directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : 1.1 มีคณะกรรมการกลุ่ม 15 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น 1.2 คณะกรรมการกลุ่ม 15 คน มีความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารการออกกำลังกายและออกแบบกิจกรรมได้เหมาะสม 1.3 มีการเก็บข้อมูลและประชุมคืนข้อมูลการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
15.00

1.1.เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และ เจ้าหน้าที่ อบต.
1.2.มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน
1.3.มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ก่อน- หลังการดำเนินโครงการ

2 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : 2.1 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ในการบริโภคอาการและการออกกำลังกาย 2.2 มีข้อมูลการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายกาย ของคนในชุมชนอย่างน้อย 1ชุด 2.3 เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
85.00

2.1.กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูเเลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย 2.2.มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกายที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน 2.3.เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเเละการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ

3 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ตัวชี้วัด : 3.1 มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย ในร่มของชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง 3.2 มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว 3.3 มีรูปแบบการออกกำลังกายตามช่วงวัย 3.4 มีบุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย อย่างน้อย 10 คน
2.00

3.1.มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 เเห่ง คือ สถานที่กลางเเจ้งของชุมชน 1 เเห่ง เเละมีสถานที่ร่มรองรับ 1 เเห่ง 3.2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว 3.3.มีรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน การเดินวิ่ง 3.4.มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 12 คน

4 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 4.1 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วันๆละ 30 นาที 4.2 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 73 คน(อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม
71.00

4.1.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกาย 4.2.กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 548 92
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป 456 126
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 92 92

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชนบ้านตรัง ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-002 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000 บาท จาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชน จำนวน 92 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เกิดคณะทำงานและกลไกการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 2.เกิดความรู้และตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย 3.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ผลการดำเนินงานพบว่า เกิดคณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตตำบล เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง และเจ้าหน้าที่ อบต. มีข้อตกลงการทำงานของคณะทำงานที่ชัดเจน คือ การจัดเวรประจำวันในการเปิดคลิปวิดีโอนำเต้นแอโรบิค และการติดตามผลการปฏิบัติตามกติกาชุมชน มีแผนการดำเนินงานของคณะทำงาน มีรายงานสรุปผลการดำเนินงานและข้อมูลสถานการณ์การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ก่อน – หลังการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 85 คน (คิดเป็นร้อยละ 92 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย มีข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ได้จากการติดตามกลุ่มเป้าหมายโดยคณะทำงาน เกิดกติกาข้อตกลงร่วมของชุมชนในการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ มีสถานที่รวมกลุ่มออกกำลังกาย 2 แห่ง คือ สถานที่กลางแจ้งของชุมชน 1 แห่ง และมีสถานที่ร่มรองรับ 1 แห่ง กลุ่มเสี่ยงได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทำให้มีอาหารสุขภาพ 1 เมนู 1 ครอบครัว มีรูปแบบการออกกำลังที่เหมาะสมตามช่วงวัย เช่น การเต้นแอโรบิค การปั่นจักรยาน การเดินวิ่ง มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 12 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน (คิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 71 คน (คิดเป็นร้อยละ 77 ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน) มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh