directions_run

ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและการพัฒนาศักยภาพเพื่อจัดตั้งองค์กรชาวประมงพื้นบ้าน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อจัดตั้งกลุ่มองค์กรชาวประมงพื้นบ้านให้เกิดความเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานกลุ่ม 2.มีการจดทะเบียนองค์กรชาวประมงพื้นบ้าน 3.ได้รู้ข้อมูลพื้นฐานปัญหาของชุมชน 4.มีโครงสร้างระเบียบข้อบังคับกลุ่มประมง 5.ชาวประมงเข้าใจการบริหารจัดการฟื้นฟูทรัพยากร

เกิดกลไกคณะทำงาน โดยมาจากคนในชุมชน ทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทบทวนข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ การทำซังกอและปลูกหญ้าทะเล เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน และ เกิดแผนการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำร่วมกันที่ชัดเจนคณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง

แกนนำมีความรู้และมีศักยภาพในการบริหารทรัพยากรในประเด็นที่กว้างขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในประเด็นใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานของชุมชน

คณะทำงาน และทีมชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกันในเรื่องของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากร เพื่อการประโยชน์ของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ควบคู่กับการให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และผลเสียจากการเสื่อมโทรมของทรัพยากรให้คนในชุมชนได้เกิดความตระหนัก นึกคิด และหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาทรัพยากรชายฝั่งทะเลในพื้นที่

2 เพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในชุมชนอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1.เกิดธนาคารปูม้าชุมชน 2.ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 3.ปลูกป่าโกงกางเพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ 4.มีกฎกติกาการจับปูและหอยที่มีขนาดเล็กในชุมชนทะเลหน้าบ้าน บ้านบ่อเจ็ดลูก

มีการปลูกป่าโกงกางจำนวน 200 ต้น ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ (ลูกปูม้า) จำนวน 7-8 แสนตัวชาวบ้าน ชาวประมงเกิดการใช้ประโยชน์จากกการปลูกป่าชายเลนและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำของเรือประมงพื้นบ้านในชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล และพื้นที่ใกล้เคียงเกิดการเพิ่มปริมาณจำนวนสัตว์น้ำ เช่น จากเมื่อก่อน เดิมมีสัตว์น้ำวัยอ่อนอาศัยอยู่บ้างแล้ว หลังปลูกป่าชายเลน ปล่อยลูกปู สังเกตได้อย่างชัดเจน มีปริมาณสัตว์น้ำวัยอ่อนที่หลากหลายและจำนวนเพิ่มมากขึ้นปัจจุบันชาวประมงพื้นบ้านสามรถหาสัตว์น้ำได้บริเวณที่อนุรักษ์ไว้ชาวประมงมีความสุขและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้น และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ (ลูกปู) จึงเป็นประโยชน์ให้แกชาวประมงพื้นบ้านบ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ชาวประมงมีความสุขและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ให้มีโอกาสได้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ คนในชุมชนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่พึ่งพาอาศัย

 

คนในชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูของสัตว์น้ำ ปลูกป่าชายเลน (ป่าโกงกาง) ที่ส่งผลค่อนข้างชัดเจนต่อการเพิ่มปริมาณของสัตว์น้ำ ส่งผลดีต่อการประกอบอาชีพทำการประมง มีรายได้ ดีขึ้น และที่สำคัญการบริโภคสัตว์น้ำที่จับเอง ส่งผลดีต่อสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวและผู้บริโภค ได้บริโภค อาหารทะเลสด ปลอดภัย ปลอดสารเคมี

3 แกนนำชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะ โดย การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยและมาจากการประมงยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1.แกนนำชาวประมงและชุมชน เปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 30 คน

ชาวบ้าน ชาวประมงมีการ จับ และขาย สัตว์น้ำ จากการทำประมงพื้นบ้าน ชาวประมง มีความสุข พอใจ ที่ได้บริโภค อาหารทะเล สดๆๆ ปราศจากสารเคมี

 

การจัดการผลผลิตของสัตว์น้ำที่สอดคล้องตามฤดูกาล ส่งผลให้สมาชิกมีความสนใจที่จะนำไปสร้างรายได้เพิ่ม พร้อมทั้งบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นในครอบครัว