directions_run

โครงการ ผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านเกาะวิหาร ตำบล ทุ่งพลา อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการ ผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านเกาะวิหาร ตำบล ทุ่งพลา อำเภอ โคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพจังหวัดปัตตานั
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
สวนยางยั่งยืน,หนึ่งไร่หลายแสน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การรับรองมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้เกษตรกร การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวสวนยาง

 

ส่งเสริมการตลาดอาหารสุขภาพ ส่งเสริมการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยง Maching Model จากแหล่งผลิตสู่ร้านอาหาร (Form Fram to Table)

 

ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์และพันธุกรรมท้องถิ่น

 

ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในครัวเรือน

 

ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหาและวิธีการแก้ไขจากการเลือกประเด็นการผลิตและการบริโภคผักปบอดภัยจากสภาพปัญหาด้านสุขภาพ ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาด้านสุขภาพ คนในชุมชนจะถือว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขคือผู้ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา การจัดสรรงบประมาณใสการบริหารจัดการเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องรับผิดชอบในการจัดทำแผนสนับสนุนชุมชนฝ่ายปกครองคิดว่ามีหน้าที่ในการควบคุมดูแลความสงบสุขของคนในชุมชน แกนำกลุ่ม แกนนำชุมชนก็จะมีความรู้สึกว่าองค์กรของตนคือองค์กรที่มีหน้าที่ในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ส่วนฝ่ายสมาชิกองค์การบริหารก็คิดว่าตนคือผู้บริหารงบประมาณ ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพและการจัดการสิ่งแวดกลับกลายเป็นการโยนความรับผิดชอบให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จากข้อมูลการสำรวจของคณะทำงาน พบว่า เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ท้องเสีย ท้องร่วง จากการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ประชาชนเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลาด้วยอาการหอบจากการฉีดยาฆ่าหญ้าจำนวน10 คน จากการสูดดมสารเคมี โรคคันเท้าจาการเหยียบหญ้าจากการฉีดยาฆ่าหญ้าจำนวน7ราย เมื่อต้องเดินทางไปเข้ารับการรักษาทำให้ขาดรายได้ในวันดังกล่าว 300 บาท/ครั้ง และยังพบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ดินเสื่อมจากการปนเปื้อนสารเคมี ปุ๋ยเคมีในสวนยางจำนวน 500 ไร่ เกิดจาการใช้สารเคมี(ยาฆ่าหญ้า)ที่ฉีดพุ่งกระจายในสวนยางและสวนผักเข้าสู่ชุมชนทำให้วงจรชีวิตของพืชและสัตว์บางชนิดเช่น แมลงกินหนอนสูญพันธุ์ ส่งผลให้ปลาเป็นหมัน เป็นแผลตามลำตัวไม่สามารถบริโภคได้สาเหตุจากสารเคมีไหลลงสู่แหล่งน้ำ และยังพบว่าเกษตรกรในชุมชนมีต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับปลูกผักจำหน่ายและบริโภคจำนวน 2,000บาทต่อปี จากข้อมูลข้างต้นทางคณะทำงานพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นชุมชนบ้านเกาะวิหาร มีครอบครัวที่ใช้สารเคมีในการปลูกผัก-350-ครัวเรือนปลูกไว้เพื่อกินเองและเหลือขายในบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นผักประเภท ถั่วฝักยาว พริกหยวก ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเปราะ มะเขือยาว บวบ ตะไคร้ ผักสลัด รวมทั้งแตงโมด้วยเช่นกัน มีพฤติกรรมใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เพื่อให้ได้ผลผลิตสวย ไม่เน่าเสีย และมีผลกระทบจากการใช้สารเหล่านั้น และอีกทั้งยังพบว่าครัวเรือนในชุมชน บริโภคผักที่ซื้อ เช่น ผักที่ซื้อ ต้นหอมผักชี ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ถั่วงอก มะเขือเทศ มะระ ขิง กะหล่ำปลี ดอกผักกาด ขึ้นฉ่าย ฟักเขียวจากตลาดที่ปนเปื้อนสารเคมี 100% ของครัวเรือนที่มีทั้งหมดในชุมชน 372 ครัวเรือน ทางคณะทำงานได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังนี้ ด้านพฤติกรรมเกิดจากค่านิยมของคนในชุมชนนิยมการปลูกผักใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเพราะผักจะสวยแมลงไม่กิน การซื้อผักจากตลาดและรถเร่ การซื้ออาหารปรุงสำเร็จมารับประทาน เน้นความสะดวกสบาย ด้านสังคมสิ่งแวดล้อมกายภาพ ชุมชนบ้านกาะวิหารสามารถซื้อหาอาหารได้สะดวกเนื่องจาก มีร้านขายปุ๋ยและสารเคมี 3 ร้าน มีตลาดนัดในชุมชนทุกวัน และรถเร่ขายผักในชุมชนทุกวันๆละ4-5 คัน ด้านกลไกในชุมชน ชุมชนบ้านเกาะวิหารมีพื้นที่และพันธุ์ผักแต่ไม่มีองค์ความรู้และบุคคลต้นแบบที่จัดทำแปลงสาธิตการเกษตรอินทรีย์ ไม่มีหน่วยงานการส่งเสริมการทำปุ๋ยอินทรีย์ ขาดกลไกการเฝ้าระวังการทำเกษตรที่ปลอดภัย ขาดการรวมกลุ่มการทำเกษตรที่ปลอดสาร ขาดข้อตกลงหรือกติกาชุมชนในการปลูกผักปลอดสารสำหรับการบริโภค จากข้อมูลข้างต้นทางคณะทำงานจึงเห็นความสำคัญในการจัดโครงการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านเกาะวิหาร เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
110,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566 05:47 น.