directions_run

อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ) 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำในชุมชนหมู่ 4 บ้านบ่อแดงและชุมชนใกล้เคียงที่ร่วมโครงการ 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

จัดทำและวางซั้งกอในพื้นที่เขตอนุรักษ์ 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 4 เดือน/ครั้ง (ARE) 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา 1 ก.ย. 2566

 

 

 

 

 

เวทีนำเสนอข้อมูลชุมชน 1 ต.ค. 2566

 

 

 

 

 

การบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กับ สสส. 24 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อน-หลัง การมีเขตฯ 1 ม.ค. 2567

 

 

 

 

 

ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ 1 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 1 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

เวทีปิดโครงการ 1 เม.ย. 2567

 

 

 

 

 

เวทีปฐมนิเทศโครงการ 13 ก.ค. 2566 13 ก.ค. 2566

 

ประชุมเพื่อรับฟังการบริหารจัดการโครงการด้านการเงิน การออกแบบการเก็บข้อมูล การส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ และคู่มืออื่นๆ

 

เกิดความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการโครงการด้านเอกสารด้านการเงินในแบบฟอร์มต่างๆ ตัวอย่างการออกแบบการเก็บข้อมูล ขั้นตอนการสมัครสมาชิกในระบบและการส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ ฯลฯ

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. 29 ก.ค. 2566 29 ก.ค. 2566

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

 

เกิดการจัดทำป้ายไวนิลชื่อโครงการ และป้ายรณรงค์งดสูบบัหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 31 ก.ค. 2566 31 ก.ค. 2566

 

1.ประชุมแกนนำชุมชน เพื่อคัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการให้ผู้เข้าประชุมรับทราบ

 

1.เกิดรายชื่อคณะทำงานและที่ปรึกษาโครงการ จำนวน 15 คน 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ

 

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ) 25 ส.ค. 2566 25 ส.ค. 2566

 

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)
วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายรายเอียดโครงการ งบประมาณ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งรายชือคณะทำงานของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ ตลอดถึงการรับฟังคำเสนอแนะการดำเนินโครงการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและมีส่วนร่วมจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

 

1.เกิดการทำความเข้าใจของผู้เข้าร่วมประชุมถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ 2.เกิดรายชื่อคณะทำงานพร้อมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ 3.เกิดความร่วมมือ และประสานงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ดำเนินโครงการและชุมชนใกล้เคียงในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.เกิดความรู้ ความเข้าใจในเอกสารประกอบการดำเนินโครงการสำหรับคณะทำงานที่รับผิดชอบด้านต่างๆ

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 7 ก.ย. 2566 7 ก.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมถัดไปคือ การเก็บ และจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำ พร้อมทั้งอบรมการบันทึกรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ และการใช้เอกสารการเงินที่ถูกต้องในการเคลียร์ค่าใช้จ่ายของโครงการ

 

1.คณะทำงานเกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น สามารถบริหารจัดการเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ เช่น เอกสารการเงินอย่างง่ายได้ รวมทั้งวิธีการรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งต้องกลับไปทดลองฝึกปฎิบัติเพื่อความเข้าใจและชำนาญมากขึ้น

 

ประชุมทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับ 20 ก.ย. 2566 20 ก.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนดำเนินโครงการเพื่อทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำและเครื่องมือที่ใช้จับ เช่นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล ตัวอย่างครัวเรือนที่ใช้เก็บข้อมูล สถานที่ที่ใช้เก็บ เช่น บนเรือ แพปลา ตลาดชุมชน ฯลฯ

 

1.เกิดตัวแทนรับผิดชอบในการเก็บสัตว์น้ำ โดยแบ่งเป็นชุมชน จำนวนครัวเรือน 2.เกิดแบบฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูลร่วมกัน โดยได้จากการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอแนะในที่ประชุมเพื่อให้แบบฟอร์มตรงตามบริบทสัตว์น้ำที่หาได้ในพื้นที่ 3.เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการในการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำอย่างง่ายที่ชุมชนสามารถจัดทำได้เอง 4.เกิดความร่วมมือของครในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยกลไกการทำงานของคณะทำงานและตัวแทนผู้ดำเนินโครงการ

 

กิจกรรมเก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์ 26 ก.ย. 2566 26 ก.ย. 2566

 

เก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์โดยการวางซั้งกอโดยกำหนด ดังนี้ วิธีที่ 1 1.ออกเรือ โดดยใช้เรือ 3 ลำในการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำในทะเล ในพื้นที่ ใน-นอก เขตฯ ขนาด 500x500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร ซึ่งมีพื้นที่ 157 ไร่ 2.กำหนดใช้อวนปลาทูขนาด 4.5 ซม. ในการวาง โดยใช้ 2 ผืน ต่อเรือ 1 ลำ 3.ใช้เวลาวางอวนต่อครั้ง 30 นาที ทั้งใน-นอก เขตฯ

วิธีที่ 2 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของคณะทำงาน ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสัตว์น้ำที่จับได้ตามครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

 

1.แกนนำสามารถบันทึกข้อมูลได้ โดยใช้ความรู้จากการประชุมทำความเข้าใจก่อนหน้านี้ 2.เกิดข้อมูลสัตว์น้ำเบื้องต้นที่ได้จากการทดลองออกทะเลวางอวน คือ ได้สัตว์น้ำหลากหลาย ในเขตอนุรักษ์ จำนวน 9 ตัว และนอกเขตอนุรักษ์จำนวน 6 ตัว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าสาเหตุที่ได้ปริมาณสัตว์น้ำน้อยเกิดจากที่ผ่านมาทางชุมชนได้ว่างเว้นจากการวางซั้งกอไปนานเนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน

 

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 31 ต.ค. 2566 7 ม.ค. 2567

 

จัดทำรายงานความหน้าผลการดำเนินโครงการก้าวผ่านระบบออนไลน์

 

เกิดการรายงานความหน้าผลการดำเนินโครงการก้าวผ่านระบบออนไลน์เว็ปไซต์คนสร้างสุข

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ระดับพื้นที่ 24 พ.ย. 2566 24 พ.ย. 2566

 

ระดมความคิดเห็น และจดบันทึกผลการทำงานแต่ละกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการ

 

เกิดข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมของกลุ่มที่ดำเนินการในรอบ 4 เดือน เช่น จำนวนคณะทำงาน การประเมินการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มและในชุมชน การพัฒนาศักยภาพแกนนำและคณะทำงาน ฯลฯ

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา 28 พ.ย. 2566 28 พ.ย. 2566

 

1.ตัวแทนทั้ง 7 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการ 2.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 7 โครงการ 3.หารือแผนการทำงานประเด็นวางซั้งกอหลังฤดูมรสุมให้ทันก่อนปิดโครงการ

 

ตัวแทนทั้ง 7 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันพร้อมทั้งหารือแผนการทำงานประเด็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (การทำบ้านปลา)

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 8 ธ.ค. 2566 8 ธ.ค. 2566

 

1.ประชุมคณะทำงานสรุปการทำงานเดือนที่ผ่านมาและวางแผนการจัดกิจกรรมเดือนธันวาคม 2566

 

.เกิดแผนการทำงานเดือนธันวาคม และแผนการจัดกินกรรมทบทวนกติกาเขตอนุรักษ์

 

เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา 12 ม.ค. 2567 12 ม.ค. 2567

 

ประชุมคณะทำงานและชาวประมงที่ออกเรือหารือแนวทางการตั้งกฏกติกาชุมชนในการหาปลาช่วงวางซั้งกอในเขตอนุรักษ์ขนาด 500x500 เมตร พร้อมทั้งรับสมัครประมงอาสาเพื่อเฝ้าดูแลรักษาผู้มารุกล้ำทำการประมงในเขตอนุรักษ์

 

เกิดกฏกติกา บทลงโทษที่ใช้ปฏิบัติร่วมกันในการทำการประมงในเขตอนุรักษ์ในระหว่างวางซั้งกอ

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) รวม 30 โครงการ 29 ม.ค. 2567 29 ม.ค. 2567

 

1.ตัวแทนทั้ง 30 โครงการนำเสนอผล ARE ของแต่ละโครงการ 2.ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 30 โครงการ 3.หารือแผนการทำงานประเด็นวางซั้งกอหลังฤดูมรสุมให้ทันก่อนปิดโครงการ

 

เกิดการนำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการทำงานร่วมกันทั้ง 30 โครงการ พร้อมทั้งหารือการดำเนินกิจกรรมโครงการทั้งหมดให้ทันก่อนสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 มีนาคม โดยเฉพาะโครงการที่ยังไม่ได้วางซั้งกอเนื่องจากติดช่วงฤดูมรสุมหลายเดือน

 

ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ 16 ก.พ. 2567 2 ก.พ. 2567

 

วางทุ่นพร้อมธงสีเป็นสัญลักษณ์พื้นที่เขตอนุรักษ์ในทะเลขนาด 500x500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร พร้อมทั้งติดตั้งป้ายกติกาเขตอนุรักษืและบทลงโทษ ณ ที่ทำการกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านบ่อแดง (อาคารหลังแรก)

 

เกิดพื้นที่วางทุ่นพร้อมธงสีเป็นสัญลักษณ์พื้นที่เขตอนุรักษ์ในทะเลขนาด 500x500 เมตร และป้ายป้ายกติกาประชาสัมพันธ์เขตอนุรักษ์และบทลงโทษ

 

วางซั้งกอในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง 7 มี.ค. 2567 22 เม.ย. 2567

 

1.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวางซั้ง 2.วางซั้งกอในพื้นที่เป้าหมายในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง ขนาด 500x500 เมตร ห่างจากชายฝั่ง 500 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ทางชุมชนได้ตกลงไว้ในเวทีประชาคมระดับหมู่บ้านและระดับอำเภอเพื่อจัดทำเป็นบริเวณสำหรับวางซั้งกอเท่านั้น ห้ามทำการประมงทุกชนิดตลอด 4 เดือนหลังวางซั้ง

 

เกิดความร่วมมือของคนในชุมชนประมงบ้านบ่อแดงในการเตรียมอุปกรณ์และวางซั้งกอในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดงพื้นที่ 500x500 เมตร ห่างจากชายฝั่ง 500 เมตร

 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์หลังวางซั้งกอ 22 มี.ค. 2567 27 เม.ย. 2567

 

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจในทะเลชายฝั่งพื้นที่ใกล้เขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง

 

เกิดความร่วมมือของคณะทำงานของโครงการและสมาชิกในชุมชนบ้านบ่อแดงในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ (กุ้งแชบ๊วย) ในทะเลชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำให้ทะเล

 

เวทีปิดโครงการ 5 เม.ย. 2567