task_alt

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ม.3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ชุมชน จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-023 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2566 ถึงเดือน ธันวาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ผู้เข้าร่วมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย นักศึกษาจิตอาสา ประชาชนอาสา อาสาสมัครสาธารณะสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา จำนวน 30 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประกาศเปิดรับสมัครอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน องค์ประกอบของคณะทำงานที่ประกอบด้วย นักศึกษาจิตอาสา ประชาชนอาสา อาสาสมัครสาธารณะสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา

 

30 0

2. อบรมเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • ได้ความรู้เรื่องระบบรายงานในระบบ คนสร้างสุข การบันทึกข้อมุลโครงการลงระบบ การรายงานลงระบบ และการทำรายงานเรื่องการเงิน
  • ได้ความรู้การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 6 มิถุนายน 2566
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-09.30น. พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
09.30 - 10.30 น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 10.30 - 10.40 น. รับประทานอาหารว่าง 10.40 - 12.00 น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร
กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี 14.00- 14.15 น. รับประทานอาหารว่าง 15.15 - 16.30 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร
กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี วันที่ 7 มิถุนายน 2566
08.30 - 10.30 น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร
10.30 - 10.40 น. รับประทานอาหารว่าง 10.40 - 12.00 น. รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 - 14.30 น. รับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี 14.30 - 14.40 น. รับประทานอาหารว่าง 14.40 - 16.30 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ
และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร
และทีมผู้ช่วยวิทยากร กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี

 

2 0

3. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ต

วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรมโครงการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลรายงานกิจกรรมโครงการตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567 ครบถ้วนตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในสัญญาโครงการ

 

1 0

4. ค่าจัดทำตรายางหมึก

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตรายางหมึก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ทำตรายางหมึก

 

0 0

5. ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการ

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีป้ายชื่อโครงการและป้ายบันไดผลลัพท์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายชื่อโครงการและป้ายบันไดผลลัพท์

 

0 0

6. ค่าเดินทางไปถอนเงินที่ธนาคารครั้งที่ 1

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เงินจำนวน 8,300 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม โดยเดินทางไปถอนเงิน ณ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ปัตตานี ตั้งเวลา 10.00 - 15.00 น. โดยมีคณะทำงานเดินทางจำนวน 2 คน

 

2 0

7. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานเบิกเงินเปิดบัญชีจำนวน500 บาทที่บิ๊กซีปัตตานี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเบิกเงินเปิดบัญชีจำนวน500 บาทที่บิ๊กซีปัตตานี

 

2 0

8. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1 (ชี้แจงรายละเอียดโครงการ)

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคณะทำงานดูแลผู้สูงอายุที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข อาสาสมัครสาธารณสุข นักศึกษาอาสาสมัคร จำนวน 30 คน -มีคณะทำงาน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 คณะทำงานในพื้นที่จำนวน15 คนประกอบด้วยแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มที่2 ประกอบด้วย นักศึกษา จิตอาสาจำนวน15 คน จากกิจกรรม การประชุม การได้มาซึ่งคณะทำงาน 1.เจ้าหน้าที่รพสต แนะนำ 2.ผู้นำชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 3.ผู้แทนนักศึกษาจิตอาสา คณะทำงานดูแลผู้สูงอายุมีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน 1 แผน การติดตามผลอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง -มีแผนการดำเนินงานชัดเจนและมีการติดตามเดือนละ 1 ครั้ง มีข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพจิต2ส่วน 1.ข้อมูลเดิมจาก รพสต. 2.อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูล - คณะกรรมการได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการฯ - คณะกรรมการได้ทราบบทบาทหน้าที่ในการทำงาน - ได้แผนการดูแลผู้สูงอายุระดับชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ 1.2 แนะนำคณะกรรมการโครงการฯ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายการประชุม ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ 3.1 นำเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 3.2 ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และวางโครงสร้างการทำงาน 3.3 แผนการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระดับชุมชน 3.4 แลกเปลี่ยนและกำหนดวันเวลาการจัดกิจกรรมในพื้นที่ 3.5 รายชื่อผู้สูงอายุ
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4.1 กำหนดวันเวลาดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 4.2 พัฒนาเครื่องมือ (แบบสอบถาม) สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

กำหนดการประชุมคณะกรรมการโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี วันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล 09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม 09.30 – 10.00 น. กล่าวต้อนรับ เปิดการประชุมและทำความรู้จักคณะกรรมการดำเนินโครงการ
10.00 – 11.00 น. นำเสนอโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 11.00 – 12.00 น. ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่และวางโครงสร้างการทำงาน 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น. จัดทำแผนการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุระดับชุมชม
14.00 – 14.45 น. พูดคุยแลกเปลี่ยนประเด็นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ 14.45 – 15.45 น. พัฒนาเครื่องมือ (แบบสอบถาม) สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
15.45 - 16.00 น. สรุปและปิดการประชุม

 

30 0

9. ค่าเดินทางพบพี่เลี้ยงครั้งที่ 1

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 17:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เอกสารการเงินถูกต้อง
  2. ข้อมูลในระบบไม่เกิดความซับซ้อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการ 17.00 - 17.15 น. เดินทางไปยังสำนักงานประชาคมงดเหล้าจังหวัดปัตตานี 17.15 - 18.00 น. พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน 18.00 - 19.00 น. พี่เลี้ยงสอนกรอกข้อมูลในระบบ 19.00 - 20.00 น. ลงมือปฏิบัติกรอกข้อมูลในระบบตามแผนที่วางไว้

 

2 0

10. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 (ทบทวนแผนการทำงานและติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงการ)

วันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ในบันไดขั้นที่ 1

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมประชุมคณะกรรมการโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุครั้งที่ 2 หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
วันอาทิตย์ ที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 09.00 -16.00 น.
ณ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี - ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม - กล่าวต้อนรับ เปิดกิจกรรมโดยประธานโครงการ
- ทบทวนแผนการทำงานในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ - พักรับประทานอาหารกลางวัน - กำหนดแผนการดำเนินการในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ - กิจกรรมติดตามการเปลี่ยนแปลงงาน (ARE) - นำเสนอผลการเปลี่ยนแปลง - สรุปและปิดกิจกรรม

 

