directions_run

โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการน้้ำสายห้วยขี้ค่างนำไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรอาชีพชุมชนเมืองโตนดด้วน

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการน้้ำสายห้วยขี้ค่างนำไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรอาชีพชุมชนเมืองโตนดด้วน
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สมาคมสร้างสุขคนเมืองลุง
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

 

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 550
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกไม้ผล 50 -
ชุมชน 8 หมูู่บ้าน 500 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการประเมินความเปราะบางของเมืองโตนดด้วนพบว่า อำเภอควนขนุนเป็นพื้นที่รองรับน้ำจาก ป่าต้นน้ำ ซึ่งชุมชนโตนดด้วนอยู่ในพื้นที่กลางน้ำ น้ำจะไหลมาจากป่าต้นน้ำ ผ่านชุมชนโตนดด้วน แล้วไหลไปลง ทะเลสาบสงขลาที่ทะเลน้อย โดยในพื้นที่มีสถานการณ์น้ำท่วมซ้ำซากอยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงระยะหลัง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ลมพายุฝนต่างๆ มีมากขึ้น และ เกิดในระดับที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เมืองโตนดด้วนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่เกือบทุกปี ประกอบกับมี การสร้างถนนและถมที่เพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยขวางทางน้ำ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การระบายน้ำจาก เขื่อนท่าแนะ มีปริมาณมาก ไม่ได้ขุดลอก เหมือง คู คลอง เพื่อแก้ปัญหาระบายน้ำ และขาดการจัดการระบาย น้ำที่ดี แต่ระยะหลังมีการแก้ปัญหาการระบายน้ำ ผันน้ำไปอีกทางหนึ่ง ทำให้ปัญหาน้ำท่วมเบาบางลง ขณะเดียวกัน การขยายตัวของเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาหลักของจังหวัดทำให้การ บริหารจัดการน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดินในภาพรวมจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระบบให้สมดุล นอกจากนั้น การศึกษายังพบว่า พื้นที่หมู่ที่ 8 ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับหมู่บ้านและชุมชนรอบนอก พื้นที่หมู่ที่ 11 มีปัญหาน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องและมี โอกาสรุนแรงเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบด้านการเกษตร ที่อยู่อาศัย และถนนหนทาง ทำให้ชุมชนมีความยากลำบาก ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ การศึกษายังพบว่ากลุ่มเกษตรกร การเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในยามปกติกรณีที่เป็นน้ำ เพื่อการบริโภคส่วนใหญ่จะซื้อ น้ำไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและน้ำใช้ในการทำการเกษตร แหล่งน้ำใน การเกษตรส่วนใหญ่ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้าน/ประปาเทศบาล และใช้น้ำฝนเป็นหลัก ในช่วงหน้าแล้งเกษตรกร ได้รับผลกระทบจากน้ำไม่เพียงพอในการทำการเกษตร สัตว์เลี้ยงขาดแคลนน้ำขาดแคลนอาหาร ในช่วงที่เกิด น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบกับมีกลุ่มอาชีพในพื้นที่จำนวนมาก ต้องการการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการทำงานและสร้างความเข้มแข็งเพื่อให้เป็นรากฐานการพัฒนา ทำงาน ร่วมกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงเป็นที่มาของการจัดทำข้อเสนอโครงการนี้
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ตัดแว่นตา

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

 

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
พัทลุง ควนขนุน โตนดด้วน place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
260,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
สหภาพยุโรป

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2566 12:42 น.