directions_run

ฟื้นเลด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำคืนวิถีชุมชนปากประ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีเปิดโครงการ 25 ก.ค. 2566 25 ก.ค. 2566

 

ผู้รับผิดชอบชี้แจงทำความเข้าใจที่มาของโครงการและรายละเอียดโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลลัพธ์ พี่เลี้ยงแนะนำ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และที่มาของแผนงานร่วมทุนสสส.กับสมาคมรักษ์ทะเลไทย ข้อตกลงร่วมที่โครงการย่อยทำร่วม . ทำความเข้าใจสถานการณ์ของทะเลสาบสงขลา เลปากประโดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู มาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ระดมความคิดเห็นตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแสดงความเห็นหาวิธีการที่จะฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลางทั้งพื้นที่เก่าและพื้นใหม่ 2.ตั้งคณะทำงาน จำนวน 15 คน จากทีมคณะผู้นำและตัวแทนครัวเรือนทำอาชีพประมง เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ ประชุม ปจด. จำนวน 40 คน

 

1.ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความตระหนักและสมัครใจร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง เน้นความร่วมมือของทุกภาคส่วน 2. ได้แนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ในการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ เพิ่มบ้านปลา ทบทวนกติกา กลไกประมงอาสาเฝ้าระวัง 3. ภาคี ประกอบด้วย สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง เขตรห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง ความร่วมมือพร้อมหนุนเสริมการดำเนินโครงการและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง มูลนิธิ (CP)

 

ประชุมคณะทำงาน 26 ก.ค. 2566 26 ก.ค. 2566

 

จัดประชุมคณะทำงานประจำเดือน

 

ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานพร้อมมอบหมายแบ่งงานให้กับทีมคณะทำงานตามความถนัด  และกำหนดการประชุมครั้งถัดไป

 

ประชุมคณะทำงาน 5 ก.ย. 2566 5 ก.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

 

  • ประชุมวางแผนการทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด
  • ทีมคณะทำงานเสนอปัญหาอุปสรรค์ในการทำงาน
  • มอบหมายหน้าที่ตามความถนัดในกิจกรรม
  • ทีมมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามแผนมากขึ้น

 

ประชุมคณะทำงาน 5 พ.ย. 2566 5 พ.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

 

วางแผน เตรียมการป้องกันรับมือช่วงมรสุม ที่อาจจะเกิดผลกระทบตอแนวเขตอนุรักษ์ โดยทีมเสนอให้มีการเสริมความแข็งแรงของแนวเขต และบ้านปลา โดยการปักไม้เสริมความแข็งแรง ใช้เชือกมัดกิ่งไม้เพื่อไม่ให้หลุดไปกับกระแสคลื่นลม กำหนดให้เริ่มทำในทันทีในวันที่คลื่นลมสงบ ทีมเห็นชอบและเร่งกันจัดกาวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมและเพิ่มความแข็งแรงของแนวเขต

 

ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. 14 พ.ย. 2566 14 พ.ย. 2566

 

-

 

-

 

เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ 15 พ.ย. 2566 26 พ.ย. 2566

 

ประชุมวางแผนและทบทวนกฏกติกาเขต เพื่อให้สอดคร้องกับบริบทของพื้นที่ และให้เป็นที่ยอมรับของชาวประมงในพื้นที่

 

คณะทำงาน ประมงอาสา ร่วมกับชาวประมงในพื้นที่ร่วมกำหนดกติกาชุมชน 1.ห้ามทำการประมงในเขตอนุรักษ์ทุกประเภท 2.ห้ามทำการประมงในเขตอนุรักษ์ทุกช่วง 3.หากฝ่าฝืนจะทำการตรวจยึดเครื่องมือประมงและจ่ายค่าปรับกับทางหมู่บ้าน 4.ประชาสัมพันธ์กฏกติกาให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบ

 

ศึกษาดูงานชุมชนบ้านช่องฟืน/บ้านบางขวน 20 พ.ย. 2566 27 ม.ค. 2567

 

ศึกษาดูงานการจัดทำเขตอนุรักษ์กลุ่มอนุรักษ์บ้านช่องฟืน พูดคุยแลกเปลี่ยน การจัดการแนวเขตอนุรักษ์ ของพื้นที่ช่องฟืน และพื้นที่ปากประ เพื่อนำแนวทางปฏิบัติ มาปรับปรุง และบูรณาการใช้ในพื้นที่

 

1.ทีมประมงอาสาในพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
2.ทีมสามารถนำแนวคิดและวิธีการทำเขตอนุรักษ์บ้านช่องฟืนมาปรับใช้ในพื้นที่
3.มีเครือข่ายอนุรักษ์ทะเลสาบสงขลา
4.ศึกษาดูงานโรงงาน และกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำให้ได้มาตฐาน อย.