30 0

11. จัดทำข้อมูลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครั้งที่ 1

วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 30 คน
  • ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ จำนวน 30 ชุด โดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุฯพร้อมทั้งประเมินผล โดยได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ข้อมูลสุขภาวะของผู้สูงอายุ (กาย จิต  สังคม จิตวิญญาณ) สถานการณ์ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ และประเมินระดับความสุขของผู้สูงอายุ ณ ปัจจุบัน ซึ่งได้จัดทำแบบสำรวจดังกล่าวจำนวน 30 ชุด  และได้รับการตอบกลับแบบสำรวจทั้งสิ้น จำนวน 30 คน โดยแบบสำรวจมีทั้งหมด 4 ส่วน ดังนี้
    ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เพศ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย  สถานภาพ อาศัยอยู่กับ ศาสนา โรคประจำตัว ความสามารถในการอ่าน ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 ข้อมูลสุขภาวะของผู้สูงอายุ (กาย จิต  สังคม จิตวิญญาณ) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ โดยแต่ละด้านจะมีชุดคำถาม 10 ข้อ และจะมีเกณฑ์การแปลผลที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพผู้สูงอายุโดยวิเคราะห์รายด้าน ได้แก่
              สุขภาวะทางกายของผู้สูงอายุ พบว่า  ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ซึ่งถือว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มที่ 1 สามารถพึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น สังคม ชุมชนได้หรือกลุ่มติดสังคม มีสุขภาวะทางกายที่แข็งแรง สามารถรับประทานอาหาร ล้างหน้า อาบน้ำ ใช้สุขา ลุกจากที่นอน สวมใส่เสื้อผ้า ขึ้นบันได1ชั้น เคลื่อนที่ภายในบ้าน ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คิดเป็นร้อยละ 93.3
              สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมอยู่ที่ 0-6 คะแนน ไม่พบโรคซึมเศร้า เนื่องจากในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่มีอาการเบื่อ ไม่สบายใจ ซึมเศร้าท้อแท้ หลับยาก เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง สมาธิไม่ดี พูดช้า หรือคิดทำร้ายตัวเอง คิดเป็นร้อยละ 83.3
            สุขภาวะทางสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุทุกคนมีคะแนนรวมมากกว่า 10 คะแนน มีสัมพันธภาพในครอบครัวที่ดี เนื่องจากคนในครอบครัวได้แสดงความรัก ความห่วงใย การเอาใจใส่ พูดจาถ้อยทีถ้อยคำ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ  รับฟังคำตักเตือนของกันและกัน ใช้เวลาร่วมกัน พูดความลับได้ เกิดความไว้วางใจ สามารถปรึกษาและช่วยเหลือกันได้ คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
            สุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนรวมน้อยกว่า 36 คะแนน มีสุขภาพจิตวิญญาณระดับที่ไม่ดี เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า รู้สึกว่าตนเองไม่ค่อยมีอะไรที่น่าภูมิใจ รวมทั้งไม่ได้มีการวางแผนชีวิตไว้ในบั้นปลาย จึงทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้มีสุขภาพจิตวิญญาณที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 60
    ปัญหาและสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุในพื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกาย เนื่องจากร่างกายเกิดความเสื่อมสภาพตามอายุชราภาพ อาทิเช่น การได้ยิน การมองเห็น การปวดตามข้อต่าง ๆ  และยังพบว่ามีปัญหาทางด้านสังคมเนื่องจากชุมชนบ้านดอนรักเป็นชุมชนที่มีที่อยู่อาศัยแออัด มีขยะมูลฝอยและปัญหาการระบายน้ำเสียจากครัวเรือน และผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่แต่แต่บริเวณบ้านไม่ได้ออกไปไหน ต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมดังกล่าวยิ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้องมีกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจความต้องการด้านกิจกรรมในพื้นที่ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการให้จัดประเภทกิจกรรมทางศาสนา เช่น กีรออาตี บรรยายธรรม และต้องการให้จัดกิจกรรมประเภทส่งเสริมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย แต่ยังมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสุขภาพ เช่น พิการประเภทที่3ทางการเคลื่อนไหว โรคสมองตีบไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก เป็นต้น โดยจากกิจกรรมดังกล่าวเห็นควรจัดกิจกรรทางศาสนามากที่สุด โดยกำหนดเป็นกิจกรรมบรรยายธรรมโดยมีการเชิญวิทยากรมากความสามารถด้านการบรรยายธรรมศาสนามาให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อเป็นการบำบัดเยี่ยวยาสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้ รวมทั้งกำหนดกิจกรรมปลูกผักสร้างสุขเพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดการรวมตัวกัน ส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ ส่งเสริมการบำบัดจิตใจให้ผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมปลูกผักสร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 09.30 – 10.00 น. ชี้แจงกำหนดการกิจกรรมและอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
10.00 – 12.00 น. ดำเนินการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.00 น.ดำเนินการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (ต่อ) หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 16.00 – 16.30 น.สรุปผลการเก็บข้อมูลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

 

50 0

12. อาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน

วันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน  จำนวน 50 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุจำนวน 30 คน และอาสาสมัคร จำนวน 20 คน อาสาสมัครและผู้สูงอายุได้มีการเยี่ยมเพื่อนบ้านที่เป็นผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการกิจกรรม อาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อนผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 17-18 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 09.30 – 10.00 น. ชี้แจงกำหนดการกิจกรรมให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
10.00 – 12.00 น. ดำเนินกิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน (ผู้สูงอายุ) หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.00 น.ดำเนินกิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน (ผู้สูงอายุ) (ต่อ) หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเมือง จังหวัดปัตตานี 16.00 – 16.30 น.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมอาสาพาเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ครั้งที่ 1

 

30 0

13. เวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1/2566

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE เรียนรู้เรื่องการบันทึกข้อมูลลงระบบ และการเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานเข้าร่วมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1/2566

 

