task_alt

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

ชุมชน ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-022 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน มกราคม 2567 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2567

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ไวนิลเทมเเพลทโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

วันที่ 4 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ป้ายไวนิลเทมเพลทโครงการ x-stand จำนวน 1 ป้าย เพื่อใช้ในการจัดบูธนิทรรศการของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแผนงานร่วมทุนฯ ในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการสั่งทำไวนิลเทมเพลทโครงการ x-stand ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มะ แอดเวอร์ไทซิ่ง (ประเทศไทย) ตำบลอาเนาะรู อำเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อประกอบการนำเสนอโครงการในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงกการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที 15 มกราคม 2567

 

0 0

2. ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 6 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ได้ให้ค่าตอบแทนค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ จำนวน 1 คน

 

1 0

3. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ

วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ด้านผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานครั้งที่ 2 ผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง พบว่า
กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงมีทั้งหมด จำนวน 71 คน ดังนี้ - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลต่ำกว่า 100 mg/dl จำนวน 32 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลลดลงเเต่ยังเกิน mg/dl จำนวน 39 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลไม่ลด จำนวน 21 คน ดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเท่าเดิมมี จำนวน 2 คน - กลุ่มเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้นมี จำนวน 19 คน ดังนั้น กลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 คน (คิดเป็นร้อยละ 23 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ด้านการบริโภคอาหารที่เหมาะสม พบว่า กลุ่มเสี่ยง จำนวน 45 คน มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอยู่เเล้วก่อนเริ่มดำเนินโครงการ เเละเมื่อสิ้นสุดการดำเนินโครงการ กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ดีเเละเหมาะสมเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย
พบว่า ก่อนเริ่มโครงการมีกลุ่มเสี่ยงที่มีความรู้ จำนวน 65 คน สิ้นสุดโครงการกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพ

บทสัมภาษณ์ผู้สมัครบุคคลต้นแบบ ทั้ง 12 ท่าน นางจำเนียร พรหมศิริ : ตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะสามารถปฏิบัติตนตามกติกาชุมชนได้ครบทุกด้าน เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีรูปแบบการออกกำลังกาย คือ เต้นแอโรบิคและเดิน โดยจากที่เมื่อก่อนไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แต่เมื่อมีโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา ทำให้ได้ออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่นจึงรู้สึกสนุกและมีความอยากออกกำลังกายทุกวัน รวมถึงมีการควบคุมอาหาร การเข้าวัดทำบุญ ทำให้สุขภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น มีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง เช่น ผักบุ้ง มะเขือ นางภัทราวรรณ หนูชูแก้ว : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานที่ดีขึ้น สามารถลดการทานของหวาน ๆ ได้ และเมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีรูปแบบการออกกำลังกาย คือเต้นแอโรบิค ทำให้น้ำหนักลดลงและมีสุขภาพที่ดีขึ้นมาก นางวนิดา สุวรรณชาตรี : ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกาย ทำให้มีความกระตือรือร้นในการออกกำลังกายมากขึ้น โดยรูปแบบการออกกำลังกายคือ เต้นแอโรบิค เดิน ปั่นจักรยาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมขึ้น ทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น ไม่กินจุกจิกระหว่างมื้อ ทานผัก ผลไม้ เน้นทานโปรตีน ลดแป้งลดน้ำตาล ทำให้ปริมาณระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันลดลงจากเดิม
นายสวัสดิ์ ลิ้มเจริญ : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น การออกกำลังกายตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยมีรูปแบบการออกกำลังกายคือ การเดิน ทำให้มีสุขภาพดีขึ้น น้ำหนักลดลง 4 กิโล ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่จะไม่สบายบ่อย และการงดอาหารที่รสชาติหวาน มัน เค็ม เน้นการทานเนื้อสัตว์ เช่นไก่ ปลา และเน้นการทานผักให้เยอะขึ้น นางเตือนใจ อุปลา : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองทั้งด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย มีการรวมตัวกันออกกำลังกายในชุมชน รูปแบบการออกกำลังกายคือ เต้นแอโรบิค และทำให้มีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยจะคำนึงถึงประโยชน์และข้อเสียของอาหารก่อนที่จะรับประทานมากขึ้น รวมถึงการการลดแป้ง ลดน้ำตาล
นางสายัน ชูสุวรรณ : รู้สึกดีมากที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะโครงการนี้ทำให้เราหันกลับมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย พัฒนาตนเองไม่ให้มีโรคต่าง ๆ ทำให้รู้สึกอยากออกกำลังกายในทุก ๆ วัน และเน้นทานผัก ผลไม้ที่ปลูกเอง นางสาวสุนันทา รามแก้ว : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีขึ้น ทานมื้อเย็นให้เร็วขึ้น ทำให้น้ำหนักลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง โดยรวมแล้วสุขภาพร่างกายดีขึ้นทุกด้าน จึงทำให้สภาพจิตใจและอารมณ์ดีขึ้นตามไปด้วย นางสาวยุพิน เพ็ชรมณี : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย รูปแบบคือเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน สามารถปฏิบัติตามกติกาทุกด้านได้ เช่น การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างมาก นางพรรณี กำลังหาร : ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดีและเหมาะสม ด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ดี ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานได้ มีการปลูกผักหลากหลายชนิดบริเวณบ้านไว้รับประทานเอง ทำให้ไม่ต้องซื้อ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
นางอนงค์ สันทัด : รู้สึกขอบคุณหน่วยงานที่ได้มีการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา เพื่อมอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ทำให้ชาวบ้านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ทำให้มีตัวกระตุ้นที่ทำให้ชาวบ้านดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยมีรูปแบบการออกกำลังคือ เดินในตอนเช้าและเต้นแอโรบิคในตอนเย็น ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและน้ำหนักลดลง ร่างกายดีขึ้นเรื่อย ๆ นางยุพิน พรหมจันทร์ : หลังจากที่ได้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชุมชนบ้านตรังนี้ขึ้นมา ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้สามารถกลับมาปั่นจักรยานได้ รู้สึกว่าสุขภาพร่างกายดีขึ้น มีการปลูกผักไว้รับประทานเอง
นางสุทิน ซ้ายศรี : มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ลดของทอด มีส่วนร่วมในการส่งรูปเมนูอาหารเพื่อสุขภาพในกลุ่มไลน์ มีการปฏิบัติตนตามกติกาชุมชน เช่น การเข้าวัดทำบุญ เต้นแอโรบิค

การยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมสุขภาพดี รางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวสุนันทา รามแก้ว รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ นางจำเนียร พรหมศิริ รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ นางภัทราวรรณ หนูชูแก้ว ทั้ง 3 ท่านได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปฏิบัติตามกติกาชุมชนทั้ง 6 ข้อ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากที่สุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ ในวันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08.30 – 15.30 น. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 107 คน คือ คณะกรรมการโครงการ จำนวน 15 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 92 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ วัดประเวศน์ภูผา หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีการสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมสุขภาพดี ซึ่งทางคณะกรรมการโครงการได้เชิญ นายอุสรัน ตาเยะ สาธารณสุขอำเภอมายอ,นายรอมือลี วาแม็ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตรัง,นางสาวอารียา เหมรา นักวิชาการสาธารณสุข,นายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และนายอานัติ หวังกุหลำ พี่เลี้ยงโครงการ เพื่อมาเป็นเกียรติในการมอบประกาศนียบัตร และของรางวัลเป็นขวัญกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายต่อไป แก่ผู้สมัครบุคคลต้นแบบทั้ง 12 ท่าน

 

107 0

4. ARE ครั้งที่ 4 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประเด็นด้านการดำเนินกิจกรรม คณะกรรมการโครงการได้ดำเนินจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรังครบถ้วน ประเด็นด้านการคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ หลัง-ก่อนดำเนินโครงการ
- การบริโภคอาหารที่เหมาะสม : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 45 คน ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 58 คน และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) - การออกกำลังกาย : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 39 คน ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 62 คน และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) - กติกาชุมชน : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวน 0 ข้อ ระหว่างดำเนินโครงการ จำนวน 5 ข้อ และสิ้นสุดโครงการ จำนวน 6 ข้อ - ระดับน้ำตาลในเลือด : ก่อนเริ่มโครงการ จำนวนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 92 คน และสิ้นสุดโครงการจำนวนกลุ่มเสี่ยงระดับน้ำตาลลดลง จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) ประเด็นบันไดผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้บรรลุบันไดผลลัพธ์ทั้ง 3 ขั้นบันได

