directions_run

อนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์น้ำเพื่อ สร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรทางทะเลริมชายฝั่ง ( บ้านท่าหิน )

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงาน 1 ก.ค. 2566 10 ก.ค. 2566

 

1.ประสานผุ้เขารวมประชุม 2.จัดการประชุม

 

ผู้เข่าร่วมประชุม 1.นายสมคิด อำมาดี ประธาน 2.นายบุญคล่อง รองเดช รองประธาน 3.นายมาชอต อยู่ดี รองประธาน 4.นายเจษฎา บังคน 5.นายสุริยา ยีอา เหรัญญิก 6.นายบาราเหม มะสมัน เลขานุการ 7.นายบูอาสัน หับหยุโส๊ะ กรรมการ 8.นายอับดุลซ่อหมาด มะสมัน กรรมการ 9.นายบราเฮม ละไบอุมา กรรมการ 10.นายวีระศักดิ์ อำมาดี กรรมการ เริ่มประชุม 09.00 น.
- ประธานกล่าวเปิดประชุม วาระที่ 1 เรื่องแจ้งที่ประชุมทราบ - สำนักงงานกองทุนหลักประกันสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส ) แจ้งกำหนดการปฐมนิเทศน์โครงการย่อย แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุชภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเลเพื่อชี้แจงบทบาทของสมาคมรักษ์ทะเลไทยภายใต้แผนงานร่วมทุนฯและกระบวนการทำงานขี่ยถัดไปของโครงการย่อยในวันที่ 13 กรฏฎาคม 2566 ณ โรงแรมเดอะฟลอร่า เมย์ รีสอร์ท ตำบลพะวง อ.เมือง จ.สงขลา มติที่ประชุม- รับทราบ วาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม
- ไม่มี วะระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง
- ไม่มี วาระที่ 4 เรื่องเสนอให้ที่ประชมทราบ - ประมงพื้นบ้านท่าหิน ม.6 ต.ควนขัน อ.เมือง  จ.สตูล ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากทรัพยากรทางทะเลที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีจำนวนทรัพยากรทางทะเลที่ลดลง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำผิดกฏหมายเพื่อจับสัตว์น้ำให้ได้จำนวนมากและอุปกรณ์ของเรือที่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยจของสัตว์น้ำรวมไปถึงมลพิษจากการเลี้ยงกุ้งที่ปล่อยให้น้ำเสียลงสุ่ทะเลชายฝั่งส่งผลกระทบต่อการขยายพันธ์ เช่นเกียวกับการบุรุกทำลายป่าชายเลนเพื่อขยายเมืองก็มีส่วนทำลายที่อยู่อาศัยและแหล่งอนุบาลธรรมชาติของสัตว์น้ำรวมไปถึงกระบวนการทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำชายฝั่งถึงแม้ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้แต่หากมีการนำมาใช้ประโยน์ในทางที่ผิดและมากจนเกินไป ทำใหส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอื่น ในระบบนิเวศน์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อปัจจัยทางอาหารในการดำรงชีวิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บากันแตรัม ต้องเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อคืนความสมบูรณ์และสมดุลย์ของระบบนิเวศน์สร้างความยั่งยืนแก่ท้องทะเลด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเชิงระบบนิเวศน์ โดยส่งเสริมให้ชุมชนที่ปรปะกอบอาชีพประมงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การฝึกอบรม ปลูกจิตรสำนึกในการอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้ประมงพื้นบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ความคุ้มค่าที่ยั่งยืนต่อไป วาระที่ 5 เรื่องเพื่อเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ประธาน - เพื่อให้การดำเนินการโครงการอนุรัหษ์และฟื้นฟูสัตว์น้ำเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรทางทะเลรอมชายฝั่ง ( บ้านท่าหิน )เป็นไปด้วยความเรียบร้อยจึงมีความจำเป็นต้องประชุมคณะทำงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆัมแตรัมร่วมกับประมงพื้นบ้าน ชุมชนเพื่อหารารือแนวทางการวางแผนการดำเนินงานการจัดและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานคณะทำงานมีความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานอย่างไรบ้าง
นายบุญคล้่อง รองเนตร ในการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงานแต่ละครั้งต้องประสานกลุ่มเป้าหมาย ประสานประมงพื้นบ้าน ชุมชนเพื่อหารือแนวทางการวางแผนการดำเนินงานด้วยจะได้มีการดำเนินงานที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน มติ ที่ประชุมรับทราบ นานวีระศักดิ์ อำมาดี ( กรรมการ ) - ควรมีการส่งเสริมการให้ความรู้กับคนในชุมชน มีแผนงานในการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฏหมายและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกกันการทำประมงและเครื่องมือผิดกฏหมายร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย อง๕ืกรที่เกี่ยวข้อง มติ - ที่ประชุมรับทราบ นายบูอาซัน หมาดยูโสะ  - ควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการปลปูกจิตสำนึกให้กับแกนนำชุมชนเกิดการเรียนรู้ ม่ีความตระหนักในการอนุรักษ์ ทรัพยากีชรชายฝั่งของชุมชนและร่วมฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชน การเปลี่บนแปลงพฤติกรรม เช่น กิจกรรมปล่อยพันธ์สัตวืน้ำกิจกรรมปลูกป่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของชุมชน
มติ - ประชุมห็นชอบ
นายสมคิด อำมาดี ( ประธาน ) - เพื่อให้การดำเนินการโครงการอนุุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำเพื่อสร้างความยั่งยืน มีกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องจัดให้มีประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อจัดทำแผนการทำงานและส่งเสริมให้มีคณะทำงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเพื่อเป็นการเพิ่มเครือข่ายคณะทำงาน ซึ่งในคราวต่อไปจะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานและประมงพื้นบ้านและหารือการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งต่อไป มติ - ที่ประชุมเห็นชอบ วาระที่ 6 - เรื่องอื่น ๆ
ไมม่ี เลิกประชุม 14.00 น.
ลงชื่อ.........................ผู้จดบันทึการประชุม นายสุรีิยา ยีอา เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม
ลงชื่อ ........................นายสมคิด อำมาดี ผู้ตรวจ/รับรอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม

