directions_run

โครงการ ผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านม่วงเตี้ย ตำบล ม่วงเตี้ย อำเภอ แม่ลาน จังหวัด ปัตตานี

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการ ผลิตและบริโภคผักปลอดภัยบ้านม่วงเตี้ย ตำบล ม่วงเตี้ย อำเภอ แม่ลาน จังหวัด ปัตตานี
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดปัตตานี
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
สวนยางยั่งยืน,หนึ่งไร่หลายแสน ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การรับรองมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้เกษตรกร การพัฒนาศักยภาพชุมชนชาวสวนยาง

 

ส่งเสริมการตลาดอาหารสุขภาพ ส่งเสริมการส่งผลผลิตอาหารปลอดภัยสู่โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร การเชื่อมโยง Maching Model จากแหล่งผลิตสู่ร้านอาหาร (Form Fram to Table)

 

ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์และพันธุกรรมท้องถิ่น

 

ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในครัวเรือน

 

ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอในระดับหมู่บ้าน/ตำบล

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จาก การวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและผลกระทบของจากประเด็นการผลิตและการบริโภคผักปลอดภัยอดีตคนในหมู่บ้านนิยมรับประทานผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นยอดจิก ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดเพกา ยอดเม่า ผักต่างๆที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จะไม่มีการใช้สารเคมี ปัจจุบันสถานการณ์สุขภาวะในชุมชนบ้านม่วงเตี้ย ผ่านมา ปัญหาด้านสุขภาพ คนในชุมชนจะถือว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขคือผู้ที่ต้องมีความรับผิดในการแก้ไขปัญหา การจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องรับผิดชอบในการจัดทำแผนสนับสนุนชุมชนฝ่ายปกครองคิดว่ามีหน้าที่ในการควบคุมดูแลความสงบสุขของคนในชุมชน ผู้นำศาสนาก็จะมีความรู้สึกว่าองค์กรของตนคือองค์กรที่มีหน้าที่ขัดเกลาจิตใจด้านศาสนา ส่วนฝ่ายสมาชิกองค์การบริหารก็คิดว่าตนคือผู้บริหารงบประมาณ ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดกลับกลายเป็นการโยนความรับผิดชอบให้กับองค์การบริหาร โดยไม่ได้ดูต้นเหตุแห่งปัญหาว่า สาเหตุมาจากทุกคนในชุมชน การดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเตี้ยในการซ่อมสุขภาพ ทำให้คนในชุมชนขาดความรู้ความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมการบริโภคผักและอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การบริโภคอาหารที่หวาน มัน เค็ม มากเกินไป การบริโภคอาหารสำเร็จรูป การบริโภคอาหารที่ไม่เป็นเวลา และบริโภคผักน้อยเกินไป ข้อมูลการสุ่มตรวจสุขภาพของคนในชุมชนบ้านม่วงเตี้ยพบว่ากลุ่มคนในหมู่บ้านมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่บริโภคผักที่ปลอดภัย จากข้อมูลของโรงพยาบาลแม่ลาน ลงพื้นที่ตรวจหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย จำนวน ๒๐๐ คน พบว่ามีผู้มีสารตกค้างจากการบริโภคที่ไม่ถูกต้องมากถึง 20 คน และได้ให้ความรู้แนะนำแก่คนในหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย เน้นการบริโภคผักผักพื้นบ้านที่ขึ้นเองในชุมชน เช่น ขี้เหล็ก มะเม่า มะม่วงหิมพานต์ และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และชุมชนควรนำมูลสัตว์ จากการเลี้ยงวัว เป็ด เป็ด ไก่ และสุกร มาใช้บำรุงพืชปลูกทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี การปลูกผักกินเองสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิต และ โรคเบาหวาน ปัจจัยปัญหาที่สำคัญ จากพฤติกรรมของคนในชุมชน 1.