directions_run

ชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านบางปออย่างยั่งยืน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1.ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน อย่างน้อย 50 คน 2.มีข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ เช่น - ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ - เครื่องมือประมง - เศรษฐกิจชุมชนประมง
0.00
  • ชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ แกนนำชุมชน และผู้นำชุมชน มีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน
  • มีฐานข้อมูลประกอบด้วยของพื้นที่ดำเนินการ เช่น ข้อมูลทั่วไปชุมชน ข้อมูลอาชีพ ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลทิศทางลมที่มีผลต่อการทำการประมงข้อมูลภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงในพื้นที่การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรสัตว์น้ำ ชายฝั่งทะเล และข้อมูลรายได้ของประชากร เพื่อการวางแผนการทำงานของชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรประมงทะเล และตามโครงการที่ได้รับการสนับสนุน
  • ชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ แกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารระดับท้องถิ่น มีความตระหนักในการปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงมากขึ้น
  • ข้อมูลที่ได้จัดทำขึ้น ชุมชนได้นำไปวางแผนงานด้านการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น และพัฒนาโครงการ รวมถึงการนำเสนอต่อแหล่งทุนหนุนเสริมต่อไป

ชุมชนประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล เป็นชุมชนใหม่ในการรับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.และสมาคมรักษ์ทะเลไทย และขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งคณะทำงานขับเคลื่่อนโครงการยังไม่มีประสบการณ์ทั้งเรื่องของรายงานกิจกรรม การจัดทำการเงิน บัญชีที่เป็นระบบ แต่คณะทำงานมีความกระตื้อรื้อร้นพยายามเรียนรู้ ตระหนัก เพื่อให้มีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน และปฏิบัติการจัดทำรายงาน ระบบบัญชี การเบิกจ่ายเงินเองได้