 

บริหารโครงการ 1 ก.ค. 2566 27 เม.ย. 2567

 

ค่าอินเทอเนท

 

การสื่อสารโครงการ

 

เวทีปฐมนิเทศโครงการร่วมกับสมาคมรักษ์ทะเไทย 30 ก.ค. 2566 30 ก.ค. 2566

 

ประสานการเข้าร่วประชุม เข้าร่วมประชุม

 

แนวทาการดำเนินโครงการและการบริหารโครงการ

 

กิจกรรมทำบ้านปลา 23 ก.ย. 2566 23 ก.ย. 2566

 

กิจกรรมทำบ้านปลา คลองท่าหิน หมู่ 6 ตำบลควนขัน

วัตถุประสงค์ 1.เพื่อช่วยฟื้นคืนระบบนิเวศชายฝั่ง 2.สร้างพื้นที่อาศัยให้แก่สัตว์น้ำ เพื่อระยะทางการออกทะเล

กลุ่มเป้าหมาย และผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 50 คน

โดยการจัดทำบ้านปลาจากวัสดุธรรมชาติ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งอาศัยและหลบภัยของสัตว์น้ำ สร้างแนวเขตอนุรักษ์ ทำให้มีสัตว์น้ำเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้น สร้างความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ชาวประมง สามารถจับสัตว์น้ำได้ในบริเวณใกล้ และยังตระหนักถึงความสำคัญในการทำประมงอย่างยั่งยืน และเห็นความสำคัญของการจัดทำบ้านปลาและแนวเขตอนุรักษ์

 

ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม 1.สัตว์น้ำมีพื้นที่อาศํย และมีความหลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่ปลาชนิเดียว แต่รวมไปถึง กุ้ง หอย หรือปู 2.ระบบนิเวศ ทรัพยากรทางประมงได้รับการฟื้นฟู

 

่ประชุมคณะทำงานจัดทำและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 4/2566 17 ต.ค. 2566 17 ต.ค. 2566

 

-จัดประชุมคณะทำงาน -หารือการดำเนินงาน -ติดตามการดำเนินงาน

 

จัดประชุมคณะทำงาน หารือ ติดตามตามการดำเนินงาน ส่งเสริมให้ชุมชนประกอบอาชีพประมงมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจากแหล่งทรัพยากรในชุมชน อย่างถูกต้อง เกิดความคุ้มค่า

 

ประชุมคณะทำงานจัดทำและวางแผนการทำงาน ครั้งที่ 5/2566 11 พ.ย. 2566 11 พ.ย. 2566

 

-ประชุมคณะทำงาน -วางแผนการดำเนินงาน

 

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 จัดประชุมร่วมกันของคณะทำงาน ประชุมหารือ วางแผนการดำเนินงาน ่่มีความเห็นร่วมกันว่าควรจัดให้มีกิจกรรมจิตอาสาร่วมกับภาคีองค์กรเครือข่าย เช่น กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปลูกป่า ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้มีความรู้ทางวิชาการ เกิดการมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชน มีการใช้ทรัพยากรที่สอดคล้องกับแผนงานและบริบทของพื้นที่

 

ประชุมคณะทำงาน 13 ม.ค. 2567 13 ม.ค. 2567

 

1.เข้าร่วมการประชุม 2.คณะเข้ากรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 10 คน 3.การติดตามผล 3.1 สร้างความเข้าใจให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3.2 สอดส่องดูแลทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง

 

ผลที่ได้รับ 1.กิจกรรมดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงเรียน 2.ตระหนักถึงการอนุรักษ์ และเพิ่มทรัพยากรทางธรรมชาติ

ผลหลังการติดตาม 1.ได้รับการตอบรับโครงการเป็นอย่างดีจากชุมชน 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรริมชายฝั่ง

 

ประชุมคณะทำงาน 11 ก.พ. 2567 11 ก.พ. 2567

 

1.เข้าร่วมการประชุม
2.คณะเข้ากรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 10 คน

 

ผลจากการติดตาม 1.มีการลักลอบการทำประมงผิดกฏหมายน้อยลง
2.ทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 3.เครือข่ายและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ของตนเอง 4.เยาวชนมีคววามรู้ และความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

ประชุมคณะทำงาน 9 มี.ค. 2567 9 มี.ค. 2567

 

1.เข้าร่วมการประชุม
2.คณะเข้ากรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 10 คน

 

ผลจากการติดตาม 1.ชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2.มีการจัดชุดลาดตระเวนระวังการทำประมงผิดกฏหมาย 3.ได้รับความร่วมมือจ่กคณะทำงานและชุมชน

 

เวทีถอดบทเรียน 12 เม.ย. 2567 12 เม.ย. 2567

 

ประสานงานการประชุม ถอดบทเรียนการทำงานโดยพี่เลี้ยง

 

เอกสารสรุปกิจกรรมและผลการดำเนินโครงการและแนวทางการทำงานในระยะต่อไป

 

เวทีประเมินผลโครงการและประเมินสถานการณ์สัตว์น้ำ 20 เม.ย. 2567 20 เม.ย. 2567

 

ร่วมถอดบทเรียนในเวทีประเมินผลโครงการและประเมินสถานการณ์สัตว์น้ำ

กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น 50 คน

 

ผลที่ได้รับจากการร่วมถอดบทเรียน 1.การเรียนรู้ผลลัพธ์ของโครงการ
2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เรียนรู้ประสบการณ์ ความคิดเห็น
3.พัฒนาโครงการ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เวทีปิดโครงการร่วมกับสมาคมรักษ์ทะเลไทย 30 เม.ย. 2567 30 เม.ย. 2567