คนในชุมชนนิยมซื้อผักในตลาดเพราะง่าย สะดวก มีผักหลากหลายชนิด 2.คนในชุมชนเน้นความสะดวกสบายในการบริโภคผัก 3.คนในชุมชนไม่นิยมปลูกส่วนใหญ่นิยมซื้อแม้จะเป็นผักที่ปลูกขายในชุมชน 4.คนในชุมชนนิยมซื้อผักที่หน้าตาสวยไม่เอาผักที่หนอมกัดมาบริโภค 5.คนในชุมชนนิยมซื้อผักจากรถเร่ขาย 6.คนในชุมชนนิยมใช้สารเคมีในการปลูกผักเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกมีความสวยงาม 7.คนในชุมชนนิยมบริโภคอาหารปรุงสำเร็จมารับประทาน 8.คนในชุมชนไม่สนใจถึงเรื่องพิษของสารตกค้างในผักที่นำมาบริโภค กลไกในชุมชน 1.ชุมชนมีพื้นที่ในการปลูกผักแต่ไม่มีการรวมกลุ่ม 2.เกษตรแจกเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเคมีเพราะสะดวกในการใช้ ๓.ชุมชนไม่มีข้อตกลงหรือกฎกติกาในการปลูกผักปลอดภัยในชุมชน 4.คนในชุมชนไม่มีนโยบายหรือข้อตกลงเรื่องปลูกผักปลอดภัยในชุมชน 5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น อบต. เกษตร ยังแจกปุ๋ยเคมี ผลกระทบของปัญหาทางสังคม 1.มีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงในการปลูกผักบริโภคและจำหน่าย 2.ผู้นำชุมชนไม่สนใจในการปลูกผักปลอดสารเคมีเพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ 3.คนในชุมชนส่วนบริโภคผักที่ซื้อมาจากตลาดมากกว่าปลูกกินเอง 4.มีร้านค้าที่จำหน่ายสารเคมี ยาฆ่าแมลง จำนวน 1 ร้าน ๕.มีร้านขายอาหารปรุงสำเร็จ ๖ ร้านในชุมชน ๖.ร้านค้าขายผักในชุมชน.......4.............ร้าน จากปัญหาส่งผลกระทบต่อระบบที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบด้านสุขภาพ 1.คนมีสารเคมีตกค้างในร่างกาย ผลจากการตรวจสารเคมีในร่างกาย จำนวน 20 คน ๒.คนสัมผัสสารเคมีจากการฉีดยาฆ่าหญ้า มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน จำนวน 10 คน 4.คนในชุมชนเป็นโรคความดัน เบาหวาน จำนวน ๓๐ คน 5.คนในชุมชนเจ็บป่วยจากอาการท้องร่วงเนื่องจากบริโภคอาหารเมื่อปี๖๔ จำนวน 30 คน(ข้อมูลจากรพสต.ม่วงตึ้ย) ผลกระทบของปัญหาทางสิ่งแวดล้อม 1. ความหลากหลายของระบบนิเวศลดลงในท้องนา จำนวน ปลา ปู หอย ลดลง เพราะยาฆ่าแมลง 2.ทำให้ดินเสื่อมสภาพและมีสารเคมีปนเปื้อน 3.ทำลายระบบนิเวศของลำน้ำภายในชุมชน 4.น้ำตามธรรมชาติถูกปนเปื้อนด้วยสารเคมี ปลาในนา ลำคลอง ตามลำตัวเปื่อย ไม่สามารถนำมารับประทานได้ 5.ทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในดิน เช่น ไส้เดือน แมลงขี้ควาย หายไปจากการใช้ยาฆ่าแมลง 6.สารเคมีที่ใช้ในการปลูกผักฟุ้งกระจายเข้าสู่ชุมชน ผลกระทบของปัญหาทางเศรษฐกิจ 1.ค่าใช้จ่ายการซื้อผักบริโภคเฉลี่ยครัวเรือน 500 บาท/เดือน/ครัวเรือน 2.ครัวเรือนที่ปลูกผักซื้อสารเคมีในการปลูกผัก ๒๐๐ บาทต่อครัวเรือน 3.ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของคนในครัวเรือน(ค่าพาหนะเดินทาง /ค่าอาหาร) ๓00 บาท/คน ๔.บุตรหลานต้องเสียเงิน/เสียเวลาในการกลับมาดูแลคนในครัวเรือน ด้านจิตใจ ๑.ปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนภายใต้สถานการณ์ช่วงเกิดโรคระบาด การหาเลี้ยง การเพิ่มค่าครองชีพ รายได้ไม่พอรายได้ สิ้นค้าราคาแพง ๒.ผู้สูงอายุมีการซึมเศร้า เนื่องจากลูกหลานกลับมาบ้านไม่มีงานทำ
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปัตตานี แม่ลาน ม่วงเตี้ย place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
100,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566 05:52 น.