directions_run

การจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยกลไกชุมชนบ้านแหลมคูลา

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานที่มีความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรทางทะเลของชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.1 มีคณะทำงานอย่างน้อยจำนวน 15 คนมีซึ่งมีบทบาทการทำงานชัดเจนและมีศักยภาพ สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 มีแผนการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรทางทะเลที่สอดคล้องกับโครงการ 1.3 มีข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลอาชีพ รายได้ความเป็นอยู่ วิถีชิวิตของชุมชน
15.00

คณะกรรมการ มีสัดส่วนทั้งหยิงและชาย มาจากตัวแทนกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ เช่น กลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มกองทุนชุมชน กลุ่มประมงอาสา กลุ่มแม่บ้าน อสม.กรรมการหมู่บ้าน จำนวน 15 คน มีการแบ่งทีมทำงานโดยมีฝ่ายการทำงานที่ชัดเจนตามความถนัดของแต่ละคน มีแผนการทำงานของชุมชนที่สอดคล้องกับโครงการ โดยผ่านเวทีประชาคมของหมู่บ้าน มีฐานข้อมูลเบื้องต้นของหมู่บ้าน ประกอบด้วย ข้อมูลอาชีพ ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลวิถีความเป็นอยุ่ และข้อมูลรายได้ของประชากร เพื่อตั้งต้นในการวางแผนการทำงานของชุมชน

คณะทำงานรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่การทำงาน พร้อมขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการของชุมชนที่สอดคล้องกับแผนโครงการ แต่ต้องมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้พัฒนาศักยภาพเฉพาะด้านให้มีความถนัดมากขึ้น เช่น การสรุปรายงาน การบันทึกการประชุม การเคลียร์เอกสารการเงิน และการจัดทำรายงานในเว็บไซต์

เนื่องจากเป็นชุมชนใหม่ในการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งคณะทำงานยังไม่มีประสบการณ์ทั้งเรื่องของรายงานกิจกรรม การสรุปบัญชีที่เป็นระบบ แต่คณะทำงานมีความกระตื้อรื้อร้นพยายามเรียนรู้เพื่อให้มีความเข้าใจ และปฏิบัติเองได้

2 2.เพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูการทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
ตัวชี้วัด : 2.1มีเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำอย่างน้อย1แห่ง จำนวน 116 ไร่ 2.2มีกติกาการจัดการทรัพยากรทะเลของชุมชน 2.3มีบ้านปลาอย่างน้อย 7 คอก 2.4มีข้อมูลปริมาณและชนิดพันธุ์สัตว์น้ำก่อนและหลังการจัดการทำบ้านปลา 2.5เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯมีความรู้การดูแลรักษาทรัพยากรทะเลของชุมชน อย่างน้อย 15 คน
116.00

มีแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจนพร้อมกับกติกาข้อตกลงของชุมชนที่ห้ามทำการประมงทุกชนิดในเขตอนุรักษ์ โดยมีประมงอาสาในการทำการตรวจตราดูแลเขต จำนวน 15 คน แบ่งเวรยามตรวจตราเขต อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้ง 2 ลำ ลำละ 3 คน ทางกลุ่มได้มีการทำบ้านปลาที่ซ่อมแซมและสร้างใหม่ จำนวน 15 คอก และซั้งเชือกแบบ 20 จุด พร้อมกับทำข้อมูลการเปลี่ยนเปลี่ยนทรัพยากรก่อนทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟู จำนวน 1 ครั้ง และจะมีการเก็บหลังจากอนุรักษ์ฟื้นฟูอีก 1 ครั้ง

เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม มีการปรับเปลี่ยนการช่วงเวลาในกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเพื่อให้สอดคล้องกับสถานะการในพื้นที่

คณะกรรมการและสมาชิกในชุมชนสามารถปรับแผนการทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น การทำบ้านปลา และการเก็บข้อลการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร ชุมชนเห็นความสำคัญใช้ข้อมูลอ้างอิงในการทำงานและวางแผนการฟื้นฟูในอนาคต

3 3.เพื่อพัฒนาเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้งและศักยภาพในการดูแลเพาะฟักพันธุ์กุ้ง
ตัวชี้วัด : 3.1 แกนนำชุมชนมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติการบ่อเพาะฟักลูกกุ้งชุมชนบ้านแหลมคูลา อย่างน้อย 15 คน 3.2 เกิดการเพิ่มบ่อเพาะฟักลูกกุ้ง จำนวน 2 ลูกที่เหมาะสมในการเพาะฟัก 3.3 เกิดต้นแบบการจัดการธนาคารกุ้งของชุมชน
13.00

แกนนำทั้ง 13 คนมีความรู้ ทักษะในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนใกล้เคียงได้ และมีโรงเพาะฟักลูกกุ้งจำนวน 6 บ่อ ปรับจำนวนบ่อเดิม 4 บ่อ และบ่อใหม่ 2 บ่อ

โรงเพาะฟักสัตว์น้ำชุมชนเป็นที่สนใจของสมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง พร้อมที่จะพัฒนายกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้สัตว์น้ำชุมชน

มีทิศทางที่จะขยายผลในชุมชนใกล้เคียงและเป็นที่ศึกษาดูงานของสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญส่งผลให้แกนนำมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการพัฒนาโครงการปีที่ 2 พร้อมกับเพิ่มสมาชิกแกนนำการทำงานในพื้นที่

4 4.เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 4.1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 4.2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 4.3โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงานกำหนด
0.00

โครงการสามารถดำเนินได้ตามแผนที่กำหนดและรายงานผลการดำเนินโครงการในระบบออนไลน์ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง

เนื่องจากเป็นพื้นที่ใหม่ในการขับเคลื่อนโครงการและมีระบบรายงานที่ชุมชนยังไม่คุ้นชิน ซึ่งมีความจำเป็นที่พี่เลี้ยงและที่ปรึกษาต้องให้คำแนะนำ และฝึกปฏิบัติการการจัดทำรายงานผ่านระบบเว็บไซต์ และการเคลียร์เอกสาร รายงานที่ถูกต้องตามระเบียบ สสส.

ชุมชนพยายามเรียนรู้กิจกรรมและรายงานการเงินในระบบเว็บไซต์พร้อมกับการเคลียร์ระบบการเงินที่ถูกต้องตามใช้เงินของ สสส.