2 0

14. ศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตดี

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี โดยเชิญวิทยากร 2 ท่านในการบรรยาย 2 หัวข้อ ได้แก่
1. บรรยายหัวข้อ “บทบาทของลูกที่ดีต่อผู้ปกครอง/ผู้สูงอายุ” และ “การเตรียมความพร้อมในบั่นปลายของผู้สูงอายุ” โดยบาบอโซ๊ะ บางปอ
2. บรรยายในหัวข้อ “การมีสุขภาพจิตที่ดีและการประกอบอามาลที่สมบูรณ์ โดยอีหม่ามหะมะ เจะเหมาะ และจัดกิจกรรมในวันจันทร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 – 23.30 น. ณ มัสยิดบ้านซือบือรังญายอ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย 120 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุและคณะกรรมการโครงการฯ จำนวน 40 คน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 80 คน
จากการดำเนินกิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี พบว่า ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก รวมถึงผู้เข้าร่วมอื่นๆ เกิดความรู้ความใจในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ทำให้ทราบและเข้าใจบทบาทของลูกที่ดีต่อผู้ปกครอง/ผู้สูงอายุ 2. ได้ทราบและเข้าใจในการเตรียมความพร้อมในบั่นปลายของผู้สูงอายุ 3. ได้เข้าใจถึงวิธีการใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อใหมีสุขภาพจิตที่ดีและการประกอบอามาลที่สมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการ กิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีวันจันทร์ ที่ 20 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 23.30 น.ณ มัสยินูรุลฮูดา (ซือบือรังญายอ) หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 13.00 – 13.15 น. ลงทะเบียน
13.15 – 13.30 น. พิธีเปิดกิจกรรมศาสนบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตผู้สูงอายุสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี โดยประธานโครงการ 13.30 – 18.00 น. บรรยายในหัวข้อ “การมีสุขภาพดีและการประกอบอามาลที่สมบูรณ์ โดยอีหม่ามหะมะ เจะเหมาะ
18.00 – 18.30 น. ละหมาดมัฆริบพร้อมกัน ณ มัสยินูรุลฮูดา (ซือบือรังญายอ) บ้านดอนรัก 18.30 – 19.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 19.00 – 23.30 น. บรรยายหัวข้อ “บทบาทของลูกที่ดีต่อผู้ปกครอง/ผู้สูงอายุ” และ“การเตรียมความพร้อมในบั่นปลายของผู้สูงอายุ โดยบาบอโซ๊ะ บางปอ 23.30 น. อ่านดูอาร์พร้อมกันและปิดกิจกรรมหมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

40 0

15. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3 (ติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงการ)

วันที่ 15 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม 2.คณะทำงานร่วมเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน 3.คณะทำงานร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรค และการปรับปรุงแผนงาน เพื่อดำเนินงานในครั้งถัดไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม 2.คณะทำงานร่วมเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน 3.คณะทำงานร่วมกันแก้ไขปัญหา อุปสรรค และการปรับปรุงแผนงาน เพื่อดำเนินงานในครั้งถัดไป

 

30 0

16. อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ทำให้อาสาสมัคร ทั้งนักศึกษา อสม. แกนนำชุมชน ทีมงาน คณะกรรมการโครงการ รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ เกิดการเข้าใจวิถีของผู้สูงอายุ ทักษะการเยี่ยมบ้าน ทักษะการให้กำลังใจ และการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวมไปถึงมีความรู้เกี่ยวกับทักษะประเมินปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและทักษะการนวดเพื่อผ่อนคลายให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวส่งผลทำให้อาสาสมัครและผู้ดูแลผู้สูงอายุได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สุงอายุ เกิดการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี ดังนั้นร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ได้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 08.30 – 08.45 น.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
08.45 – 09.00 น.กล่าวต้อนรับเปิดกิจกรรม โดยว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ 09.00 – 12.00 น.บรรยายหัวข้อ “การเข้าใจวิถีของผู้สูงอายุ ทักษะการเยี่ยมบ้านทักษะการให้กำลังใจ และการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ” โดยคุณนัสริทร์ แซสะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยคุณนัสริทร์ แซสะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 15.00 - 16.30 น.ถอดบทเรียนและปิดกิจกรรม วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 08.30 – 09.00 น.กล่าวทักทายเปิดกิจกรรม โดยว่าที่ร้อยตรีอิสมาแอ มาหะ 09.00 – 12.00 น.บรรยายหัวข้อ “ทักษะประเมินปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและทักษะการนวดเพื่อผ่อนคลายให้แก่ผู้สูงอายุ” โดยดร.อุบล วรรณกิจ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดร.อุบล วรรณกิจ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี 15.00 - 16.30 น.ถอดบทเรียนและปิดกิจกรรม

