task_alt

อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์สัตว์น้ำบ้านบ่อแดง

ชุมชน ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

รหัสโครงการ S-028 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 13 กรกฎาคม 2566 ถึง 13 เมษายน 2567

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กรกฎาคม 2566 ถึงเดือน ตุลาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการโครงการด้านเอกสารด้านการเงินในแบบฟอร์มต่างๆ ตัวอย่างการออกแบบการเก็บข้อมูล ขั้นตอนการสมัครสมาชิกในระบบและการส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ ฯลฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเพื่อรับฟังการบริหารจัดการโครงการด้านการเงิน การออกแบบการเก็บข้อมูล การส่งรายงานผ่านระบบออนไลน์ และคู่มืออื่นๆ

 

100 0

2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส.

วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการจัดทำป้ายไวนิลชื่อโครงการ และป้ายรณรงค์งดสูบบัหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดสถานที่จัดกิจกรรม

 

0 0

3. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดรายชื่อคณะทำงานและที่ปรึกษาโครงการ จำนวน 15 คน 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงรายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมแกนนำชุมชน เพื่อคัดเลือกและแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของโครงการให้ผู้เข้าประชุมรับทราบ

 

15 0

4. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดการทำความเข้าใจของผู้เข้าร่วมประชุมถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ 2.เกิดรายชื่อคณะทำงานพร้อมทั้งหน้าที่รับผิดชอบ 3.เกิดความร่วมมือ และประสานงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ดำเนินโครงการและชุมชนใกล้เคียงในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.เกิดความรู้ ความเข้าใจในเอกสารประกอบการดำเนินโครงการสำหรับคณะทำงานที่รับผิดชอบด้านต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลชายฝั่งในปัจจุบัน (เวทีเปิดโครงการ)
วัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายรายเอียดโครงการ งบประมาณ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งรายชือคณะทำงานของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ ตลอดถึงการรับฟังคำเสนอแนะการดำเนินโครงการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จและมีส่วนร่วมจากชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

 

60 0

5. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานเกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น สามารถบริหารจัดการเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ เช่น เอกสารการเงินอย่างง่ายได้ รวมทั้งวิธีการรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งต้องกลับไปทดลองฝึกปฎิบัติเพื่อความเข้าใจและชำนาญมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมถัดไปคือ การเก็บ และจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำ พร้อมทั้งอบรมการบันทึกรายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ และการใช้เอกสารการเงินที่ถูกต้องในการเคลียร์ค่าใช้จ่ายของโครงการ

 

15 0

6. ประชุมทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือประมงที่ใช้ในการจับ

วันที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดตัวแทนรับผิดชอบในการเก็บสัตว์น้ำ โดยแบ่งเป็นชุมชน จำนวนครัวเรือน 2.เกิดแบบฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูลร่วมกัน โดยได้จากการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอแนะในที่ประชุมเพื่อให้แบบฟอร์มตรงตามบริบทสัตว์น้ำที่หาได้ในพื้นที่ 3.เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงวิธีการในการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำอย่างง่ายที่ชุมชนสามารถจัดทำได้เอง 4.เกิดความร่วมมือของครในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยกลไกการทำงานของคณะทำงานและตัวแทนผู้ดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานและตัวแทนดำเนินโครงการเพื่อทำความเข้าใจวิธีการจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำและเครื่องมือที่ใช้จับ เช่นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล ตัวอย่างครัวเรือนที่ใช้เก็บข้อมูล สถานที่ที่ใช้เก็บ เช่น บนเรือ แพปลา ตลาดชุมชน ฯลฯ

 

10 0

7. กิจกรรมเก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์

วันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.แกนนำสามารถบันทึกข้อมูลได้ โดยใช้ความรู้จากการประชุมทำความเข้าใจก่อนหน้านี้ 2.เกิดข้อมูลสัตว์น้ำเบื้องต้นที่ได้จากการทดลองออกทะเลวางอวน คือ ได้สัตว์น้ำหลากหลาย ในเขตอนุรักษ์ จำนวน 9 ตัว และนอกเขตอนุรักษ์จำนวน 6 ตัว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าสาเหตุที่ได้ปริมาณสัตว์น้ำน้อยเกิดจากที่ผ่านมาทางชุมชนได้ว่างเว้นจากการวางซั้งกอไปนานเนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เก็บข้อมูลสัตว์น้ำก่อนมีเขตอนุรักษ์โดยการวางซั้งกอโดยกำหนด ดังนี้ วิธีที่ 1 1.ออกเรือ โดดยใช้เรือ 3 ลำในการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำในทะเล ในพื้นที่ ใน-นอก เขตฯ ขนาด 500x500 เมตร ห่างจากฝั่ง 500 เมตร ซึ่งมีพื้นที่ 157 ไร่ 2.กำหนดใช้อวนปลาทูขนาด 4.5 ซม. ในการวาง โดยใช้ 2 ผืน ต่อเรือ 1 ลำ 3.ใช้เวลาวางอวนต่อครั้ง 30 นาที ทั้งใน-นอก เขตฯ

วิธีที่ 2 แบ่งหน้าที่รับผิดชอบของคณะทำงาน ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสัตว์น้ำที่จับได้ตามครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 7                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 79,110.00 12,782.00                  
คุณภาพกิจกรรม 28                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ ( 31 ต.ค. 2566 )
  2. การบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ กับ สสส. ( 24 พ.ย. 2566 )
  3. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ระดับพื้นที่ ( 24 พ.ย. 2566 )
  4. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ระดับรวมโครงการจังหวัดสงขลา ( 28 พ.ย. 2566 )
  5. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 ( 8 ธ.ค. 2566 )
  6. เก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อน-หลัง การมีเขตฯ ( 1 ม.ค. 2567 - 31 ม.ค. 2567 )
  7. เวทีจัดตั้งกติกาเขตอนุรักษ์และรับสมัครประมงอาสา ( 12 ม.ค. 2567 )
  8. เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) รวม 30 โครงการ ( 29 ม.ค. 2567 )
  9. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ ( 16 ก.พ. 2567 )
  10. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์และกติกาการจับสัตว์น้ำ ( 1 มี.ค. 2567 - 31 มี.ค. 2567 )
  11. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ( 1 มี.ค. 2567 - 31 มี.ค. 2567 )
  12. วางซั้งกอในเขตอนุรักษ์บ้านบ่อแดง ( 7 มี.ค. 2567 )

(................................)
นายสวัสดิ์ ทองมา
ผู้รับผิดชอบโครงการ