 

1.ประสานงานการเข้าร่วม 2.จัดทำข้อมูลและสื่อ 3.เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการทำงาน

 

นำเสนอผลการดำเนินโครงการและผลการทำงานกิจกรรมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการก

 

ปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 28 มิ.ย. 2567 11 ส.ค. 2566

 

กิจกรรมการปลูกป่าชายเลน และปล่อยพันธ์ุสัตว์น้ำ ณ ท่าเทียบเรือบ้านท่าหิน หมู่ที่ 6 ตำบลควนขัน

วัถุประสงค์ 1.เพิ่มจำนวนป่าชายเลน 2.เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำชายฝั่ง 3.ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

กลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมรวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน ประกอบด้วยเด็กและเยาวชน

 

ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม 1.เป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งบ้านท่าหิน 2.เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งท่าหิน 3.ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ทั้งการร่วมคิด วางแผนการดำเนินงาน 4.การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน จากบริการของผลผลิตจากป่าชายเลน

 

ปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 28 มิ.ย. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงาน 29 มิ.ย. 2567 6 เม.ย. 2567

 

1.เข้าร่วมการประชุม
2.คณะเข้ากรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 10 คน

 

ผลที่ได้รับจากการติดตาม 1.ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประกอบอาชีพ 2.ทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 3.ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

 

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชาวประมงพื้นบ้าน และหารือการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง 15 ก.ค. 2566 15 ก.ค. 2566

 

1.ประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม 2.จัดการประชุม

 