 

30 0

17. ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร ครั้งที่ 2

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เงินจำนวน 37,450 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม โดยเดินทางไปถอนเงิน ณ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ปัตตานี ในวันที่ 08 พ.ย. 66 ตั้งเวลา 10.00 - 15.00 น. โดยมีคณะทำงานเดินทางจำนวน 2 คน

 

2 0

18. แปลงผักสร้างสุข

วันที่ 13 ธันวาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มอบพืชผักสวนครัวให้แก่ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก  ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นกิจกรรมสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนผ่านกิจกรรมมอบพืชผัก โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่ม เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้สึก เกิดการถ่ายทอดวิถีชีวิตของผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน ลดปัญหาการอยู่เพียงลำพัง ดังนั้นแล้วผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง คือ สภาพแวดล้อมหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นทีที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการกิจกรรมแปลงผักสร้างสุขวันพุธ ที่ 13-14 ธันวาคม 2566 เวลา 08.30 – 17.00 น.ณ หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 13 ธันวาคม 2566 08.30 – 08.45 นลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
08.45 – 09.00 น.กล่าวต้อนรับเปิดกิจกรรม โดยประธานโครงการ 09.00 – 12.00 น.บรรยายหัวข้อ “สูงเนินสุขภาวะโมเดล เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้พื้นฐานด้านโภชนการ” โดยคุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ ที่ปรึกษาศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.00 น“แลกเปลี่ยนประเด็นด้านโภชนาการ” โดยคุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ 14.00 – 14.30 น.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ
14.30 – 17.00 น. ประกอบอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกับผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ
17.00 น.สรุปกิจกรรม วันที่ 14 ธันวาคม 2566 08.30 - 09.00 น. กล่าวต้อนรับเปิดกิจกรรม โดยประธานโครงการ 09.00 – 12.00 น.กิจกรรม “มอบพืชผักสวนครัวให้แก่ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี” 12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 16.30 น.กิจกรรม “มอบพืชผักสวนครัวให้แก่ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (ต่อ)”
16.30 - 17.00 น.สรุปและปิดกิจกรรม

 

30 0

19. ค่าเดินทางไปถอนเงินธนาคาร ครั้งที่ 3

วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เงินจำนวน 20,600 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรม โดยเดินทางไปถอนเงิน ณ บิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ปัตตานี ในวันที่ 15 ธ.ค. 66 ตั้งเวลา 10.00 - 15.00 น. โดยมีคณะทำงานเดินทางจำนวน 2 คน

 

2 0

20. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4 (พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม)

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการดำเนินงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการกิจกรรมประชุมคณะกรรมการโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุครั้งที่ 4หมู่ที่ 3 บ้านดอนรัก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วันที่ 25 ธันวาคม 2566 2566 เวลา 09.00 -16.30 น. ณ ห้องประชุมอเมซอน ปตท.หลัง ม.อ.ปัตตานี 09.00 – 09.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 09.30 – 10.00 น. เปิดการประชุมโดยประธานโครงการ
10.00 – 11.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ ทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา และ กำหนดแผนการดำเนินการในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ 11.00 – 12.00 น.พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม เพื่อร่วมเสนอ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 15.00 น. ร่วมกำหนดกิจกรรมและวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป
15.30 – 16.00 น สรุปและปิดกิจกรรม

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 20                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 98,300.00 87,198.00                  
คุณภาพกิจกรรม 80                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
อิสมาแอ มาหะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