 

เวทีพัฒนาศักยภาพประมงอาสา 22 พ.ย. 2566 22 ต.ค. 2566

 

ประชุมให้ความรู้ทีมประมงอาสา เกี่ยวกับการทำงาน กฏ ระเบียบ วิธีการ ในการดูแล เฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ และแนวทางการปฏิบัต เมื่อพบเห็นการกระทำความผิด

 

ประมงอาสามีความรู้ความเข้าใจ ในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงมีความเชื่อมั่น และมั่นใจในการทำงานประมงอาสาของชุมชน รวมถึงเข้าใจแนวทางการทำงานให้มีระบบ

 

การทำบ้านปลา ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ฯ 30 พ.ย. 2566 30 ต.ค. 2566

 

  1. คณะทำงานออกแบบและกำหนดจุดทำบ้านปลา พร้อมแบ่งน้าที่  จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำบ้านปลา ทีมที่ไปจัดซื้อกิ่งไม้ ไม้ไผ่  อุปกรณ์ เช่น เชือก
    ประมงอาสาร่วมกับชาวประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันทำบ้านปลา เป็นที่อยู่อาศัยของปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ โดยการนำวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ลงเรือ นำไปจัดที่กำหนดบ้านปลา

 

1.ได้บ้านปลาจำนวน 8 หลังที่สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ใช้กิ่งไม้มะขามทนและอยู่ได้นาน
2.ได้ความร่วมมือจากภาคีในการสนับสนุนงบประมาณสมทบจาก ซีพี

 

รณรงค์สื่อประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์และบริโภคสัตว์น้ำปลอดภัย 6 ธ.ค. 2566 13 ม.ค. 2567

 

ประชุมให้ความรู้ และร่วมรณรงค์การอนุรักษ์และบริโภคสัตว์น้ำปลอดภัย ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ

 

  • ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์หน้าบ้าน
  • ประชาชนเกิดความหวงแหนพื้นที่และทรัพยากรในทะเล
  • ประชาชนตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย หลีกเลี่ยงอาหารแช่แข็งและอาหารที่ใส่สารเคมี
  • ประชาชนในพื้นที่เลือกกินอาหารจากที่หาเองในเลหน้าบ้าน

 

ทำป้ายเขต แสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์ 30 ธ.ค. 2566 21 ธ.ค. 2566

 

จัดทำป้ายเขต แสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์

 

  • จัดทำป้ายไม้บอกเขตจำนวน 4 ป้าย เพื่อปักแสดงแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์ ทั้ง 4 จุด เพื่อให้ชาวประมงในพื้นที่และใกล้เคียงทราบถึงแนวเขต

 

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 31 ธ.ค. 2566 17 ธ.ค. 2566

 

ประชุมเวทีติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กับคณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่

 

1.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร เลหน้าบ้าน 2.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่และการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆใกล้เคียง 3.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ปัญหา อุสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 4. คณะทำงานสามารถสรุปผลการดำเนินการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.คณะทำงานสามารถนำเสนอผลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ในโครงการ

 

ประชุมคณะทำงาน 5 ม.ค. 2567 5 ม.ค. 2567

 

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

 

  • จัดทีมประมงอาสาเฝ้าระวังเขต
  • นัดวันจัดทำป้ายแนวเขตอนุรักษ์
  • ซ่อมแวมแนวเขตที่ได้รับผลกระทบจากฤดูมรสุมช่วงเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566
  • แบ่งงานรับผิดชอบแต่ละทีม

 

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 15 ก.พ. 2567 18 ก.พ. 2567

 

ประชุมเวทีติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กับคณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่ จำนวน 30 ราย

 

1.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร เลหน้าบ้าน 2.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่และการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆใกล้เคียง 3.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ปัญหา อุสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 4. คณะทำงานสามารถสรุปผลการดำเนินการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.คณะทำงานสามารถนำเสนอผลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ในโครงการ

 

ประชุมคณะทำงาน 5 มี.ค. 2567 5 มี.ค. 2567

 

-

 

-

 

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ(สรุปข้อมูล) 15 มี.ค. 2567 15 มี.ค. 2567

 

ประชุมทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล มอบให้ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่ โดยมีข้อมูลสำรวจมีการสำรวจระหว่างการดำเนินโครงการ  วันที่ 1  กันยายน 2566  และหลังการดำเนินโครงการ วันที่ 15 มีนาคม 2567 1. รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 2. สรุปข้อมูลตามประเภทข้อมูล แยกเป็น ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 3. จัดเก็บข้อมูลลงระบบ และรูปเล่มเพื่อการเผยแพร่ข้อมูล

 

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

2.ข้อมูลเครื่องมือประมงในพื้นที่
เครื่องมือประมง (ก่อนทำโครงการ) จำนวน 10 ชนิด
แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 2.8/3.5/4/5/7/12 เซนติเมตร) ยอ
เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล) อวนลาก
เครื่องมือประมง (หลังทำโครงการ) จำนวน 9 ชนิด แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 3.5/4/12/15 เซนติเมตร) ยอ เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล)

 

เวทีปิดโครงการ 30 มี.ค. 2567 31 มี.ค. 2567

 

  1. ประชุมเวทีปิดโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการทำความเข้าใจที่มาของโครงการ
  2. นำเสอนผลลัพธ์และตัวชี้วัดการดำเนินโครงการ ฯ พร้อมนิทรรศการนำสรุปข้อมูลผลการดำเนินงานตลอดกิจกรรม
  3. ผู้รับผิดชอบโครงการและพี่เลี้ยง ให้คณะทำงานและผู้เข้าร่วมได้ร่วมตรวจสอบและเปลี่ยนเพิ่มเติม
  4. แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนจัดการทรัพยากรชายฝั่งและการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม/ชุมชนชาวประมงบ้านปากประ

 

สรุปผลการทำงานตลอดโครงการ - เกิดประมงอาสาจำนวน 15 คน นายดรุณ บัวพูล นายวอน นุ้ยสุด นายธีรพงศ์ ชุมเพชร นายไพฑูรย์ เจ้าเห้ง นายเพียร แสงแก้ว นายธีรพงศ์ เลื่อนแป้น นายชัยณรงค์ บุญแสง นายพายุ นุ้ยจินดา นายปรัชญา เกตุแดง นายสมครวน อ่อนแก้ว นยายทวีวุธ หนูบูลณ์ นายสุมล สังดุก นายประพันธ์ ชนะชัย นายชาติชาย เลื่อนแป้น - มีคณะทำงานจำนวน 15 คน นายดรุณ บัวพูล นายอาคม ราชสงค์ นางกรกนก แก้วขำ นายสุทัศน์ ฤทธิรัตน์ นายประพันธ์ ชนะชัย นายสมครวน อ่อนแก้ว นายสุมล สังดุก นายงวีรศักดิ์ หยูทอง นายสุนทร ทองสรีนวล นายสมจิต แดงบุญช่วย นายสุเทพ ช่วยดิษ นายวิเชียร เพชรสิงห์ นายณรงค์ศักดิ์ ปิ่นทองพันธ์ นายสมคิด เพชรไข่ นายชัยณรงค์ บุญแสง - กฎกติกาชุมชน เขตอนุรักษ์บ้านปากประ หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง 1.หากมีการฝ่าฝืนทำการประมงในเขตอนุรักษ์ จะทำการยึดเรือ เครื่องยนต์ เครื่องมือทำการประมง และสัตว์น้ำทั้งหมด โดยให้ผู้ทำการฝ่าฝืนมาจ่ายค่าปรับครั้งแรก 5,000 บาท และหากผู้กระทำผิดรายเดิมเข้ามาทำการลักลอบทำการประมงในเขตอนุรักษ์ซ้ำ จะดำเนินการปรับเป็น 2 เท่า จำนวน 10,000 บาท โดยทั้งหมดจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์
2.คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ไม่มีสิทธิ์ทำการประมงใดๆ ในเขตอนุรักษ์ เว้นแต่เพื่อการศึกษาวิจัย หรือประเมินผลการทำเขตอนุรักษ์ หากคณะกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้กระทำผิดจะมีโทษปรับ 10,000 บาท และให้ออกจากการเป็นคณะกรรมการกลุ่มทันที 3.หากจงใจทำลาย ให้ได้รับความเสียหายแก่ซั้งบ้านปลาในเขตอนุรักษ์ ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 10,000 บาท โดยคณะกรรมการจะยึดเรือ และเครื่องมือประมงไว้เป็นหลักประกัน หรือตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร 4.กรณีมีการเปลี่ยนแปลง ระเบียบ กฎกติกา หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ให้ผ่านการประชุมประชาคม และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและชาวประมงได้รับทราบโดยทั่วกัน 5.หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอม จะถูกส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษความผิดกฎหมายประมง ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