เริ่มประชุม  09.00  น. ประธานกล่าวเปิดประชุมและดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปนี้ วาระที่  1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ี่ประชุมทราบ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  การดำเนินการตามโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์นำ้เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ต้องมีการประชุมหารือกำหนดแนวเขตและฟื้นฟุทรัพยากรสัตว์น้ำและมีการออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในเขตอนุรักษ์ร่วมกับคณะทำงานชุมชนและประมงพื้นบ้าน ที่ประชุม  -  รับทราบ วาระที่  2  เรื่องรับรองรายงานประชุม  -  ไม่มี มติ  -  รับทราบ วาระที่  3  เรื่องสืบเนื่อง  -  ถ้ามี
ไม่มี วาระที่  4  เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมรับทราบ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  ท่านใดจะเสนอแนวทางการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟ ุทรัพยากรสัตว์น้ำและเห็นว่าควรมีการออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ในเขคอนุรักษ์อย่างไรบ้าง นายบาราเหม  งะสมัน  -  เราควรกำหนดเขตอนุรักษ์พันธืสัตว์น้ำในคลองท่าหินเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำให้ชัดเจน นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  ตามที่นายบาราเหม  มะสมัน  เสนอให้มีการกำหนดแนวเขตอนุรัษ์พันธืสัตว์น้ำในคลองทา่หินเพื่อการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำให้ชัดเจนมีชาวประมงท่านใดมีแนวคิดนำเสนอการกำหนดคลองทาหินเพิ่มเติมหรือไม่ นายเจษฎา  บังคม  -  เสนอให้เริ่มให้เริ่มกันแนวเขตอนุรักษ์  ตั้งแต่ท่าเทียบเรือคลองทาหินออกไปถึงสามแยกคลองการังมีระยะทางประมาณ  3  กิโลเมตร
นายบุญคล่อง  รองเดช  -  แล้วเราจะใช้วีธีการใดในการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์  และจะเกิดผลกระทบอะไรบ้างต่อพี่น้องชาวประมงและจะทำอย่างไรไม่ให้ชาวประมงได้รับความเดือดร้อนในการทำมาหากินในบริเวณที่เรากันนวเขตอนุรักษ์ในคลองท่าหิน นายบูฮัดซัน  หับยูโส๊ะ  -  เรากันแนวเขตอนุรักษ์เพื่อให้เป็นแนวเขตการห้ามทำประมงผิดกฏหมายด้วยเนื่องจากมีประมงต่างถิ่นลักลอบเข้ามาทำการประมงผิดกฏหมาย  เช่น  อวนรุน  ไซไอ้โง่  อวนปิดอ่าว  อวนปิดลูกคลอง
นายมาซอด  อยู่ดี  -  เราควรขอสนับสนุนพันธ์สัตว์น้ำจากสำนักงานประมงจังหวัดมาปล่อยเพื่อเป็นการอนุรัหษ์และเพิ่มจำนวนพันธ์สัตว์น้ำไปด้วย  เช่น  ปลากระพง  กุ้งขาว  ปูม้า นายบุญคล่อง  รองเดช  -  เห็นด้วยกับนายมาซอด  อยู่ดี  ในเมื่อเราทำโครงการอนุรัหษ์และฟื้นฟูสัตว์น้ำเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเราสมควรปล่อยพันธ์สัตว์น้ำควบคู่ไปด้วย  สัตว์นำ้เราปล่อยจะได้เจริญเติบโตให้ชาวประมงบ้านเราได้ออกไปทำการประมงใกล้  ๆ  ฝั่งและลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้นำ้มันเชื้อเพลิงในการออกไปทำการประมงและเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวประมงด้วย นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  ผมจะทำหนังสือขอคว่ามอนุเคราะห์พันธ์สัตว์นำ้ไปยังสำนักงานประมงจังหวัดสตูลเพื่อนำมาปล่อยในคลองท่าหิน นายอับดุลซ่อหมาด    มะสมัน  -  ในเมื่อเรากำหนดแนวเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำในคลองท่าหินเพื่อเป็นการอนุรักษ์พัน์สัตว์น้ำเราควรตั้งคณะทำงานในการดูแลแนวเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำในคลองทาหิน  เพื่อไม่ให้มีการลักลอบการทำประมงผิดกฏหมายในเขตอนุรักษ์ที่เรากำหนเ นายบราเหม  ละใบอุมา  -  เนื่องจากคลองทาหินมีชาวประมงลักลอบมาทำการประมงผิดกฏหมาย  เช่น  อวนรุน  ไซไอ้โง่  อวนปิดอ่าว  อวนปิดลูดคลอง  เราควรให้คณะทำงานในการดูแลแนวเขตฯได้ไปพูดคุยเจรจาเพื่อขอความร่วมมือห้ามทำการประมงผิดกฏหมายในเขตอนุรักษ์ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  ให้สมาชิกทุกกคนสรุปแนวเขตที่ชัดเจนในการกำหนดแนวเขตการอนุรักษ์ฯในคลองท่าหิน นายวีระศักดิ์  อำมาดี  -  ผมนำเสนอทำป้ายประชาสัมพันธ์และกำหนดแนวเขตที่ชัดเจนและขอเสนอให้มีกติกาห้ามทำการประมงผิดกฏหมายทุกชนิด  ดังนี้ 1.  ห้ามเรือวนรุนเข้ารุนในบริเวณเขตอนุรักษ์ 2.ห้ามเรืออวนปิดอ่าวบริเวณเขตอนุรักษ์ 3.ห้ามเรือปิดลูกคลองบริเวณเขตอนุรักษ์ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  ที่ประชุมมีความคิดเห็นหรือข้อเสนออย้างไรบ้างตามกติกาที่ได้เสนอดังกล่าว มติ  -  ที่ประชุมเห็นชอบ
วาระที่  5  เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา  -  ไม่มี วะระที่ 6  เรื่องอื่น  ๆ  -  ไม่มี เลิกประชุม  15.00  น. ลงชื่อ.........................ผู้จดบันทึการประชุม  นายสุรีิยา  ยีอา  เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม
ลงชื่อ ........................นายสมคิด  อำมาดี  ผู้ตรวจ/รับรอง  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม

 

ประชุมคณะทำงานเดือนละ 2/2566 ครั้ง จัดทำแผนการทำงาน วางแผนการทำงาน 13 ส.ค. 2566 13 ส.ค. 2566

 

1.ประสานผู้เข้าร่วมประชุม 2.จัดกาประชุมคณะทำงาน

 

เริ่มประชุม  09.00  น.  ปประธานกล่าวเปิดประชุมและดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมกังต่อไปนี้ วาระที่  1  เรื่อง  ประฌานแจ้งที่ประชุมทราบ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  -  ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าตามที่คณะทำงานได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์น้ำเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ทรัพยการทางทะเลและชายฝั่ง (  บ้านทา่หิน )  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ความคุ้มคาอต่อไป วาระ ที่  2  เรื่องรับรองรายงานการประชุม
นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน  )  -  ขอมติที่ประชุมรับรองรานงานการประชุมครั้งที่ 1  เมื่อวันที่  10  กรกฏาคม  2566
มคิที่ประชุม  -  รับรองรายงานการประชุม วาระที่  3  -  เรื่องสืบเนื่อง  ไม่มี วาระที่  4  เรื่องเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ  ไม่มี วาระที่ 5  เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  ตามที่คณะทำงานได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานและกำหหนดจัดกิจกรรมต่าง  ๆ  ดังนี้
5.1  กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ  1  ครั้ง  เพื่อวางแผนการทำงานและกำหนดจัดกิจกรรมต่าง  ๆ  ดังนี้ -  ปรึกษาคณะทำงานเดือนละ  1  ตรั้ง
-  ประสานกลุ่มเป้าหมายต้่ง  ๆ
-  จัดกิจกรรมตามกำหนด
-  บันทึกกิจกรรมและสรุปการประชุม 5.2  ประชุมร่วมกับประมงพื้นบ้านและหารือการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์และฟื้นฟุทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง -  ประสานประมงพื้นบ้านและตัวแทนหน่วนงานที่เข้าร่วมประชุม -  หารือออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์ร่วมกันในเขตอนรักษ์ 5.3  ประชุมคณะทำงานและคนในชุมชรมีแผนการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฏหมาย -  สร้างจิตสำนักให้คนในชุมชน
-  มีคณะทำงานเพิ่มขึ้น
-  อบรมพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้าน -  จัดทำและติดตั้งแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ 5.4  ประสานความร่วมมือภาคีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -  ประสานประมงพื้นบ้านและตัวแทนเข้าร่วมประชุม
-  ประชุมหารือออกแบบกติกาการใช้ประโยชน์กในเขคอนุรักษ์ 5.5  ปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร -  เพิ่มจำนวนการปลูกปปปป่าชายเลน -  ประสานหน่วนงานในการปลูกป่าชายเลนและปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ -  การทำบ้านปลาและการเตรียมอุปกรณ์ 5.6  สรุปภาพรวมโครงการและกิจกรรมต่าง  ๆ  และการเปลี่ยนแปลงทรทัพบากร มติที่ประชุม  -  เห็นกชอบแผนการดำเนินงานและการกำหนดกกิจกรรมดังกล่าว นายบุญคล่อง  รองเดช  (  รองประธาน )  -  ในการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนแต่ละครั้งต้องประสานกลุ่มเป้าหมาย  ประสานกลุ่มประมงพื้นบ้าน  ผู้ที่เกี่ยวข้องต้่าง  ๆ  เข้าร่มประชุมเพื่อจะได้มีแนวทางการดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันมีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน
มติที่ประชุม  -  รับทราบ นายอาบูอาสัน  ฉชฮับยูโสะ  (  กรรมการ  )  การจัดกิจกรรมต่าง  ๆ  ต้องประสานชุมชนให้ชุมชนมีส่วนร่วม  และมีจิตสำนึกนการอนุรักษ์์และฟื้นฟูสัวต์น้ำชายฝั่ง  มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมมากที่สุด มติที่ประชุม  -  รับทราบ สมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  -  เพื่อให้กรดำเนินการของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟุสัตว์น้ำเพื่อสร้างความยั่งยืน  มีกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพจึงต้องจัดให้มีการประชุมคณะทำวานเดือนละ  1  ครั้ง  เพือ่จัดทำแผนการทำงานและส่งเสริมให้มีคณะทำงานเพิ่มขึ้น  จากเดิม  เพื่อเป็นการเพิ่มเครือข่ายในการทำงาน  และมีการประชุมคณะทำงานเดือ่นต่อไป  วันเวลา  สถานทีป่ระชุมจะแจ้งให้ทราบต่อไป มติ  -  ที่ประชุมเห็นชอบ
วาระที่  6  เรื่องอื่น  ๆ  -  ไม่มี เลิกประชุม  16.00  น. ลงชื่อ.........................ผู้จดบันทึการประชุม  นายสุรีิยา  ยีอา  เลขานุการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม
ลงชื่อ ........................นายสมคิด  อำมาดี  ผู้ตรวจ/รับรอง  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอนุรักษ์บ้านบาฆันเตรัม

 

5.ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง 2 ครั้ง 1 ก.ย. 2566 28 ต.ค. 2566

 

1.  ประสานกับพี่เลี้ยงและชุมชนเพื่อเตรียมการประชุม 2.  จัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้ากิจกรรมและประเมินผลลัพย์การดำเนินกิจกรรม

 

1.กิจกรรมที่ดำนินการไปแล้ว 1.1 ประชุมคณะทำงานจำนวน 3 ครั้ง - ชี้แจงโครงการกับคณะทำงาน - วางแผนการทำงาน - ดำเนินกิจกรรมตามแผน - จัดทำกฏหติกาชุมชน ผลลัพธฺ
- ได้คณะทำงานเพิ่มขึ้น 1 คน - ใช้วิธีเจรจาผู้กระทำความผิดกฏหมาย ได้รับการตอบรับและมีการลดใช้เครืองมือการทำประมงผิดกฏหมายในเขตอนุรักษ์ - มีการเฝ้ารัวังตรวจตราพื้นที่เขตอนุรัหษ์ 1.2 ประชุมร่วมกับชาวประมงพื้นบ้าน - กำหนดกิตากาการใช้เครื่องมือในเขตอนุรักษ์ ห้ามเครืองมืออวนรุน ไซหนอน ปิดอ่าว ในพื้นที่อนุรักษ์ - จัดทำแนวเขตอนรุกษ์ระยะทาง 3 กิโลเมตรจากคลองท่าหินถึง 3 แยกคลองการัง 1.3 ประชุมทำแผนเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ฯ 1.4 ติดป้าเขตอนุรักษ์จำนวน 1 ป้ายจากเป้าหมายจำนวน 2 ป้าย

 

ประชุมคณะทำงาน 3/2566 ครั้ง จัดทำแผนการทำงาน วางแผนการทำงาน 16 ก.ย. 2566 16 ก.ย. 2566

 

1.ประสานผู้เข่าร่วมประชุม 2.จัดการประชุม

 

ผู้มาประชุม 1.นายสมคิด  อำมาดี  ประธาน 2.นายบุญคล่อง  รองเดช  รองประธาน 3.นายมาชอต  อยู่ดี  รองประธาน 4.นายเจษฎา  บังคน 5.นายสุริยา  ยีอา  เหรัญญิก 6.นายบาราเหม  มะสมัน  เลขานุการ 7.นายบูอาสัน  หับหยุโส๊ะ  กรรมการ 8.นายอับดุลซ่อหมาด  มะสมัน  กรรมการ 9.นายบราเฮม  ละไบอุมา  กรรมการ 10.นายวีระศักดิ์  อำมาดี  กรรมการ เริ่มประชุม  09.00  น.  -  ประธานกล่าวเปิดการประชุมและดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปนี้ วาระที่  1  เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  การประชุมคระทำงานครั้งนี้เป็นการประชุมคณะทำงานเพื่อปรึกษาหารือการทำงานและติดตามผลการดำเนินกิจกรรมต่าง  ๆ
ที่ประชุมรับทราบ วาระที่  2  เรื่องรับรองรายงานการประชุม
นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  ขอมติที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมครั้งที่  2  เมื่อวันที่  13  สิงหาคม  2566
มติ  ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม วาระที่  3  เรื่องสืบเนื่องไม่มี วาระที่  3  เรื่องเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณา นายสมคิด  อำมาดี  (  ประธาน )  คามที่คณะทำงานให้มีความคิดที่หลากหลายและเกิดปรเสิทธิภาพกการทำงานเพิ่มมกาขึ้นประมงพื้นบ้านและชุมชนได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานและกำหนดจักิจกรรมโครงการเพื่อร่วมกันฟทื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง (  บ้านท่าหิน )คณะทำงานท่านใดมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินการเพิ่มเติม นายบาราเหม  มะสมัน  (  กรรมการ )  ขณะนี้มีคณะทำงาน  22  คน  มีความเห็นควรส่งเสิรมเพิ่มจำนวนคณะทำงานให้มากกว่าเดิมเพื่อเป็นการขยายเครือข่ายการทำงานเพิ่มมากขึ้น  โดยเพิ่มชอ่งทางกาประชาสัมพันธื  ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายร่วมถึงหน่วยงานต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวขอ้งให้มีส่วนร่วม
มติที่ประชุม  เห็นชอบ นายบุญคล่อง  รองเดช  (  กรรมการ  )  -  คณะทำงานทุกท่านต้องให้ความ่วมมือช่วยกันประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ชุมชนมีจิตสำนึกและเข้าร่วมกิจกรรมต่างด้วยความสมัครใจ มติที่ประชุมเห็นชอบ นายบราเหม  ละใบอุมา  (  กรมการ  )  -  ในการกำหนดกิตกาการใช้ประโยชน์ร่วกมันจะมีการดำเนินการอย่างไร นายสมคิด  อำมาดี  การกำหนดแบบกกติกาการใช้ประโยชน์ร่วกมันนั้นจะต้องมีการประสานประมงพื้นบ้านและตัวแทนหน่วยงานเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกันเพื่อกำหนดกติการใช้ประโยชน์ร่วกมันต่อไป มติที่ประชุม  -  เห็นชอบ วาระที่  6  เรื่องอื่น  -  ไม่มี เลิกประชุม  15.00  น.
ลงชื่อ  ....................นายสุริยา  ยีอา  ผุ้บันทุกกการประชุม เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวและอนุรักษ์บ้านบาฆันแตรัม ลงชื่อ  .....................นายสมคิด  อำมาดี
ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวและอนุรักษ์บ้านบาฆันแตรัม

 

ประชุมคณะทำงานและคนในชุมชนมีแผนงานในการเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมายและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์จำนวน 2 จุด 12 ต.ค. 2566 12 ต.ค. 2566

 

1.จัดทำแนวเขตอนุรักษ์ 2.จัดทำป้ายข้อตกลงการห้ามใช้เครืองมือประมงผิดกฏหมาย 3.ดำเนินการติดป้ายข้อตกลงเพื่อประชาสัมพันธ์

 

1.  ผู้ใช้เครืองมือประมงผิดกฏหมายมีความเข้าใจและและให้ความร่วมมือไม่เข้ามาทำประมงโดยใช้เครืองมือผิดกฏหมายในเขตอนุรักษ์ในระยะ  3  กิโลเมตรในคลองทา่หินถึงคลองการังมีจำนวนลดลง 2.  ได้คณะทำงานเพิ่มจากการทำกิจกรรมจำนวน  1  คน