directions_run

โครงการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง :ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุ วัฒนธรรม ตามบริบทของพื้นที่แผนงานที่

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง :ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ ในวิถีพหุ วัฒนธรรม ตามบริบทของพื้นที่แผนงานที่
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ยกระดับคุณภาพชีวิตในแม่และเด็ก ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการ วางแผนครอบครัว ชะลอการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

เพื่อหนุนเสริมการดําเนินงานของ อปท.ในเชิงรุก ตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายในชุมชน ซึ่งเป็นห้วงของการให้ความร่วมมือโดยบูรณาการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผ่านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของเด็ก ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน/ตําบล สร้างโอกาสการพัฒนาศักยภาพของเด็กตั้งแต่เยาว์วัย ในการยอมรับการอยู่ร่วมกัน ภายใต้ สังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

พัฒนาระบบบริการ ลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก ลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ เพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพแบบเชิงรุก/พัฒนาเด็กด้านพัฒนาการ โภชนาการ วัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
เพิ่มรายได้ ลดความยากจนในกลุ่มครอบครัว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เข้าถึงสิทธิเบี้ยเลี้ยง/เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 500
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เด็กเล็ก ในศพด. สังกัด อปท. ครู ผู้ปกครอง ภาคีเครื 500 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เพื่อสนองแนวพระราชดําริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในคราวเสด็จพระราชดําเนิน ณ ศอ.บต. ที่ทรงให้ความสําคัญกับเรื่องของการใช้สื่อและการใช้ภาษาไทยในเด็กสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ศอ.บต.ได้บูรณาการร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตําบลเป้าหมาย 3 จังหวัด 4 อําเภอของสงขลา สนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้วยการเปิดพื้นที่กลางเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรม ระหว่าง เด็ก ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ภายใต้ “หลักคิดสื่อ 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิคุ้มกันที่ดี” ส่งเสริมให้มีการทักทายพร้อมแสดงออก ด้านทักษะการใช้ภาษาไทยควบคู่ภาษาพื้นถิ่นในชีวิตประจําวัน ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมเรื่องของพัฒนาทั้ง 4 ด้านของเด็กตั้งแต่เยาว์วัย ขยายผลให้มีการนําหลักการการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม แก่เด็กก่อนวัยเรียน ในการสร้างกระบวนทัศน์ทางความคิด ทัศนคติ ค่านิยมและการแสดงออกทางพฤติกรรม อันพึงประสงค์ผ่านกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของชุมชน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อสร้างการยอมรับซึ่งกันและกัน โดยมีเด็กเล็กเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชนข้างเคียง เป็นสถานที่หรือพื้นที่จัดกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง เด็ก ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน ได้มีเวลาในการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นลดความหวาดระแวง มีการช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัย จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ ศอ.บต. จะต้องดําเนินการเชิงรุก เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายในชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว เห็นได้จากข้อมูลผลการดําเนินงาน ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 ดําเนินการพื้นที่เป้าหมาย ปีละ 60 แห่ง จึงจําเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเด็กมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ และปฏิสัมพันธ์ เน้นการใช้ภาษาไทยควบคู่ภาษาพื้นถิ่นระหว่าง ครูผู้ดูแลเด็ก เด็กเล็ก ผู้ปกครอง ชุมชน สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ที่ประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้กิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเล็กในพื้นที่ ได้รับดูแลเอาใจใส่ มีพัฒนาการอย่างสมวัยและมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างมีคุณภาพได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแนวทางการดําเนินงาน ขยายผลกระบวนการเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์ในวิถีพหุวัฒนธรรม ตามบริบทของพื้นที่ แก่บุคลากรสังกัด อปท. และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

-พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ แนวคิดการออกแบบสื่อ เพื่อส่งเสริมการจัดทําสื่อสร้างสรรค์ เพื่อการเรียนรู้ตามบริบทของชุมชน - เปิดพื้นที่กลาง รื้อฟื้นการละเล่นเมื่อวันวาน สืบสานวิถีไทย – วิถีถิ่น -กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขยายผล “สื่อดี พื้นที่ ภูมิคุ้มกันดี” ผ่านธนาคารสื่อเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ -ประชาสัมพันธ์เชิญชวน เด็ก เยาวชน และประชาชนทุกช่วงวัย หน่วยงาน/สถานศึกษา ทุกโรงเรียนทุกสังกัด เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้สื่อ และการใช้ภาษาสร้างสรรค์ ในการถ่ายทอดความรู้ สู่ เด็ก เยาวชน และประชาชน ผ่านนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสาร ระหว่าง เด็กเล็ก ครู ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายชุมชน และพัฒนากระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรม การใช้ภาษาไทยควบคู่ภาษาพื้นถิ่นในวิถีวัฒนธรรมประจําวัน

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
นราธิวาส place directions
ปัตตานี place directions
ยะลา place directions
สงขลา จะนะ place directions
สงขลา เทพา place directions
สงขลา นาทวี place directions
สงขลา สะบ้าย้อย place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
2,827,300.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 11:16 น.