2 2.เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 10 คน 2.มีแผนงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน 3.มีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE)อย่างน้อย 2 ครั้ง
0.00
  • มีคณะทำงานการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน ที่มาจากสมาชิกของชุมชน แกนนำชาวประมงพื้นบ้าน และภาคีความร่วมมือที่เข้ามาช่วยเหลือหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการ
  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ตามรูปแบ ARE จำนวน 2 ครั้ง
  • มีแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง เช่น การฟื้นฟูสัตว์น้ำ (ทำซั้งเชือก)บ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ฯ การจัดการขยะทะเล การแปรรูปอาห่ารทะเล(กะปิจากกุ้งเคย) และการจัดทำธนาคารปูม้า
  • มีการเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำที่มากขึ้นของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่
  • คณะทำงานรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่การทำงาน พร้อมขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการของชุมชนที่สอดคล้องกับแผนโครงการ และพยายามเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพตนเองให้มีความชำนาญมากขึ้น เช่น การจดบันทึกรายงาน การถ่ายภาพ การจัดทำเอกสารการเงิน และการจัดทำรายงานในสื่อเว็บไซต์คนสร้างสุข
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมประมงได้ประสานให้กลุ่มประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล ได้นำเสนอแผนการจัดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน
  • ชาวประมงพื้นบ้าน แกนนำชุมชน ได้นำหลัก ARE ไปใช้ในกระบวนการทบทวน สรุปผลการดำเนินงาน
  • คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการ กิจกรรม ระยะเวลาและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจนทำให้โครงการสามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
  • คณะทำงานมีการพูดคุยทบทวนการดำเนินงานอยู่เสมอ โดยการนำหลัก ARE แบบประยุกต์มาใช้ เช่น จุดออ่น จุดแข็ง ทุนการทำงาน ช่วงเวลา และภาคีหนุนเสริม เป็นต้น
3 3. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง
ตัวชี้วัด : 1.มีกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 2.เกิดการสร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) จำนวน 35 ชุด 3.มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล อย่างน้อย 1ครั้ง 4.เกิดการรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ (Baan Bangpor Big Cleaning Day)อย่างน้อย 1 ครั้ง
  • มีกติกา ข้อตกลง แนวเขตเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชชุมชนที่ได้ผ่านการทบทวนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพร้อมที่จะนำไปสู่การมีเวทีประชาคมเพื่อทบทวนและประกาศกติกาเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านบางปอ ต่อไป
  • มีบ้านปลา(ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)จำนวน 35 ชุด ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านบางปอ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ชุมชนประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเลจำนวน 1 ครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนลูกพันธุ์ปูม้า จำนวน 5,000,000 ตัว จากกลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย อำเภอสิชล
  • ชุมชนประมงชายฝั่งพื้นบ้านบางปอ อำเภอสิชล มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ (Baan Bangpor Beach Cleaning Day) จำนวน 1 ครั้ง
  • ชุมชนประมงชายฝั่งบ้านบางปอ อำเภอสิชล นำกฎกติกาการทำการประมงที่ถูกกฎหมายและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนไปประกาศใช้ในพื้นที่ชุมชน
  • ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านต้องเคารพกฎ กติกาในการทำการประมงในพื้นที่ชายฝั่งทะเลชุมชนรวมถึงการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเฝ้าระวังทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชน
  • สัตว์น้ำชายฝั่งทะเลบ้านบางปอ เช่น กุ้ง ปู ปลา นานาชนิด รวมถึงสัตว์ทะเลหายาก จำพวก โลมา เต่าทะเล เข้ามาอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ทะเลชายฝั่งชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านนำเรือออกไปจับปลา วางอวนจมกุ้งในพื้นที่ใกล้ๆชายฝั่ง ทำให้ลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือประมงได้เฉลี่ยเดือนละ 1,200 บาท
  • สัตว์น้ำทะเลชายฝั่ง กุ้ง ปู ปลา มีความชุกชุมมากขึ้น ชาวประมงพื้นบ้านจับและขายมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 200 - 300 บาท/วันทำการประมง
  • กระแสการร่วมกันจัดการขยะชายฝั่งทะเลชุมชนได้เพิ่มขยายไปสู่ในแวดวงต่างๆมากขึ้น เช่น คนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ หน่วยงานต่างๆในท้องถิ่น
  • สมาชิกในชุมชน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆให้ความร่วมมือและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
  • ชาวประมงพื้นบ้านนำเรือออกไปจับปลา หากุ้งในพื้นที่ใกล้ๆชายฝั่ง ชาวประมงพื้นบ้านขายอาหารทะเลสดในภาพรวม ทั้งปลา กุ้ง ปูม้าได้เพิ่มขึ่นโดยเฉลี่ยรายละ 200 - 300 บาท/ครั้ง/วันทำการประมง
4 4. เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่
ตัวชี้วัด : 1.แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ 2. สัตว์น้ำผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ชนิด
  • แกนนำชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่ เช่น การนำสัตว์น้ำทะเลที่หามาได้ นำมาปรุงอาหารสำหรับการบริโภคเองในครัวเรือน อย่างน้อย 15 มื้อ ในแต่ละสัปดาห์
  • แกนนำสตรีประมงพื้นบ้าน มีการทดลองแปรรูปกุ้งเคยที่จับมาได้ ทดลองแปรรูปเป็นกะปิปลอดสารเมี และไม่มีรสเค็มจนเกินไป
  • สำรวจพบพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยในเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนเพิ่มขึ้น 3 ชนิด เช่น ปลาจวด ปลาแป้น กุ้งเคย เป็นต้น
  • สมาชิกในชุมชนทั้งที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านและแกนนำชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ และครัวเรือนในชุมชนมีการประกอบอาหารที่หามาได้เองสำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้ทุกมื้อในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ
  • ชาวประมงพื้นบ้านสามารถดำเนินการแปรรูปอาหารทะเลปลอดภัยได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • สมาชิกในชุมชนทั้งที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านและแกนนำชุมชนเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย สมาชิกในชุมชนทั้งที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านและแกนนำชุมชนประกอบอาหารที่หามาได้เองจากทะเลอย่างน้อย 15 มื้อในแต่ละสัปดาห์
  • จากการที่ สำรวจพบพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยในเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนเพิ่มขึ้น แกนนำสตรีประมงพื้นบ้านบางปอ คิด ริเริ่มดำเนินการต่อยอดทำการแปรรูปกะปิจากกุ้งเคยและอาหารทะเลตากแห้งอื่นๆ