directions_run

อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 (1.)สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและทรัพยากรชายฝั่ง และเกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน 2. ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์และจำนวนสัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่ทะเลชายฝั่ง 3. ได้แผนการดำเนินงานของชุมชนและประมงอาสา 4. เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 10 คน และเกิดประมงอาสาดูแลเขตฯ (ซั้งกอ) ไม่ต่ำกว่า 10 คน 5. เกิดกติกาข้อตกลงในการจับสัตว์น้ำและดูแลเขตฯ ของชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
0.00 15.00

คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มกิจกรรมในชุมชนและภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎิกาข้อตกลงร่วมกันในการทำประมง เช่น ชาวประมงพื้นบ้าน ท้องที่ โดยมีแผนการทำงานและมีแบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน และมีการประชุมสองเดือน 1 ครัั้งรวมทั้งได้ข้อมูลจำนวนสัตว์น้ำใน-นอกเขตอนุรักษ์ก่อนวางซั้งกอ

แกนนำในกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนมีศักยภาพในการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์นำ้ในเขตอนุรักษ์ตลอดทั้งปี

แกนนำในกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนมีศักยภาพในการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรักษาเขตอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

2 2.เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟู
ตัวชี้วัด : 1. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯ (ซั้งกอ) ไม่ต่ำกว่า 10 คน 2. เกิดกติกาข้อตกลงในการจับสัตว์น้ำและดูแลเขตฯ ของชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 3.เกิดซั้งกอ
10.00

มีการปรับสภาพแวดล้อมโดยการวางซั้งกอ จำนวน 10 กอ โดยใช้กติกาเขตอนุรักษ์ชายฝั่งภายใต้ พรก. ประมง 2558 พร้อมกับมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มาจากการมีส่วนร่วมของภาคีเกี่ยวข้อง และการหารือการใช้ข้อตกลงร่วมกันของบทลงโทษผู้กระทำผิดทั้งสมาชิกในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงที่ลักลอบเข้ามา

ชุมชนมีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูแบบซั้งกอ ปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาล และการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ

สมาชิกในชุมชนและคณะกรรมการควรจะมีการปรับรูปแบบการทำงานโดยการวางแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงการประสานภาคีที่เกี่ยวข้องให้มีความหลากหลายขึ้น โดยมุ่งเน้นคนในชุมชนและขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง

3 เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.มีการประชุมคณะทำงาน 2 เดือน 1 ครั้ง 3. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน
15.00

เกิดคณะทำงาน 15 คน และมีการพัฒนาศักยภาพคนทำงานหรือสมาชิกกลุ่มให้มีความรู้ความสามารถในการเป็นแกนนำรุ่นถัดไปโดยใช้กลไกประชุมคณะทำงาน 2 เดือน 1 ครั้ง

คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการมีความสามารถในการทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและสัตว์น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเป็นกระบอกเสียงไปยังพื้นที่ใกล้เคียงให้เข้าใจในกิจกรรมของโครงการ

แกนนำในกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนมีศักยภาพในการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรักษาเขตอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและความร่วมมือจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

4 นิเวศทะเลชายฝั่งมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวชี้วัด : 1. ปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปูม้า กุ้งแชบ๊วย ปลาอินทรีย์ ปลากุเลา
40.00

ระบบนิเวศและทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลมีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายมากขึ้น ทั้งชนิด และปริมาณที่จับได้

ความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ที่ได้จากการวางซั้งกอ ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำ และการได้มาของสัตว์น้ำในการออกทะเลแต่ละครั้ง เชื่อมโยงกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายสัตว์น้ำ

มีการจับปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญๆได้มากขึ้น รวมทั้งขนาดและน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช่สัตว์น้ำวัยอ่อน

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1.โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 2.โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3.โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด
60.00

โครงการสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ และจัดทำรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินได้อย่างถูกต้อง

คณะทำงานยังไม่ค่อยเข้าใจการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์และการเคลียร์เอกสารการเงินตามหมวดการใช้งบประมาณของ สสส. ที่ถูกต้อง

ต้องเพิ่มคณะทำงานที่มีความสนใจ ศักยภาพ มารับผิดชอบในการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์และการเคลียร์เอกสารการเงินตามหมวดการใช้งบประมาณของ สสส. ซึ่งต้องมีพี่เลี้ยงให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง