directions_run

โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ ควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
ลดภาวะเสี่ยงจากโรคกล่องเสียงและถุงลมโป่งพอง ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

สร้างความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับสมุนไพรกระท่อมและกัญชา

 

ลดปัจจัยเสี่ยงในสังคมในรูปแบบต่างๆได้แก่ ลดอุบัติเหตุจากการดื่มแล้วขับ การพนัน ยาสูบ ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภัยไซเบอร์

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติดได้รับการฝึกอาชีพ มีทักษะ ในการประกอบอาชีพในพื้นที่ส่งผลให้มี รายได้ และไม่กลับไปเสพซ้ำ

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงกับกระบวนการ ยาเสพติด ที่ถือเป็นภัยแทรกซ้อนสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยรัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหา เฉพาะหน้า ที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข ซึ่งถือเป็นภัยแทรกซ้อนสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะการทำงานทุกหน่วยงาน จะต้องบูรณาการและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 ด้านความมั่งคง แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคั่งและยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สินมีโอกาสในการศึกษาและประกอบอาชีพที่สร้างรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนดำเนินการ ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 9 (10) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 โดยได้กำหนดให้ปัญหา ยาเสพติดเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ซึ่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 258/2562 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2562 จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการอำนวยการและนำนโยบาย ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ทั้งระดับส่วนกลางและ ระดับพื้นที่ และศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 14/2563 ลงวันที่ 30 เมษายน 2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการและศูนย์ปฎิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระดับพื้นที่ โดยในระดับพื้นที่ ให้ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) ในส่วนของจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.ปส.จชต.) ทำหน้าที่ บูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ โดยมีจังหวัด และอำเภอเป็นหน่วยปฏิบัติที่สำคัญ และคำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด - 3 - จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ 1471/2563 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ผ่านการบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติดจากทุกระบบ/ ทุกหน่วยงาน ทั้งระบบสมัครใจบำบัด ระบบบังคับบำบัด ระบบต้องโทษ และระบบอื่นๆ เช่น ศาสนบำบัด ชุมชน บำบัด (CBTX) ค่ายบำบัด Camp 35 ฯลฯ รวมไปถึงสถานบำบัดของเอกชนที่ขับเคลื่อนงานยาเสพติดในพื้นที่ โดย เน้นความสมัครใจ จากการสำรวจความต้องการของผู้ผ่านการบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด โดยศูนย์อำนวยการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.บต.จ.) ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ จำนวน 1,156 คน ดังนี้ จังหวัด สาขาวิชา เชื่อมผลิตภัณฑ์ รวม จากโลหะ ซ่อมเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร/ ซ่อมรถจักรยานยนต์ แต่งผม สุภาพบุรุษ ซ่อมอุปกรณ์ ไฟฟ้า ช่างปูกระเบื้อง นราธิวาส 29 45 35 40 30 179 ปัตตานี 313 292 84 116 61 886 ยะลา 22 29 14 10 3 78 สงขลา 17 16 0 0 0 33 รวม 381 382 133 166 94 1,156 (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2564) โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2564 กลยุทธการบำบัดรักษายาเสพติด ในแผนงานช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว สอดคล้องกับภารกิจงานพัฒนาศักยภาพของพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีเป้าประสงค์ในการ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน/ตำบล ในการดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดรักษาจากการติดยาเสพติด ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกทั้งยังสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติราชการรายปี พ.ศ. 2565 ของ ศอ.บต. เรื่องที่ 1 การสร้างชุมชนเข้มแข็งอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และการสร้างความเข้าใจ เพื่อเป็นแกนกลางสู่ความมั่นคง สำหรับการฝึกอาชีพมุ่งเน้นให้ประกอบอาชีพได้จริงและมีความมั่นคง รวมทั้งมีความเชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและ วิสาหกิจชุมชนที่มีอยู่ในชุมชนของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งรองรับแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทุกภาคส่วนจะต้องบูรณาการขับเคลื่อนงานดังกล่าวผ่านกระบวนการสภาสันติสุขตำบลในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษา และการบริหารจัดการ รวมถึงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในพื้นที่ เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการดำเนินงานของทุกส่วนจะต้องไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อนำบุคคลที่ผ่านการบำบัดรักษาจากการติด ยาเสพติดนำเข้าสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ให้ตามเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ทำให้มีงานทำ มีรายได้ไม่กลับไปเสพซ้ำ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

ฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อเตรียมการความพร้อมในการประกอบอาชีพในพื้นที่ (หลักสูตร 60 ชั่วโมง)

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
นราธิวาส place directions
ปัตตานี place directions
ยะลา place directions
สงขลา จะนะ place directions
สงขลา เทพา place directions
สงขลา นาทวี place directions
สงขลา สะบ้าย้อย place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
2,023,800.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 10:49 น.