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการ รวมจำนวน 15 คน ที่ดำเนิน "โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" ARE ร่วมกับพี่เลี้ยงครั้งที่ 4 โดยมีพี่เลี้ยงโครงการ คือนายอานัติ หวังกุหลำ ในกิจกรรมสรุปบทเรียนการดำเนินงาน และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบ ในวันที่ 8 มกราคม 2566 เวลา 08.30 - 15.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ตำบลตรัง หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมรับฟัง การคืนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การสรุปบทเรียนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และการยกย่องเชิดชูบุคคลต้นแบบที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

 

15 0

5. ค่าวัสดุอุปกร์ในการจัดบูธนิทรรศการ

วันที่ 14 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัสดุอุปกรณ์ จำนวน 1 รายการ ตระกร้าสาน 1 ใบ ใช้สำหรับจัดบูธนิทรรศการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้รับงบประมาณจากแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปี 2566 ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้สำหรับจัดบูธนิทรรศการในกิจกรรมอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 จัดซื้อในวันที่ 14 มกราคม 2567 ณ ร้านยัสมี เครื่องเขียน ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 รายการ

 

0 0

6. อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ได้จัดนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการ ซึ่งได้นำเสนอแก่ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี พร้อมทั้งผู้รับผิดชอบโครงการได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และผลสำเร็จของโครงการ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของบ้านตรัง ได้แก่ ผ้าทอจวนตานี ขนมทองม้วน ข้าวสารหอมปทุม ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เสวียนหม้อ และผักสวนครัวที่ได้จากชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกติกาชุมชนที่กลุ่มเสี่ยงร่วมกันปฏิบัติในเรื่องของ การปลูกผักกินเอง อย่างน้อย 5 ชนิดต่อครัวเรือน และผู้รับผิดชอบโครงการร่วมเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับโครงการอื่น ๆ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากรในการพูดคุย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการโครงการ รวมจำนวน 8 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากแผนงานร่วมทุนฯ และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการในประเด็นที่เป็นปัญหาอุปสรรค และเงื่อนไขข้อจำกัด เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินในปีต่อไป พร้อมจัดนิทรรศการการนำเสนอผลงานของโครงการที่ขอรับการสนับสนุน

 

8 0

7. ค่าพาหนะเดินทางและเบี้ยเลี้ยงในการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบฅนสร้างสุข เเละเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

วันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับการตรวจสอบเอกสารการเงินทั้งหมดในการดำเนินกิจกรรมโครงการ เเละตรวจสอบข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ "ฅนสร้างสุข" ทำให้มีเเนวทางในการปรับปรุงเเก้ไข เเละข้อเเนะนำสำหรับการทำเอกสารประกอบอื่น ๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้คีย์ข้อมูลกิจกรรมในระบบออนไลน์ และผู้รับผิดชอบด้านเอกสารการเงิน เดินทางไป ณ กองสาสุข อาคารศูนย์รับเเจ้งเหตุเเละสั่งการการเเพทย์ฉุกเฉิน ในวันที่ 16 มกราคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. เพื่อเข้าร่วมการตรวจสอบเอกสารการเงินเบื้องต้นของโครงการย่อยให้สอดคล้องในระบบฅนสร้างสุข เเละเพื่อเตรียมเบิกเงินสนับสนุนงวดที่ 2

 

3 0

8. ถอนเงิน เปิดบัญชี

วันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ถอนเงินเปิดบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานและคณะทำงาน ได้ ถอนเงิน เปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

 

0 0

9. จ่ายดอกเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

วันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จ่ายตอดเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จ่ายดอกเบี้ยคืนให้กับแผนงานฯ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 47 47                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 100,549.84                    
คุณภาพกิจกรรม 188                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายมุคตาร วายา
ผู้รับผิดชอบโครงการ