ ที่ได้เล็งเห็นปัญหาสุขภาพอนามัยและค่าใช้จ่ายครัวเรือนของคนในชุมชน จึงได้รวมตัวกันจัดทำโครงการปลูกและบริโภคผักในครัวเรือน เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี และสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีให้แก่คนในชุมชน
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี เมืองปัตตานี บานา place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
70,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 13:38 น.