  • มีบ้านปลาเพิ่มขึ้นจำนวน 10 จุด
  • มีพื้นที่อนุรักษ์ 78 ไร่

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

 

ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด จำนวน 3 ครั้ง ไม่เกิน 7,000 บาท 24 เม.ย. 2567 24 พ.ย. 2567

 

24/11/66ติดตาประเมินผลการทำงานตามโครงการ ทั้ง 4 พื้นที่ของจังหวัดพัทลุง ตามตัวชีวัดและบันไดผลลัพธ์ ของแต่ละพื้นที่ สะท้อนปัญหา อุปสรรค์การดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงานตามงวดแรกของโครงการ 29/01/67 ประชุมเวทีตดตามและประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (กระบวนการ ARE) ในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล

 

  • คณะทำงานสามารถถอดผลการดำเนินกิจกรรมได้
  • สามารถทำงานได้ตามแผนงวดโครงการที่วางไว้
  • สะท้อนปัญหาและข้อเสนอแนะให้กับทางพี่เลี้ยงและหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ
  • มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน
  • จัดทำเอกสารการเงินได้ถูกต้อง

 

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 30 ก.ค. 2566 27 ส.ค. 2566

 

ประชุมทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล มอบให้ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่ โดยมีข้อมูลสำรวจ ประกอบด้วย 1.ข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง
2.ข้อมูลรายได้จากอาชีพประมง
3. ข้อมูลพันธุ์สัตว์น้ำในปากประ
4.ข้อมูลเอกสารเผยแพร่ ฐานทรัพยากรชายฝั่ง
5.ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่มีการแบ่งทีมรับผิดชอบอย่างชัดเจน
6.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์

 

1.คณะทำงานเก็บข้อมูลมีทักษะและความชำนาญในการทำเพิ่มขึ้น 2.ได้ชุดข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง เป็นเครื่องมือที่ถูกกฎหมาย รายได้จากการจำหน่วยสัตว์น้ำ และแปรรูปสัตว์น้ำ
3.ได้ข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น จากการชาวประมงในชุมชนทำตามกติกาที่ได้สัญญาร่วมกัน

 

ประชุมคณะทำงาน 5 ส.ค. 2566 5 ส.ค. 2566

 

1.วางแผนการจัดทำข้อมูล และนำตัวอย่างแบบสอบถามมาศึกษา ระดมความคิดเห็นออกแบบสอบถามของชุมชน 2.รับสมัครคณะทำงานและทีมงานเก็บข้อมูล 3.กำหนดกลุ่มเป้าหมายและแบ่งพื้นที่ในการลงสำรวจ/เก็บข้อมูลของชาวประมง เก็บข้อมูลจากแม่ค้า ใช้เป็นข้อมูลก่อน ระหว่างการดำเนินโครงการให้เห็นความเปลี่ยนแปลง

 

จัดประชุมคณะทำงาน ประจำเดือน เพื่อรับทราบปัญหาการทำงานช่วงที่ผ่านมา แ ได้ร่วมกันหาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับชุมชน และร่วมกันเสนอแนะแนวทางการชักชวนชาวประมงในพื้นที่ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากร